ข่าวในประเทศ
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอาร์พีระยะ 14 วัน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วัน ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5 ต่อไป เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แม้ราคาน้ำมันจะสูงขึ้น และเงินบาทอ่อนค่าลง แต่อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก โดยปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัว คือ ภาคการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ขณะที่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.5 ต่อปี ซึ่งคณะกรรมการฯ จะออกรายงานเป้าหมายเงินเฟ้อฉบับที่ 2 ในวันที่ 24 ต.ค.43 ขณะนี้คณะกรรมการฯ ยังยืนยันประมาณการรายงานฯ ฉบับแรก ที่เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 1.0-1.5 ปี 44 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4-6 เงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 2-3 ดังนั้น อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะ 24 เดือนข้างหน้า คือ กลางปี 45 จะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ระดับร้อยละ 3.5 (ไทยโพสต์ 6)
2. ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน รมว.คลังกล่าวว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ซึ่งจะใช้แทน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งการออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นคงและความมั่นใจแก่ระบบการเงิน มีกระบวนการออมที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงระบบการเงินไทยกับระบบการเงินของโลก ส่วนการกำกับดูแลส่วนใหญ่จะให้อำนาจแก่ ธปท. ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ เปลี่ยนแปลงระบบในการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน 3 ประเภทคือ ธพ. บง. และบค. โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินแต่ละประเภทในลักษณะเดียวกัน แต่อาจมีระดับการควบคุมแตกต่างกันไปตามประเภทของสถาบันการเงินนั้นๆ รวมทั้งประสงค์ที่จะให้ใชับังคับกับสถาบันการเงินของรัฐ ตลอดจนนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ ครม.ประกาศกำหนดด้วย (วัฏจักร 6)
3. รมว.คลังกล่าวถึงปัญหาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รมว.คลังกล่าวถึงปัญหาหนี้ที่ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างแล้วย้อนกลับมาเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อีกครั้งว่า อาจเกิดจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากปัจจุบันสถาบันการเงินเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ที่เข้ามาประนอมหนี้สูงกว่าอัตราตลาด ทำให้ลูกหนี้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ แต่ก็มิใช่สิ่งผิดปกติและไม่ใช่เรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และเห็นว่าเจ้าหนี้ควรได้เจรจากับลูกหนี้อีกครั้ง อีกทั้งจากการประเมินสถานะของสถาบันการเงินขณะนี้ พบว่ายังมีเงินทุนสำรองเหลือพอที่จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ (แนวหน้า 6)
4. ธ.เอเชียลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก รายงานข่าวจาก ธ.เอเชียกล่าวว่า ธนาคารได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทลงอีกร้อยละ 0.25 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.43 เป็นต้นไป โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลดลงจากร้อยละ 2.5 เหลือร้อยละ 2.25 ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 และ 6 เดือน ลดลงจากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2.75 เงินฝาก 12 เดือน ลดลงจากร้อยละ 3.25 เหลือร้อยละ 3 และเงินฝาก 24 เดือนลดลงหลือร้อยละ 4 (กรุงเทพธุรกิจ 6)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจภาคบริการของเยอรมนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.5 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 5 ก.ย.43 บริษัทวิจัย NTC ของรอยเตอร์รายงานว่า เดือน ส.ค.43 ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจภาคบริการของเยอรมนีที่ปรับฤดูกาลแล้ว เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.5 จากระดับ 57.1 ในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 และเป็นการเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 ชี้ว่า ธุรกิจภาคบริการอยู่ในภาวะขยายตัว โดยดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค.43 ได้รับการสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของธุรกิจใหม่ที่แม้จะชะลอลงเล็กน้อยแต่ยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง และการเพิ่มขึ้นของความต้องการของผู้บริโภคและบริษัท อย่างไรก็ตาม ในเดือน ส.ค.43 ต้นทุนธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องมาจากตลาดแรงงานอยู่ในภาวะตึงตัวส่งผลให้ต้นทุนด้านค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและราคาพลังงานก็สูงขึ้นด้วย โดยในเดือนดังกล่าวดัชนีราคาต้นทุนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 61.9 จากระดับ 61.6 ในเดือน ก.