กรุงเทพ--28 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะจะเดินทางเยือน จ.เสียมราฐ และกรุงพนมเปญประเทศกัมพูชาระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 3 ก่อนหน้านี้ การเยือนดังกล่าว จะเป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในวันที่ 31 มกราคม 2543 ณ โรงแรม Angkor จังหวัดเสียมราฐ โดยมีนายสาโรจน์ ชวนะวิรัช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายไทย และนางซัน โซ เพือน รองรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายกัมพูชา และต่อจากนั้น ดร.สุรินทร์ฯ จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 3 ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศใน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ณ โรงแรม Grand d' Angkor โดยนายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจะเป็นประธานฝ่ายกัมพูชา การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นหลังจากที่ว่างเว้นมาเป็นเวลากว่า 2 ปี อันสืบเนื่องจาก สถานการณ์การเมืองภายในกัมพูชา และทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือในประเด็นต่างๆ สรุปดังนี้
1. ความร่วมมือทางด้านวิชาการ ในส่วนที่เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านการศึกษา ทั้งสองฝ่ายจะได้หารือกันเกี่ยวกับทุนการศึกษา และการฝึกอบรมดูงานในระดับอุดมศึกษา ในส่วนของความร่วมมือด้านแรงงาน ทั้งสองฝ่ายจะหารือเกี่ยวกับการเปิดศูนย์พัฒนาฝีมือ แรงงานไทย-กัมพูชาที่บ้านปูนพนม พนมเปญ โดยความช่วยเหลือของรัฐบาลไทย ส่วนความร่วมมือด้านสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา และการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์เลี้ยงและการลักลอบค้าปศุสัตว์ในแนว ชายแดน ตลอดจนความร่วมมือในการป้องกันและรักษาสภาพ แวดล้อมของป่าไม้
ในการประชุมเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิชาการครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญเป็นพิเศษเกี่ยวกับความร่วมมือในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและวัตถุโบราณ โดยสืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยได้ส่งมอบวัตถุโบราณที่ถูกโจรกรรมจากกัมพูชาจำนวน 122 ชิ้น ให้แก่กัมพูชา โดย นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย (ในนามรัฐบาลไทยในยื่นหนังสือส่งมอบวัตถุโบราณดังกล่าวให้แก่นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาปลายปี 2542) และขณะนี้ทางรัฐบาลไทย โดยกรมศิลปากรร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมแห่งกัมพูชาเตรียมจะจัดนิทรรศการแสดงวัตถุโบราณดังกล่าว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นเวลา 1 เดือนด้วย นอกจากนี้ ดร.สุรินทร์ฯ จะหารือกับฝ่ายกัมพูชาเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไทย-กัมพูชา โดยจะขอให้ฝ่ายกัมพูชามีบทบาทเข้าร่วมโครงการ "มหัศจรรย์สุวรรณภูมิ" อย่างเต็มที่อีกด้วย
2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน พลังงานและการขนส่ง ในส่วนของความร่วมมือด้านการคมนาคมขนส่งนั้น ทั้งสองฝ่ายก็จะได้มีการหารือเกี่ยวกับการบูรณะเส้นทางถนนสายปอยเปต-ศรีโสภณ-พระตะบอง และเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างอรัญประเทศ-ปอยเปตด้วย ส่วนความร่วมมือด้านการบิน ในการประชุมครั้งนี้ ดร. สุรินทร์ฯ และนายฮอร์ นัม ฮง จะลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการบิน ซึ่งจากความตกลงดังกล่าว ทั้งสายการบินพาณิชย์ของทั้งสองฝ่ายจะสามารถเพิ่มที่นั่งได้ถึง 2000 ที่นั่งต่อสัปดาห์อันจะเป็นการส่งเสริมเพิ่มการท่องเที่ยวระหว่างกันอย่างมากด้านการค้า ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมการค้า โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ทั้งสองฝ่ายเป็นประธาน ตลอดจนฝ่ายไทยจะได้ยืนยันให้ฝ่ายเขมรทราบว่าไทยได้ดำเนินการลดภาษีสินค้าเกษตร 23 รายการ ในกรอบของ WTO ให้แก่กัมพูชาแล้วด้วย (ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว แต่รอให้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา) นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือเกี่ยวกับการขายกระแสไฟฟ้าของไทยให้ 3 จังหวัดชายแดนของกัมพูชา ได้แก่ จ.