บทสรุปนักลงทุน
เทียนนอกจากใช้ให้แสงสว่างและประกอบพิธีกรรมต่าง ๆแล้ว ยังมีการนำเทียนประเภทสวยงามมาประดับตกแต่งบ้านและโต๊ะอาหาร โดยทั่วไปเทียนอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ เทียนทั่วไป และเทียนประดับ ในการศึกษานี้ศึกษาเฉพาะเทียนประดับ ได้แก่ เทียนแฟนซี เทียนหอม และเทียนลอยน้ำโดยตลาดเทียนประดับในประเทศกว่าร้อยละ 80 อยู่ในกรุงเทพฯ ที่เหลือร้อยละ 20 อยู่ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้านตลาดต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น คาดว่ามูลค่าตลาดเทียนประดับปี 2542 จะอยู่ในราว 600 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 และมูลค่าตลาดในประเทศ 200 ล้านบาท เป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศ 180ล้านบาท ที่เหลือเป็นการนำเข้าซึ่งมีแนวโน้มชะลอลงเนื่องจากการผลิตในประเทศแพร่หลายมากขึ้นคาดว่ามูลค่าตลาดเทียนประดับในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 เป็น 900-1,000 ล้านบาท โดยเป็นการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก
ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงมีลู่ทางค่อนข้างสดใส จะเห็นได้จากจำนวนผู้ผลิตที่มีจำนวนมากถึง 60 รายโดยโรงงานเหล่านี้สามารถผลิตเทียนได้ทุกชนิด โดยใช้เงินลงทุนเฉลี่ยประมาณรายละ 1-2 ล้านบาท ใช้แรงงานประมาณ 10-20 คน มีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 30 อีกร้อยละ 70 ผลิตเพื่อส่งออก ส่วนคู่แข่งขันในต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ จีน สำหรับการผลิตเทียนนั้นใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณร้อยละ 20 อีกร้อยละ 80 ใช้วัตถุดิบนำเข้า ได้แก่ แว็กซ์ และหัวน้ำหอม มีต้นทุนขายราว743,000 บาท กำไรเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ของยอดขาย ทางด้านราคาจำหน่ายจะแตกต่างกันขึ้นกับชนิด ขนาดและบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ด้านภาษีขาเข้าเทียนในปัจจุบันมีอัตราร้อยละ 20 ของราคานำเข้าลดลงจากอัตราปกติร้อยละ 40
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
เทียนนอกจากจะถูกใช้เพื่อให้แสงสว่างหรือประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านในโอกาสต่าง ๆ แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงอาจจำแนกประเภทของเทียนได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
1. เทียนทั่วไป (Basic or General Candle)
2.!เทียนประดับ (Decorative Candle) ซึ่งอาจจำแนกย่อยได้อีก 3 ประเภท ดังนี้
2.1!เทียนแฟนซี (Fancy Candle) ได้แก่ เทียนที่ทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น รูปผลไม้ ดอกไม้ และสัตว์เป็นต้น
2.2 เทียนหอม (Fragranced Candle) ได้แก่ เทียนที่มีการเติมกลิ่นน้ำหอมผสมลงไปในเนื้อเทียนเมื่อจุดเทียนจะมีกลิ่นหอมทั้งนี้มีประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เพื่อความหอม หรือไล่ยุง เป็นต้น
2.3 เทียนลอยน้ำ (Floating Candle) ใช้สำหรับตั้งโชว์เพื่อความสวยงามประดับบ้าน ส่วนใหญ่มักนิยมทำเป็นรูปดอกไม้ต่างๆ
ในการศึกษาครั้งนี้จะศึกษาอุตสาหกรรมเทียนประดับ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความหลากหลาย ง่ายต่อการลงทุนและมีลู่ทางการตลาดสดใส โดยทั่วไปแล้วตลาดเทียนประดับในประเทศไทยยังจำกัดอยู่ในกรุงเทพฯ กว่าร้อยละ 80 ที่เหลืออีกไม่ถึงร้อยละ 20 จะขายได้ดีในเมืองหลัก โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนิยมท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เช่น เชียงใหม่ และภูเก็ต เป็นต้น เนื่องจากเทียนประดับจัดได้ว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเมื่อเทียบกับระดับรายได้เฉลี่ย และรูปแบบที่อยู่อาศัยของคนไทยทั่วไป ยกเว้นในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีรายได้สูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศและมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตที่ทันสมัยมากขึ้น โดยจะนิยมใช้เทียนประดับในโอกาสต่าง ๆ และยังนิยมใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยเฉพาะเทียนหอมที่ใช้ในห้องน้ำและตู้เสื้อผ้า นอกจากนี้พฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศส่วนใหญ่นิยมซื้อใช้เองและซื้อเพื่อเป็นของขวัญในโอกาสต่าง ๆ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญ
สำหรับตลาดต่างประเทศนั้น เทียนประดับเป็นสินค้าที่นิยมสำหรับคนต่างประเทศ ทั้งการใช้ในชีวิตประจำวันและการใช้ในเทศกาลต่าง ๆตามวัฒนธรรม ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรปญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์ เป็นต้น โดยส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 70 ยุโรปประมาณร้อยละ 20 และตลาดเอเซียประมาณร้อยละ 10
