ในปี 2543 เศรษฐกิจของจังหวัดนครศรีธรรมราชปรับตัวดีขึ้นปลายปีก่อน ปริมาณเงินสดหมุนเวียนผ่านสถาบันการเงิน
ในจังหวัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคายางพาราพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและราคากุ้งกุลาดำสูงขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
ประกอบกับการลงทุนขยาย ตัว นอกจากนี้ทางด้านการส่งออกปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก แต่อย่างไรก็ตามทางด้านการคลัง
รัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณและจัดเก็บภาษ ีได้ลดลง สำหรับทางด้านสถาบันการเงิน เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจาก
ณ สิ้นปีก่อนเล็กน้อย ขณะที่สินเชื่อคงค้างลดลงถึงร้อยละ 16.0
ภาคการเกษตร
ยางพารา แม้ว่าในช่วงต้นปีการผลิตยางพาราจะชะลอตัวลง เนื่องจากมีฝนตกชุก ทำให้การกรีดยางทำได้ไม่เต็มที่
แต่หลังจากนั้นสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ทำให้ผลผลิตยางออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนทางด้านราคาสูงขึ้นจากปีก่อน โดยในปีนี้ราคายาง
แผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.93 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.8 ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้ความต้อง
การยางในตลาดโลกเพิ่มขึ้นในขณะที่ผลผลิตยางของโลกลดลง
ข้าว การผลิตข้าวฤดูกาล 2542/43 ซึ่งเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคมถึงเมษายนได้รับผลดี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย
ฝนตกตามฤดูกาล จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ผลผลิตข้าวนาปีมีจำนวนทั้งสิ้น 229,251 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูการผลิตปี
2541/2542 ร้อยละ 57.2 แต่ทางด้านราคากลับชะลอตัวลง โดยข้าวเปลือกเจ้าความชื้นไม่เกิน 15% ราคาเฉลี่ยประมาณเมตริกตันละ
4,000 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ในระดับเฉลี่ยเมตริกตันละ 4,267 บาท
ประมง การผลิตอยู่ในภาวะทรงตัว ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลามีจำนวน 40,427 เมตริกตัน
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.7 แต่มูลค่าสูงขึ้น โดยมีมูลค่าทั้งสิ้น 794.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.7 สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
คึกคักขึ้น เนื่องจากผลผลิตกุ้งของเอควาดอร์ลดลง ทำให้ราคากุ้งกุลาดำอยู่ในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้น
นอกภาคการเกษตร
การค้า ในปีนี้การใช้จ่ายของภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะยาง
พาราและกุ้งกุลาดำ ทำให้อำนาจซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ยอดการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ทั้งนี้ เห็นได้ชัดจากยอดการจดทะเบีย
ร้อยละ 36.1 32.4 และ 44.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการเร่งจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ โดยการจูงใจผู้
บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะเวลาผ่อนชำระนาน
การลงทุน ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็ก เช่น กิจการค้ายางพารา กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง
กิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และกิจการร้านอาหาร เป็นต้น โดยในปีนี้การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่มีจำนวน
239 ราย ทุนจดทะเบียน 434.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 29.2 และ 29.6 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
การลงทุนจำนวน 3 ราย เงินลงทุน 137.8 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 810 คน เทียบกับปีก่อนจำนวนรายเพิ่มขึ้น 1 ราย และจ้างงาน
พิ่มขึ้น 145 คน ขณะที่เงินลงทุนลดลง 122.2 ล้านบาท ประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ กิจการผลิตภัณฑ์ยาง 2 ราย
และกิจการผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา 1 ราย
ขณะเดียวกันทางด้านการก่อสร้างก็ปรับตัวดีขึ้น การลงทุนก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด
โดยในปีนี้มีพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการ ก่อสร้างในเขตเทศบาลจำนวน 96,613 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.1 โดยเป็นพื้นที่
ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 57,533 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4 พื้นที่เพื่อการพาณิชย์จำนวน 33,827 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ
35.6 และพื้นที่เพื่อการบริการ 4,407 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นกว่า เท่าตัว ส่วนพื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ 846 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 91.1
การจ้างงาน ในปีนี้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดยังคงทรงตัวอยู่ที่วันละ 130 บาท ส่วนการว่าจ้างแรงงานเริ่มดีขึ้น โดยในปีนี้มีการ
