ภาคเกษตร : ช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น ราคาพืชผลยังอ่อนตัว แต่ราคาสัตว์น้ำทะเลสูงขึ้น ตามภาวะ
การส่งออก
สินค้าเกษตร
การผลิตพืชผล ปริมาณการเก็บเกี่ยวพืชผลตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากระยะ
เดียวกันปีก่อน ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ข้าว (+51.9%) กาแฟ (+6.0%) ผักและผลไม้ (+6.0%)
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชผล
ร้อยละ 8.2 และราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ลดลงร้อยละ 0.2 เพราะเป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผล
ปศุสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นตามความต้องการไก่เนื้อของตลาดต่างประเทศ เพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อวัวซึ่งประสบปัญหาโรควัวบ้าระบาด
ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน โดยเฉพาะความต้องการจากสหภาพยุโรปที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50
สำหรับปริมาณการส่งออกไก่เนื้อในช่วง 2 เดือนแรก ของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกไก่สด
แช่แข็งและไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นมากจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.8 และ 41.5 ตามลำดับ เนื่องจาก สหภาพยุโรปกำลังประสบปัญหาโรค
วัวบ้า ส่งผลให้มูลค่า การส่งออกไก่เนื้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.2 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน
สำหรับผลผลิตสุกรยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากช่วง ครึ่งหลังของปี 2542 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ คาดว่าปริมาณการผลิต
สุกรในปี 2544 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากปีก่อน
ดัชนีราคาปศุสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากระยะ เดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาไก่เนื้อ (+1.6%) เป็นสำคัญ เนื่องจาก
ความต้องการไก่เนื้อจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความนิยมในเนื้อหน้าอกและเนื้อน่องในต่างประเทศมีมากกว่าชิ้น
ส่วนอื่น ๆ จึงทำให้ต้องมีการระบายชิ้นส่วนเนื้อไก่ชำแหละที่เหลือสู่ตลาดภายในประเทศ ขณะที่การบริโภคในประเทศค่อนข้างทรงตัว ราคา
เนื้อไก่ในประเทศจึงไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนัก
ประมง ผลผลิตในช่วง 2 เดือนแรกของปี ลดลงจาก ระยะเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่ายังคงลดลงร้อยละ 5.6 เนื่อง
จากต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นถึงร้อยละ 13.2 รวมทั้งผลจากการที่ทางการอินโดนีเซีย ปรับระเบียบการทำประมงเข้มงวดมากขึ้น
สำหรับปริมาณการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในช่วง 2 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยการ
ส่งออกกุ้งสด ปลาและปลาหมึกสดแช่แข็ง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5 13.6 และ 26.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการส่งออกไปยังญี่ปุ่น
และสหภาพยุโรปเป็นสำคัญ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำในช่วงไตรมาสแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสัตว์น้ำที่
ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารทะเล แช่แข็ง ได้แก่ กุ้งกุลาดำ ปลาหมึกและปลา ที่การส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามราคาสินค้า
ประมงที่ยังสูงขึ้น โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ ปลาและปลาหมึก จากภาวะการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าราคาพืชผลจะค่อนข้างทรงตัว ขณะที่
ราคาพืชผลในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลงเป็นปัจจัยบวกต่อราคาสินค้าเกษตร ที่เกษตรกรขายได้
คาดว่าในปี 2544 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ของไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาสินค้าประมงและปศุสัตว์จะ
เพิ่มขึ้นจากการส่งออกที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี จากปัญหาโรควัวบ้า ส่วนราคาพืชผล คาดว่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ลดลงร้อยละ 3.1 จากระยะ
เดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตข้าวและธัญพืชของประเทศผู้นำเข้าสำคัญอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว
ส่งผลกระทบให้ความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ซบเซาลง ราคาจึงมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม
สินค้าเกษตรบางชนิดยังคงมีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้ง และ น้ำตาล จากภาวะอุปทานของโลกที่ลดลง
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. Q1
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 107.3 106.8 107.4 107.2
(2538 =100)
D % -15.4 -7.5 0.6 -3.5 0.6 0.9 2.2 1.3
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 98.2 97.7 98.5 98.1
D % -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 0.2 -0.6 -0.2 -0.2
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 6,451 6,310 5,970 6,244
D % -15.5 9.5 4.1 6.6 -4.1 -7.2 -13.5 -8.3
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,399 4,384 4,414 4,399
D % -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -6.8 -8.1 -7.7 -7.5
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 21,750 21,740 20,720 21,400
D % -22.6 19.8 19.9 19.8 12 -3.8 2.6 3.2
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 4,010 3,850 3,830 3,897
D % -7.8 14.6 -11.8 1.2 -14.5 -19.1 -21.4 -18.4
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 670 660 680 670
D % -44.5 -24.6 -12.2 -19 3.1 11.9 17.2 10.4
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 106.2 105.4 102.9 104.8
D % 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 -0.4 0.05 2.1 0.6
ดัชนีราคาปลาและสัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 137.4 137.2 140.1 138.2
D % -16.2 6.4 9.8 8.1 2.5 5.2 8.2 5.3
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 104.4 104.8 103.4 104.2
D % -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 6.3 6.5 5 6
D % อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ, กรมการค้าภายใน
กระทรวงพาณิชย์ และองค์การสะพานปลา
ทีมเกษตรกรรมและบริการ โทร. 283|5643, 283|5650
เครื่องชี้ภาวะสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญ
หน่วย : ล้านเมตริกตัน
2539/40 2540/41 2541/42 2542/43 2543/44 %การเปลี่ยน
แปลงจากปีก่อน
ผลผลิตภาคเกษตรของไทย1/
ข้าวเปลือก 22.07 23.34 23.24 24.17 24.14 -0.1
นาปี 17.78 18.79 18.45 19.02 19.04 0.1
นาปรัง 4.29 4.55 4.79 5.16 5.1 -1.2
ยางพารา 1.94 2.17 2.16 2.2 2.38 8.2
ข้าวโพด 3.97 3.83 4.77 4.29 4.4 2.6
มันสำปะหลัง 18.08 15.59 16.51 18.75 18.28 -2.5
อ้อย 58.98 45.85 52.84 53.49 51.21 -4.3
ถั่วเขียว 0.24 0.2 0.23 0.25 0.25 -
ถั่วเหลือง 0.36 0.34 0.32 0.32 0.33 3.1
ปาล์มน้ำมัน 2.69 2.68 2.46 3.51 3.25 -7.4
กาแฟ 0.08 0.08 0.05 0.08 0.09 12.5
ผลผลิตพืชผลสำคัญของโลก2/
ธัญพืชรวม
ผลผลิต 1,871.30 1,881.10 1,872.20 1,872.50 1,836.40 -1.9
การค้า 217.2 217 224.1 239.6 230.3 -3.9
ข้าว
ผลผลิต 380.4 386.6 394 408.1 399.8 -2
การค้า 18.8 27.3 25.1 22.9 22.7 -0.9
ข้าวโพด
ผลผลิต 592.2 576.1 605.5 606.2 583.1 -3.8
การค้า 66.4 62.9 68.4 73.2 72.5 -1
ถั่วเหลือง
ผลผลิต 132.2 158.1 159.8 159.4 169.6 6.4
การค้า 37.1 40.5 38.7 46.3 48.6 5
ยางพารา
ผลผลิต3/ 6.4 6.7 6.6 6.8 7 2.8
การค้า 6.5 6.6 6.7 6.8 7.1 3.7
หมายเหตุ : 1/ ตัวเลขประมาณการในเดือนมีนาคม 2544
2/ ตัวเลขประมาณการในเดือนมีนาคม 2544
3/ ผลผลิตยางเป็นปีปฏิทิน t+1 เช่นปี 2543/44 คือยางปี 2544 ผลิตช่วงเดือนมกราคม 2544 | ธันวาคม 2544
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,สถาบันวิจัยยาง และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
World Agricultural Supply and Demand, USDA. Grain : World Markets and Trade, December 2000
Rubber Trends, The Economist Intelligence Unit., June 2000