ภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยสำคัญคือ การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย พิจารณาจากยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินโอนกลับจากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า (ทั้งการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม) การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ จำนวนโครงการและเงินให้กู้ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) และการเกินดุลการค้าชายแดนไทย-ลาว เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งภาครัฐยังคงใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือกทุกชนิดยังอยู่ในระดับต่ำไม่คุ้มกับการผลิต สถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อและปัญหาการว่างงานยังมีสูง ทั้งนี้ นักลงทุนและประชาชนส่วนใหญ่ไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจและมีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
การผลิตภาคเกษตร การผลิตพืชผลเกษตรสำคัญในภาคฤดูการผลิตปี 2544/45 ข้าวและมันสำปะหลังมีแนวโน้มการผลิตลดลง โดยเฉพาะมันสำปะหลัง เนื่องจากราคาในฤดูการผลิตปีก่อนค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงหันไปปลูกอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรสำคัญเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาด ราคาข้าวเหนียว อ้อย และมันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวเจ้าและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลงจากปีก่อน
การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวเนื่องจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยปริมาณการซื้อขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 และร้อยละ 20.1 ตามลำดับ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 19.9 มูลค่าการซื้อ-ขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าในธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งยอดการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ในจำนวนราย และร้อยละ 12.8 ในจำนวนเงินลงทุน
ภาคการก่อสร้าง ยังคงซบเซา ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยซึ่งยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นแรงจูงใจ โดยเป็นความต้องการของกลุ่มข้าราชการและครอบครัวของแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ ส่วนการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ยังไม่กระเตื้องเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา สำหรับการก่อสร้างภาครัฐชะลอตัวลง เนื่องจากการตัดงบประมาณด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.6
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.1
ภาคการเงิน ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 249,564.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.5 เนื่องจากผู้ฝากเงินยังคงมีความมั่นใจในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าการลงทุนในด้านอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ในขณะที่มียอดสินเชื่อคงค้าง 185,133.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.2
อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 81.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 74.2 โดยจังหวัดชัยภูมิและอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำสุด คิดเป็นร้อยละ 60.5 ขณะที่ยโสธรยังคงเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 122.8
สำหรับเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีปริมาณเงินโอนกลับทั้งสิ้น 25,234.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง
ภาคการคลัง ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้ 10,129.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.1 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากและภาษีสุราลดลงเป็นสำคัญ ด้านรายจ่าย 118,711.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินหมวดอุดหนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 108,581.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.5 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 99.4 ขณะที่การเบิกจ่ายงบลงทุนได้ร้อยละ 76.7 ทั้งนี้มีสาเหตุจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับมีโครงการจ่ายโอนงานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวมี 14,130.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออก 11,019.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าบริโภคในครัวเรือน และวัสดุก่อสร้าง และมีการนำเข้า 3,110.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาวถึง 7,909.3 ล้านบาทภาวะสินค้าเกษตรกรรม
การผลิตพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของภาค ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพด การผลิตปี 2544/2545 ข้าวและมันสำปะหลังมีแนวโน้มการผลิตลดลง โดยเฉพาะมันสำปะหลัง เนื่องจากราคาในฤดูการผลิตปีก่อนค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงหันไปปลูกอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรสำคัญเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาด ราคาข้าวเหนียว อ้อย และมันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวเจ้าและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลงจากปีก่อน
ข้าว
จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2544/45 ณ เดือนกันยายน คาดว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 32.1 ล้านไร่ ลดลงร้อยละ 0.8 ผลผลิต 8.9 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.0 ผลผลิตต่อไร่ 279 กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 0.4
ด้านการตลาดในช่วง 9 เดือนแรกของปี ตลาดไม่คึกคักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ราคาผลผลิตลดลง เนื่องจากความต้องการรับซื้อข้าวของพ่อค้าในท้องถิ่นลดลง
