1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 1.04 บาท ราคาสูงขึ้นจาก กก.ละ 1.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 9.88 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 9.38 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.33
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
รัฐบาลมาเลเซียจ่ายเงินอุดหนุนค่า Insurance Surcharge ที่เพิ่มขึ้นตันละ 1-5 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน
เนื่องจากปัญหาสงครามในอัฟกานิสถาน ทำให้บริษัทประกันเพิ่มค่าเบี้ยประกันสำหรับน้ำมันปาล์มที่ส่งไปยังปากีสถานและตะวันออกกลาง
โดยประเทศเหล่านี้นำเข้าน้ำมันปาล์มประมาณปีละ 2.5 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 25 ของปริมาณส่งออกของมาเลเซีย
สำหรับการคาดการณ์สถานการณ์อุปสงค์-อุปทานล่าสุดของมาเลเซีย เป็นดังนี้
หน่วย : พันตัน
รายการ กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
สต็อกยกมา 890 1,215 1,355-1,365 1,325-1,335
นำเข้า 17 5/10/44 5 -
ผลผลิต 1,101 1,135-1,140 1,000-1,005 815-820
อุปทานรวม 2,008 2,355-2,365 2,360-2,375 2,140-2,155
ส่งออก 649 845-850 880-885 840-845
ใช้ภายใน 144 145-150 145-150 145-150
สต็อกคงเหลือ 1,215 1,355-1,365 1,325-1,335 1,145-1,155
ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม คาดว่ามาเลเซียจะผลิตน้ำมันปาล์มได้ลดลง ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม คาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม สต็อกคงเหลือจะมีเกินกว่า 1.0 ล้านตัน ดังนั้นสถานการณ์ราคาน้ำมันปาล์มจึงจะยังทรงตัว
อยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซียราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 866.34 ดอลลาร์มาเลเซีย (10.43 บาท/กก.)
สูงขึ้นจากตันละ 860.80 ดอลลาร์มาเลเซีย (10.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.64
ตลาดรอตเตอร์ดัมราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 252.00 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (11.31 บาท/กก.)
ลดลงจากตันละ 252.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.20
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 22-28 ต.ค. 2544--
-สส-
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 1.04 บาท ราคาสูงขึ้นจาก กก.ละ 1.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 9.88 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 9.38 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.33
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
รัฐบาลมาเลเซียจ่ายเงินอุดหนุนค่า Insurance Surcharge ที่เพิ่มขึ้นตันละ 1-5 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน
เนื่องจากปัญหาสงครามในอัฟกานิสถาน ทำให้บริษัทประกันเพิ่มค่าเบี้ยประกันสำหรับน้ำมันปาล์มที่ส่งไปยังปากีสถานและตะวันออกกลาง
โดยประเทศเหล่านี้นำเข้าน้ำมันปาล์มประมาณปีละ 2.5 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 25 ของปริมาณส่งออกของมาเลเซีย
สำหรับการคาดการณ์สถานการณ์อุปสงค์-อุปทานล่าสุดของมาเลเซีย เป็นดังนี้
หน่วย : พันตัน
รายการ กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
สต็อกยกมา 890 1,215 1,355-1,365 1,325-1,335
นำเข้า 17 5/10/44 5 -
ผลผลิต 1,101 1,135-1,140 1,000-1,005 815-820
อุปทานรวม 2,008 2,355-2,365 2,360-2,375 2,140-2,155
ส่งออก 649 845-850 880-885 840-845
ใช้ภายใน 144 145-150 145-150 145-150
สต็อกคงเหลือ 1,215 1,355-1,365 1,325-1,335 1,145-1,155
ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม คาดว่ามาเลเซียจะผลิตน้ำมันปาล์มได้ลดลง ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม คาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม สต็อกคงเหลือจะมีเกินกว่า 1.0 ล้านตัน ดังนั้นสถานการณ์ราคาน้ำมันปาล์มจึงจะยังทรงตัว
อยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซียราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 866.34 ดอลลาร์มาเลเซีย (10.43 บาท/กก.)
สูงขึ้นจากตันละ 860.80 ดอลลาร์มาเลเซีย (10.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.64
ตลาดรอตเตอร์ดัมราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 252.00 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (11.31 บาท/กก.)
ลดลงจากตันละ 252.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.20
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 22-28 ต.ค. 2544--
-สส-