กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาเรื่องความร่วมมือระหว่างเอเชียและยุโรปในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : ความท้าทายและโอกาส
(ASEM Seminar on Asia-Europe Cooperation on Application of Information Technology to Human Resources Development in the Mekong Sub-Region : Challenges and Opportunities
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology-AIT) จะเป็นเจ้าภาพ จัดการสัมมนาในกรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting : ASEM) เรื่อง Asia-Europe Cooperation on Applications of Information Technology to Human Resources Development in the Mekong Sub-Region : Challenges and Opportunities ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย จังหวัดปทุมธานี ระหว่างวันที่ 9 -10 ตุลาคม 2544 โดย นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรีจะเป็น ผู้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการสัมมนาฯ ในวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลา 09.30 น.
การสัมมนาฯ เป็นข้อเสนอของไทยในกรอบ ASEM โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM ครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อเดือนพฤษาคม 2544 ได้รับรองข้อเสนอนี้ ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และเวียดนามได้ร่วมเป็นประเทศผู้สนับสนุนการสัมมนาฯ (co-partners)
วัตถุประสงค์สำคัญของการสัมมนาฯ คือ การพิจารณาถึงความท้าทายและศักยภาพของการศึกษาผ่าน internet (on-line-education) ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคนี้ การสัมมนาฯ จะเป็นโอกาสที่ผู้แทนจากประเทศสมาชิก ASEM ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและ ประสบการณ์กันในเรื่องสำคัญๆ อันได้แก่ 1) การประเมินความต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการและการฝึกอบรมของประเทศในอนุภูมิภาค ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน อนุภูมิภาค และช่องว่างทางเทคโนโลยี และ 2) โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมสื่อสาร ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และศักยภาพของการศึกษาโดยผ่าน internet การสัมมนาจะใช้เวลา 2 วันโดยคาดว่า จะมีผู้ร่วมสัมมนาฯ ประมาณ 100 คน ซึ่งเป็นผู้แทนระดับสูงจากรัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิก ASEM องค์การระหว่างประเทศ องค์กรการพัฒนา สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม IT นักศึกษา AIT ตลอดจนผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคการศึกษาของไทย และเพื่อเป็นการตอบรับคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิก ASEM และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนาฯ กระทรวงการต่างประเทศจะจัดงานเลี้ยงรับรองในวันที่ 8 ตุลาคม 2544 เวลา 18.30 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา โดยมีนายปวนะฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับ ผู้ร่วมงาน
การจัดการสัมมนาครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จของไทยที่สามารถโน้มน้าวให้ฝ่าย ยุโรปซึ่งมีศักยภาพด้านการพัฒนามนุษย์ให้สนใจเข้ามามีบทบาทร่วมมือกับประเทศสมาชิกฝ่ายเอเชียเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนั้น ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิก ASEM ของทั้งสองฝ่าย ทั้งยังเป็นการส่งเสริมบทบาทสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงและพัฒนาการศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย
ASEM มีสมาชิก 25 ประเทศประกอบด้วย 10 ประเทศจากเอเชีย ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี และ 15 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร รวมทั้งคณะกรรมาธิการยุโรป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาเรื่องความร่วมมือระหว่างเอเชียและยุโรปในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : ความท้าทายและโอกาส
(ASEM Seminar on Asia-Europe Cooperation on Application of Information Technology to Human Resources Development in the Mekong Sub-Region : Challenges and Opportunities
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology-AIT) จะเป็นเจ้าภาพ จัดการสัมมนาในกรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting : ASEM) เรื่อง Asia-Europe Cooperation on Applications of Information Technology to Human Resources Development in the Mekong Sub-Region : Challenges and Opportunities ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย จังหวัดปทุมธานี ระหว่างวันที่ 9 -10 ตุลาคม 2544 โดย นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรีจะเป็น ผู้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการสัมมนาฯ ในวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลา 09.30 น.
การสัมมนาฯ เป็นข้อเสนอของไทยในกรอบ ASEM โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM ครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อเดือนพฤษาคม 2544 ได้รับรองข้อเสนอนี้ ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และเวียดนามได้ร่วมเป็นประเทศผู้สนับสนุนการสัมมนาฯ (co-partners)
วัตถุประสงค์สำคัญของการสัมมนาฯ คือ การพิจารณาถึงความท้าทายและศักยภาพของการศึกษาผ่าน internet (on-line-education) ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคนี้ การสัมมนาฯ จะเป็นโอกาสที่ผู้แทนจากประเทศสมาชิก ASEM ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและ ประสบการณ์กันในเรื่องสำคัญๆ อันได้แก่ 1) การประเมินความต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการและการฝึกอบรมของประเทศในอนุภูมิภาค ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน อนุภูมิภาค และช่องว่างทางเทคโนโลยี และ 2) โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมสื่อสาร ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และศักยภาพของการศึกษาโดยผ่าน internet การสัมมนาจะใช้เวลา 2 วันโดยคาดว่า จะมีผู้ร่วมสัมมนาฯ ประมาณ 100 คน ซึ่งเป็นผู้แทนระดับสูงจากรัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิก ASEM องค์การระหว่างประเทศ องค์กรการพัฒนา สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม IT นักศึกษา AIT ตลอดจนผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคการศึกษาของไทย และเพื่อเป็นการตอบรับคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิก ASEM และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนาฯ กระทรวงการต่างประเทศจะจัดงานเลี้ยงรับรองในวันที่ 8 ตุลาคม 2544 เวลา 18.30 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา โดยมีนายปวนะฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับ ผู้ร่วมงาน
การจัดการสัมมนาครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จของไทยที่สามารถโน้มน้าวให้ฝ่าย ยุโรปซึ่งมีศักยภาพด้านการพัฒนามนุษย์ให้สนใจเข้ามามีบทบาทร่วมมือกับประเทศสมาชิกฝ่ายเอเชียเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนั้น ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิก ASEM ของทั้งสองฝ่าย ทั้งยังเป็นการส่งเสริมบทบาทสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงและพัฒนาการศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย
ASEM มีสมาชิก 25 ประเทศประกอบด้วย 10 ประเทศจากเอเชีย ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี และ 15 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร รวมทั้งคณะกรรมาธิการยุโรป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-