แท็ก
องค์การการค้าโลก
1. การดำเนินการในปี 2543
1.1 ในปี 2543 การเจรจาการค้าบริการเน้นด้านกฎเกณฑ์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเจรจาภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยข้อผูกพันเฉพาะ (Committee on Specific Commitments : CSC) และคณะทำงานว่าด้วยกฎเกณฑ์ด้านการค้าบริการ (Working Party on GATS Rules : WPGR) ซึ่งมีความคืบหน้าในเรื่องมาตรการปกป้องฉุกเฉินมากที่สุด อันเป็นผลจากการที่ไทยและอาเซียนเสนอร่างความตกลงในเรื่องนี้
1.2 นอกจากการเจรจาด้านกฎเกณฑ์แล้ว ในปี 2543 ยังมีการทบทวนเรื่องต่าง ๆ ตามที่ความตกลง GATS กำหนดไว้ ที่สำคัญได้แก่ การทบทวน MFN Exemptions และการทบทวน Annex on Air Transport สำหรับการทบทวน MFN Exemptions นั้นขณะนี้ได้กลายเป็นวาระประจำ (Standing Agenda) ของคณะมนตรีทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (Council for Trade in Services : CTS) ส่วนการทบทวนเรื่อง Air Transport นั้นยังไม่เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ และคาดว่าจะต้องมีการประชุมอีกอย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2544
1.3 สำหรับการดำเนินการเพื่อรองรับการเจรจาเปิดตลาดในปี 2543 ที่สำคัญได้แก่ การเจรจาจัดทำ negotiating guidelines and procedures และการหารือเรื่อง modalities for the treatment of autonomous liberalization ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ ปัจจุบันยังอยู่ในระยะพิจารณาข้อเสนอที่ประเทศต่าง ๆ ได้ยื่นต่อคณะมนตรีทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการสมัยพิเศษ (Council for Trade in Services Special Session : CSS) ซึ่งเป็นเวทีที่ดูแลเรื่องการเจรจาการค้าบริการในภาพรวม
1.4 ในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม 2543 ได้มีพัฒนาการประการหนึ่งที่สำคัญคือ มีสมาชิกหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ อินเดีย สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย เป็นต้น ได้ยื่นข้อเสนอรายสาขาต่อ CSS รวมทั้งสิ้น 19 สาขา ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้มิใช่ initial requests ในสาขานั้น ๆ แต่เป็นข้อเสนอที่เรียกร้องให้มีการเปิดเสรีเพิ่มเติมพร้อมไปกับเสนอให้มีการดำเนินการด้านกฎเกณฑ์ในสาขาเหล่านั้น เช่น เสนอให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์พหุภาคีในสาขานั้นเพิ่มเติม เสนอให้มีการแก้ไขการแยกประเภทการบริการสาขานั้นให้ละเอียดหรือสะท้อนต่อสภาวะความเป็นจริงมากกว่าในปัจจุบัน หรือเสนอตัวอย่างมาตรการกีดกันที่ประเทศสมาชิกใช้อยู่ในสาขาเหล่านั้นและเรียกร้องให้ยกเลิกข้อจำกัดเหล่านี้ให้หมดไปในการเจรจารอบใหม่ เป็นต้น
2. แนวโน้มการดำเนินการในปี 2544
2.1 การเจรจาด้านกฎเกณฑ์ ที่น่าจะมีความคืบหน้าที่ชัดเจนในปี 2544 ได้แก่
(1) การเจรจามาตรการปกป้องฉุกเฉินภายใต้ WPGR ซึ่งมีกำหนดเวลาสิ้นสุดการเจรจาในเดือนมีนาคม 2545 คาดว่าในปีนี้คงจะดำเนินไปอย่างเข้มข้นเพื่อให้มีความก้าวหน้ามากที่สุดในการจัดทำร่างความตกลงให้ทันกำหนดเวลาดังกล่าว
(2) การปรับปรุงวิธีการเขียนตารางข้อผูกพันภายใต้ CSC ซึ่งหลายประเทศมุ่งหวังให้สำเร็จภายในเดือนมีนาคม 2544
