กระทรวงพาณิชย์โดยกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมกับองค์การการค้าโลก (WTO) จัดการสัมมนาเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. การสัมมนาระดับภูมิภาคสำหรับเอเซียเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม (WTO Regional Seminar on Trade and Environment for Developing and Least-developed Countries) ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2544 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแผนงานตามโครงการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการของ WTO เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเซียมีความเข้าใจในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความคืบหน้าเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นประเด็นการหารือใน WTO ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งนี้เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจาก WTO กับองค์กรระหว่างประเทศอื่น เช่น UNCTAD และ UNEP
การสัมมนาฯ ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การค้าและต่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเซีย 19 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฐาน อินเดีย กัมพูชา จีน ฮ่องกง เกาหลี ลาว มาเก๊า ปากีสถาน ศรีลังกา จีนไทเป ไต้หวัน เวียดนาม อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นักสิ่งแวดล้อมได้ประชุมร่วมกับด้านการค้า
ในการสัมมนาฯ ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้อธิบายถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานในคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อมของ WTO ผลการศึกษาขององค์กรระหว่างประเทศในเรื่องการค้า สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และยกประเด็นด้านการค้าและสิ่งแวดล้อมที่มีการหยิบยกในขบวนการระงับข้อพิพาทใน WTO ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม (Multilateral Environmental Agreements : MEAs) กับความตกลงต่างๆ ภายใต้ WTO ซึ่งปัจจุบันความตกลง WTO ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมีอาทิเช่น ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ความตกลงว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เป็นต้น ยังขาดความชัดเจน จึงทำให้สมาชิก WTO บางประเทศใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องกีดกันการค้า ทำให้ประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายต้องอาศัยการยุติข้อพิพาทเป็นกรณีๆไป ซึ่งหลายประเทศเห็นว่าการที่ปล่อยให้องค์กรระงับข้อพิพาทที่เป็นบุคคลเพียง 3 คน ตัดสินกรณีที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่นกรณีพิพาทเรื่องกุ้ง/เต่าทะเล ประเทศพัฒนาแล้วเห็นว่าควรแก้ไขความตกลงต่างๆ ของ WTO ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาไม่ต้องการให้มีการแก้ไขความตกลงต่างๆ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหภาพยุโรปกำหนดกฎ/ระเบียบในเรื่องหลักการเตือนภัยล่วงหน้า (Precautionary principle) และการนำกระบวนการผลิตเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Process and Production Methods : PPMs) ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น
การสัมมนาฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีการแลกเปลี่ยนความเห็นแต่ไม่มีข้อยุติว่าควรดำเนินการอย่างไร เพราะการสัมมนาฯ เป็นการให้ความรู้ทำให้มีความเข้าใจในประเด็นและมุมมองด้านต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งผู้แทนที่เข้าร่วมการสัมมนาจะต้องนำไปพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศต่อไป นอกจากนี้ UNEP ยังพร้อมให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้ประเทศที่สนใจส่งโครงการขอรับความช่วยเหลือได้ที่ UNEP
2. การประชุมสัมมนาในหัวข้อ Multi-stakeholder Policy Dialogue on Trade, Environment and Sustainable Development for Asian Countries จัดโดย International Center for Trade and Sustainable Development : ICTSD ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2544 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ โดยเชิญผู้แทนที่เข้าร่วมสัมมนาของ WTO เข้าร่วมการสัมมนาของ ICTSD ซึ่งเป็น NGO ระหว่างประเทศ ที่ประชุมฯ เห็นว่าจำเป็นต้องมีระบบการค้าพหุภาคีภายใต้ WTO แต่ต้องมีความเท่าเทียมกันและเป็นธรรม และประเทศภูมิภาคเอเซียควรมีความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือระหว่างกันมากขึ้น และเห็นว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนควรมุ่งที่การแก้ไขความยากจน ประเทศกำลังพัฒนาเห็นด้วยว่าควรมีความตกลงพหุภาคีภายใต้ WTO แต่ยังไม่มีความพร้อมในการเตรียมรับเกี่ยวกับกรณีที่มีเรื่องใหม่ๆ ในการใช้มาตรการด้านการค้าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
3.การสัมมนาโต๊ะกลมเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมสำหรับภาคเอกชนของไทย (WTO Seminar on Trade and Environment for the Thai Private Sector) เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ณ โรงแรมรอยัล ปริ้นเซส กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 50 คน โดย WTO มีวัตถุประสงค์ให้ภาคเอกชนไทยตระหนักถึงปัญหาด้านการค้าและสิ่งแวดล้อม และเข้าใจประเด็นที่เกี่ยวกับการค้าและสิ่งแวดล้อมภายใต้ WTO ซึ่งนับวันประเด็นการค้าและสิ่งแวดล้อมไม่สามารถพิจารณาต่างหากจากกันได้จำเป็นต้องให้การค้าอยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย เช่น การตัดสินกรณีข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการค้าภายใต้ WTO
ในการสัมมนาฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ในประเด็นใหม่ๆที่ภาคเอกชนให้ความสนใจ เช่น เรื่องการกำจัดเศษเหลือทิ้งของเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ การติดฉลากสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวล้วนเป็นต้นทุนในการผลิตของประเทศกำลังพัฒนา และยังไม่มีการกำหนดกฎ/ระเบียบภายใต้ WTO ทำให้ต้องมีการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสองประเทศ รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานสินค้าระหว่างประเทศก็อาจเป็นอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าได้ ภาคเอกชนต้องเตรียมความพร้อมและวางแผนการผลิตเพื่อรองรับกฎ/ระเบียบใหม่ๆที่ประเทศพัฒนาแล้วยกเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมษายน 2544--