มูลค่าตลาดรวมของเทียนทั้งหมดในปี 2541 มีกว่าพันล้านบาท โดยมีสัดส่วนของตลาดเทียนประดับประมาณร้อยละ 40 ของตลาดเทียนทั้งหมดหรือประมาณ 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ30 ตลาดเทียนประดับขยายตัวจากความต้องการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นและการส่งออกไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น ปริมาณการส่งออกเทียน 1/ในปี 2541 ประมาณ 3,800 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 50เป็นมูลค่าประมาณ 310 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 60 ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าการส่งออกเทียนประดับประมาณ 250 ล้านบาท ส่วนมูลค่าตลาดในประเทศของเทียนประดับมีประมาณ 150 ล้านบาท ราวร้อยละ 90 เป็นการบริโภคเทียนประดับที่ผลิตในประเทศ ที่เหลือราวร้อยละ 10 เป็นการบริโภคเทียนนำเข้า ซึ่งในปี 2541 ที่ผ่านมามีการนำเข้าเทียน 848 ตัน 1/ ส่งออกภายใต้รหัส H.S. 3406.000-006 ซึ่งไม่สามารถจำแนกประเภทเทียนได้ แต่จากการสำรวจพบว่า ปัจจุบันมีการส่งออกเทียนประดับประมาณร้อยละ 60 ของเทียนทั้งหมด
มูลค่า 27 ล้านบาท ชะลอตัวลงเพราะผลทางด้านเศรษฐกิจทำให้ประชาชนชะลอการใช้จ่าย และผลของค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ทำให้ต้นทุนนำเข้าเทียนสำเร็จรูปและวัตถุดิบสูงขึ้น
ส่วนในปี 2542 คาดว่ามูลค่าตลาดเทียนประดับทั้งหมดประมาณ 600 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนประมาณร้อยละ 50 สาเหตุจากความต้องการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะผลจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ กอปรกับการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น จากการสำรวจพบว่า ยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงประมาณร้อยละ 50 ส่วนปริมาณการส่งออกเทียนรวมในช่วง ม.ค.-ก.ย.ของปี 2542 ประมาณ 6,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 98 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ470 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 72 จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกเทียนประดับในปี2542 จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 60 เป็น 400 ล้านบาท ส่วนมูลค่าความต้องการในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 30 เป็น 200 ล้านบาท ในขณะที่คาดว่ามูลค่าการนำเข้าเทียนมีแนวโน้มลดลงประมาณร้อยละ7 เป็น 25 ล้านบาท
คาดว่ามูลค่าตลาดเทียนประดับในปี 2543 มีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 40-50 เป็นประมาณ 900-1,000 ล้านบาท โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 70 ทั้งนี้เพราะมีความต้องการบริโภคเทียนเพิ่มขึ้นและมีการออกผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้นทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
โดยทั่วไปโรงงานผลิตเทียนสามารถผลิตเทียนได้ทุกชนิด จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งรายชื่อสมาชิกชมรมของขวัญ ของชำร่วยและผลิตภัณฑ์ตกแต่ง2/พบว่าในปี 2542 มีผู้ประกอบการทำเทียนประมาณ 60 รายกระจายอยู่ในทุกภูมิภาค เช่น ในกรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้ประกอบการมากที่สุดถึง 25 แห่ง ทั้งนี้เพราะสะดวกในการจัดซื้อวัตถุดิบ และมีแรงงานจำนวนมาก รองลงมาคือปริมณฑล 17 แห่ง ที่เหลืออีก 18แห่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ โรงงานเหล่านี้มีเงินทุนเฉลี่ยประมาณ 1-2 ล้านบาท ใช้แรงงานประมาณ10-20 คน ดังนั้นจึงจัดได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมนี้อยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไทย
คู่แข่งขันในต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ จีน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกเทียนอันดับต้น ๆของโลก ทั้งนี้เพราะมีแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่นำมาผสมเป็นเนื้อเทียน ตลอดจนมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าไทย นอกจากจีนจะเป็นคู่แข่งสำคัญแล้วจีนยังเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยอีกด้วย จากข้อมูลการนำเข้าครึ่งปีแรกของปี2542 พบว่า 2/ ชมรมของขวัญ ของชำร่วยและผลิตภัณฑ์ตกแต่ง เป็นการรวมกลุ่มกันผู้ประกอบการในธุรกิจการผลิตของขวัญ ของชำร่วยโดยการสนับสนุนของกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
