1.ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว
ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 21.5 และดัชนีผลผลิตของกลุ่ม
อิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 29.3 นอกจากนี้เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 5,461.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.8
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัว
โดย Bureau of Economic Analysis ได้รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศสหรัฐอเมริกา (GDP) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
ลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปี 2543 นอกจากนี้
Ministry of Economic ,Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ได้รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Indices of Industrial
Production) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตามตลาดของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศยังมีแนวโน้มที่ดีอยู่ โดยยังขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะใกล้ช่วงสิ้นปีและ
เทศกาลปีใหม่ นอกจากนี้รูปแบบของการซื้อสินค้าผ่อนส่งโดยใช้บัตรเครดิต ยังมีส่วนช่วยเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นด้วย
2.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
การผลิตของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 จากรายงานดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 3 นี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่
เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการ
ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตโดยรวมลดลงร้อยละ 21.5 โดย
เครื่องรับโทรทัศน์ที่มีขนาดมากกว่า 20 นิ้วลดลงร้อยละ 29.5 และเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีขนาดต่ำกว่า 20 นิ้วลดลงร้อยละ 4.3
2.2 การตลาด
ภาวะตลาดของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 จากรายงานดัชนีการส่งสินค้า ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 แต่ลดลงร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1) ตลาดในประเทศ
ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้เป็นเพราะ
ใกล้ช่วงสิ้นปีและเทศกาลปีใหม่ ทำให้ผู้ผลิตเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการที่คาดว่าจะมากขึ้น เมื่อพิจารณาจากตัวเลข
ดัชนีการผลิตของกลุ่มสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก พบว่าความต้องการของตลาด
ในสินค้าประเภทเครื่องรับโทรทัศน์ พัดลม เครื่องซักผ้า และหม้อหุงข้าว มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับร้อยละ 1 ถึง 8 ในขณะที่
เครื่องซักผ้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.7 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 พบว่ายังมีแนวโน้มการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ พัดลม และ หม้อหุงข้าว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 และ 22.7 ตามลำดับ ส่วน
เครื่องรับโทรทัศน์ พบว่ามีการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.4
2) ตลาดส่งออก
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 2 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีมูลค่ารวม
ทั้งสิ้น 1,814.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ลดลงร้อยละ 4.4 และเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 12.9 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยยังคงเป็นประเทศ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่ารวม 2
ประเทศสูงถึงร้อยละ 40.3 ของมูลค่าส่งออกรวมทั้งหมด ตลาดใหม่ที่น่าจับตา คือ จีน แม้ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกเพียงร้อยละ 6.2 ของ
มูลค่ารวมทั้งหมด แต่มีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวสูงถึงร้อยละ 42.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
3) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,772.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ประเทศที่ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยมีมูลค่ารวมกันสูงถึงร้อยละ 66.2 ของมูลค่านำเข้ารวม
ทั้งหมดของไทย
3.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่3 ของปี 2544 ยังอยู่ในภาวะหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 และ 2
จากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2
ภาวะการผลิตเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ลดลงร้อยละ 29.3 โดยเฉพาะ Other IC และ หลอดภาพ
คอมพิวเตอร์ ลดลงถึงร้อยละ 48.2 และ 38.8 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น
ยังไม่ฟื้นตัว
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของตลาดโลก โดยจากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมของ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีการส่งสินค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ลดลงร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2
และลดลงร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 โดยสินค้าที่มีดัชนีการส่งสินค้าลดลงค่อนข้างมาก คือ Other IC
