ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 การค้าปลีกของผู้ประกอบการรายใหญ่และรายกลาง ยังคง ขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย โดยมียอดค้าปลีกทั้งสิ้น 453,238 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของผู้ประกอบการธุรกิจซูเปอร์เซ็นเตอร์ หรือ ดิสเคาท์สโตร์ ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เนื่องจากมีความทันสมัย สะดวก และราคาค่อนข้างถูก จึงมีการเร่งขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดการส่งเสริมการขายในหลายรูปแบบ
อย่างไรก็ตาม ร้านค้าปลีกรายย่อยได้รับ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ค่อนข้างมาก ดังนั้น ภาครัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้พยายามให้ความช่วยเหลือ ผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎระเบียบต่างๆ
ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีหมวดสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวในเกณฑ์สูงได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 25.9) สินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ (ร้อยละ 21.0) และ สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง (ร้อยละ 18.9) เป็นต้น
มูลค่ายอดค้าปลีกทั้งประเทศ (Real-Term)
2543 2544
ทั้งปี ครึ่งปีแรก ครึ่งปีหลัง ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ครึ่งปีแรก
มูลค่า (ล้านบาท) 867,019 409,926 457,094 229,631 223,607 453,238
อัตราเพิ่ม(ร้อยละ) 21.6 25 18.7 12.8 8.3 10.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
อย่างไรก็ตาม ร้านค้าปลีกรายย่อยได้รับ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ค่อนข้างมาก ดังนั้น ภาครัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้พยายามให้ความช่วยเหลือ ผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎระเบียบต่างๆ
ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีหมวดสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวในเกณฑ์สูงได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 25.9) สินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ (ร้อยละ 21.0) และ สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง (ร้อยละ 18.9) เป็นต้น
มูลค่ายอดค้าปลีกทั้งประเทศ (Real-Term)
2543 2544
ทั้งปี ครึ่งปีแรก ครึ่งปีหลัง ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ครึ่งปีแรก
มูลค่า (ล้านบาท) 867,019 409,926 457,094 229,631 223,607 453,238
อัตราเพิ่ม(ร้อยละ) 21.6 25 18.7 12.8 8.3 10.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-