1. การผลิต ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 (กรกฎาคม - กันยายน) การผลิตของอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังลดลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 2 กล่าวคือ การผลิตรองเท้าในไตรมาสที่ 3 ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.82 ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วงของเดือนกรกฎาคม - เดือน
สิงหาคม ปริมาณการผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่สูง แต่ช่วงเดือนกันยายนปริมาณการผลิตได้ลดต่ำลงมาก อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบปริมาณการผลิตรองเท้า
ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 กับไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 ปรากฏว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.52
ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ซึ่งรวมถึงการผลิตกระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง และอื่นๆ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ปริมาณการผลิตได้
ลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 คือ ร้อยละ 24.6 ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตได้ลดลงอย่างต่อเนื่องมาจากช่วงปลายของไตรมาสที่ 2 และ
เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตกับช่วงไตรมาส 3 ของปี 2543 ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 41.3
ตารางที่ 1. ปริมาณการผลิตรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง*
รายการ ปี 2543 ปี 2544
ไตรมาส 3 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3
1. รองเท้า (คู่) 6,785,602 7,681,687 7,083,205 7,024,776
2.กระเป๋าและเครื่องใช้เดินทาง(ใบ) 3,086,178 1,997,163 2,402,433 1,812,164
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
* เป็นข้อมูลเบื้องต้น
2. การตลาด รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังจะจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 50 ของปริมาณที่ผลิตได้ อีกประมาณร้อยละ 50 ส่งออก
ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมีตลาดหลักที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม และเดนมาร์ก รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังที่มี
บทบาทสำคัญในการส่งออกได้แก่ รองเท้ากีฬา รองเท้าหนัง กระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง นอกนั้นจะเป็นของเล่นสุนัข ถุงมือ ฯลฯ สำหรับการ
ส่งออกรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ไม่มากนัก คือ ร้อยละ 1.82 ซึ่งเป็นการลดลงของ
การส่งออกรองเท้ากีฬาและผลิตภัณฑ์อื่นๆ และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.4
ตารางที่ 2. มูลค่าการส่งออกรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ปี 2543 ปี 2544
ไตรมาส 3 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3
1.รองเท้าและชิ้นส่วน 193.3 239.6 209.5 198.5
- รองเท้ากีฬา 99.2 125.9 113.6 112.3
- รองเท้าหนัง 50.5 45.4 47.0 50.1
- อื่นๆ 43.6 68.3 49.0 36.1
2.ผลิตภัณฑ์หนัง 181.6 156.4 159.3 163.6
-.กระเป๋าและเครื่องใช้เดินทาง 123.3 113.3 114.8 124.9
-. ผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ** 58.3 43.1 44.5 38.7
รวม 374.9 385.0 368.8 362.1
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
** ของเล่นสุนัข ถุงมือ เครื่องแต่งกาย ปลอกเบาะเฟอร์นิเจอร์
3. แนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ภาวะการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และเมื่อพิจารณาถึงตลาดส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้า
และผลิตภัณฑ์หนังของไทยจะเห็นได้ว่า มีสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลักที่สำคัญ โดยมีการนำเข้าในส่วนของรองเท้าในสัดส่วนถึงร้อยละ 38 กระเป๋า
และเครื่องใช้เดินทาง ร้อยละ 69.1 และผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ร้อยละ 17 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ดังนั้น ภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
และการทำสงครามในอัฟกานิสถานจะส่งผลให้ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 สหรัฐอเมริกาจะนำเข้ารองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังจากไทยลดลง ซึ่ง
อาจจะทำให้แนวโน้มการส่งออกรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยลดลง อย่างไรก็ตามหากผู้ผลิตไทยขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่นแทน เช่น
เบลเยี่ยม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สเปน รวมทั้ง แคนาดา เม็กซิโก เป็นต้น ปัญหาด้านตลาดส่งออกจะคลี่คลายลงได้บ้าง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ไตรมาส 2 กล่าวคือ การผลิตรองเท้าในไตรมาสที่ 3 ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.82 ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วงของเดือนกรกฎาคม - เดือน
สิงหาคม ปริมาณการผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่สูง แต่ช่วงเดือนกันยายนปริมาณการผลิตได้ลดต่ำลงมาก อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบปริมาณการผลิตรองเท้า
ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 กับไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 ปรากฏว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.52
ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ซึ่งรวมถึงการผลิตกระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง และอื่นๆ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ปริมาณการผลิตได้
ลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 คือ ร้อยละ 24.6 ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตได้ลดลงอย่างต่อเนื่องมาจากช่วงปลายของไตรมาสที่ 2 และ
เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตกับช่วงไตรมาส 3 ของปี 2543 ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 41.3
ตารางที่ 1. ปริมาณการผลิตรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง*
รายการ ปี 2543 ปี 2544
ไตรมาส 3 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3
1. รองเท้า (คู่) 6,785,602 7,681,687 7,083,205 7,024,776
2.กระเป๋าและเครื่องใช้เดินทาง(ใบ) 3,086,178 1,997,163 2,402,433 1,812,164
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
* เป็นข้อมูลเบื้องต้น
2. การตลาด รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังจะจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 50 ของปริมาณที่ผลิตได้ อีกประมาณร้อยละ 50 ส่งออก
ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมีตลาดหลักที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม และเดนมาร์ก รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังที่มี
บทบาทสำคัญในการส่งออกได้แก่ รองเท้ากีฬา รองเท้าหนัง กระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง นอกนั้นจะเป็นของเล่นสุนัข ถุงมือ ฯลฯ สำหรับการ
ส่งออกรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ไม่มากนัก คือ ร้อยละ 1.82 ซึ่งเป็นการลดลงของ
การส่งออกรองเท้ากีฬาและผลิตภัณฑ์อื่นๆ และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.4
ตารางที่ 2. มูลค่าการส่งออกรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ปี 2543 ปี 2544
ไตรมาส 3 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3
1.รองเท้าและชิ้นส่วน 193.3 239.6 209.5 198.5
- รองเท้ากีฬา 99.2 125.9 113.6 112.3
- รองเท้าหนัง 50.5 45.4 47.0 50.1
- อื่นๆ 43.6 68.3 49.0 36.1
2.ผลิตภัณฑ์หนัง 181.6 156.4 159.3 163.6
-.กระเป๋าและเครื่องใช้เดินทาง 123.3 113.3 114.8 124.9
-. ผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ** 58.3 43.1 44.5 38.7
รวม 374.9 385.0 368.8 362.1
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
** ของเล่นสุนัข ถุงมือ เครื่องแต่งกาย ปลอกเบาะเฟอร์นิเจอร์
3. แนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ภาวะการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และเมื่อพิจารณาถึงตลาดส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้า
และผลิตภัณฑ์หนังของไทยจะเห็นได้ว่า มีสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลักที่สำคัญ โดยมีการนำเข้าในส่วนของรองเท้าในสัดส่วนถึงร้อยละ 38 กระเป๋า
และเครื่องใช้เดินทาง ร้อยละ 69.1 และผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ร้อยละ 17 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ดังนั้น ภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
และการทำสงครามในอัฟกานิสถานจะส่งผลให้ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 สหรัฐอเมริกาจะนำเข้ารองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังจากไทยลดลง ซึ่ง
อาจจะทำให้แนวโน้มการส่งออกรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยลดลง อย่างไรก็ตามหากผู้ผลิตไทยขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่นแทน เช่น
เบลเยี่ยม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สเปน รวมทั้ง แคนาดา เม็กซิโก เป็นต้น ปัญหาด้านตลาดส่งออกจะคลี่คลายลงได้บ้าง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--