และหลอดภาพคอมพิวเตอร์ ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 55.6 และ 36.8 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากบริษัทแม่ลดลง
1) ตลาดต่างประเทศ
มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ยังคงลดลง โดยมีมูลค่ารวม 3,647.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.5
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และลดลงร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้าและวงจรพิมพ์ ลดลง
มากกว่าร้อยละ 40 ตลาดสำคัญที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ ลดลงร้อยละ 33.7, 22.6 และ
18.1 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543
2) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 มีมูลค่ารวม 2,424.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 2 และลดลงร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า และไดโอด ทรานซิสเตอร์
และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ซึ่งลดลงมากกว่าร้อยละ 30
4.แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในตลาดในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตทำการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขาย
ในช่วงสิ้นปีและเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศยังขยายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามตลาดต่างประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซา
จากการที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัว ทั้งนี้ Electronic Business ได้คาดการณ์การส่งออกสินค้าในกลุ่ม Audio and
Video Equipment ของสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 4 จะลดลงร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญอยู่ที่
การฟื้นตัวของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ประกอบกับผลกระทบจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงความ
ไม่มั่นใจว่าจะเกิดการก่อวินาศกรรมขึ้นอีกหรือไม่ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานออกไปอีกกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว โดย Electronic
Business คาดว่าภาวะตลาด Semiconductor, IC, Microprocessor, DRAMs และ Computer ในไตรมาส 4 ของปี 2544
จะลดลงร้อยละ 29.3, 31, 27.4, 57.3 และ 17.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม Semiconductor Industry Association
คาดว่าสินค้าในกลุ่ม Personal computer และ wireless application เป็นกลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มจะเพิ่มการผลิตซึ่งเป็นปัจจัยที่
ส่งผลให้ปริมาณความต้องการ Semiconductor เพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาปริมาณสินค้าคงคลัง (Inventory) ที่เหลืออยู่ในระดับสูง
เริ่มลดลงมาอยู่ในภาวะที่สมดุลแล้ว จึงคาดว่าผู้ผลิต Semiconductor ของโลกจะเพิ่มระดับปริมาณการผลิตให้มากขึ้นหลังจากที่ได้ชะลอ
การผลิตมาระยะหนึ่ง
ตารางที่ 1.ดัชนีผลผลิต ดัชนีขนส่งสินค้า และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง :
เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์
ดัชนี 2543 2544
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
ผลผลิต 209.0 182.4 144.0 141.9 167.1 155.7 92.5 101.7 115.4 117.3 125.3 134.5
ขนส่งสินค้า 209.0 187.0 148.5 151.3 164.3 165.3 98.1 103.9 115.1 127.2 126.9 138.4
สินค้าคงคลัง 308.3 274.5 253.0 166.8 243.9 188.8 180.0 206.0 250.0 169.4 208.1 220.8
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
ตารางที่ 2. ดัชนีผลผลิต ดัชนีการขนส่งสินค้า และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง :
การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
ดัชนี 2543 2544
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
ผลผลิต 200.8 199.2 180.1 143.0 139.6 162.0 146.0 156.8 163.6 138.3 139.0 158.1
ขนส่งสินค้า 203.2 198.7 184.3 154.1 144.4 164.3 142.1 156.8 162.5 126.5 131.6 159.7
สินค้าคงคลัง 209.3 241.0 237.6 208.7 202.7 197.1 200.5 190.4 176.0 196.6 209.1 192.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
ตารางที่ 3. มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 3 ปี 2544
รายการสินค้า มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาสที่ ไตรมาสที่
3/2543 2/ 2544
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ 391.0 -25.2 -0.5 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์
2. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 225.8 4.1 -39.0 ญี่ปุ่น สเปน สิงคโปร์
3. เครื่องเล่นวีดีโอและอุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบ 166.5 -15.1 1.2 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย
4. เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ให้ความร้อน 84.3 -21.7 9.8 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ลาว
5. ตู้เย็น ตู้แช่และส่วนประกอบ 81.2 2.8 -11.2 ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4. มูลค่านำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 2 ปี 2544
รายการสินค้า มูลค่านำเข้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ประเทศนำเข้าที่สำคัญของไทย
(ล้านเหรียญสหรัฐ) เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาสที่ ไตรมาสที่