-ปส-
1. การสัมมนาระดับภูมิภาคสำหรับเอเซียเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม (WTO Regional Seminar on Trade and Environment for Developing and Least-developed Countries) ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2544 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแผนงานตามโครงการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการของ WTO เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเซียมีความเข้าใจในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความคืบหน้าเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นประเด็นการหารือใน WTO ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งนี้เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจาก WTO กับองค์กรระหว่างประเทศอื่น เช่น UNCTAD และ UNEP
การสัมมนาฯ ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การค้าและต่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเซีย 19 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฐาน อินเดีย กัมพูชา จีน ฮ่องกง เกาหลี ลาว มาเก๊า ปากีสถาน ศรีลังกา จีนไทเป ไต้หวัน เวียดนาม อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นักสิ่งแวดล้อมได้ประชุมร่วมกับด้านการค้า
ในการสัมมนาฯ ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้อธิบายถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานในคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อมของ WTO ผลการศึกษาขององค์กรระหว่างประเทศในเรื่องการค้า สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และยกประเด็นด้านการค้าและสิ่งแวดล้อมที่มีการหยิบยกในขบวนการระงับข้อพิพาทใน WTO ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม (Multilateral Environmental Agreements : MEAs) กับความตกลงต่างๆ ภายใต้ WTO ซึ่งปัจจุบันความตกลง WTO ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมีอาทิเช่น ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ความตกลงว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เป็นต้น ยังขาดความชัดเจน จึงทำให้สมาชิก WTO บางประเทศใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องกีดกันการค้า ทำให้ประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายต้องอาศัยการยุติข้อพิพาทเป็นกรณีๆไป ซึ่งหลายประเทศเห็นว่าการที่ปล่อยให้องค์กรระงับข้อพิพาทที่เป็นบุคคลเพียง 3 คน ตัดสินกรณีที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่นกรณีพิพาทเรื่องกุ้ง/เต่าทะเล ประเทศพัฒนาแล้วเห็นว่าควรแก้ไขความตกลงต่างๆ ของ WTO ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาไม่ต้องการให้มีการแก้ไขความตกลงต่างๆ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหภาพยุโรปกำหนดกฎ/ระเบียบในเรื่องหลักการเตือนภัยล่วงหน้า (Precautionary principle) และการนำกระบวนการผลิตเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Process and Production Methods : PPMs) ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น
การสัมมนาฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีการแลกเปลี่ยนความเห็นแต่ไม่มีข้อยุติว่าควรดำเนินการอย่างไร เพราะการสัมมนาฯ เป็นการให้ความรู้ทำให้มีความเข้าใจในประเด็นและมุมมองด้านต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งผู้แทนที่เข้าร่วมการสัมมนาจะต้องนำไปพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศต่อไป นอกจากนี้ UNEP ยังพร้อมให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้ประเทศที่สนใจส่งโครงการขอรับความช่วยเหลือได้ที่ UNEP
2. การประชุมสัมมนาในหัวข้อ Multi-stakeholder Policy Dialogue on Trade, Environment and Sustainable Development for Asian Countries จัดโดย International Center for Trade and Sustainable Development : ICTSD ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2544 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ โดยเชิญผู้แทนที่เข้าร่วมสัมมนาของ WTO เข้าร่วมการสัมมนาของ ICTSD ซึ่งเป็น NGO ระหว่างประเทศ ที่ประชุมฯ เห็นว่าจำเป็นต้องมีระบบการค้าพหุภาคีภายใต้ WTO แต่ต้องมีความเท่าเทียมกันและเป็นธรรม และประเทศภูมิภาคเอเซียควรมีความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือระหว่างกันมากขึ้น และเห็นว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนควรมุ่งที่การแก้ไขความยากจน ประเทศกำลังพัฒนาเห็นด้วยว่าควรมีความตกลงพหุภาคีภายใต้ WTO แต่ยังไม่มีความพร้อมในการเตรียมรับเกี่ยวกับกรณีที่มีเรื่องใหม่ๆ ในการใช้มาตรการด้านการค้าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
3.การสัมมนาโต๊ะกลมเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมสำหรับภาคเอกชนของไทย (WTO Seminar on Trade and Environment for the Thai Private Sector) เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ณ โรงแรมรอยัล ปริ้นเซส กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 50 คน โดย WTO มีวัตถุประสงค์ให้ภาคเอกชนไทยตระหนักถึงปัญหาด้านการค้าและสิ่งแวดล้อม และเข้าใจประเด็นที่เกี่ยวกับการค้าและสิ่งแวดล้อมภายใต้ WTO ซึ่งนับวันประเด็นการค้าและสิ่งแวดล้อมไม่สามารถพิจารณาต่างหากจากกันได้จำเป็นต้องให้การค้าอยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย เช่น การตัดสินกรณีข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการค้าภายใต้ WTO
ในการสัมมนาฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ในประเด็นใหม่ๆที่ภาคเอกชนให้ความสนใจ เช่น เรื่องการกำจัดเศษเหลือทิ้งของเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ การติดฉลากสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวล้วนเป็นต้นทุนในการผลิตของประเทศกำลังพัฒนา และยังไม่มีการกำหนดกฎ/ระเบียบภายใต้ WTO ทำให้ต้องมีการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสองประเทศ รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานสินค้าระหว่างประเทศก็อาจเป็นอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าได้ ภาคเอกชนต้องเตรียมความพร้อมและวางแผนการผลิตเพื่อรองรับกฎ/ระเบียบใหม่ๆที่ประเทศพัฒนาแล้วยกเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมษายน 2544--
-ปส-