กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2524 ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ คือ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อบรรลุการเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) อันหมายถึง การยกเว้นภาษีศุลกากรและข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งกำหนดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันที่ประเทศสมาชิก GCC ทุกประเทศเรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่มเป็นอัตราเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดต้องแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2001
ความคืบหน้าในการก้าวสู่การเป็นสหภาพศุลกากรของกลุ่ม GCC เริ่มขึ้นตั้งแต่มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2527 ด้วยการยกเว้นภาษีศุลกากรและไม่มีข้อจำกัดทางการค้าสำหรับการค้าสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม (ยกเว้นน้ำมัน) ระหว่างประเทศสมาชิก GCC อย่างไรก็ตาม การที่สมาชิกกลุ่ม GCC พึ่งพาการส่งออกสินค้าน้ำมันเช่นเดียวกัน ทำให้การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ในช่วงที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ อัตราภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันที่ประเทศสมาชิก GCC แต่ละประเทศเรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่ม ก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก โดยมีอัตราตั้งแต่ 4% จนถึง 20%
เป้าหมายสู่การเป็นสหภาพศุลกากรของกลุ่ม GCC เริ่มปรากฏผลเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นในการประชุมกลุ่ม GCC ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2542 โดยสมาชิกกลุ่ม GCC ตกลงกำหนดรายการ สินค้าที่จะเรียกเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกันจำนวน 1,286 รายการ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มสินค้านำเข้าที่ไม่มีการจัดเก็บภาษี คือ อัตราภาษีศุลกากรนำเข้าเท่ากับ 0%
กลุ่มสินค้านำเข้าที่จำเป็นต่อการบริโภค จัดเก็บภาษีในอัตราต่ำราว 4% ถึง 9%
กลุ่มสินค้านำเข้าที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จัดเก็บภาษีในอัตราสูงราว 6% ถึง 12%
การค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่มความร่วมมืออ่าวอาหรับ มูลค่าการค้ารวมของไทยกับกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2539-2543) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 4447.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในปี 2543 ไทยกับกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับมีมูลค่าการค้ารวม 5660.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 4.3 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 จากระยะเวลาเดียวกันของปี 2542 ประเทศที่มีมูลค่าการค้ารวมกับไทยสูงสุด ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอารเบีย โอมาน คูเวต กาตาร์ และบาห์เรน โดยมีมูลค่า 2364.2, 1465.3, 995.2, 444.2, 306.1 และ 85.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ แต่ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามาโดยตลอด เนื่องจากไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศเหล่านี้
ความสำคัญของกลุ่ม GCC ต่อการส่งออกของไทย กลุ่ม GCC ถือว่าเป็นกลุ่มความร่วมมือที่ไทยจะต้องให้ความสนใจเนื่องจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอารเบีย เป็นประเทศที่ไทยส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง และสอง มูลค่าส่งออก 588.7, 229.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ การที่กลุ่มความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) เรียกเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าจากประนอกกลุ่มในอัตราภาษีเดียวกัน โดยมีอัตราตั้งแต่ 0%-12% เป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกของไทยจะส่งออกสินค้าเข้าสู่ประเทศเหล่านี้ได้โดยตรงมากยิ่งขึ้น เพราะมีหลายประเทศในกลุ่มนี้ได้นำเข้าสินค้าไทย โดยผ่านประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเตส์
อย่างไรก็ตาม ความตกลงเรื่องการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าที่เรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกันนั้น ยังต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากประเทศสมาชิกความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) แต่ละประเทศมีความจำเป็นและมีนโยบายในการจัดเก็บภาษีศุลกากรแตกต่างกัน อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีนโยบายจัดเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าในอัตราต่ำไม่เกิน 4% เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อผู้บริโภคและการค้าในประเทศ และจะกระทบต่อภาคการส่งออกต่อ (re-export sector) ขณะที่บาห์เรนและซาอุดีอาระเบีย มีนโยบายจัดเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าในอัตราสูงถึง 20% เนื่องจากบาห์เรนมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันน้อย จึงต้องพึ่งพารายได้จากการจัดเก็บภาษีศุลกากรแทน ส่วนซาอุดีอาระเบีย ต้องการเก็บภาษีศุลกากรในอัตราสูงเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าภายในประเทศ เป็นต้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-ปส-