ไทยนำเข้าเทียนจากจีนถึงร้อยละ 74 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น ร้อยละ 18 ไต้หวัน ร้อยละ 3 ฟินแลนด์ ร้อยละ 1อังกฤษ ร้อยละ 0.8 และอื่น ๆ ร้อยละ 2
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญในอุตสาหกรรมเทียน
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท โตโยอุตสาหกรรม จำกัด 77,000,000
บริษัท ลีฟวิ่ง คอนเซ็พท์ จำกัด 35,000,000
บริษัท สุพรรณ พาราพินิค จำกัด 25,500,000
บริษัท สหสากลแสงเทียนรุ่งโรจน์ จำกัด 20,500,000
บริษัท ฉือหวา(ประเทศไทย) จำกัด 16,150,000
บริษัท ลักกี้ อินดัสเตรียล จำกัด * 4,500,000
บริษัท เพตาลี จำกัด* 2,500,000
บริษัท เซเวน ดี แอนด์ พี จำกัด* 1,000,000
บริษัท สิชล เฟาวเวอร์ แอนด์ แฮนดิคราฟต์ จำกัด* 500,000
บริษัท รังแก้ว จำกัด* 400,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมการส่งออก
หมายเหตุ: เป็นโรงงานผลิตเทียนประดับ
ช่องทางการจำหน่าย
การผลิตเทียนประดับส่วนใหญ่ราวร้อยละ 70 เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ที่เหลือราวร้อยละ 30 เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งการจำหน่ายในประเทศนั้นราวร้อยละ 80 เป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย อีกร้อยละ 20 เป็นการขายให้แก่ผู้ใช้โดยตรง โดยเฉพาะการจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆและตลาดนัด
ส่วนการจำหน่ายในต่างประเทศนั้นมีตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป ได้แก่ อิตาลี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศแถบเอเซีย ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยผู้ผลิตจะทำการส่งออกเองราวร้อยละ 50 อีกร้อยละ 50 เป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
ใช้วัตถุดิบภายในประเทศประมาณร้อยละ 20 ได้แก่
1. ไส้เทียนไขเป็นเส้นด้ายฝ้าย ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีการผลิตในประเทศมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15
2. วัสดุตกแต่งต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ ใบไม้แห้ง ภาชนะบรรจุต่าง ๆ เช่น ขวดแก้ว กระถาง ตลอดจนวัสดุตกแต่งอื่น เช่น เมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ เปลือกหอย เป็นต้น มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 โดยมีแหล่งจัดซื้ออยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่
ส่วนวัตถุดิบนำเข้ามีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ได้แก่วัตถุดิบที่นำมาผสมเป็นเนื้อเทียน ได้แก่
1. พาราฟีน แว็กซ์ (Paraffin Wax) ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในการทำเทียน มีสัดส่วนประมาณร้อยละ65 ของต้นทุนวัตถุดิบ แหล่งนำเข้าได้แก่ ประเทศจีน
2. ไมโครแว็กซ์ (Micro Wax) มีคุณสมบัติช่วยทำให้เนื้อเทียนเนียนสวย มีสัดส่วนประมาณร้อยละ5 มีแหล่งนำเข้าหลักได้แก่ ประเทศจีน
3. โพลีเอททีลีน แว็กซ์ (PE Wax) มีคุณสมบัติทำให้เนื้อเทียนแข็ง แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้เนื้อเทียนกระด้าง ดังนั้นถ้าใช้วัตถุดิบเทียน 100 กิโลกรัม ควรเติม พี อี แว็กซ์ลงไปไม่เกิน 2-3% โดยมีสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 5 มีแหล่งจัดซื้อในกรุงเทพมหานคร3/
4. หัวน้ำหอมสำหรับผสมลงไปในเทียนเพื่อให้เกิดกลิ่นหอม เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นส้ม ฯลฯมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ ยุโรป เป็นต้น4/
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน(%)
1.! วัตถุดิบ 45
- วัตถุดิบในประเทศ 9
- วัตถุดิบนำเข้า 36
2. ค่าแรงงาน 20
3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ 35
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
3/ รายชื่อผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบที่นำมาผสมเป็นเนื้อเทียน ได้แก่ บริษัท บี เจ ซี ซัพพลาย จำกัด โทรศัพท์ 5836321 เป็นต้น4/ รายชื่อผู้จัดจำหน่ายหัวน้ำหอม ได้แก่ บริษัท กิมฮวด จำกัด โทรศัพท์ 2140581-2 เป็นต้น
กรรมวิธีการผลิต
ต้มส่วนผสมของเนื้อเทียน ได้แก่ พาราฟีนแว็กซ์
ไมโครแว็กซ์ พี อี แว็กซ์ ลงในหม้อต้ม
|
V
เติมกลิ่น / หัวน้ำหอม
|
V
นำไส้เชือกมาตั้งเป็นแกน โดยนำเหรียญกั้นเทียนวางไว้เพื่อ
ทำหน้าที่ยึดไส้กับเนื้อเทียน
|
V
เทเทียนลงในแท่นพิมพ์ / ภาชนะบรรจุ
|
V
ตกแต่งให้สวยงาม
|
V
บรรจุหีบห่อ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตเทียน ได้แก่ หม้อต้มเพื่อใช้ในการต้มเทียนและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น บล็อกที่ใช้สำหรับใส่เทียน ซึ่งทำจากซิลิโคน ส่วนใหญ่จะอยู่แถบ เวิ้งนครเกษม เป็นต้น