3/2543 2/ 2544
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. เครื่องตัดต่อ หรือป้องกันวงจรไฟฟ้ารวมถึงแป้นและแผงควบคุม280.5 -6.38 -4.56 ญี่ปุ่น เวียดนาม สหรัฐอเมริกา
2. เครื่องส่งสัญญาณภาพและเสียง 261.3 21.42 -25.68 เกาหลีใต้ เยอรมัน ฟินแลนด์
3. หลอดภาพโทรทัศน์ 197.5 -43.02 4.5 มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
4. สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล 161.0 4.01 22.8 ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์
5. อุปกรณ์เครื่องรับโทรศัพท์ โทรเลขและอุปกรณ์ 143 94.6 3.77 ฟินแลนด์ จีน สวีเดน
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
ตลาดที่ 5. แสดงมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 3 ปี 2544
รายการสินค้า มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ตลาดส่งออกหลัก
ไตรมาส 3/2544 เมื่อเทียบกับ เมื่อเทียบกับ
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ไตรมาส3/ 2543 ไตรมาส2/2544
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 1,936.1 -10.5 -1.7 สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และญี่ปุ่น
2. แผงวงจรไฟฟ้า 707.1 -46.8 -20.0 สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์
3. วงจรพิมพ์ 163.8 -42.9 -7.6 สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
4.ไดโอดทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์ 235.0 -12.1 19.0 ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
5.หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 188.0 -13.1 -3.1 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6. แสดงมูลค่านำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 3 ปี 2544
รายการสินค้า มูลค่าการนำเข้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ตลาดนำเข้าหลัก
ไตรมาส 3/2544 เมื่อเทียบกับ เมื่อเทียบกับ
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ไตรมาส3/2543 ไตรมาส 2/2544
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. แผงวงจรไฟฟ้า 1,122.5 -37.5 -15.5 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 904.5 -5.6 -2.4 สหรัฐอเมริกา จีน และฟิลิปปินส์
3. ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 136.9 -32.0 -7.9 สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา
4. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 106.9 -19.6 -5.5 จีน ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์
5. วงจรพิมพ์ 91.6 -21.0 6.8 ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว
ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 21.5 และดัชนีผลผลิตของกลุ่ม
อิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 29.3 นอกจากนี้เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 5,461.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.8
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัว
โดย Bureau of Economic Analysis ได้รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศสหรัฐอเมริกา (GDP) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
ลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปี 2543 นอกจากนี้
Ministry of Economic ,Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ได้รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Indices of Industrial
Production) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตามตลาดของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศยังมีแนวโน้มที่ดีอยู่ โดยยังขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะใกล้ช่วงสิ้นปีและ
เทศกาลปีใหม่ นอกจากนี้รูปแบบของการซื้อสินค้าผ่อนส่งโดยใช้บัตรเครดิต ยังมีส่วนช่วยเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นด้วย
2.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
การผลิตของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 จากรายงานดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 3 นี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่
เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการ
ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตโดยรวมลดลงร้อยละ 21.5 โดย
เครื่องรับโทรทัศน์ที่มีขนาดมากกว่า 20 นิ้วลดลงร้อยละ 29.5 และเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีขนาดต่ำกว่า 20 นิ้วลดลงร้อยละ 4.3
2.2 การตลาด
ภาวะตลาดของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 จากรายงานดัชนีการส่งสินค้า ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 แต่ลดลงร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1) ตลาดในประเทศ
ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้เป็นเพราะ
ใกล้ช่วงสิ้นปีและเทศกาลปีใหม่ ทำให้ผู้ผลิตเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการที่คาดว่าจะมากขึ้น เมื่อพิจารณาจากตัวเลข
ดัชนีการผลิตของกลุ่มสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก พบว่าความต้องการของตลาด
ในสินค้าประเภทเครื่องรับโทรทัศน์ พัดลม เครื่องซักผ้า และหม้อหุงข้าว มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับร้อยละ 1 ถึง 8 ในขณะที่
