ประธานสภาผู้แทนราษฎรเตือนฝ่ายรัฐบาลให้ระวังเรื่องการประชุม
ที่รัฐสภา วันที่ 25 เมษายน 2544 เวลา 11.30 นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังจากให้การต้อนรับ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศสาธารณรัฐฮังการี โดยได้กล่าวถึง
นายวีระ มุสิกพงศ์ รองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ จะรวบรวมรายชื่อจากประชาชนเพื่อเสนอออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้กับ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาว่า ปิดบังการแจ้งทรัพย์สิน ซึ่งจะขาดคุณสมบัติทางการเมืองว่า
เรื่องนี้ตนไม่สามารถจะออก ความเห็นได้ แต่ถ้ามีการเสนอมาตามขั้นตอนก็ต้องรับเพื่อดำเนินการตามขบวนการของรัฐธรรมนูญ
ซึ่งเรื่องนี้จะเหมาะสมหรือไม่ก็เป็นเรื่องของประชาชนจะแสดงความคิดเห็น การที่สังคมเริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นกันก่อน
ที่จะทำอะไรนั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะถือว่าเป็นก้าวสำคัญของการนำไปสู่เรื่องการทำประชาพิจารณ์
นอกจากนี้ ประธานรัฐสภาได้กล่าวถึงเรื่องผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งเป็นเหตุให้การประชุมสภาต้องยุติลงนั้น
ตนเพียงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาในขั้นต้นเท่านั้น ส่วนที่ว่าจะตั้งกี่คนยังไม่ถึงขั้นนั้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อให้ความเห็นชอบแล้วก็ไม่ใช่จะตั้งได้ทันที
ต้องมีการ สรรหาบุคคลพิจารณาผู้ที่จะมาสมัครเป็นผู้ตรวจการฯ และต้องคัดเลือกเพื่อส่งไปให้วุฒิสภา พิจารณา และที่ตนเสนอเป็นเรื่องด่วนต่อสภา
ก็เป็นอำนาจที่สามารถทำได้ และไม่ใช่เป็นการลักไก่ อย่างที่ผู้นำฝ่ายค้านตำหนิแต่อย่างใด
ต่อข้อถามเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขให้ ส.ส. มาประชุมกันครบองค์และไม่ล่มกลางคัน ประธานกล่าวว่า สภาไม่ได้ล่มแต่ ส.ส.
ไม่อยู่ทำหน้าที่ ซึ่งความจริง ส.ส. อยู่กันครบแต่บังเอิญมี เทคนิคทางการเมือง ฝ่ายค้านเล่มเกมและมีสิทธิทำได้อันเป็นกรรมวิธีอย่างหนึ่ง
ถือว่าเป็นเรื่อง ธรรมดา แต่ทางฝ่ายรัฐบาลต้องระวังถ้ามีลักษณะอย่างนี้อีกและรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาต้อง ดูแลสภา รัฐบาลจะต้องรักษา
สถานภาพตัวเองที่จะต้องปฏิบัติ ส่วนเรื่องการวอร์คเอ้าท์ไม่ถือเป็น เรื่องเสียหาย การประชุมสภาในประเทศไทยก็มีเช่นนี้มาตลอด
-----------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ที่รัฐสภา วันที่ 25 เมษายน 2544 เวลา 11.30 นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังจากให้การต้อนรับ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศสาธารณรัฐฮังการี โดยได้กล่าวถึง
นายวีระ มุสิกพงศ์ รองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ จะรวบรวมรายชื่อจากประชาชนเพื่อเสนอออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้กับ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาว่า ปิดบังการแจ้งทรัพย์สิน ซึ่งจะขาดคุณสมบัติทางการเมืองว่า
เรื่องนี้ตนไม่สามารถจะออก ความเห็นได้ แต่ถ้ามีการเสนอมาตามขั้นตอนก็ต้องรับเพื่อดำเนินการตามขบวนการของรัฐธรรมนูญ
ซึ่งเรื่องนี้จะเหมาะสมหรือไม่ก็เป็นเรื่องของประชาชนจะแสดงความคิดเห็น การที่สังคมเริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นกันก่อน
ที่จะทำอะไรนั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะถือว่าเป็นก้าวสำคัญของการนำไปสู่เรื่องการทำประชาพิจารณ์
นอกจากนี้ ประธานรัฐสภาได้กล่าวถึงเรื่องผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งเป็นเหตุให้การประชุมสภาต้องยุติลงนั้น
ตนเพียงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาในขั้นต้นเท่านั้น ส่วนที่ว่าจะตั้งกี่คนยังไม่ถึงขั้นนั้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อให้ความเห็นชอบแล้วก็ไม่ใช่จะตั้งได้ทันที
ต้องมีการ สรรหาบุคคลพิจารณาผู้ที่จะมาสมัครเป็นผู้ตรวจการฯ และต้องคัดเลือกเพื่อส่งไปให้วุฒิสภา พิจารณา และที่ตนเสนอเป็นเรื่องด่วนต่อสภา
ก็เป็นอำนาจที่สามารถทำได้ และไม่ใช่เป็นการลักไก่ อย่างที่ผู้นำฝ่ายค้านตำหนิแต่อย่างใด
ต่อข้อถามเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขให้ ส.ส. มาประชุมกันครบองค์และไม่ล่มกลางคัน ประธานกล่าวว่า สภาไม่ได้ล่มแต่ ส.ส.
ไม่อยู่ทำหน้าที่ ซึ่งความจริง ส.ส. อยู่กันครบแต่บังเอิญมี เทคนิคทางการเมือง ฝ่ายค้านเล่มเกมและมีสิทธิทำได้อันเป็นกรรมวิธีอย่างหนึ่ง
ถือว่าเป็นเรื่อง ธรรมดา แต่ทางฝ่ายรัฐบาลต้องระวังถ้ามีลักษณะอย่างนี้อีกและรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาต้อง ดูแลสภา รัฐบาลจะต้องรักษา
สถานภาพตัวเองที่จะต้องปฏิบัติ ส่วนเรื่องการวอร์คเอ้าท์ไม่ถือเป็น เรื่องเสียหาย การประชุมสภาในประเทศไทยก็มีเช่นนี้มาตลอด
-----------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร