การท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญเป็นอันดับสามของภาครองจากภาคเกษตรและพาณิชยกรรม นอกจากนี้การท่องเที่ยว ยังมีบทบาทด้านส่งเสริมการจ้างงานและกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น บริการโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท อุตสาหกรรมสินค้า และหัตถกรรมพื้นเมือง ของที่ระลึก สินค้าเกษตรท้องถิ่น และบริการรถเช่า เป็นต้น
ธุรกิจที่พักเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคเหนือ จำนวนโรงแรมและเกสท์เฮ้าส์ หรือธุรกิจที่พักในภาคเหนือมีสัดส่วนร้อยละ 21.5 ของธุรกิจที่พักทั้งประเทศ ขณะที่ปริมาณห้องพักมีสัดส่วนร้อยละ 16.0 หรือคิดเป็นอันดับที่ 4 ของห้องพักทั้งประเทศ รองจากกรุงเทพฯ ภาคกลางและภาคใต้ อย่างไรก็ตามรูปแบบการให้บริการและมาตรฐานการให้บริการของโรงแรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวในภาคเหนือ อาทิ จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ส่วนใหญ่มีมาตรฐานการให้บริการที่เป็นสากลภายใต้มาตรฐานของเครือข่ายที่เป็นที่ยอมรับ เช่น กลุ่มฮอลิเดย์อินน์ กลุ่มไฮแอทอินเตอร์เนชั่นแนล กลุ่มโลตัส กลุ่มเวสติน กลุ่มควอลิตี้อินเตอร์เนชั่นแนล และกลุ่มโนโวเทล เป็นต้น โรงแรมขนาดใหญ่ดังกล่าวจะมีบริการและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้เข้าพัก เช่น ภัตตาคาร ห้องประชุมสัมมนา ห้องออกกำลังกาย สนามเทนนิส และสระว่ายน้ำ เป็นต้น
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่ารายได้ของธุรกิจที่พักในภาคเหนือมีอัตราส่วนร้อยละ 7.8 ของรายได้ธุรกิจที่พักทั้งประเทศ ทั้งนี้รายได้ส่วนใหญ่ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก และเชียงราย โดยมีอัตราส่วนเมื่อเทียบกับทั้งภาคร้อยละ 57.1 ร้อยละ 11.2 และร้อยละ 10.2 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในภาพรวม ทั้งภาครายได้จากธุรกิจที่พักกว่าร้อยละ 58 และร้อยละ 36 มาจากการขายห้องพัก และการขายอาหารและเครื่องดื่ม ตามลำดับ
การรองรับนักท่องเที่ยว
ในปี 2542 จำนวนโรงแรมและเกสท์เฮ้าส์ในภาคเหนือมีประมาณ 600 แห่ง โดยร้อยละ 25 ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ซึ่งมีศักยภาพในการให้บริการ ด้านที่พักจำนวน 10,575 ห้อง และ 3,953 ห้อง ตามลำดับ นอกจากนี้จังหวัดท่องเที่ยวหลักในภาคเหนือตอนล่างเช่นจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์ มีศักยภาพ ในการรองรับนักท่องเที่ยว จำนวน 2,409 ห้อง และ 1,635 ห้อง ตามลำดับ นอกจากศักยภาพในการรองรับการเข้าพักของนักท่องเที่ยวแล้ว ในจำนวนนี้ยังมีโรงแรม ที่ให้บริการห้องประชุมสัมมนาจำนวน 99 แห่ง และมีห้องสัมมนาจำนวน 233 ห้อง โดยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพิษณุโลก จำนวน 86 ห้อง 32 ห้อง และ 31 ห้อง ตามลำดับ
อัตราการเข้าพัก
การเข้าพักแรมของนักท่องเที่ยวในภาคเหนือมีความผกผันตามสภาพอากาศ เทศกาลการท่องเที่ยวและปริมาณนักท่องเที่ยว และจากศักยภาพการท่องเที่ยวของ ภาคเหนือที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยว สภาพภูมิอากาศ การคมนาคมที่เอื้ออำนวย กอปรกับโรงแรมและที่พักในภาคเหนือมีมาตรฐานและการให้ บริการที่เป็นที่ยอมรับ จากนักท่องเที่ยว ทำให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั้งปีมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 54.1 และการเข้าพักในโรงแรม และเกสท์เฮ้าส์ในภาคเหนือตอนบนจะมีมากในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงมกราคม ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิหนาวเย็น และมีเทศกาลและวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าว ในขณะที่ภาคเหนือตอนล่างจะมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงในช่วงเดือน