กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
นายวิทูร ตุลยานนท์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ แถลงว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) โดย นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543 มีวาระการรายงานให้ที่ประชุมทราบ เรื่อง National Trade Estimate ของสหรัฐอเมริกา ประจำปี 2000 ดังนี้ ตามกฎหมายการค้าของสหรัฐฯ วันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี USTR จะจัดทำรายงาน National Trade Estimate Report on Foreign Trade Barriers (NTE) เสนอฝ่ายนิติบัญญัติว่าในรอบปีที่ผ่านมา ประเทศคู่ค้าต่างๆ มีพฤติกรรมทางการค้า อย่างไรบ้างที่อาจจะกระทบต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และภายในวันที่ 30 เมษายน USTR จะระบุรายชื่อ ประเทศที่ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจจะมีการไต่สวนภายใต้ กฎหมายการค้า มาตรา Special 301 และภายในวันที่ 30 กันยายน USTR จะ ระบุรายชื่อประเทศที่มี มาตรการกีดกันทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าและบริการของสหรัฐฯ ภายใต้กฎหมาย การค้า มาตรา Super 301 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2543 USTR ได้เสนอรายงาน NTE ประจำปี 2000 ซึ่งประเทศที่ถูกกล่าวหามี 55 ประเทศ สำหรับประเทศไทย ได้ระบุเรื่องต่างๆ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. นโยบายการนำเข้า
อัตราภาษีศุลกากร วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจส่งผลให้ไทยมีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรล่าช้า รัฐบาลยัง คงการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรชั่วคราวในสินค้าบางรายการต่อไป เช่น รถยนต์ พาหนะที่ใช้ในการกีฬา ทั้งที่ได้ประกาศให้มีผลใช้ได้แค่สิ้นปี 1999 นอกจากนั้น แม้รัฐบาลยกเลิกภาษีศุลกากรสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ IT จำนวน 153 รายการตามข้อผูกพัน ITA แต่กลับกำหนดระเบียบว่าด้วยเรื่องใบรับรองถิ่นกำเนิด ของสินค้าขึ้นบังคับใช้แทน
การจัดเก็บภาษี สินค้าเกษตรและสินค้าอ่อนไหวบางรายการไม่อยู่ในแผนปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิตบางรายการมีการจัดเก็บในอัตราสูง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง (ร้อยละ 25-31) เบียร์ (ร้อยละ 50 -53) และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่นเรือยอชต์ (ร้อยละ 50) เป็นต้น
สินค้าเกษตรและอาหาร ยังคงมีอัตราภาษีศุลกากรอยู่ในระดับสูง เช่น สินค้าอาหารสด อาหารพร้อม รับประทาน เนื้อสัตว์ ผลไม้และผักสด ไวน์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการใช้มาตรการโควต้าภาษี และ มาตรการด้านสุขอนามัย
2. การจำกัดปริมาณการนำเข้าและการออกใบอนุญาตนำเข้า การนำเข้าสินค้าอาหารเพื่อการบริโภค ทุกรายการต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ ซึ่งมักจะมีปัญหาความโปร่งใสในการอนุญาต และปัญหาขั้นตอน การปฏิบัติที่ไม่ชัดเจน
3. อุปสรรคด้านศุลกากร การประเมินราคาศุลกากรยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อสินค้าจากสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่มีการปฏิบัติตามอำเภอใจ และมีการเรียกค่าอำนวยความสะดวก
4. มาตรฐาน การทดสอบ การปิดฉลาก และการออกใบรับรอง มีขั้นตอนสลับซับซ้อน ต้องใช้เวลาและ มีต้นทุนสูง และในบางกรณีกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลที่อาจเป็นความลับทางการค้า
5. การจัดซื้อโดยรัฐ ยังมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินการ
6. การอุดหนุนการส่งออก มีการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับสินค้าส่งออก
7. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ถึงแม้จะมีความก้าวหน้าในด้านการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แต่การบังคับใช้ กฎหมายยังไม่ดีพอ ศาลลังเลที่จะพิจารณาคดีว่าการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอาชญากรรมร้ายแรง และมักจะลงโทษสถานเบาหรือกลับคำตัดสินเมื่อมีการอุทธรณ์