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมการทำเทียนประดับ ได้แก่ เทียนแฟนซี เทียนหอม และเทียนลอยน้ำชนิดต่างๆ นั้นโรงงานควรตั้งอยู่ในบริเวณหรือทำเลใกล้แหล่งวัตถุดิบและแรงงาน เช่น กรุงเทพมหานคร และควรมีกำลังการผลิตประมาณ 1,000,000 ชิ้นต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งโรงงานขนาดดังกล่าวมีความต้องการเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 895,000 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ในกรณีผู้ประกอบการรายเล็กเป็นการเซ้งอาคาร 200,000 บาทต่อปี
- ค่าเครื่องจักร 65,000 บาท
- ค่ายานพาหนะและอื่น ๆ 500,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียน 130,000 บาทต่อปี
บุคลากร ประมาณ 30 คน ประกอบด้วย
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1!ช่างทำเทียน จำนวน 24 คน
1.2!พนักงานขับรถส่งของ จำนวน 1 คน
1.3!พนักงานบรรจุสินค้าลงกล่อง จำนวน 1 คน
2.! พนักงานในสำนักงาน และพนักงานบริหาร
2.1 บัญชี จำนวน 1 คน
2.2 การตลาด จำนวน 2 คน
2.3 ผู้จัดการ จำนวน 1 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. วัตถุดิบ 311,000 บาทต่อปี
- พาราฟีน แว็กซ์ 204,000 บาทต่อปี
- ไมโคร แว็กซ์ 15,000 บาทต่อปี
- พี อี แว็กซ์ 15,000 บาทต่อปี
- หัวน้ำหอม 15,000 บาทต่อปี
- ไส้เทียน 47,000 บาทต่อปี
- วัสดุตกแต่งอื่นๆ 15,000 บาทต่อปี
2. แรงงาน 140,000 บาทต่อปี
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 105,000 บาทต่อปี
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 169,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 9,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ (ใช้หม้อต้มแก๊สและไฟฟ้า) 40,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง 120,000 บาทต่อปี
- ค่ายานพาหนะ 60,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 60,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 18,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 136,500 ชิ้น ราคาเฉลี่ย 6 บาท/ชิ้น คิดเป็นรายได้ 819,000 บาท
ภาคผนวกราคาซื้อขาย
ราคาขายปลีกเทียนประดับ ทั้งเทียนแฟนซี เทียนหอม และเทียนลอยน้ำโดยเฉลี่ยจะมีราคาตั้งแต่10-200 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบ ภาชนะบรรจุ การตกแต่งและขนาดของเทียน เช่น เทียนแฟนซีแท่งขนาด 5 นิ้วราคาขายส่งประมาณแท่งละ 5 บาท เทียนหอมรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดความสูง 2 นิ้ว ราคาขายส่งประมาณ 20 บาท เทียนหอมลอยน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ราคาขายส่งประมาณ 6 บาท นอกจากนี้ยังมีการนำเทียนไปบรรจุลงในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถางต้นไม้ ขวดแก้ว กะลามะพร้าว ตะกร้าหวาย เป็นต้นดังนั้นจึงมีราคาแพงขึ้นตามภาชนะที่นำมาบรรจุ
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
เครื่องจักรที่สำคัญที่ใช้ในการทำเทียน ได้แก่ หม้อต้ม แก๊สหุงต้ม ส่วนอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ในการตกแต่งเทียน ได้แก่ มีดชนิดต่าง ๆ ตะไบ เป็นต้น
ตารางที่ 5:รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายหม้อต้มเทียน
บริษัท/โรงงาน ที่อยู่
โรงงาน กิมเฮงฮวดการช่าง 96 ม. 5 ซ. ไทยอารีย์ สุขสวัสดิ์ พระประแดง
สมุทรปราการ โทรศัพท์ 4627558
บริษัท โรงงาน ไทยประดิษฐ์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 113/12 ซ.เปรมฤทัย 3 เอกชัย บางขุนเทียน ก.ท.ม.
โทรศัพท์ 4150625
ที่มา: หนังสือทำเนียบอุตสาหกรรม ปี 1996 โดยบริษัท เอ ทีม แอดเวอไทซิ่ง จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. ด้านภาษี ปัจจุบันมีการส่งออกเทียนแฟนซี เทียนหอม และเทียนลอยน้ำ ภายใต้รหัสฮาร์โมไนซ์ 3406.00-006ซึ่งเป็นรหัสเดียวกับเทียนทั่วไป จากข้อมูลล่าสุดปี 2542 กรมศุลกากรมีการจัดเก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 20 ของราคานำเข้าลดลงจากอัตราปกติร้อยละ 40
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. !การขออนุญาตต่อทางราชการ
3.1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรณีกลิ่นจากกระบวนการผลิตซึ่งอาจกระทบต่อประชาชนในละแวกใกล้เคียง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 5918201 และ 5904000
3.2 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในด้านการคุ้มครองแรงงานในกรณีจ้างแรงงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ส่วนการประกันสังคมกรณีจำนวนแรงงานมากกว่า 10คน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 2215140-4 4.
แหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค ได้แก่
ชมรมของขวัญ ของชำร่วย และผลิตภัณฑ์ตกแต่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการผลิต การตลาด ตลอดจนด้านวิชาการให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ กองทะเบียน ชมรมฯ โทรศัพท์ 6881000ต่อ 261 (คุณ ปริศนา)
นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ฝึกอาชีพต่าง ๆในสังกัด กทม. ที่ทำหน้าที่อบรมการฝึกวิชาชีพในระยะสั้นเพื่อนำไปประกอบวิชาชีพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ศูนย์ฝึกวิชาชีพในสังกัด กทม.ทุกแห่ง และแหล่งสนับสนุนด้านเงินกู้ของภาครัฐ ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
เทียนนอกจากใช้ให้แสงสว่างและประกอบพิธีกรรมต่าง ๆแล้ว ยังมีการนำเทียนประเภทสวยงามมาประดับตกแต่งบ้านและโต๊ะอาหาร โดยทั่วไปเทียนอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ เทียนทั่วไป และเทียนประดับ ในการศึกษานี้ศึกษาเฉพาะเทียนประดับ ได้แก่ เทียนแฟนซี เทียนหอม และเทียนลอยน้ำโดยตลาดเทียนประดับในประเทศกว่าร้อยละ 80 อยู่ในกรุงเทพฯ ที่เหลือร้อยละ 20 อยู่ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้านตลาดต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น คาดว่ามูลค่าตลาดเทียนประดับปี 2542 จะอยู่ในราว 600 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 และมูลค่าตลาดในประเทศ 200 ล้านบาท เป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศ 180ล้านบาท ที่เหลือเป็นการนำเข้าซึ่งมีแนวโน้มชะลอลงเนื่องจากการผลิตในประเทศแพร่หลายมากขึ้นคาดว่ามูลค่าตลาดเทียนประดับในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 เป็น 900-1,000 ล้านบาท โดยเป็นการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก
ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงมีลู่ทางค่อนข้างสดใส จะเห็นได้จากจำนวนผู้ผลิตที่มีจำนวนมากถึง 60 รายโดยโรงงานเหล่านี้สามารถผลิตเทียนได้ทุกชนิด โดยใช้เงินลงทุนเฉลี่ยประมาณรายละ 1-2 ล้านบาท ใช้แรงงานประมาณ 10-20 คน มีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 30 อีกร้อยละ 70 ผลิตเพื่อส่งออก ส่วนคู่แข่งขันในต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ จีน สำหรับการผลิตเทียนนั้นใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณร้อยละ 20 อีกร้อยละ 80 ใช้วัตถุดิบนำเข้า ได้แก่ แว็กซ์ และหัวน้ำหอม มีต้นทุนขายราว743,000 บาท กำไรเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ของยอดขาย ทางด้านราคาจำหน่ายจะแตกต่างกันขึ้นกับชนิด ขนาดและบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ด้านภาษีขาเข้าเทียนในปัจจุบันมีอัตราร้อยละ 20 ของราคานำเข้าลดลงจากอัตราปกติร้อยละ 40
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
เทียนนอกจากจะถูกใช้เพื่อให้แสงสว่างหรือประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านในโอกาสต่าง ๆ แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงอาจจำแนกประเภทของเทียนได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
1. เทียนทั่วไป (Basic or General Candle)
2.!เทียนประดับ (Decorative Candle) ซึ่งอาจจำแนกย่อยได้อีก 3 ประเภท ดังนี้
2.1!เทียนแฟนซี (Fancy Candle) ได้แก่ เทียนที่ทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น รูปผลไม้ ดอกไม้ และสัตว์เป็นต้น
2.2 เทียนหอม (Fragranced Candle) ได้แก่ เทียนที่มีการเติมกลิ่นน้ำหอมผสมลงไปในเนื้อเทียนเมื่อจุดเทียนจะมีกลิ่นหอมทั้งนี้มีประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เพื่อความหอม หรือไล่ยุง เป็นต้น
2.3 เทียนลอยน้ำ (Floating Candle) ใช้สำหรับตั้งโชว์เพื่อความสวยงามประดับบ้าน ส่วนใหญ่มักนิยมทำเป็นรูปดอกไม้ต่างๆ
ในการศึกษาครั้งนี้จะศึกษาอุตสาหกรรมเทียนประดับ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความหลากหลาย ง่ายต่อการลงทุนและมีลู่ทางการตลาดสดใส โดยทั่วไปแล้วตลาดเทียนประดับในประเทศไทยยังจำกัดอยู่ในกรุงเทพฯ กว่าร้อยละ 80 ที่เหลืออีกไม่ถึงร้อยละ 20 จะขายได้ดีในเมืองหลัก โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนิยมท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เช่น เชียงใหม่ และภูเก็ต เป็นต้น เนื่องจากเทียนประดับจัดได้ว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเมื่อเทียบกับระดับรายได้เฉลี่ย และรูปแบบที่อยู่อาศัยของคนไทยทั่วไป ยกเว้นในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีรายได้สูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศและมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตที่ทันสมัยมากขึ้น โดยจะนิยมใช้เทียนประดับในโอกาสต่าง ๆ และยังนิยมใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยเฉพาะเทียนหอมที่ใช้ในห้องน้ำและตู้เสื้อผ้า นอกจากนี้พฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศส่วนใหญ่นิยมซื้อใช้เองและซื้อเพื่อเป็นของขวัญในโอกาสต่าง ๆ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญ
สำหรับตลาดต่างประเทศนั้น เทียนประดับเป็นสินค้าที่นิยมสำหรับคนต่างประเทศ ทั้งการใช้ในชีวิตประจำวันและการใช้ในเทศกาลต่าง ๆตามวัฒนธรรม ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรปญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์ เป็นต้น โดยส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 70 ยุโรปประมาณร้อยละ 20 และตลาดเอเซียประมาณร้อยละ 10
มูลค่าตลาดรวมของเทียนทั้งหมดในปี 2541 มีกว่าพันล้านบาท โดยมีสัดส่วนของตลาดเทียนประดับประมาณร้อยละ 40 ของตลาดเทียนทั้งหมดหรือประมาณ 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ30 ตลาดเทียนประดับขยายตัวจากความต้องการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นและการส่งออกไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น ปริมาณการส่งออกเทียน 1/ในปี 2541 ประมาณ 3,800 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 50เป็นมูลค่าประมาณ 310 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 60 ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าการส่งออกเทียนประดับประมาณ 250 ล้านบาท ส่วนมูลค่าตลาดในประเทศของเทียนประดับมีประมาณ 150 ล้านบาท ราวร้อยละ 90 เป็นการบริโภคเทียนประดับที่ผลิตในประเทศ ที่เหลือราวร้อยละ 10 เป็นการบริโภคเทียนนำเข้า ซึ่งในปี 2541 ที่ผ่านมามีการนำเข้าเทียน 848 ตัน 1/ ส่งออกภายใต้รหัส H.S. 3406.000-006 ซึ่งไม่สามารถจำแนกประเภทเทียนได้ แต่จากการสำรวจพบว่า ปัจจุบันมีการส่งออกเทียนประดับประมาณร้อยละ 60 ของเทียนทั้งหมด
มูลค่า 27 ล้านบาท ชะลอตัวลงเพราะผลทางด้านเศรษฐกิจทำให้ประชาชนชะลอการใช้จ่าย และผลของค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ทำให้ต้นทุนนำเข้าเทียนสำเร็จรูปและวัตถุดิบสูงขึ้น
ส่วนในปี 2542 คาดว่ามูลค่าตลาดเทียนประดับทั้งหมดประมาณ 600 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนประมาณร้อยละ 50 สาเหตุจากความต้องการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะผลจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ กอปรกับการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น จากการสำรวจพบว่า ยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงประมาณร้อยละ 50 ส่วนปริมาณการส่งออกเทียนรวมในช่วง ม.ค.-ก.ย.ของปี 2542 ประมาณ 6,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 98 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ470 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 72 จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกเทียนประดับในปี2542 จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 60 เป็น 400 ล้านบาท ส่วนมูลค่าความต้องการในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 30 เป็น 200 ล้านบาท ในขณะที่คาดว่ามูลค่าการนำเข้าเทียนมีแนวโน้มลดลงประมาณร้อยละ7 เป็น 25 ล้านบาท
คาดว่ามูลค่าตลาดเทียนประดับในปี 2543 มีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 40-50 เป็นประมาณ 900-1,000 ล้านบาท โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 70 ทั้งนี้เพราะมีความต้องการบริโภคเทียนเพิ่มขึ้นและมีการออกผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้นทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
โดยทั่วไปโรงงานผลิตเทียนสามารถผลิตเทียนได้ทุกชนิด จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งรายชื่อสมาชิกชมรมของขวัญ ของชำร่วยและผลิตภัณฑ์ตกแต่ง2/พบว่าในปี 2542 มีผู้ประกอบการทำเทียนประมาณ 60 รายกระจายอยู่ในทุกภูมิภาค เช่น ในกรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้ประกอบการมากที่สุดถึง 25 แห่ง ทั้งนี้เพราะสะดวกในการจัดซื้อวัตถุดิบ และมีแรงงานจำนวนมาก รองลงมาคือปริมณฑล 17 แห่ง ที่เหลืออีก 18แห่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ โรงงานเหล่านี้มีเงินทุนเฉลี่ยประมาณ 1-2 ล้านบาท ใช้แรงงานประมาณ10-20 คน ดังนั้นจึงจัดได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมนี้อยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไทย
คู่แข่งขันในต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ จีน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกเทียนอันดับต้น ๆของโลก ทั้งนี้เพราะมีแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่นำมาผสมเป็นเนื้อเทียน ตลอดจนมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าไทย นอกจากจีนจะเป็นคู่แข่งสำคัญแล้วจีนยังเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยอีกด้วย จากข้อมูลการนำเข้าครึ่งปีแรกของปี2542 พบว่า 2/ ชมรมของขวัญ ของชำร่วยและผลิตภัณฑ์ตกแต่ง เป็นการรวมกลุ่มกันผู้ประกอบการในธุรกิจการผลิตของขวัญ ของชำร่วยโดยการสนับสนุนของกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