(3) การปรับปรุงการแยกประเภทการค้าบริการ (classification) ภายใต้ CSC อย่างไรก็ตามเรื่องนี้อาจจะมีหลายส่วนที่จะถูกดึงไปอยู่ภายใต้การเจรจารายสาขาใน CSS เพราะ hlgher profile
สำหรับการเจรจาภายใต้เวทีอื่น เช่น Working Party on Domestic Regulation และ Committee on Trade in Financial Services นั้น คงจะดำเนินการต่อไปตามปกติ เพราะไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
2.2 นอกจากการเจรจาด้านกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว เรื่องที่สมาชิกให้ความสำคัญมากในปี 2544 คือ การเจรจาจัดทำ negotiating guidelines โดยฝ่ายเลขานุการ WTO จะเวียนร่าง negotiating guidelines ฉบับแรกภายในเดือนมกราคม 2544 และคาดว่าจะมีการหารืออย่างไม่เป็นทางการเป็นระยะ ๆ ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม โดยมีความมุ่งหวังให้ทุกฝ่ายสามารถตกลงยอมรับ negotiating guidelines ได้ภายในปลายเดือนมีนาคม 2544 ส่วนเรื่อง autonomous liberalization ซึ่งจะต้องจัดทำ modality นั้น อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าเดือนมีนาคมเพราะมีปัญหาด้านเทคนิคหลายประการ
2.3 ในปีที่ผ่านมา มีการคาดหมายกันว่า เมื่อการเจรจาเรื่อง negotiating guidelines เสร็จสิ้นลงในเดือนมีนาคม 2544 ก็อาจจะมีการเริ่มการเจรจาเปิดตลาด (สองฝ่าย) ในช่วงกลางปี 2544 อย่างไรก็ตาม ระหว่างการประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่ออสเตรเลียจัดขึ้นเมื่อปลายปี 25431 หลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สหรัฐฯ อินเดีย เป็นต้น ได้แสดงความเห็นว่า การเจรจาเปิดตลาดอาจจะไม่สามารถเริ่มได้ในเวลาดังกล่าวด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
(1) สมาชิกเห็นว่า ควรมีเวลาให้พิจารณาข้อเสนอรายสาขาตามข้อ 1.4 ที่คาดว่าจะมีสมาชิกเสนอเพิ่มเติมในช่วงต้นปี โดยให้ฝ่ายเลขานุการจัดประชุม CSS สมัยพิเศษ (เพิ่มเติมจาก CSS ที่กำหนดไว้เดิม) เพื่อพิจารณาข้อเสนอเหล่านี้ในรายละเอียดภายหลังจากเสร็จสิ้นการจัดทำ negotiating guidelines รูปแบบที่คาดไว้ คือ ให้จัดการประชุมหลายวันติดต่อกันโดยใน 1 วันจะครอบคลุม 1-2 สาขา แล้วแต่ว่าสาขานั้น ๆ มีข้อเสนอมากน้อยเพียงใด
(2) การประชุมระดับรัฐมนตรีในปลายปี 2544 อาจจะส่งผลกระทบต่อการเจรจาอย่างน้อยในแง่ resources และอาจทำให้ไม่สามารถเริ่มต้นการเจรจาเปิดตลาดได้ในช่วงกลางปี 2544 ตามที่คาดไว้แต่เดิม
1 ประเทศที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี สหภาพยุโรป ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ ไทย อุรุกวัย และสหรัฐฯ
2.4 ภายหลังการประชุมที่อ้างถึงในข้อ 2.3 ออสเตรเลียได้เวียนเอกสาร Possible Services Work Organisation (เอกสารแนบ 2) สรุปความเห็นของประเทศที่เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการในปี 2544 ทั้งนี้ ขอเรียนว่า แม้เอกสารนี้จะเป็นเอกสารอย่างไม่เป็นทางการ แต่ประเทศที่ให้ข้อคิดเห็นสอดคล้องกับ Work Programme นี้ก็รวมประเทศสำคัญ ๆ เช่น สหรัฐฯ สหภาพฯ ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นต้น จึงน่าที่จะใช้เอกสารนี้เป็นแนวทางสำหรับการเตรียมการในปี 2544 ได้ดีพอสมควร
3. การเตรียมตัวของไทย
3.1 การเตรียมตัวสำหรับ Stocktaking ในเดือนมีนาคม