ค.43 (รอยเตอร์ 5)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นคาดว่าจะลดลงร้อยละ 5 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 43 จากผลการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เดือน ก.ค. 43 คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นแกน ซึ่งไม่รวมคำสั่งซื้อของบริษัทต่อเรือและบริษัทผลิตไฟฟ้า ที่ปรับตามฤดูกาล จะลดลงร้อยละ 5 เทียบต่อเดือน โดยมีช่วงที่ผันผวนระหว่างร้อยละ 1.5 - 11.2 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า คำสั่งซื้อฯจะลดลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องจักรน่าจะอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว เพราะภาวะธุรกิจของบริษัทยังคงแข็งแกร่ง และส่งผลให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นฟื้นตัว Tomonobu Wakabayashi นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Industrial Bank of Japan กล่าวว่า การใช้จ่ายลงทุนของบริษัทจะยังคงเน้นการลงทุนในด้านที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอีกต่อไป ซึ่งยังคงมีบทบาทที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงที่เหลือของปีนี้ (รอยเตอร์ 5)
3. การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.6 เทียบต่อปีในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 43 สำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 การใช้จ่ายของครัวเรือน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจ อยู่ที่เฉลี่ยครัวเรือนละ 323,537 เยน หรือลดลงร้อยละ 2.6 ตามราคาที่แท้จริงจากปี 42 และลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.8 ในเดือน มิ.ย. 43 (รอยเตอร์ 5)
4. ราคาบ้านใน สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 5 ก.ย.43 บริษัท Freddie Mac รายงานว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ราคาบ้านใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ต่อปี เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ปี 43 และคาดว่า ในครึ่งหลังของปี 43 ราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0-6.5 ต่อปี (รอยเตอร์ 5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.ย. 43 41.256 (41.079)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 5 ก.ย.43
ซื้อ 41.0712 (40.8452) ขาย 41.3652 (41.1420)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.75 (31.02)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอาร์พีระยะ 14 วัน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วัน ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5 ต่อไป เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แม้ราคาน้ำมันจะสูงขึ้น และเงินบาทอ่อนค่าลง แต่อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก โดยปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัว คือ ภาคการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ขณะที่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.5 ต่อปี ซึ่งคณะกรรมการฯ จะออกรายงานเป้าหมายเงินเฟ้อฉบับที่ 2 ในวันที่ 24 ต.ค.43 ขณะนี้คณะกรรมการฯ ยังยืนยันประมาณการรายงานฯ ฉบับแรก ที่เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 1.0-1.5 ปี 44 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4-6 เงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 2-3 ดังนั้น อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะ 24 เดือนข้างหน้า คือ กลางปี 45 จะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ระดับร้อยละ 3.5 (ไทยโพสต์ 6)
2. ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน รมว.คลังกล่าวว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ซึ่งจะใช้แทน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งการออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นคงและความมั่นใจแก่ระบบการเงิน มีกระบวนการออมที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงระบบการเงินไทยกับระบบการเงินของโลก ส่วนการกำกับดูแลส่วนใหญ่จะให้อำนาจแก่ ธปท. ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ เปลี่ยนแปลงระบบในการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน 3 ประเภทคือ ธพ. บง. และบค. โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินแต่ละประเภทในลักษณะเดียวกัน แต่อาจมีระดับการควบคุมแตกต่างกันไปตามประเภทของสถาบันการเงินนั้นๆ รวมทั้งประสงค์ที่จะให้ใชับังคับกับสถาบันการเงินของรัฐ ตลอดจนนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ ครม.ประกาศกำหนดด้วย (วัฏจักร 6)