ไทยนำเข้าเทียนจากจีนถึงร้อยละ 74 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น ร้อยละ 18 ไต้หวัน ร้อยละ 3 ฟินแลนด์ ร้อยละ 1อังกฤษ ร้อยละ 0.8 และอื่น ๆ ร้อยละ 2
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญในอุตสาหกรรมเทียน
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท โตโยอุตสาหกรรม จำกัด 77,000,000
บริษัท ลีฟวิ่ง คอนเซ็พท์ จำกัด 35,000,000
บริษัท สุพรรณ พาราพินิค จำกัด 25,500,000
บริษัท สหสากลแสงเทียนรุ่งโรจน์ จำกัด 20,500,000
บริษัท ฉือหวา(ประเทศไทย) จำกัด 16,150,000
บริษัท ลักกี้ อินดัสเตรียล จำกัด * 4,500,000
บริษัท เพตาลี จำกัด* 2,500,000
บริษัท เซเวน ดี แอนด์ พี จำกัด* 1,000,000
บริษัท สิชล เฟาวเวอร์ แอนด์ แฮนดิคราฟต์ จำกัด* 500,000
บริษัท รังแก้ว จำกัด* 400,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมการส่งออก
หมายเหตุ: เป็นโรงงานผลิตเทียนประดับ
ช่องทางการจำหน่าย
การผลิตเทียนประดับส่วนใหญ่ราวร้อยละ 70 เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ที่เหลือราวร้อยละ 30 เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งการจำหน่ายในประเทศนั้นราวร้อยละ 80 เป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย อีกร้อยละ 20 เป็นการขายให้แก่ผู้ใช้โดยตรง โดยเฉพาะการจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆและตลาดนัด
ส่วนการจำหน่ายในต่างประเทศนั้นมีตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป ได้แก่ อิตาลี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศแถบเอเซีย ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยผู้ผลิตจะทำการส่งออกเองราวร้อยละ 50 อีกร้อยละ 50 เป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
ใช้วัตถุดิบภายในประเทศประมาณร้อยละ 20 ได้แก่
1. ไส้เทียนไขเป็นเส้นด้ายฝ้าย ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีการผลิตในประเทศมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15
2. วัสดุตกแต่งต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ ใบไม้แห้ง ภาชนะบรรจุต่าง ๆ เช่น ขวดแก้ว กระถาง ตลอดจนวัสดุตกแต่งอื่น เช่น เมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ เปลือกหอย เป็นต้น มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 โดยมีแหล่งจัดซื้ออยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่
ส่วนวัตถุดิบนำเข้ามีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ได้แก่วัตถุดิบที่นำมาผสมเป็นเนื้อเทียน ได้แก่
1. พาราฟีน แว็กซ์ (Paraffin Wax) ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในการทำเทียน มีสัดส่วนประมาณร้อยละ65 ของต้นทุนวัตถุดิบ แหล่งนำเข้าได้แก่ ประเทศจีน
2. ไมโครแว็กซ์ (Micro Wax) มีคุณสมบัติช่วยทำให้เนื้อเทียนเนียนสวย มีสัดส่วนประมาณร้อยละ5 มีแหล่งนำเข้าหลักได้แก่ ประเทศจีน
3. โพลีเอททีลีน แว็กซ์ (PE Wax) มีคุณสมบัติทำให้เนื้อเทียนแข็ง แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้เนื้อเทียนกระด้าง ดังนั้นถ้าใช้วัตถุดิบเทียน 100 กิโลกรัม ควรเติม พี อี แว็กซ์ลงไปไม่เกิน 2-3% โดยมีสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 5 มีแหล่งจัดซื้อในกรุงเทพมหานคร3/
4. หัวน้ำหอมสำหรับผสมลงไปในเทียนเพื่อให้เกิดกลิ่นหอม เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นส้ม ฯลฯมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ ยุโรป เป็นต้น4/
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน(%)
1.! วัตถุดิบ 45
- วัตถุดิบในประเทศ 9
- วัตถุดิบนำเข้า 36
2. ค่าแรงงาน 20
3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ 35
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
3/ รายชื่อผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบที่นำมาผสมเป็นเนื้อเทียน ได้แก่ บริษัท บี เจ ซี ซัพพลาย จำกัด โทรศัพท์ 5836321 เป็นต้น4/ รายชื่อผู้จัดจำหน่ายหัวน้ำหอม ได้แก่ บริษัท กิมฮวด จำกัด โทรศัพท์ 2140581-2 เป็นต้น
กรรมวิธีการผลิต
ต้มส่วนผสมของเนื้อเทียน ได้แก่ พาราฟีนแว็กซ์
ไมโครแว็กซ์ พี อี แว็กซ์ ลงในหม้อต้ม
|
V
เติมกลิ่น / หัวน้ำหอม
|
V
นำไส้เชือกมาตั้งเป็นแกน โดยนำเหรียญกั้นเทียนวางไว้เพื่อ
ทำหน้าที่ยึดไส้กับเนื้อเทียน
|
V
เทเทียนลงในแท่นพิมพ์ / ภาชนะบรรจุ
|
V
ตกแต่งให้สวยงาม
|
V
บรรจุหีบห่อ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตเทียน ได้แก่ หม้อต้มเพื่อใช้ในการต้มเทียนและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น บล็อกที่ใช้สำหรับใส่เทียน ซึ่งทำจากซิลิโคน ส่วนใหญ่จะอยู่แถบ เวิ้งนครเกษม เป็นต้น
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมการทำเทียนประดับ ได้แก่ เทียนแฟนซี เทียนหอม และเทียนลอยน้ำชนิดต่างๆ นั้นโรงงานควรตั้งอยู่ในบริเวณหรือทำเลใกล้แหล่งวัตถุดิบและแรงงาน เช่น กรุงเทพมหานคร และควรมีกำลังการผลิตประมาณ 1,000,000 ชิ้นต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งโรงงานขนาดดังกล่าวมีความต้องการเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 895,000 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ในกรณีผู้ประกอบการรายเล็กเป็นการเซ้งอาคาร 200,000 บาทต่อปี