ในชั้นนี้ หลายประเทศยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่า การประชุมในเดือนมีนาคมนั้น มีวัตถุประสงค์และผลที่ต้องการอย่างไร แต่ส่วนใหญ่คาดว่า อย่างน้อยที่สุดควรจะสามารถตกลง (1) ยอมรับ negotiating guidelines (2) บรรลุการแก้ไขวิธีการเขียนตารางข้อผูกพัน และ (3) กำหนดขั้นตอนการดำเนินการในช่วงต่อไป อย่างน้อยสำหรับ 12 เดือนข้างหน้า (Second Roadmap for Services Negotiations)
ดังนั้น ไทยคงต้องเตรียมกำหนดท่าทีในสามเรื่องนี้ ในประเด็นที่ 3 ซึ่งเป็นประเด็นด้านกระบวนการว่า ในชั้นนี้ ยังไม่ควรกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการเจรจาการค้าบริการเพราะยังไม่ชัดเจนว่าจะมีขอบเขตกว้างขวางและซับซ้อนเพียงใด และหลายประเทศยังต้องการรอดูว่า จะมีการเจรจาเรื่องอื่นเกิดขึ้นนอกเหนือจากเกษตรและบริการหรือไม่ ขณะนี้ มีเพียงสหรัฐฯ และสิงคโปร์ ที่เห็นว่าน่าจะมีการกำหนด benchmarks ต่าง ๆ และ possible target date สำหรับการสิ้นสุดการเจรจา เพื่อไว้ใช้ผลักดันให้สมาชิกพยายามมีการดำเนินการให้ทันตามกำหนดเวลาเหล่านี้
3.2 การเตรียมตัวสำหรับการเจรจารายสาขา
การเจรจารายสาขานี้ จะต้องเตรียมตัวทั้งสำหรับการพิจารณาข้อเสนอรายสาขา และการจัดทำ requests/offers ในสาขานั้น ๆ กระทรวงพาณิชย์จะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีการพิจารณาข้อเสนอรายสาขาทั้ง 19 สาขาที่มีในปัจจุบัน และที่อาจจะมีเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ การกำหนดท่าทีควรคำนึงถึงเรื่องการแยกประเภทใหม่ที่มีสมาชิกเสนอในเวทีอื่น โดยเฉพาะใน CSC และคณะกรรมการว่าด้วยการบริการด้านการเงิน (CTFS) ไปด้วยพร้อม ๆ กับการพิจารณาข้อเสนอรายสาขา เพระทุกอย่างเกี่ยวข้องกัน และควรนำมาประกอบการกำหนด requests/offers ด้วย
นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงมาตรการที่ไทยอาจจะนำมาผูกพันในกรณีที่สามารถมีข้อตกลงในเรื่องการให้เครดิต autonomous liberalization ด้วยว่า พร้อมจะผูกพันมาตรการใดบ้าง ฯลฯ
3.3 การเตรียมตัวสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรี
ในเรื่องการค้าบริการนั้น อาจจะมีแรงกดดันทางการเมืองให้มีข้อตัดสินใจในเรื่องกำหนดการเจรจาตามข้อ 3.1 ซึ่งแม้หลายประเทศอาจจะยังไม่ต้องการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการเจรจา แต่ประเทศมหาอำนาจบางประเทศอาจผลักดันให้อย่างน้อยมีการกำหนดระยะเวลาสำหรับ (1) การยื่น request/offers และ (2) mid-term review ซึ่งในเรื่องกำหนดเวลานี้ไทยจะต้องพิจารณาการเจรจาเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องการค้าบริการด้วย (เช่นเรื่องเกษตร) เพื่อให้มีท่าทีที่เป็นเอกภาพ
อีกประเด็นที่อาจมีการหยิบยกขึ้น คือ หากมีการเจรจารอบใหม่เกิดขึ้น การเจรจา built-in agenda 2 เรื่องที่ดำเนินการมาแล้ว คือ เกษตรและบริการ จะนำไปผนวกกับการเจรจารอบใหม่ได้อย่างไร หลายประเทศใหญ่มีความเห็นว่า ไม่ควรนำไปเชื่อมโยงกับการเจรจาเรื่องอื่น (ที่อาจมีขึ้น) โดยเฉพาะไม่ควรกำหนดให้การเจรจาต้องสิ้นสุดลงพร้อมกับเรื่องใหม่อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในชั้นนี้ คงต้องติดตามพัฒนาการใน WTO ว่ามีแนวโน้มที่จะมีการเจรจาเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1.1 