ข้าวเปลือก 10% ราคาขายส่งเฉลี่ย 9 เดือนของปีนี้เกวียนละ 4,609 บาท ลดลงร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,888 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,993 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,380 บาท
ข้าวสารเจ้า 10% ราคาขายส่งเฉลี่ยกระสอบละ 933 บาท ลดลงร้อยละ 11.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 1,050 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 1,010 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 939 บาท
มันสำปะหลัง
จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2544/45 คาดว่าพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 3.5 ล้านไร่ ลดลงร้อยละ 7.9 ผลผลิต 9.3 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2.5 ผลผลิตต่อไร่ 2,654 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9
ราคาผลผลิตในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการผลผลิตทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.93 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 0.70 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.82 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน กิโลกรัมละ 1.56 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2544/45 คาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวโพด 2.1 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ผลผลิต 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ผลผลิตต่อไร่ 505 กิโลกรัม ทรงตัว
ราคาผลผลิตข้าวโพดปรับตัวลดลง โดยราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 4.0 บาท ลดลงร้อยละ 11.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 4.5 บาท สาเหตุของราคาที่ปรับลดลง เนื่องจากปริมาณข้าวโพดที่ค้างในสต๊อกของปี 2543 มีมาก และนำออกจำหน่ายในปี 2544 ส่งผลให้ราคาข้าวโพดในปี 2544 ปรับลดลง เนื่องจากพ่อค้าเร่งขายข้าวโพดเพื่อระบายข้าวโพดออกจากสต๊อกสินค้า โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งเป็นช่วงผลผลิตข้าวโพดของปี 2544 ออกสู่ท้องตลาด ข้าวโพดประสบปัญหาราคาตกต่ำ โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.70 บาท
อ้อยโรงงาน
จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2544/45 คาดว่าพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน 2.2 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ผลผลิต 20.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ผลผลิตเฉลี่ย 9,245 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3
การผลิตอ้อยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาผลผลิตอ้อยที่จูงใจให้เกษตรหันมาปลูกอ้อยทดแทนพืชอื่นที่ได้ราคาต่ำ การเจริญเติบโตของอ้อยอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เหมาะต่อการเพาะปลูก พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม สำหรับในเรื่องปัญหาโรคระบาด ในปีนี้ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันแก้ปัญหาโรคระบาดได้เป็นผลสำเร็จ
ด้านการตลาดในช่วงต้นปี 2544 ความต้องการอ้อยเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานมีมาก เนื่องจากความต้องการน้ำตาลของตลาดโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคารับซื้ออ้อยเข้าสู่โรงงานปรับตัวสูงขึ้น โดยราคารับซื้ออ้อยขั้นต้น ตันละ 600 บาท
ราคาขายส่งเฉลี่ยพืชสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
ข้าวเปลือกเจ้า 10% (บาทต่อเกวียน) 4,888 4,609
(-11.7) (-5.7)
ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) (บาทต่อเกวียน) 4,380 4,993
(-3.7) -14
ข้าวสารเจ้า 10% (บาทต่อกระสอบ) 1,050 933
(-2.5) (-11.1)
ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) (บาทต่อกระสอบ) 939 1,010
(-4.1) -7.5
หัวมันสำปะหลัง (บาทต่อกิโลกรัม) 0.65 0.93
(-28.6) -32.8
มันเส้น (บาทต่อกิโลกรัม) 1.53 1.82
(-26.8) -16.6
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (บาทต่อกิโลกรัม) 4.51 4
-9.5 (-11.1)
ที่มา : พาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การลงทุนภาคเอกชน
การส่งเสริมการลงทุน
ภาวะการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังชะลอตัวโครงการลงทุนกว่าครึ่งเป็นการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเบา ที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเด่นของภาคฯ ในช่วงนี้ในส่วนหมวดอื่น ๆ ที่นักลงทุนให้ความสนใจรองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 23 โครงการ เงินลงทุน 3,068.3 ล้านบาท และการจ้างงาน 8,654 คน ลดลงร้อยละ 60.3 ร้อยละ 16.3 และร้อยละ 54.2 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาประเภทอุตสาหกรรมกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมเบา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป 10 โครงการ รองลงมาได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลทางการเกษตร และหมวดผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง หมวดละ 5 โครงการ
จังหวัดนครราชสีมายังเป็นจังหวัดที่มีการลงทุนมากที่สุด 15 โครงการ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.2) เงินลงทุน 1,970.6 ล้านบาท การจ้างงาน 5,409 คน นอกจากนั้นเป็นการลงทุนในจังหวัดอื่น ๆ จังหวัดละ 1 โครงการ
กิจการที่น่าสนใจ ได้แก่
1. โครงการปลูกป่ายูคาลิปตัสที่จังหวัดชัยภูมิ ในพื้นที่ 20,000 ไร่ เงินลงทุน 300 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 120 คน
2. กิจการผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งจากถั่วเหลือง ของบริษัทไทยซิม จำกัด ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 61 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 150 คน (กิจการร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น)