3. รมว.คลังกล่าวถึงปัญหาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รมว.คลังกล่าวถึงปัญหาหนี้ที่ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างแล้วย้อนกลับมาเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อีกครั้งว่า อาจเกิดจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากปัจจุบันสถาบันการเงินเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ที่เข้ามาประนอมหนี้สูงกว่าอัตราตลาด ทำให้ลูกหนี้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ แต่ก็มิใช่สิ่งผิดปกติและไม่ใช่เรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และเห็นว่าเจ้าหนี้ควรได้เจรจากับลูกหนี้อีกครั้ง อีกทั้งจากการประเมินสถานะของสถาบันการเงินขณะนี้ พบว่ายังมีเงินทุนสำรองเหลือพอที่จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ (แนวหน้า 6)
4. ธ.เอเชียลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก รายงานข่าวจาก ธ.เอเชียกล่าวว่า ธนาคารได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทลงอีกร้อยละ 0.25 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.43 เป็นต้นไป โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลดลงจากร้อยละ 2.5 เหลือร้อยละ 2.25 ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 และ 6 เดือน ลดลงจากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2.75 เงินฝาก 12 เดือน ลดลงจากร้อยละ 3.25 เหลือร้อยละ 3 และเงินฝาก 24 เดือนลดลงหลือร้อยละ 4 (กรุงเทพธุรกิจ 6)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจภาคบริการของเยอรมนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.5 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 5 ก.ย.43 บริษัทวิจัย NTC ของรอยเตอร์รายงานว่า เดือน ส.ค.43 ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจภาคบริการของเยอรมนีที่ปรับฤดูกาลแล้ว เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.5 จากระดับ 57.1 ในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 และเป็นการเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 ชี้ว่า ธุรกิจภาคบริการอยู่ในภาวะขยายตัว โดยดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค.43 ได้รับการสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของธุรกิจใหม่ที่แม้จะชะลอลงเล็กน้อยแต่ยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง และการเพิ่มขึ้นของความต้องการของผู้บริโภคและบริษัท อย่างไรก็ตาม ในเดือน ส.ค.43 ต้นทุนธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องมาจากตลาดแรงงานอยู่ในภาวะตึงตัวส่งผลให้ต้นทุนด้านค่าจ้างและเงินเดือนเพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยและราคาพลังงานก็สูงขึ้นด้วย โดยในเดือนดังกล่าวดัชนีราคาต้นทุนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 61.9 จากระดับ 61.6 ในเดือน ก.ค.43 (รอยเตอร์ 5)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นคาดว่าจะลดลงร้อยละ 5 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 43 จากผลการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เดือน ก.ค. 43 คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นแกน ซึ่งไม่รวมคำสั่งซื้อของบริษัทต่อเรือและบริษัทผลิตไฟฟ้า ที่ปรับตามฤดูกาล จะลดลงร้อยละ 5 เทียบต่อเดือน โดยมีช่วงที่ผันผวนระหว่างร้อยละ 1.5 - 11.2 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า คำสั่งซื้อฯจะลดลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องจักรน่าจะอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว เพราะภาวะธุรกิจของบริษัทยังคงแข็งแกร่ง และส่งผลให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นฟื้นตัว Tomonobu Wakabayashi นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Industrial Bank of Japan กล่าวว่า การใช้จ่ายลงทุนของบริษัทจะยังคงเน้นการลงทุนในด้านที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอีกต่อไป ซึ่งยังคงมีบทบาทที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงที่เหลือของปีนี้ (รอยเตอร์ 5)
3. การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.6 เทียบต่อปีในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 43 สำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 การใช้จ่ายของครัวเรือน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจ อยู่ที่เฉลี่ยครัวเรือนละ 323,537 เยน หรือลดลงร้อยละ 2.6 ตามราคาที่แท้จริงจากปี 42 และลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.8 ในเดือน มิ.ย. 43 (รอยเตอร์ 5)
4. ราคาบ้านใน สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 5 ก.ย.43 บริษัท Freddie Mac รายงานว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ราคาบ้านใน สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ต่อปี เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ปี 43 และคาดว่า ในครึ่งหลังของปี 43 ราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0-6.5 ต่อปี (รอยเตอร์ 5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.ย. 43 41.256 (41.079)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 5 ก.ย.43
ซื้อ 41.0712 (40.8452) ขาย 41.3652 (41.1420)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.75 (31.02)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-