ในปี 2543 การเจรจาการค้าบริการเน้นด้านกฎเกณฑ์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเจรจาภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยข้อผูกพันเฉพาะ (Committee on Specific Commitments : CSC) และคณะทำงานว่าด้วยกฎเกณฑ์ด้านการค้าบริการ (Working Party on GATS Rules : WPGR) ซึ่งมีความคืบหน้าในเรื่องมาตรการปกป้องฉุกเฉินมากที่สุด อันเป็นผลจากการที่ไทยและอาเซียนเสนอร่างความตกลงในเรื่องนี้
1.2 นอกจากการเจรจาด้านกฎเกณฑ์แล้ว ในปี 2543 ยังมีการทบทวนเรื่องต่าง ๆ ตามที่ความตกลง GATS กำหนดไว้ ที่สำคัญได้แก่ การทบทวน MFN Exemptions และการทบทวน Annex on Air Transport สำหรับการทบทวน MFN Exemptions นั้นขณะนี้ได้กลายเป็นวาระประจำ (Standing Agenda) ของคณะมนตรีทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (Council for Trade in Services : CTS) ส่วนการทบทวนเรื่อง Air Transport นั้นยังไม่เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ และคาดว่าจะต้องมีการประชุมอีกอย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2544
1.3 สำหรับการดำเนินการเพื่อรองรับการเจรจาเปิดตลาดในปี 2543 ที่สำคัญได้แก่ การเจรจาจัดทำ negotiating guidelines and procedures และการหารือเรื่อง modalities for the treatment of autonomous liberalization ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ ปัจจุบันยังอยู่ในระยะพิจารณาข้อเสนอที่ประเทศต่าง ๆ ได้ยื่นต่อคณะมนตรีทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการสมัยพิเศษ (Council for Trade in Services Special Session : CSS) ซึ่งเป็นเวทีที่ดูแลเรื่องการเจรจาการค้าบริการในภาพรวม
1.4 ในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม 2543 ได้มีพัฒนาการประการหนึ่งที่สำคัญคือ มีสมาชิกหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ อินเดีย สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย เป็นต้น ได้ยื่นข้อเสนอรายสาขาต่อ CSS รวมทั้งสิ้น 19 สาขา ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้มิใช่ initial requests ในสาขานั้น ๆ แต่เป็นข้อเสนอที่เรียกร้องให้มีการเปิดเสรีเพิ่มเติมพร้อมไปกับเสนอให้มีการดำเนินการด้านกฎเกณฑ์ในสาขาเหล่านั้น เช่น เสนอให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์พหุภาคีในสาขานั้นเพิ่มเติม เสนอให้มีการแก้ไขการแยกประเภทการบริการสาขานั้นให้ละเอียดหรือสะท้อนต่อสภาวะความเป็นจริงมากกว่าในปัจจุบัน หรือเสนอตัวอย่างมาตรการกีดกันที่ประเทศสมาชิกใช้อยู่ในสาขาเหล่านั้นและเรียกร้องให้ยกเลิกข้อจำกัดเหล่านี้ให้หมดไปในการเจรจารอบใหม่ เป็นต้น
2. แนวโน้มการดำเนินการในปี 2544
2.1 การเจรจาด้านกฎเกณฑ์ ที่น่าจะมีความคืบหน้าที่ชัดเจนในปี 2544 ได้แก่
(1) การเจรจามาตรการปกป้องฉุกเฉินภายใต้ WPGR ซึ่งมีกำหนดเวลาสิ้นสุดการเจรจาในเดือนมีนาคม 2545 คาดว่าในปีนี้คงจะดำเนินไปอย่างเข้มข้นเพื่อให้มีความก้าวหน้ามากที่สุดในการจัดทำร่างความตกลงให้ทันกำหนดเวลาดังกล่าว
(2) การปรับปรุงวิธีการเขียนตารางข้อผูกพันภายใต้ CSC ซึ่งหลายประเทศมุ่งหวังให้สำเร็จภายในเดือนมีนาคม 2544