สิทธิบัตร รัฐบาลได้ปรับปรุงและแก้ไขพรบ.สิทธิบัตร ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนตุลาคม 1998 โดยมีผลบังคับ ใช้ตั้งแต่ กันยายน 1999
ลิขสิทธิ์ สหรัฐฯรายงานว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ธุรกิจเท่ากับ ร้อยละ 81 (คิดเป็นมูลค่า สูญเสียประมาณ 66 ล้านดอลลาร์) อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ด้านการบันเทิงเท่ากับ ร้อยละ 95 (คิดเป็นมูลค่าสูญเสียประมาณ 116.3 ล้านดอลลาร์) เนื่องจากข้อบังคับของกฎหมายยังมีช่องว่าง และค่าปรับของการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่สูงพอที่ผู้กระทำผิดจะเกรงกลัว
เครื่องหมายการค้า การแก้ไขพรบ.เครื่องหมายการค้าในปี 1992 เพื่อเพิ่มโทษ และขยายขอบเขตของ กฎหมายให้ครอบคลุมถึงการค้าบริการ certification และ collective marks ทำให้การคุ้มครองเครื่องหมาย การค้าได้ผลในระดับหนึ่ง แต่การผลิตสินค้าปลอมจำพวกตุ๊กตาผ้าในต่างจังหวัดนับเป็นปัญหาใหม่ และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
8. อุปสรรคด้านการค้าบริการ รัฐบาลยังควบคุมกิจการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐาน การบริการทางด้าน กฎหมาย และการดำเนินธุรกิจของธนาคารต่างชาติ โดยยังไม่อนุญาตให้มีการแข่งขันจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้น
9. อุปสรรคด้านการลงทุน ถึงแม้รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกข้อกำหนดการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศสำหรับ อุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์ และอุตสาหกรรมรถยนต์ แต่กลับทดแทนมาตรการดังกล่าวด้วยการเพิ่ม ภาษีศุลกากรใน CKD kits แทน
10. อุปสรรคในด้านอื่นๆ รัฐวิสาหกิจหลายแห่งได้รับการคุ้มครองจากการเข้ามาแข่งขันจากบริษัทต่างประเทศ สำหรับพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ดูแลการดำเนินการเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ในฐานะเลขานุการ กนศ. ได้ประสานกรมทรัพย์สินทางปัญญาชี้แจงประเด็น ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยตอบข้อร้องเรียนของภาคเอกชนสหรัฐฯ (The International Anti-Counterfeiting Coalition :IACC) ที่ยื่นขอให้ USTR พิจารณาเลื่อนสถานะของไทย จากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (Watch List :WL) เป็นประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List:PWL) โดยได้ส่งคำชี้แจงให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน แจ้งต่อ USTR แล้ว ขณะนี้ ฝ่ายเลขานุการกนศ.กำลังประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ ชี้แจงข้อกล่าวหา ในเรื่องการเข้าสู่ตลาดสินค้าและบริการของสหรัฐฯตามที่ระบุในรายงาน NTE ซึ่งขณะนี้ มีหน่วยงานต่างๆได้ชี้แจงข้อกล่าวหาไปยังกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์แล้ว ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หากรวบรวมคำชี้แจงจาก ทุกหน่วยงานแล้วกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะได้ส่งคำชี้แจงและความคืบหน้าของไทยให้ USTR ต่อไป มีข้อสังเกตว่า รายงาน NTE ของสหรัฐฯ ประจำปีนี้ ได้กล่าวถึงภาพรวมของประเทศไทยในลักษณะที่มี การปรับปรุงและมีความก้าวหน้าที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการประกาศใช้กฎหมาย คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ครอบคลุมมากขึ้น ปัญหาที่ระบุมีเพียงการบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น สำหรับในด้านอื่นๆ สหรัฐฯได้เน้นในเรื่องมาตรฐาน การทดสอบ การปิดฉลาก การออกใบรับรอง และการจัดซื้อโดยรัฐ ซึ่งมีปัญหาคล้ายกับที่ระบุไว้ในปีที่ผ่านมา