ความคืบหน้าในการก้าวสู่การเป็นสหภาพศุลกากรของกลุ่ม GCC เริ่มขึ้นตั้งแต่มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2527 ด้วยการยกเว้นภาษีศุลกากรและไม่มีข้อจำกัดทางการค้าสำหรับการค้าสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม (ยกเว้นน้ำมัน) ระหว่างประเทศสมาชิก GCC อย่างไรก็ตาม การที่สมาชิกกลุ่ม GCC พึ่งพาการส่งออกสินค้าน้ำมันเช่นเดียวกัน ทำให้การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ในช่วงที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ อัตราภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันที่ประเทศสมาชิก GCC แต่ละประเทศเรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่ม ก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก โดยมีอัตราตั้งแต่ 4% จนถึง 20%
เป้าหมายสู่การเป็นสหภาพศุลกากรของกลุ่ม GCC เริ่มปรากฏผลเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นในการประชุมกลุ่ม GCC ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2542 โดยสมาชิกกลุ่ม GCC ตกลงกำหนดรายการ สินค้าที่จะเรียกเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกันจำนวน 1,286 รายการ โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มสินค้านำเข้าที่ไม่มีการจัดเก็บภาษี คือ อัตราภาษีศุลกากรนำเข้าเท่ากับ 0%
กลุ่มสินค้านำเข้าที่จำเป็นต่อการบริโภค จัดเก็บภาษีในอัตราต่ำราว 4% ถึง 9%
กลุ่มสินค้านำเข้าที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จัดเก็บภาษีในอัตราสูงราว 6% ถึง 12%
การค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่มความร่วมมืออ่าวอาหรับ มูลค่าการค้ารวมของไทยกับกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2539-2543) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 4447.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในปี 2543 ไทยกับกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับมีมูลค่าการค้ารวม 5660.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 4.3 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 จากระยะเวลาเดียวกันของปี 2542 ประเทศที่มีมูลค่าการค้ารวมกับไทยสูงสุด ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอารเบีย โอมาน คูเวต กาตาร์ และบาห์เรน โดยมีมูลค่า 2364.2, 1465.3, 995.2, 444.2, 306.1 และ 85.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ แต่ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามาโดยตลอด เนื่องจากไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศเหล่านี้
ความสำคัญของกลุ่ม GCC ต่อการส่งออกของไทย กลุ่ม GCC ถือว่าเป็นกลุ่มความร่วมมือที่ไทยจะต้องให้ความสนใจเนื่องจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอารเบีย เป็นประเทศที่ไทยส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง และสอง มูลค่าส่งออก 588.7, 229.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ การที่กลุ่มความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) เรียกเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าจากประนอกกลุ่มในอัตราภาษีเดียวกัน โดยมีอัตราตั้งแต่ 0%-12% เป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกของไทยจะส่งออกสินค้าเข้าสู่ประเทศเหล่านี้ได้โดยตรงมากยิ่งขึ้น เพราะมีหลายประเทศในกลุ่มนี้ได้นำเข้าสินค้าไทย โดยผ่านประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเตส์
อย่างไรก็ตาม ความตกลงเรื่องการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าที่เรียกเก็บจากประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกันนั้น ยังต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากประเทศสมาชิกความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) แต่ละประเทศมีความจำเป็นและมีนโยบายในการจัดเก็บภาษีศุลกากรแตกต่างกัน อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีนโยบายจัดเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าในอัตราต่ำไม่เกิน 4% เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อผู้บริโภคและการค้าในประเทศ และจะกระทบต่อภาคการส่งออกต่อ (re-export sector) ขณะที่บาห์เรนและซาอุดีอาระเบีย มีนโยบายจัดเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าในอัตราสูงถึง 20% เนื่องจากบาห์เรนมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันน้อย จึงต้องพึ่งพารายได้จากการจัดเก็บภาษีศุลกากรแทน ส่วนซาอุดีอาระเบีย ต้องการเก็บภาษีศุลกากรในอัตราสูงเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าภายในประเทศ เป็นต้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-ปส-