มูลค่าส่งออกของไทยช่วง 9 เดือน ปี 2543 เพิ่มขึ้นกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 28 ตลาดที่แนวโน้มส่งออกมากขึ้น ได้แก่ จีน มาเลเซีย เวียดนาม บังคลาเทศ และบราซิล กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้ติดตามภาวะการส่งออกของไทยตามโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรีของกระทรวงพาณิชย์ ปรากฎว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2543 มูลค่าการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 7,391.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 9,484.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และสัดส่วนการส่งออก เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18.5 จากร้อยละ 17.5 เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาทและผลจากโครงการผลักดันการส่งออกฯของกระทรวงพาณิชย์ ตลาดที่มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ จีน มาเลเซีย เวียดนาม บังคลาเทศ บราซิล เป็นต้น
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในแต่ละตลาดดังนี้
ตลาดเพื่อนบ้าน มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม โดยสัดส่วนการส่งออกในช่วง ม.ค.-ก.ย. 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 จากร้อยละ 3.61 และ 0.99 เป็นร้อยละ 4.02 และ 1.16 สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มตลาดเพื่อนบ้านได้แก่ เม็ดพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.8 ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.4
จีน การส่งออกไปจีน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 3.15 ต่อปี โดยในช่วง ม.ค.-ก.ย. ปี 2543 มีสัดส่วนการส่งออก 3.8 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.1 และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.5 โดยสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 124.7 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.7 เม็ดพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.4
ตลาดในเอเชียใต้ การส่งออกยังคงมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. ปี 2543 มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 1.80 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2542 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 1.52 โดยส่วนใหญ่แล้วมีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเทศ สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากในตลาดนี้ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 370.2 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 114.5 ปูนซิเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.4
อนึ่ง การส่งออกของไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันยังขึ้นอยู่กับตลาดเดิมมาก ทั้งนี้ การส่งออกกว่าร้อยละ 50 ส่งออกไปเพียง 3 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เท่านั้น--จบ--
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในแต่ละตลาดดังนี้
ตลาดเพื่อนบ้าน มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม โดยสัดส่วนการส่งออกในช่วง ม.ค.-ก.ย. 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 จากร้อยละ 3.61 และ 0.99 เป็นร้อยละ 4.02 และ 1.16 สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มตลาดเพื่อนบ้านได้แก่ เม็ดพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.8 ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.4
จีน การส่งออกไปจีน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 3.15 ต่อปี โดยในช่วง ม.ค.-ก.ย. ปี 2543 มีสัดส่วนการส่งออก 3.8 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.1 และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.5 โดยสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 124.7 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.7 เม็ดพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.4
ตลาดในเอเชียใต้ การส่งออกยังคงมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. ปี 2543 มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 1.80 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2542 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 1.52 โดยส่วนใหญ่แล้วมีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเทศ สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากในตลาดนี้ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 370.2 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 114.5 ปูนซิเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.4
อนึ่ง การส่งออกของไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันยังขึ้นอยู่กับตลาดเดิมมาก ทั้งนี้ การส่งออกกว่าร้อยละ 50 ส่งออกไปเพียง 3 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เท่านั้น--จบ--
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-