3. กิจการผลิตกล่องเฟืองและชุดจับเพลาลูกเบี้ยวของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 51.4 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 28 คน (กิจการร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น)
4. กิจการผลิต Gas Governor (ตัวควบคุมการไหลเวียนของแก๊ส) เพื่อการส่งออกทั้งสิ้น ของบริษัทโทโยนากา (ไทยแลนด์) จำกัด ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 15 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 24 คน (กิจการร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น)
5. กิจการผลิตพลอยเจียระไน เครื่องประดับ เพื่อการส่งออก ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 47.5 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 300 คน
6. กิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า ของบริษัท เอส ดับบลิว แอนด์ ซันส์ จำกัด ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 361 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 262 คน
7. กิจการผลิต glucose syrup ของบริษัท คอร์น โปรดักส์ ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 334 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 66 คน (กิจการร่วมทุนไทย-สหรัฐอเมริกา)
8. กิจการผลิตไฟฟ้าของบริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เงินลงทุน 600 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 25 คน
9. กิจการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปของบริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 188 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 218 คน
สำหรับกิจการที่น่าสนใจอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งกิจการที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่
10. กิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของ Mr. Chi Chak Hui ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เงินลงทุน 82.6 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 1,202 คน (กิจการร่วมทุนจีน-แคนาดา)
11. กิจการผลิตเสื้อถักกันหนาวของบริษัทมาสเตอร์พิช นิตติ้ง จำกัด ที่จังหวัดขอนแก่น เงินลงทุน 38 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 1,484 คน
12. กิจการผลิตเครื่องนุ่งห่มเพื่อส่งออกของคุณชูสิทธิ์ บำรุงสินมั่น ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 120 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 632 คน (กิจการร่วมทุนไทย-ฮ่องกง)
นักลงทุนยังให้ความสนใจเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปทางการเกษตร เนื่องจากภาคฯเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย อุตสาหกรรมเบาประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านจำนวนและทักษะการเย็บเสื้อผ้าของแรงงานและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เพื่อเป็นวัตถุดิบส่งโรงงานผลิตรถยนต์ที่ภาคตะวันออก
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือกทุกชนิดยังอยู่ในระดับต่ำไม่คุ้มกับการผลิต สถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อและปัญหาการว่างงานยังมีสูง ทั้งนี้ นักลงทุนและประชาชนส่วนใหญ่ไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจและมีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
การผลิตภาคเกษตร การผลิตพืชผลเกษตรสำคัญในภาคฤดูการผลิตปี 2544/45 ข้าวและมันสำปะหลังมีแนวโน้มการผลิตลดลง โดยเฉพาะมันสำปะหลัง เนื่องจากราคาในฤดูการผลิตปีก่อนค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงหันไปปลูกอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรสำคัญเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาด ราคาข้าวเหนียว อ้อย และมันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวเจ้าและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลงจากปีก่อน
การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวเนื่องจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยปริมาณการซื้อขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 และร้อยละ 20.1 ตามลำดับ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 19.9 มูลค่าการซื้อ-ขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าในธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งยอดการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ในจำนวนราย และร้อยละ 12.8 ในจำนวนเงินลงทุน
ภาคการก่อสร้าง ยังคงซบเซา ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยซึ่งยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นแรงจูงใจ โดยเป็นความต้องการของกลุ่มข้าราชการและครอบครัวของแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ ส่วนการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ยังไม่กระเตื้องเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา สำหรับการก่อสร้างภาครัฐชะลอตัวลง เนื่องจากการตัดงบประมาณด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.6
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.1
ภาคการเงิน ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 249,564.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.5 เนื่องจากผู้ฝากเงินยังคงมีความมั่นใจในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าการลงทุนในด้านอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ในขณะที่มียอดสินเชื่อคงค้าง 185,133.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.2
อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 81.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 74.2 โดยจังหวัดชัยภูมิและอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำสุด คิดเป็นร้อยละ 60.5 ขณะที่ยโสธรยังคงเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 122.8
สำหรับเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีปริมาณเงินโอนกลับทั้งสิ้น 25,234.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง
ภาคการคลัง ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้ 10,129.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.1 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากและภาษีสุราลดลงเป็นสำคัญ ด้านรายจ่าย 118,711.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินหมวดอุดหนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 108,581.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.5 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 99.4 ขณะที่การเบิกจ่ายงบลงทุนได้ร้อยละ 76.7 ทั้งนี้มีสาเหตุจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับมีโครงการจ่ายโอนงานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวมี 14,130.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออก 11,019.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าบริโภคในครัวเรือน และวัสดุก่อสร้าง และมีการนำเข้า 3,110.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาวถึง 7,909.3 ล้านบาทภาวะสินค้าเกษตรกรรม
การผลิตพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของภาค ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพด การผลิตปี 2544/2545 ข้าวและมันสำปะหลังมีแนวโน้มการผลิตลดลง โดยเฉพาะมันสำปะหลัง เนื่องจากราคาในฤดูการผลิตปีก่อนค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงหันไปปลูกอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรสำคัญเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาด ราคาข้าวเหนียว อ้อย และมันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวเจ้าและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลงจากปีก่อน
ข้าว
จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2544/45 ณ เดือนกันยายน คาดว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 32.1 ล้านไร่ ลดลงร้อยละ 0.8 ผลผลิต 8.9 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.0 ผลผลิตต่อไร่ 279 กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 0.4
ด้านการตลาดในช่วง 9 เดือนแรกของปี ตลาดไม่คึกคักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ราคาผลผลิตลดลง เนื่องจากความต้องการรับซื้อข้าวของพ่อค้าในท้องถิ่นลดลง
ข้าวเปลือก 10% ราคาขายส่งเฉลี่ย 9 เดือนของปีนี้เกวียนละ 4,609 บาท ลดลงร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,888 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,993 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,380 บาท
ข้าวสารเจ้า 10% ราคาขายส่งเฉลี่ยกระสอบละ 933 บาท ลดลงร้อยละ 11.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 1,050 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 1,010 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 939 บาท
มันสำปะหลัง
จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2544/45 คาดว่าพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 3.5 ล้านไร่ ลดลงร้อยละ 7.9 ผลผลิต 9.3 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2.5 ผลผลิตต่อไร่ 2,654 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9
ราคาผลผลิตในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการผลผลิตทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.93 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 0.70 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.82 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน กิโลกรัมละ 1.56 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2544/45 คาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวโพด 2.1 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ผลผลิต 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ผลผลิตต่อไร่ 505 กิโลกรัม ทรงตัว
ราคาผลผลิตข้าวโพดปรับตัวลดลง โดยราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 4.0 บาท ลดลงร้อยละ 11.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 4.5 บาท สาเหตุของราคาที่ปรับลดลง เนื่องจากปริมาณข้าวโพดที่ค้างในสต๊อกของปี 2543 มีมาก และนำออกจำหน่ายในปี 2544 ส่งผลให้ราคาข้าวโพดในปี 2544 ปรับลดลง เนื่องจากพ่อค้าเร่งขายข้าวโพดเพื่อระบายข้าวโพดออกจากสต๊อกสินค้า โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งเป็นช่วงผลผลิตข้าวโพดของปี 2544 ออกสู่ท้องตลาด ข้าวโพดประสบปัญหาราคาตกต่ำ โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.70 บาท
อ้อยโรงงาน
จากข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2544/45 คาดว่าพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน 2.2 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ผลผลิต 20.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ผลผลิตเฉลี่ย 9,245 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3
การผลิตอ้อยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาผลผลิตอ้อยที่จูงใจให้เกษตรหันมาปลูกอ้อยทดแทนพืชอื่นที่ได้ราคาต่ำ การเจริญเติบโตของอ้อยอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เหมาะต่อการเพาะปลูก พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม สำหรับในเรื่องปัญหาโรคระบาด ในปีนี้ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันแก้ปัญหาโรคระบาดได้เป็นผลสำเร็จ
ด้านการตลาดในช่วงต้นปี 2544 ความต้องการอ้อยเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานมีมาก เนื่องจากความต้องการน้ำตาลของตลาดโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคารับซื้ออ้อยเข้าสู่โรงงานปรับตัวสูงขึ้น โดยราคารับซื้ออ้อยขั้นต้น ตันละ 600 บาท
ราคาขายส่งเฉลี่ยพืชสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ ม.ค.-ก.ย.