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-
นายวิทูร ตุลยานนท์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ แถลงว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) โดย นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543 มีวาระการรายงานให้ที่ประชุมทราบ เรื่อง National Trade Estimate ของสหรัฐอเมริกา ประจำปี 2000 ดังนี้ ตามกฎหมายการค้าของสหรัฐฯ วันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี USTR จะจัดทำรายงาน National Trade Estimate Report on Foreign Trade Barriers (NTE) เสนอฝ่ายนิติบัญญัติว่าในรอบปีที่ผ่านมา ประเทศคู่ค้าต่างๆ มีพฤติกรรมทางการค้า อย่างไรบ้างที่อาจจะกระทบต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และภายในวันที่ 30 เมษายน USTR จะระบุรายชื่อ ประเทศที่ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจจะมีการไต่สวนภายใต้ กฎหมายการค้า มาตรา Special 301 และภายในวันที่ 30 กันยายน USTR จะ ระบุรายชื่อประเทศที่มี มาตรการกีดกันทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าและบริการของสหรัฐฯ ภายใต้กฎหมาย การค้า มาตรา Super 301 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2543 USTR ได้เสนอรายงาน NTE ประจำปี 2000 ซึ่งประเทศที่ถูกกล่าวหามี 55 ประเทศ สำหรับประเทศไทย ได้ระบุเรื่องต่างๆ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. นโยบายการนำเข้า
อัตราภาษีศุลกากร วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจส่งผลให้ไทยมีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรล่าช้า รัฐบาลยัง คงการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรชั่วคราวในสินค้าบางรายการต่อไป เช่น รถยนต์ พาหนะที่ใช้ในการกีฬา ทั้งที่ได้ประกาศให้มีผลใช้ได้แค่สิ้นปี 1999 นอกจากนั้น แม้รัฐบาลยกเลิกภาษีศุลกากรสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ IT จำนวน 153 รายการตามข้อผูกพัน ITA แต่กลับกำหนดระเบียบว่าด้วยเรื่องใบรับรองถิ่นกำเนิด ของสินค้าขึ้นบังคับใช้แทน
การจัดเก็บภาษี สินค้าเกษตรและสินค้าอ่อนไหวบางรายการไม่อยู่ในแผนปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิตบางรายการมีการจัดเก็บในอัตราสูง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง (ร้อยละ 25-31) เบียร์ (ร้อยละ 50 -53) และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่นเรือยอชต์ (ร้อยละ 50) เป็นต้น
สินค้าเกษตรและอาหาร ยังคงมีอัตราภาษีศุลกากรอยู่ในระดับสูง เช่น สินค้าอาหารสด อาหารพร้อม รับประทาน เนื้อสัตว์ ผลไม้และผักสด ไวน์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการใช้มาตรการโควต้าภาษี และ มาตรการด้านสุขอนามัย
2. การจำกัดปริมาณการนำเข้าและการออกใบอนุญาตนำเข้า การนำเข้าสินค้าอาหารเพื่อการบริโภค ทุกรายการต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ ซึ่งมักจะมีปัญหาความโปร่งใสในการอนุญาต และปัญหาขั้นตอน การปฏิบัติที่ไม่ชัดเจน
3. อุปสรรคด้านศุลกากร การประเมินราคาศุลกากรยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อสินค้าจากสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่มีการปฏิบัติตามอำเภอใจ และมีการเรียกค่าอำนวยความสะดวก
4. มาตรฐาน การทดสอบ การปิดฉลาก และการออกใบรับรอง มีขั้นตอนสลับซับซ้อน ต้องใช้เวลาและ มีต้นทุนสูง และในบางกรณีกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลที่อาจเป็นความลับทางการค้า
5. การจัดซื้อโดยรัฐ ยังมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินการ
6. การอุดหนุนการส่งออก มีการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับสินค้าส่งออก
7. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ถึงแม้จะมีความก้าวหน้าในด้านการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แต่การบังคับใช้ กฎหมายยังไม่ดีพอ ศาลลังเลที่จะพิจารณาคดีว่าการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอาชญากรรมร้ายแรง และมักจะลงโทษสถานเบาหรือกลับคำตัดสินเมื่อมีการอุทธรณ์