พระตะบอง จ.ไพลิน และ จ.พระวิหาร ด้วย รวมทั้งจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไฟฟ้าไทย-กัมพูชา (Agreement on the Power Sector Cooperation Programme) ด้วย โดยมี ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายซัม ซุย รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมเมืองแร่ และพลังงานกัมพูชาเป็นผู้ร่วมลงนามในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2543 อีกด้วย
3. ความร่วมมือด้านความมั่นคงและชายแดน จะมีการหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการยกระดับจุดผ่านแดนด่านบ้านช่องผักกาด จ.จันทบุรีกับจังหวัดไพลินจากด่านท้องถิ่นเป็นด่านสากล ตามคำร้องขอของฝ่ายกัมพูชา (นอกเหนือจากจุดผ่านแดนระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้วจำนวน 2 แห่งอันได้แก่ อ. อรัญประเทศ จ.สระแก้ว - ปอยเปต และอ.คลองใหญ่ จ. ตราด - จามเยี่ยม จ. เกาะกงด้วย) นอกจากนี้จะมีการหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าในการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา อีกด้วย โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 2 ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อความร่วมมือแก้ไขปัญหาการโจรกรรมรถยนตร์และรถจักรยานยนตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในด้านการเก็บกู้วัตถุระเบิดตกค้างตามแนวชายแดนในกรอบของ TMAC-CMAC ด้วย และการจัดประชุมความว่าด้วยร่วมมือด้านผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา อนึ่ง ในการเดินทางเดินทางไปเยือนกัมพูชาของ ดร.สุรินทร์ฯ ครั้งนี้ ดร. สุรินทร์ฯ มีกำหนดจะเดินทางไปกรุงพนมเปญเพื่อเข้าเยี่ยมคารวะสมเด็จฮุน เซน และจะเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2543 เวลา 18.10 น. โดยเที่ยวบินที่ TG 699--จบ--
ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะจะเดินทางเยือน จ.เสียมราฐ และกรุงพนมเปญประเทศกัมพูชาระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 3 ก่อนหน้านี้ การเยือนดังกล่าว จะเป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในวันที่ 31 มกราคม 2543 ณ โรงแรม Angkor จังหวัดเสียมราฐ โดยมีนายสาโรจน์ ชวนะวิรัช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายไทย และนางซัน โซ เพือน รองรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายกัมพูชา และต่อจากนั้น ดร.สุรินทร์ฯ จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 3 ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศใน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ณ โรงแรม Grand d' Angkor โดยนายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจะเป็นประธานฝ่ายกัมพูชา การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นหลังจากที่ว่างเว้นมาเป็นเวลากว่า 2 ปี อันสืบเนื่องจาก สถานการณ์การเมืองภายในกัมพูชา และทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือในประเด็นต่างๆ สรุปดังนี้
1. ความร่วมมือทางด้านวิชาการ ในส่วนที่เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านการศึกษา ทั้งสองฝ่ายจะได้หารือกันเกี่ยวกับทุนการศึกษา และการฝึกอบรมดูงานในระดับอุดมศึกษา ในส่วนของความร่วมมือด้านแรงงาน ทั้งสองฝ่ายจะหารือเกี่ยวกับการเปิดศูนย์พัฒนาฝีมือ แรงงานไทย-กัมพูชาที่บ้านปูนพนม พนมเปญ โดยความช่วยเหลือของรัฐบาลไทย ส่วนความร่วมมือด้านสาธารณสุข ทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา และการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์เลี้ยงและการลักลอบค้าปศุสัตว์ในแนว ชายแดน ตลอดจนความร่วมมือในการป้องกันและรักษาสภาพ แวดล้อมของป่าไม้
ในการประชุมเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิชาการครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญเป็นพิเศษเกี่ยวกับความร่วมมือในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและวัตถุโบราณ โดยสืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยได้ส่งมอบวัตถุโบราณที่ถูกโจรกรรมจากกัมพูชาจำนวน 122 ชิ้น ให้แก่กัมพูชา โดย นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย (ในนามรัฐบาลไทยในยื่นหนังสือส่งมอบวัตถุโบราณดังกล่าวให้แก่นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาปลายปี 2542) และขณะนี้ทางรัฐบาลไทย โดยกรมศิลปากรร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมแห่งกัมพูชาเตรียมจะจัดนิทรรศการแสดงวัตถุโบราณดังกล่าว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นเวลา 1 เดือนด้วย นอกจากนี้ ดร.สุรินทร์ฯ จะหารือกับฝ่ายกัมพูชาเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไทย-กัมพูชา โดยจะขอให้ฝ่ายกัมพูชามีบทบาทเข้าร่วมโครงการ "มหัศจรรย์สุวรรณภูมิ" อย่างเต็มที่อีกด้วย
2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน พลังงานและการขนส่ง ในส่วนของความร่วมมือด้านการคมนาคมขนส่งนั้น ทั้งสองฝ่ายก็จะได้มีการหารือเกี่ยวกับการบูรณะเส้นทางถนนสายปอยเปต-ศรีโสภณ-พระตะบอง และเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างอรัญประเทศ-ปอยเปตด้วย ส่วนความร่วมมือด้านการบิน ในการประชุมครั้งนี้ ดร. สุรินทร์ฯ และนายฮอร์ นัม ฮง จะลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการบิน ซึ่งจากความตกลงดังกล่าว ทั้งสายการบินพาณิชย์ของทั้งสองฝ่ายจะสามารถเพิ่มที่นั่งได้ถึง 2000 ที่นั่งต่อสัปดาห์อันจะเป็นการส่งเสริมเพิ่มการท่องเที่ยวระหว่างกันอย่างมากด้านการค้า ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมการค้า โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ทั้งสองฝ่ายเป็นประธาน ตลอดจนฝ่ายไทยจะได้ยืนยันให้ฝ่ายเขมรทราบว่าไทยได้ดำเนินการลดภาษีสินค้าเกษตร 23 รายการ ในกรอบของ WTO ให้แก่กัมพูชาแล้วด้วย (ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว แต่รอให้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา) นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือเกี่ยวกับการขายกระแสไฟฟ้าของไทยให้ 3 จังหวัดชายแดนของกัมพูชา ได้แก่ จ.พระตะบอง จ.ไพลิน และ จ.พระวิหาร ด้วย รวมทั้งจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไฟฟ้าไทย-กัมพูชา (Agreement on the Power Sector Cooperation Programme) ด้วย โดยมี ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายซัม ซุย รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมเมืองแร่ และพลังงานกัมพูชาเป็นผู้ร่วมลงนามในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2543 อีกด้วย
3. ความร่วมมือด้านความมั่นคงและชายแดน จะมีการหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการยกระดับจุดผ่านแดนด่านบ้านช่องผักกาด จ.จันทบุรีกับจังหวัดไพลินจากด่านท้องถิ่นเป็นด่านสากล ตามคำร้องขอของฝ่ายกัมพูชา (นอกเหนือจากจุดผ่านแดนระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้วจำนวน 2 แห่งอันได้แก่ อ. อรัญประเทศ จ.สระแก้ว - ปอยเปต และอ.คลองใหญ่ จ. ตราด - จามเยี่ยม จ. เกาะกงด้วย) นอกจากนี้จะมีการหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าในการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา อีกด้วย โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 2 ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อความร่วมมือแก้ไขปัญหาการโจรกรรมรถยนตร์และรถจักรยานยนตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในด้านการเก็บกู้วัตถุระเบิดตกค้างตามแนวชายแดนในกรอบของ TMAC-CMAC ด้วย และการจัดประชุมความว่าด้วยร่วมมือด้านผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา อนึ่ง ในการเดินทางเดินทางไปเยือนกัมพูชาของ ดร.สุรินทร์ฯ ครั้งนี้ ดร. สุรินทร์ฯ มีกำหนดจะเดินทางไปกรุงพนมเปญเพื่อเข้าเยี่ยมคารวะสมเด็จฮุน เซน และจะเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2543 เวลา 18.10 น. โดยเที่ยวบินที่ TG 699--จบ--