เครื่องซักผ้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.7 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 พบว่ายังมีแนวโน้มการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ พัดลม และ หม้อหุงข้าว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 และ 22.7 ตามลำดับ ส่วน
เครื่องรับโทรทัศน์ พบว่ามีการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.4
2) ตลาดส่งออก
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 2 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีมูลค่ารวม
ทั้งสิ้น 1,814.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ลดลงร้อยละ 4.4 และเมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 12.9 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยยังคงเป็นประเทศ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่ารวม 2
ประเทศสูงถึงร้อยละ 40.3 ของมูลค่าส่งออกรวมทั้งหมด ตลาดใหม่ที่น่าจับตา คือ จีน แม้ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกเพียงร้อยละ 6.2 ของ
มูลค่ารวมทั้งหมด แต่มีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวสูงถึงร้อยละ 42.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
3) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,772.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ประเทศที่ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยมีมูลค่ารวมกันสูงถึงร้อยละ 66.2 ของมูลค่านำเข้ารวม
ทั้งหมดของไทย
3.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่3 ของปี 2544 ยังอยู่ในภาวะหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 และ 2
จากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2
ภาวะการผลิตเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ลดลงร้อยละ 29.3 โดยเฉพาะ Other IC และ หลอดภาพ
คอมพิวเตอร์ ลดลงถึงร้อยละ 48.2 และ 38.8 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น
ยังไม่ฟื้นตัว
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของตลาดโลก โดยจากรายงานดัชนีอุตสาหกรรมของ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีการส่งสินค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ลดลงร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2
และลดลงร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543 โดยสินค้าที่มีดัชนีการส่งสินค้าลดลงค่อนข้างมาก คือ Other IC
และหลอดภาพคอมพิวเตอร์ ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 55.6 และ 36.8 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากบริษัทแม่ลดลง
1) ตลาดต่างประเทศ
มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ยังคงลดลง โดยมีมูลค่ารวม 3,647.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.5
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และลดลงร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้าและวงจรพิมพ์ ลดลง
มากกว่าร้อยละ 40 ตลาดสำคัญที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ ลดลงร้อยละ 33.7, 22.6 และ
18.1 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2543
2) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 มีมูลค่ารวม 2,424.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 2 และลดลงร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า และไดโอด ทรานซิสเตอร์
และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ซึ่งลดลงมากกว่าร้อยละ 30
4.แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในตลาดในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตทำการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขาย
ในช่วงสิ้นปีและเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศยังขยายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามตลาดต่างประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซา
จากการที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัว ทั้งนี้ Electronic Business ได้คาดการณ์การส่งออกสินค้าในกลุ่ม Audio and
Video Equipment ของสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 4 จะลดลงร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญอยู่ที่
การฟื้นตัวของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ประกอบกับผลกระทบจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงความ
ไม่มั่นใจว่าจะเกิดการก่อวินาศกรรมขึ้นอีกหรือไม่ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานออกไปอีกกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว โดย Electronic
Business คาดว่าภาวะตลาด Semiconductor, IC, Microprocessor, DRAMs และ Computer ในไตรมาส 4 ของปี 2544
จะลดลงร้อยละ 29.3, 31, 27.4, 57.3 และ 17.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม Semiconductor Industry Association
คาดว่าสินค้าในกลุ่ม Personal computer และ wireless application เป็นกลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มจะเพิ่มการผลิตซึ่งเป็นปัจจัยที่
ส่งผลให้ปริมาณความต้องการ Semiconductor เพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาปริมาณสินค้าคงคลัง (Inventory) ที่เหลืออยู่ในระดับสูง