(3) การปรับปรุงการแยกประเภทการค้าบริการ (classification) ภายใต้ CSC อย่างไรก็ตามเรื่องนี้อาจจะมีหลายส่วนที่จะถูกดึงไปอยู่ภายใต้การเจรจารายสาขาใน CSS เพราะ hlgher profile
สำหรับการเจรจาภายใต้เวทีอื่น เช่น Working Party on Domestic Regulation และ Committee on Trade in Financial Services นั้น คงจะดำเนินการต่อไปตามปกติ เพราะไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
2.2 นอกจากการเจรจาด้านกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว เรื่องที่สมาชิกให้ความสำคัญมากในปี 2544 คือ การเจรจาจัดทำ negotiating guidelines โดยฝ่ายเลขานุการ WTO จะเวียนร่าง negotiating guidelines ฉบับแรกภายในเดือนมกราคม 2544 และคาดว่าจะมีการหารืออย่างไม่เป็นทางการเป็นระยะ ๆ ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม โดยมีความมุ่งหวังให้ทุกฝ่ายสามารถตกลงยอมรับ negotiating guidelines ได้ภายในปลายเดือนมีนาคม 2544 ส่วนเรื่อง autonomous liberalization ซึ่งจะต้องจัดทำ modality นั้น อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าเดือนมีนาคมเพราะมีปัญหาด้านเทคนิคหลายประการ
2.3 ในปีที่ผ่านมา มีการคาดหมายกันว่า เมื่อการเจรจาเรื่อง negotiating guidelines เสร็จสิ้นลงในเดือนมีนาคม 2544 ก็อาจจะมีการเริ่มการเจรจาเปิดตลาด (สองฝ่าย) ในช่วงกลางปี 2544 อย่างไรก็ตาม ระหว่างการประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่ออสเตรเลียจัดขึ้นเมื่อปลายปี 25431 หลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สหรัฐฯ อินเดีย เป็นต้น ได้แสดงความเห็นว่า การเจรจาเปิดตลาดอาจจะไม่สามารถเริ่มได้ในเวลาดังกล่าวด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
(1) สมาชิกเห็นว่า ควรมีเวลาให้พิจารณาข้อเสนอรายสาขาตามข้อ 1.4 ที่คาดว่าจะมีสมาชิกเสนอเพิ่มเติมในช่วงต้นปี โดยให้ฝ่ายเลขานุการจัดประชุม CSS สมัยพิเศษ (เพิ่มเติมจาก CSS ที่กำหนดไว้เดิม) เพื่อพิจารณาข้อเสนอเหล่านี้ในรายละเอียดภายหลังจากเสร็จสิ้นการจัดทำ negotiating guidelines รูปแบบที่คาดไว้ คือ ให้จัดการประชุมหลายวันติดต่อกันโดยใน 1 วันจะครอบคลุม 1-2 สาขา แล้วแต่ว่าสาขานั้น ๆ มีข้อเสนอมากน้อยเพียงใด
(2) การประชุมระดับรัฐมนตรีในปลายปี 2544 อาจจะส่งผลกระทบต่อการเจรจาอย่างน้อยในแง่ resources และอาจทำให้ไม่สามารถเริ่มต้นการเจรจาเปิดตลาดได้ในช่วงกลางปี 2544 ตามที่คาดไว้แต่เดิม
1 ประเทศที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี สหภาพยุโรป ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ ไทย อุรุกวัย และสหรัฐฯ
2.4 ภายหลังการประชุมที่อ้างถึงในข้อ 2.3 ออสเตรเลียได้เวียนเอกสาร Possible Services Work Organisation (เอกสารแนบ 2) สรุปความเห็นของประเทศที่เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการในปี 2544 ทั้งนี้ ขอเรียนว่า แม้เอกสารนี้จะเป็นเอกสารอย่างไม่เป็นทางการ แต่ประเทศที่ให้ข้อคิดเห็นสอดคล้องกับ Work Programme นี้ก็รวมประเทศสำคัญ ๆ เช่น สหรัฐฯ สหภาพฯ ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นต้น จึงน่าที่จะใช้เอกสารนี้เป็นแนวทางสำหรับการเตรียมการในปี 2544 ได้ดีพอสมควร
3. การเตรียมตัวของไทย
3.1 การเตรียมตัวสำหรับ Stocktaking ในเดือนมีนาคม
