นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าผลจากการประชุมคณะกรรมการเทคนิคว่าด้วยกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Technical Committee on Rules of Origin- TCRO) สมัยที่ 19 ซึ่งจัดขึ้น ณ สำนักงานศุลกากรโลก (World Customs Organization : WCO) กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ระหว่างวันที่ 26 — 30 มีนาคม 2544 โดยมีประเทศสมาชิก WTO จำนวน 61 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศเข้าร่วมประชุมด้วย ปรากฎว่าคณะมนตรีทั่วไป (General Council) ภายใต้ WTO ได้กำหนดให้คณะกรรมการว่าด้วยกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Committee on Rules of Origin : CRO) ประชุมจัดทำกฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO ให้แล้วเสร็จภายในปี 2544 หลังจากที่ได้เริ่มมีการประชุมมาตั้งแต่ปี 2538 เพื่อให้ทันเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดกรอบเวลา (timeframe) การมีผลบังคับใช้หรืออย่างช้าให้จัดทำเสร็จก่อนสิ้นปี 2544 โดยจะให้ประเทศสมาชิก WTO มีเวลาเตรียมความพร้อมในปี 2545 เช่น จัดทำคู่มือการใช้กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO และจัดสัมมนาเผยแพร่ฯลฯ และคาดว่าประเทศสมาชิก WTO ทุกประเทศจะมีความพร้อมในการใช้กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO ในราวต้นปี 2546
ขณะนี้ คณะกรรมการเทคนิค (TCRO) อยู่ในระหว่างดำเนินการเตรียมความพร้อมในการใช้กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO โดยจะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เช่น จัดทำคู่มือการใช้กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO จัดสัมมนาเผยแพร่ ศึกษาแนวทางปฏิบัติในการรับรองและตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO รูปแบบใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin หรือใบ C/O) ที่คาดว่าจะนำมาใช้ในการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าตามกฎแหล่งกำเนิดภายใต้ WTO ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเพื่อใช้ประกอบการรับรองและตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO เพื่อเผยแพร่แก่ประเทศสมาชิก WTO รวมทั้งประเทศไทยใช้ประกอบในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า หรือใบ C/O ตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO ต่อไป
นายการุณ กล่าวเพิ่มเติมว่า กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO เมื่อจัดทำแล้วเสร็จ ประเทศสมาชิก WTO รวมทั้งประเทศไทยจะนำมาใช้ประโยชน์ในการรับรองและตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าทั่วไป (non — preferential trade) ที่ไม่ใช่สินค้าภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางการค้า เช่น ไม่ใช่สินค้าภายใต้ระบบ GSP , GSTP , ASEAN CEPT ซึ่งผลการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าจะใช้ประกอบในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า หรือใบ C/O เพื่อรับรองว่าสินค้าที่ส่งออกมีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย สำหรับนำไปแสดงต่อประเทศสมาชิก WTO ที่นำเข้าสินค้าจากไทยใช้ประกอบการเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าตามอัตราที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most — Favored Nation Treatment : MFN) การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Anti — Dumping and Countervailing Duties) ข้อยกเว้นหรือมาตรการป้องกันเพื่อความมั่นคงของประเทศ (Safeguard Measures) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องหมายแหล่งกำเนิดสินค้า(Origin Marking Requirements) การจำดัดปริมาณนำเข้า — ส่งออก (Discriminatory Quantitative Restrictions or Tariff Quota) การจัดซื้อของรัฐบาล การจัดทำสถิติการค้า เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการผลิตและการส่งออกของประเทศไทย ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้เผยแพร่ความคืบหน้าของการประชุมจัดทำกฎแหล่งกำเนิดสินค้าผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต http://www.dft.moc.goth/Eng/defaulto1.htm และการจัดสัมมนาเผยแพร่ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยในปี 2543 ที่ผ่านมาได้จัดสัมมนารวม 8 ครั้ง และในปี 2544 จะจัดสัมมนา รวม 13 ครั้ง ซึ่งขณะนี้จัดไปแล้วที่จังหวัดเชียงใหม่ ปราจีนบุรี นครพนม ระยอง สงขลา เป้าหมายต่อไปคือจันทบุรี นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ตรังและสตูล กาญจนบุรี ตราด ร่วมกับโครงการ “ภูมิภาคก้าวหน้ากับกรมการค้าต่างประเทศ”
ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคืบหน้าของการประชุมจัดทำ กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO ได้จาก กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 5474817 , 5474771-86 โทรสาร 5474816
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2544--
-อน-
ขณะนี้ คณะกรรมการเทคนิค (TCRO) อยู่ในระหว่างดำเนินการเตรียมความพร้อมในการใช้กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO โดยจะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เช่น จัดทำคู่มือการใช้กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO จัดสัมมนาเผยแพร่ ศึกษาแนวทางปฏิบัติในการรับรองและตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO รูปแบบใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin หรือใบ C/O) ที่คาดว่าจะนำมาใช้ในการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าตามกฎแหล่งกำเนิดภายใต้ WTO ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเพื่อใช้ประกอบการรับรองและตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO เพื่อเผยแพร่แก่ประเทศสมาชิก WTO รวมทั้งประเทศไทยใช้ประกอบในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า หรือใบ C/O ตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO ต่อไป
นายการุณ กล่าวเพิ่มเติมว่า กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO เมื่อจัดทำแล้วเสร็จ ประเทศสมาชิก WTO รวมทั้งประเทศไทยจะนำมาใช้ประโยชน์ในการรับรองและตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าทั่วไป (non — preferential trade) ที่ไม่ใช่สินค้าภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางการค้า เช่น ไม่ใช่สินค้าภายใต้ระบบ GSP , GSTP , ASEAN CEPT ซึ่งผลการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าจะใช้ประกอบในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า หรือใบ C/O เพื่อรับรองว่าสินค้าที่ส่งออกมีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย สำหรับนำไปแสดงต่อประเทศสมาชิก WTO ที่นำเข้าสินค้าจากไทยใช้ประกอบการเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าตามอัตราที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most — Favored Nation Treatment : MFN) การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Anti — Dumping and Countervailing Duties) ข้อยกเว้นหรือมาตรการป้องกันเพื่อความมั่นคงของประเทศ (Safeguard Measures) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องหมายแหล่งกำเนิดสินค้า(Origin Marking Requirements) การจำดัดปริมาณนำเข้า — ส่งออก (Discriminatory Quantitative Restrictions or Tariff Quota) การจัดซื้อของรัฐบาล การจัดทำสถิติการค้า เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการผลิตและการส่งออกของประเทศไทย ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้เผยแพร่ความคืบหน้าของการประชุมจัดทำกฎแหล่งกำเนิดสินค้าผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต http://www.dft.moc.goth/Eng/defaulto1.htm และการจัดสัมมนาเผยแพร่ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยในปี 2543 ที่ผ่านมาได้จัดสัมมนารวม 8 ครั้ง และในปี 2544 จะจัดสัมมนา รวม 13 ครั้ง ซึ่งขณะนี้จัดไปแล้วที่จังหวัดเชียงใหม่ ปราจีนบุรี นครพนม ระยอง สงขลา เป้าหมายต่อไปคือจันทบุรี นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ตรังและสตูล กาญจนบุรี ตราด ร่วมกับโครงการ “ภูมิภาคก้าวหน้ากับกรมการค้าต่างประเทศ”
ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคืบหน้าของการประชุมจัดทำ กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO ได้จาก กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 5474817 , 5474771-86 โทรสาร 5474816
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2544--
-อน-