2543 2544
ข้าวเปลือกเจ้า 10% (บาทต่อเกวียน) 4,888 4,609
(-11.7) (-5.7)
ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) (บาทต่อเกวียน) 4,380 4,993
(-3.7) -14
ข้าวสารเจ้า 10% (บาทต่อกระสอบ) 1,050 933
(-2.5) (-11.1)
ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) (บาทต่อกระสอบ) 939 1,010
(-4.1) -7.5
หัวมันสำปะหลัง (บาทต่อกิโลกรัม) 0.65 0.93
(-28.6) -32.8
มันเส้น (บาทต่อกิโลกรัม) 1.53 1.82
(-26.8) -16.6
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (บาทต่อกิโลกรัม) 4.51 4
-9.5 (-11.1)
ที่มา : พาณิชย์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การลงทุนภาคเอกชน
การส่งเสริมการลงทุน
ภาวะการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังชะลอตัวโครงการลงทุนกว่าครึ่งเป็นการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเบา ที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเด่นของภาคฯ ในช่วงนี้ในส่วนหมวดอื่น ๆ ที่นักลงทุนให้ความสนใจรองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 23 โครงการ เงินลงทุน 3,068.3 ล้านบาท และการจ้างงาน 8,654 คน ลดลงร้อยละ 60.3 ร้อยละ 16.3 และร้อยละ 54.2 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาประเภทอุตสาหกรรมกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมเบา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป 10 โครงการ รองลงมาได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลทางการเกษตร และหมวดผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง หมวดละ 5 โครงการ
จังหวัดนครราชสีมายังเป็นจังหวัดที่มีการลงทุนมากที่สุด 15 โครงการ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.2) เงินลงทุน 1,970.6 ล้านบาท การจ้างงาน 5,409 คน นอกจากนั้นเป็นการลงทุนในจังหวัดอื่น ๆ จังหวัดละ 1 โครงการ
กิจการที่น่าสนใจ ได้แก่
1. โครงการปลูกป่ายูคาลิปตัสที่จังหวัดชัยภูมิ ในพื้นที่ 20,000 ไร่ เงินลงทุน 300 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 120 คน
2. กิจการผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งจากถั่วเหลือง ของบริษัทไทยซิม จำกัด ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 61 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 150 คน (กิจการร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น)
3. กิจการผลิตกล่องเฟืองและชุดจับเพลาลูกเบี้ยวของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 51.4 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 28 คน (กิจการร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น)
4. กิจการผลิต Gas Governor (ตัวควบคุมการไหลเวียนของแก๊ส) เพื่อการส่งออกทั้งสิ้น ของบริษัทโทโยนากา (ไทยแลนด์) จำกัด ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 15 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 24 คน (กิจการร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น)
5. กิจการผลิตพลอยเจียระไน เครื่องประดับ เพื่อการส่งออก ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 47.5 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 300 คน
6. กิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า ของบริษัท เอส ดับบลิว แอนด์ ซันส์ จำกัด ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 361 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 262 คน
7. กิจการผลิต glucose syrup ของบริษัท คอร์น โปรดักส์ ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 334 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 66 คน (กิจการร่วมทุนไทย-สหรัฐอเมริกา)
8. กิจการผลิตไฟฟ้าของบริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เงินลงทุน 600 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 25 คน
9. กิจการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปของบริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 188 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 218 คน
สำหรับกิจการที่น่าสนใจอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งกิจการที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่
10. กิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของ Mr. Chi Chak Hui ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เงินลงทุน 82.6 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 1,202 คน (กิจการร่วมทุนจีน-แคนาดา)
11. กิจการผลิตเสื้อถักกันหนาวของบริษัทมาสเตอร์พิช นิตติ้ง จำกัด ที่จังหวัดขอนแก่น เงินลงทุน 38 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 1,484 คน
12. กิจการผลิตเครื่องนุ่งห่มเพื่อส่งออกของคุณชูสิทธิ์ บำรุงสินมั่น ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 120 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 632 คน (กิจการร่วมทุนไทย-ฮ่องกง)
นักลงทุนยังให้ความสนใจเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปทางการเกษตร เนื่องจากภาคฯเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย อุตสาหกรรมเบาประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านจำนวนและทักษะการเย็บเสื้อผ้าของแรงงานและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เพื่อเป็นวัตถุดิบส่งโรงงานผลิตรถยนต์ที่ภาคตะวันออก
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-