ในชั้นนี้ หลายประเทศยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่า การประชุมในเดือนมีนาคมนั้น มีวัตถุประสงค์และผลที่ต้องการอย่างไร แต่ส่วนใหญ่คาดว่า อย่างน้อยที่สุดควรจะสามารถตกลง (1) ยอมรับ negotiating guidelines (2) บรรลุการแก้ไขวิธีการเขียนตารางข้อผูกพัน และ (3) กำหนดขั้นตอนการดำเนินการในช่วงต่อไป อย่างน้อยสำหรับ 12 เดือนข้างหน้า (Second Roadmap for Services Negotiations)
ดังนั้น ไทยคงต้องเตรียมกำหนดท่าทีในสามเรื่องนี้ ในประเด็นที่ 3 ซึ่งเป็นประเด็นด้านกระบวนการว่า ในชั้นนี้ ยังไม่ควรกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการเจรจาการค้าบริการเพราะยังไม่ชัดเจนว่าจะมีขอบเขตกว้างขวางและซับซ้อนเพียงใด และหลายประเทศยังต้องการรอดูว่า จะมีการเจรจาเรื่องอื่นเกิดขึ้นนอกเหนือจากเกษตรและบริการหรือไม่ ขณะนี้ มีเพียงสหรัฐฯ และสิงคโปร์ ที่เห็นว่าน่าจะมีการกำหนด benchmarks ต่าง ๆ และ possible target date สำหรับการสิ้นสุดการเจรจา เพื่อไว้ใช้ผลักดันให้สมาชิกพยายามมีการดำเนินการให้ทันตามกำหนดเวลาเหล่านี้
3.2 การเตรียมตัวสำหรับการเจรจารายสาขา
การเจรจารายสาขานี้ จะต้องเตรียมตัวทั้งสำหรับการพิจารณาข้อเสนอรายสาขา และการจัดทำ requests/offers ในสาขานั้น ๆ กระทรวงพาณิชย์จะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีการพิจารณาข้อเสนอรายสาขาทั้ง 19 สาขาที่มีในปัจจุบัน และที่อาจจะมีเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ การกำหนดท่าทีควรคำนึงถึงเรื่องการแยกประเภทใหม่ที่มีสมาชิกเสนอในเวทีอื่น โดยเฉพาะใน CSC และคณะกรรมการว่าด้วยการบริการด้านการเงิน (CTFS) ไปด้วยพร้อม ๆ กับการพิจารณาข้อเสนอรายสาขา เพระทุกอย่างเกี่ยวข้องกัน และควรนำมาประกอบการกำหนด requests/offers ด้วย
นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงมาตรการที่ไทยอาจจะนำมาผูกพันในกรณีที่สามารถมีข้อตกลงในเรื่องการให้เครดิต autonomous liberalization ด้วยว่า พร้อมจะผูกพันมาตรการใดบ้าง ฯลฯ
3.3 การเตรียมตัวสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรี
ในเรื่องการค้าบริการนั้น อาจจะมีแรงกดดันทางการเมืองให้มีข้อตัดสินใจในเรื่องกำหนดการเจรจาตามข้อ 3.1 ซึ่งแม้หลายประเทศอาจจะยังไม่ต้องการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการเจรจา แต่ประเทศมหาอำนาจบางประเทศอาจผลักดันให้อย่างน้อยมีการกำหนดระยะเวลาสำหรับ (1) การยื่น request/offers และ (2) mid-term review ซึ่งในเรื่องกำหนดเวลานี้ไทยจะต้องพิจารณาการเจรจาเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องการค้าบริการด้วย (เช่นเรื่องเกษตร) เพื่อให้มีท่าทีที่เป็นเอกภาพ
อีกประเด็นที่อาจมีการหยิบยกขึ้น คือ หากมีการเจรจารอบใหม่เกิดขึ้น การเจรจา built-in agenda 2 เรื่องที่ดำเนินการมาแล้ว คือ เกษตรและบริการ จะนำไปผนวกกับการเจรจารอบใหม่ได้อย่างไร หลายประเทศใหญ่มีความเห็นว่า ไม่ควรนำไปเชื่อมโยงกับการเจรจาเรื่องอื่น (ที่อาจมีขึ้น) โดยเฉพาะไม่ควรกำหนดให้การเจรจาต้องสิ้นสุดลงพร้อมกับเรื่องใหม่อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในชั้นนี้ คงต้องติดตามพัฒนาการใน WTO ว่ามีแนวโน้มที่จะมีการเจรจาเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-