ตุลาคมถึงธันวาคม และในช่วงฤดูฝนจะมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่ร้อยละ 40 โดยผู้เข้าพักส่วนใหญ่ 2 ใน 3 มีสัญชาติไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ธุรกิจที่พักเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคเหนือ จำนวนโรงแรมและเกสท์เฮ้าส์ หรือธุรกิจที่พักในภาคเหนือมีสัดส่วนร้อยละ 21.5 ของธุรกิจที่พักทั้งประเทศ ขณะที่ปริมาณห้องพักมีสัดส่วนร้อยละ 16.0 หรือคิดเป็นอันดับที่ 4 ของห้องพักทั้งประเทศ รองจากกรุงเทพฯ ภาคกลางและภาคใต้ อย่างไรก็ตามรูปแบบการให้บริการและมาตรฐานการให้บริการของโรงแรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวในภาคเหนือ อาทิ จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ส่วนใหญ่มีมาตรฐานการให้บริการที่เป็นสากลภายใต้มาตรฐานของเครือข่ายที่เป็นที่ยอมรับ เช่น กลุ่มฮอลิเดย์อินน์ กลุ่มไฮแอทอินเตอร์เนชั่นแนล กลุ่มโลตัส กลุ่มเวสติน กลุ่มควอลิตี้อินเตอร์เนชั่นแนล และกลุ่มโนโวเทล เป็นต้น โรงแรมขนาดใหญ่ดังกล่าวจะมีบริการและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้เข้าพัก เช่น ภัตตาคาร ห้องประชุมสัมมนา ห้องออกกำลังกาย สนามเทนนิส และสระว่ายน้ำ เป็นต้น
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่ารายได้ของธุรกิจที่พักในภาคเหนือมีอัตราส่วนร้อยละ 7.8 ของรายได้ธุรกิจที่พักทั้งประเทศ ทั้งนี้รายได้ส่วนใหญ่ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก และเชียงราย โดยมีอัตราส่วนเมื่อเทียบกับทั้งภาคร้อยละ 57.1 ร้อยละ 11.2 และร้อยละ 10.2 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในภาพรวม ทั้งภาครายได้จากธุรกิจที่พักกว่าร้อยละ 58 และร้อยละ 36 มาจากการขายห้องพัก และการขายอาหารและเครื่องดื่ม ตามลำดับ
การรองรับนักท่องเที่ยว
ในปี 2542 จำนวนโรงแรมและเกสท์เฮ้าส์ในภาคเหนือมีประมาณ 600 แห่ง โดยร้อยละ 25 ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ซึ่งมีศักยภาพในการให้บริการ ด้านที่พักจำนวน 10,575 ห้อง และ 3,953 ห้อง ตามลำดับ นอกจากนี้จังหวัดท่องเที่ยวหลักในภาคเหนือตอนล่างเช่นจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์ มีศักยภาพ ในการรองรับนักท่องเที่ยว จำนวน 2,409 ห้อง และ 1,635 ห้อง ตามลำดับ นอกจากศักยภาพในการรองรับการเข้าพักของนักท่องเที่ยวแล้ว ในจำนวนนี้ยังมีโรงแรม ที่ให้บริการห้องประชุมสัมมนาจำนวน 99 แห่ง และมีห้องสัมมนาจำนวน 233 ห้อง โดยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพิษณุโลก จำนวน 86 ห้อง 32 ห้อง และ 31 ห้อง ตามลำดับ
อัตราการเข้าพัก
การเข้าพักแรมของนักท่องเที่ยวในภาคเหนือมีความผกผันตามสภาพอากาศ เทศกาลการท่องเที่ยวและปริมาณนักท่องเที่ยว และจากศักยภาพการท่องเที่ยวของ ภาคเหนือที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยว สภาพภูมิอากาศ การคมนาคมที่เอื้ออำนวย กอปรกับโรงแรมและที่พักในภาคเหนือมีมาตรฐานและการให้ บริการที่เป็นที่ยอมรับ จากนักท่องเที่ยว ทำให้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั้งปีมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 54.1 และการเข้าพักในโรงแรม และเกสท์เฮ้าส์ในภาคเหนือตอนบนจะมีมากในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงมกราคม ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิหนาวเย็น และมีเทศกาลและวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าว ในขณะที่ภาคเหนือตอนล่างจะมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงในช่วงเดือน ตุลาคมถึงธันวาคม และในช่วงฤดูฝนจะมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่ร้อยละ 40 โดยผู้เข้าพักส่วนใหญ่ 2 ใน 3 มีสัญชาติไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-