เริ่มลดลงมาอยู่ในภาวะที่สมดุลแล้ว จึงคาดว่าผู้ผลิต Semiconductor ของโลกจะเพิ่มระดับปริมาณการผลิตให้มากขึ้นหลังจากที่ได้ชะลอ
การผลิตมาระยะหนึ่ง
ตารางที่ 1.ดัชนีผลผลิต ดัชนีขนส่งสินค้า และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง :
เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์
ดัชนี 2543 2544
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
ผลผลิต 209.0 182.4 144.0 141.9 167.1 155.7 92.5 101.7 115.4 117.3 125.3 134.5
ขนส่งสินค้า 209.0 187.0 148.5 151.3 164.3 165.3 98.1 103.9 115.1 127.2 126.9 138.4
สินค้าคงคลัง 308.3 274.5 253.0 166.8 243.9 188.8 180.0 206.0 250.0 169.4 208.1 220.8
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
ตารางที่ 2. ดัชนีผลผลิต ดัชนีการขนส่งสินค้า และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง :
การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
ดัชนี 2543 2544
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
ผลผลิต 200.8 199.2 180.1 143.0 139.6 162.0 146.0 156.8 163.6 138.3 139.0 158.1
ขนส่งสินค้า 203.2 198.7 184.3 154.1 144.4 164.3 142.1 156.8 162.5 126.5 131.6 159.7
สินค้าคงคลัง 209.3 241.0 237.6 208.7 202.7 197.1 200.5 190.4 176.0 196.6 209.1 192.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
ตารางที่ 3. มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 3 ปี 2544
รายการสินค้า มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาสที่ ไตรมาสที่
3/2543 2/ 2544
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ 391.0 -25.2 -0.5 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์
2. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 225.8 4.1 -39.0 ญี่ปุ่น สเปน สิงคโปร์
3. เครื่องเล่นวีดีโอและอุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบ 166.5 -15.1 1.2 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย
4. เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ให้ความร้อน 84.3 -21.7 9.8 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ลาว
5. ตู้เย็น ตู้แช่และส่วนประกอบ 81.2 2.8 -11.2 ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4. มูลค่านำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 2 ปี 2544
รายการสินค้า มูลค่านำเข้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ประเทศนำเข้าที่สำคัญของไทย
(ล้านเหรียญสหรัฐ) เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาสที่ ไตรมาสที่
3/2543 2/ 2544
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. เครื่องตัดต่อ หรือป้องกันวงจรไฟฟ้ารวมถึงแป้นและแผงควบคุม280.5 -6.38 -4.56 ญี่ปุ่น เวียดนาม สหรัฐอเมริกา
2. เครื่องส่งสัญญาณภาพและเสียง 261.3 21.42 -25.68 เกาหลีใต้ เยอรมัน ฟินแลนด์
3. หลอดภาพโทรทัศน์ 197.5 -43.02 4.5 มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
4. สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล 161.0 4.01 22.8 ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์
5. อุปกรณ์เครื่องรับโทรศัพท์ โทรเลขและอุปกรณ์ 143 94.6 3.77 ฟินแลนด์ จีน สวีเดน
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
ตลาดที่ 5. แสดงมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 3 ปี 2544
รายการสินค้า มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ตลาดส่งออกหลัก
ไตรมาส 3/2544 เมื่อเทียบกับ เมื่อเทียบกับ
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ไตรมาส3/ 2543 ไตรมาส2/2544
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 1,936.1 -10.5 -1.7 สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และญี่ปุ่น
2. แผงวงจรไฟฟ้า 707.1 -46.8 -20.0 สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์
3. วงจรพิมพ์ 163.8 -42.9 -7.6 สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
4.ไดโอดทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์ 235.0 -12.1 19.0 ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
5.หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 188.0 -13.1 -3.1 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6. แสดงมูลค่านำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรกของไทย ไตรมาส 3 ปี 2544
รายการสินค้า มูลค่าการนำเข้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ตลาดนำเข้าหลัก
ไตรมาส 3/2544 เมื่อเทียบกับ เมื่อเทียบกับ
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ไตรมาส3/2543 ไตรมาส 2/2544
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
1. แผงวงจรไฟฟ้า 1,122.5 -37.5 -15.5 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 904.5 -5.6 -2.4 สหรัฐอเมริกา จีน และฟิลิปปินส์
3. ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 136.9 -32.0 -7.9 สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา
4. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 106.9 -19.6 -5.5 จีน ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์
5. วงจรพิมพ์ 91.6 -21.0 6.8 ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--