กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
การติดต่อสื่อสารระหว่างกันในยุคการค้าเสรีเช่นปัจจุบันนี้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นับเป็นกระแสธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทและความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ในระยะเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารมีความคืบหน้ารวดเร็วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝั่งทวีปอเมริกามีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ (Electronic Commerce) มากขึ้น โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นปีละหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในภูมิภาคอาเซียนยังมีความคืบหน้าและความเจริญทางด้านนี้ค่อนข้างช้ากว่าภูมิภาคอื่นๆ มีเพียงสิงคโปร์ประเทศเดียวเท่านั้นที่ได้พัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นในการประชุมสุดยอดของ ผู้นำอาเซียน เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ณ ประเทศฟิลิปปินส์ บรรดาผู้นำของอาเซียนเห็นว่าน่าจะจัดตั้งโครงการที่เรียกว่า e-ASEAN Initiative หรืออาเซียนอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา เพื่อที่จะให้ภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศนี้ ถือเป็นเขตเดียวกันในเรื่องของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยข้อมูลทั้งหมดจะต้องเชื่อมโยงกันโดยไม่มีตะเข็บ เหมือนกับว่าเป็นเขตหรือประเทศเดียวกันในเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีคณะทำงานระดับสูงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Task Force) ขึ้น เพื่อที่จะดำเนินการในโครงการนี้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งคณะทำงานนี้ได้ประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง โดยข้อเสนอที่จัดทำขึ้นจะเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 32 ให้ความเห็นชอบก่อนเสนอให้ผู้นำลงนามในเดือนพฤศจิกายนต่อไป สำหรับข้อเสนอที่จัดทำขึ้นประกอบด้วย 5 ด้านหลัก คือ
(1) การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศของอาเซียนทุกประเทศให้อยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งจะต้องมีการวางผังโครงข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (ASEAN backbone) รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลของอาเซียน
(2) การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการผลักดันให้เกิดความมั่นใจในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาทิเช่น การมีกฎหมายรองรับ การมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสากล เป็นต้น
(3) การเปิดเสรีด้านการค้า การบริการและการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด โดยในด้านการค้าจะต้องลดภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องให้เหลือร้อยละ 0 ทางด้านบริการจะเน้นการเปิดเสรีทางด้านบริการโทรคมนาคมและบริการวิชาชีพทางด้านการลงทุนจะเปิดให้ประเทศในอาเซียนสามารถลงทุนในด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยเสรีมากขึ้น
(4) ด้านสังคม จะเน้นให้เกิดสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) กล่าวคือสังคมอาเซียนจะสามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
(5) การสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) โดยจะเน้นการให้บริการประชาชนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เช่น การเสียภาษีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจดทะเบียนการค้า พิธีการศุลกากร เป็นต้น
นอกเหนือจาก 5 ด้านที่ได้กล่าวมาแล้ว จะมีโครงการนำร่องที่จะส่งเสริมการพัฒนาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่ที่จะเข้ามาดำเนินการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความชำนาญมากขึ้น รวมทั้งการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยต่อไปก็อาจจะเรียนทางอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะยกระดับการศึกษาของประชากรในอาเซียนทั้งหมด สถานศึกษาต่างๆ ในอาเซียนจะมีโครงการที่จะเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางด้านข้อมูลการค้าก็จะต้องเชื่อมโยงกัน โดยโครงการนำร่องเหล่านี้ ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว 2-3 โครงการ ปัจจุบันโครงการอาเซียนอิเล็กทรอนิกส์ยังได้รับความสนใจที่จะเข้าร่วมจากประเทศซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียอีก3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีและญี่ปุ่น คาดกันว่า หากอาเซียนสามารถรักษาความร่วมมืออันเป็นปึกแผ่นเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ โครงการอาเซียนอิเล็กทรอนิกส์คงไม่ไกลเกินไปอย่างแน่นอน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-
การติดต่อสื่อสารระหว่างกันในยุคการค้าเสรีเช่นปัจจุบันนี้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นับเป็นกระแสธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทและความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ในระยะเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารมีความคืบหน้ารวดเร็วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝั่งทวีปอเมริกามีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ (Electronic Commerce) มากขึ้น โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นปีละหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในภูมิภาคอาเซียนยังมีความคืบหน้าและความเจริญทางด้านนี้ค่อนข้างช้ากว่าภูมิภาคอื่นๆ มีเพียงสิงคโปร์ประเทศเดียวเท่านั้นที่ได้พัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นในการประชุมสุดยอดของ ผู้นำอาเซียน เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ณ ประเทศฟิลิปปินส์ บรรดาผู้นำของอาเซียนเห็นว่าน่าจะจัดตั้งโครงการที่เรียกว่า e-ASEAN Initiative หรืออาเซียนอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา เพื่อที่จะให้ภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศนี้ ถือเป็นเขตเดียวกันในเรื่องของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยข้อมูลทั้งหมดจะต้องเชื่อมโยงกันโดยไม่มีตะเข็บ เหมือนกับว่าเป็นเขตหรือประเทศเดียวกันในเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีคณะทำงานระดับสูงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Task Force) ขึ้น เพื่อที่จะดำเนินการในโครงการนี้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งคณะทำงานนี้ได้ประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง โดยข้อเสนอที่จัดทำขึ้นจะเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 32 ให้ความเห็นชอบก่อนเสนอให้ผู้นำลงนามในเดือนพฤศจิกายนต่อไป สำหรับข้อเสนอที่จัดทำขึ้นประกอบด้วย 5 ด้านหลัก คือ
(1) การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศของอาเซียนทุกประเทศให้อยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งจะต้องมีการวางผังโครงข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (ASEAN backbone) รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลของอาเซียน
(2) การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการผลักดันให้เกิดความมั่นใจในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาทิเช่น การมีกฎหมายรองรับ การมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสากล เป็นต้น
(3) การเปิดเสรีด้านการค้า การบริการและการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด โดยในด้านการค้าจะต้องลดภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องให้เหลือร้อยละ 0 ทางด้านบริการจะเน้นการเปิดเสรีทางด้านบริการโทรคมนาคมและบริการวิชาชีพทางด้านการลงทุนจะเปิดให้ประเทศในอาเซียนสามารถลงทุนในด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยเสรีมากขึ้น
(4) ด้านสังคม จะเน้นให้เกิดสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) กล่าวคือสังคมอาเซียนจะสามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
(5) การสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) โดยจะเน้นการให้บริการประชาชนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เช่น การเสียภาษีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจดทะเบียนการค้า พิธีการศุลกากร เป็นต้น
นอกเหนือจาก 5 ด้านที่ได้กล่าวมาแล้ว จะมีโครงการนำร่องที่จะส่งเสริมการพัฒนาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่ที่จะเข้ามาดำเนินการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความชำนาญมากขึ้น รวมทั้งการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยต่อไปก็อาจจะเรียนทางอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะยกระดับการศึกษาของประชากรในอาเซียนทั้งหมด สถานศึกษาต่างๆ ในอาเซียนจะมีโครงการที่จะเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางด้านข้อมูลการค้าก็จะต้องเชื่อมโยงกัน โดยโครงการนำร่องเหล่านี้ ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว 2-3 โครงการ ปัจจุบันโครงการอาเซียนอิเล็กทรอนิกส์ยังได้รับความสนใจที่จะเข้าร่วมจากประเทศซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียอีก3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีและญี่ปุ่น คาดกันว่า หากอาเซียนสามารถรักษาความร่วมมืออันเป็นปึกแผ่นเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ โครงการอาเซียนอิเล็กทรอนิกส์คงไม่ไกลเกินไปอย่างแน่นอน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-