- ค่าเครื่องจักร 65,000 บาท
- ค่ายานพาหนะและอื่น ๆ 500,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียน 130,000 บาทต่อปี
บุคลากร ประมาณ 30 คน ประกอบด้วย
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1!ช่างทำเทียน จำนวน 24 คน
1.2!พนักงานขับรถส่งของ จำนวน 1 คน
1.3!พนักงานบรรจุสินค้าลงกล่อง จำนวน 1 คน
2.! พนักงานในสำนักงาน และพนักงานบริหาร
2.1 บัญชี จำนวน 1 คน
2.2 การตลาด จำนวน 2 คน
2.3 ผู้จัดการ จำนวน 1 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. วัตถุดิบ 311,000 บาทต่อปี
- พาราฟีน แว็กซ์ 204,000 บาทต่อปี
- ไมโคร แว็กซ์ 15,000 บาทต่อปี
- พี อี แว็กซ์ 15,000 บาทต่อปี
- หัวน้ำหอม 15,000 บาทต่อปี
- ไส้เทียน 47,000 บาทต่อปี
- วัสดุตกแต่งอื่นๆ 15,000 บาทต่อปี
2. แรงงาน 140,000 บาทต่อปี
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 105,000 บาทต่อปี
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 169,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 9,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ (ใช้หม้อต้มแก๊สและไฟฟ้า) 40,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง 120,000 บาทต่อปี
- ค่ายานพาหนะ 60,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 60,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 18,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 136,500 ชิ้น ราคาเฉลี่ย 6 บาท/ชิ้น คิดเป็นรายได้ 819,000 บาท
ภาคผนวกราคาซื้อขาย
ราคาขายปลีกเทียนประดับ ทั้งเทียนแฟนซี เทียนหอม และเทียนลอยน้ำโดยเฉลี่ยจะมีราคาตั้งแต่10-200 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบ ภาชนะบรรจุ การตกแต่งและขนาดของเทียน เช่น เทียนแฟนซีแท่งขนาด 5 นิ้วราคาขายส่งประมาณแท่งละ 5 บาท เทียนหอมรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดความสูง 2 นิ้ว ราคาขายส่งประมาณ 20 บาท เทียนหอมลอยน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ราคาขายส่งประมาณ 6 บาท นอกจากนี้ยังมีการนำเทียนไปบรรจุลงในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถางต้นไม้ ขวดแก้ว กะลามะพร้าว ตะกร้าหวาย เป็นต้นดังนั้นจึงมีราคาแพงขึ้นตามภาชนะที่นำมาบรรจุ
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
เครื่องจักรที่สำคัญที่ใช้ในการทำเทียน ได้แก่ หม้อต้ม แก๊สหุงต้ม ส่วนอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ในการตกแต่งเทียน ได้แก่ มีดชนิดต่าง ๆ ตะไบ เป็นต้น
ตารางที่ 5:รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายหม้อต้มเทียน
บริษัท/โรงงาน ที่อยู่
โรงงาน กิมเฮงฮวดการช่าง 96 ม. 5 ซ. ไทยอารีย์ สุขสวัสดิ์ พระประแดง
สมุทรปราการ โทรศัพท์ 4627558
บริษัท โรงงาน ไทยประดิษฐ์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 113/12 ซ.เปรมฤทัย 3 เอกชัย บางขุนเทียน ก.ท.ม.
โทรศัพท์ 4150625
ที่มา: หนังสือทำเนียบอุตสาหกรรม ปี 1996 โดยบริษัท เอ ทีม แอดเวอไทซิ่ง จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. ด้านภาษี ปัจจุบันมีการส่งออกเทียนแฟนซี เทียนหอม และเทียนลอยน้ำ ภายใต้รหัสฮาร์โมไนซ์ 3406.00-006ซึ่งเป็นรหัสเดียวกับเทียนทั่วไป จากข้อมูลล่าสุดปี 2542 กรมศุลกากรมีการจัดเก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 20 ของราคานำเข้าลดลงจากอัตราปกติร้อยละ 40
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. !การขออนุญาตต่อทางราชการ
3.1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรณีกลิ่นจากกระบวนการผลิตซึ่งอาจกระทบต่อประชาชนในละแวกใกล้เคียง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 5918201 และ 5904000
3.2 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในด้านการคุ้มครองแรงงานในกรณีจ้างแรงงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ส่วนการประกันสังคมกรณีจำนวนแรงงานมากกว่า 10คน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 2215140-4 4.
แหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค ได้แก่
ชมรมของขวัญ ของชำร่วย และผลิตภัณฑ์ตกแต่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการผลิต การตลาด ตลอดจนด้านวิชาการให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ กองทะเบียน ชมรมฯ โทรศัพท์ 6881000ต่อ 261 (คุณ ปริศนา)
นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ฝึกอาชีพต่าง ๆในสังกัด กทม. ที่ทำหน้าที่อบรมการฝึกวิชาชีพในระยะสั้นเพื่อนำไปประกอบวิชาชีพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ศูนย์ฝึกวิชาชีพในสังกัด กทม.ทุกแห่ง และแหล่งสนับสนุนด้านเงินกู้ของภาครัฐ ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--