สิทธิบัตร รัฐบาลได้ปรับปรุงและแก้ไขพรบ.สิทธิบัตร ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนตุลาคม 1998 โดยมีผลบังคับ ใช้ตั้งแต่ กันยายน 1999
ลิขสิทธิ์ สหรัฐฯรายงานว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ธุรกิจเท่ากับ ร้อยละ 81 (คิดเป็นมูลค่า สูญเสียประมาณ 66 ล้านดอลลาร์) อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ด้านการบันเทิงเท่ากับ ร้อยละ 95 (คิดเป็นมูลค่าสูญเสียประมาณ 116.3 ล้านดอลลาร์) เนื่องจากข้อบังคับของกฎหมายยังมีช่องว่าง และค่าปรับของการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่สูงพอที่ผู้กระทำผิดจะเกรงกลัว
เครื่องหมายการค้า การแก้ไขพรบ.เครื่องหมายการค้าในปี 1992 เพื่อเพิ่มโทษ และขยายขอบเขตของ กฎหมายให้ครอบคลุมถึงการค้าบริการ certification และ collective marks ทำให้การคุ้มครองเครื่องหมาย การค้าได้ผลในระดับหนึ่ง แต่การผลิตสินค้าปลอมจำพวกตุ๊กตาผ้าในต่างจังหวัดนับเป็นปัญหาใหม่ และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
8. อุปสรรคด้านการค้าบริการ รัฐบาลยังควบคุมกิจการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐาน การบริการทางด้าน กฎหมาย และการดำเนินธุรกิจของธนาคารต่างชาติ โดยยังไม่อนุญาตให้มีการแข่งขันจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้น
9. อุปสรรคด้านการลงทุน ถึงแม้รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกข้อกำหนดการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศสำหรับ อุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์ และอุตสาหกรรมรถยนต์ แต่กลับทดแทนมาตรการดังกล่าวด้วยการเพิ่ม ภาษีศุลกากรใน CKD kits แทน
10. อุปสรรคในด้านอื่นๆ รัฐวิสาหกิจหลายแห่งได้รับการคุ้มครองจากการเข้ามาแข่งขันจากบริษัทต่างประเทศ สำหรับพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ดูแลการดำเนินการเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ในฐานะเลขานุการ กนศ. ได้ประสานกรมทรัพย์สินทางปัญญาชี้แจงประเด็น ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยตอบข้อร้องเรียนของภาคเอกชนสหรัฐฯ (The International Anti-Counterfeiting Coalition :IACC) ที่ยื่นขอให้ USTR พิจารณาเลื่อนสถานะของไทย จากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (Watch List :WL) เป็นประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List:PWL) โดยได้ส่งคำชี้แจงให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน แจ้งต่อ USTR แล้ว ขณะนี้ ฝ่ายเลขานุการกนศ.กำลังประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ ชี้แจงข้อกล่าวหา ในเรื่องการเข้าสู่ตลาดสินค้าและบริการของสหรัฐฯตามที่ระบุในรายงาน NTE ซึ่งขณะนี้ มีหน่วยงานต่างๆได้ชี้แจงข้อกล่าวหาไปยังกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์แล้ว ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หากรวบรวมคำชี้แจงจาก ทุกหน่วยงานแล้วกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะได้ส่งคำชี้แจงและความคืบหน้าของไทยให้ USTR ต่อไป มีข้อสังเกตว่า รายงาน NTE ของสหรัฐฯ ประจำปีนี้ ได้กล่าวถึงภาพรวมของประเทศไทยในลักษณะที่มี การปรับปรุงและมีความก้าวหน้าที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการประกาศใช้กฎหมาย คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ครอบคลุมมากขึ้น ปัญหาที่ระบุมีเพียงการบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น สำหรับในด้านอื่นๆ สหรัฐฯได้เน้นในเรื่องมาตรฐาน การทดสอบ การปิดฉลาก การออกใบรับรอง และการจัดซื้อโดยรัฐ ซึ่งมีปัญหาคล้ายกับที่ระบุไว้ในปีที่ผ่านมา
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-