จ้างงานผ่านสำนักงาน จัดหางานจังหวัด มีตำแหน่งงานว่าง 12,375 ตำแหน่ง ผู้สมัครงาน 8,411 คน และการบรรจุงาน 2,315 คน เทียบ
กับปีก่อนตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และการบรรจุงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ขณะที่ผู้สมัครงานลดลงร้อยละ 11.4
การคลัง ในปีนี้ส่วนราชการในจังหวัดนครศรีธรรมราชเบิกเงินงบประมาณจากสำนักงานคลังจังหวัดจำนวน 15,203.1 ล้านบาท
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.2 เนื่องจากรัฐบาลปรับลดงบประมาณการใช้จ่ายลง ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามมาตรการเพิ่มการ
ใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในปีนี้มีจำนวนเพียง 89.9 ล้านบาท ในขณะที่ในปีก่อนมีการเบิกจ่ายถึง 1,881.4 ล้านบาท
สำหรับการจัดเก็บภาษีลดลงจากปีก่อน โดยในปีนี้จัดเก็บได้ 1,207.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.1 เนื่องจากจัดเก็บภาษี
ดอกเบี้ยเงินฝากลดลงเป็นสำคัญ ทำให้ภาษีสรรพากรที่จัดเก็บได้ในปีนี้มีจำนวน 806.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.3 ขณะเดียวกันจัด
เก็บภาษี สรรพสามิตได้ 401.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.6
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินสดหมุนเวียนในปีนี้มีจำนวน 38,165.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เป็นปริมาณเงินสดที่สาขา
ธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 20,931.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.1 และปริมาณเงินสดที่เบิกจำนวน
17,234.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
ในขณะเดียวกันปริมาณและมูลค่าเช็คผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 398,860 ฉบับ มูลค่า 28,060.7 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนจำนวน
ฉบับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 แต่มูลค่ากลับลดลงร้อยละ 6.5
ส่วนการดำเนินงานของสาขาธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มขึ้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
จะอยู่ในระดับต่ำมากจนเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3-6 เดือน ของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม เฉลี่ย
เพียงร้อยละ 3.0 ลดลงจาก ณ สิ้นเปีก่อนร้อยละ 0.75 แต่เนื่องจากทางเลือกในการออมมีจำกัด ทำให้ประชาชนยังคงฝากเงินกับสาขาธนาคาร
พาณิชย์ โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคมสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีเงินฝากคงค้างจำนวนทั้งสิ้น 29,476.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากออมทรัพย์ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำกับเงินฝากออมทรัพย์
แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ทำให้ประชาชนนิยมฝากในรูป เงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนเดียวกันนี้มีจำนวน 9,337.9 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 ขณะที่เงินฝากประจำมีจำนวน 19,647.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8
สำหรับทางด้านสินเชื่อ ได้มีการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยการปรับปรุงโครงสร้างไปเป็นจำนวนมาก ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อ
ให้เกิดรายได้ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในช่วงต้นปีคลี่คลายลง โดยจนถึง ณ สิ้นเดือนธันวาคมสถาบันการเงินในจังหวัด
นครศรีธรรมราชได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วจำนวน 5,405 ราย เป็นจำนวนเงิน 8,426.8 ล้านบาท และมีหนี้ที่เหลืออยู่ในระหว่างการ
ปรับปรุงจำนวนเพียง 902 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 703.5 ล้านบาท
สำหรับยอดสินเชื่อโดยรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคมมียอดคงค้างจำนวน 17,962.4 ล้านบาท ลดลงจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ
18.3 ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้กลับไปบริหารที่สำนักงานใหญ่และไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ของธนาคารที่จัดตั้งขึ้น
ประกอบกับการให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหม่ยังมีน้อย เพราะอำนาจในการให้สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำกัด และบางสาขาธนาคาร
อำนาจในการให้สินเชื่อยังคงอยู่ที่สำนักงานใหญ่ นอกจากนี้ความต้องการสินเชื่อของลูกค้าก็มีไม่มากนัก
สินเชื่อที่สำคัญของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดนครศรีธรรมราชยังคงเป็นสินเชื่อค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน 6,610.9
ล้านบาท ลดลงจากสิ้นระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.9 รองลงมาเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลมียอดคงค้าง 4,413.4 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 13.2 และสินเชื่อเกษตร สินเชื่ออุตสาหกรรม สินเชื่อบริการ ซึ่งมีจำนวน 1,927.6 1,956.8 และ 1,508.8 ล้านบาท
ลดลงจากร้อยละ 8.1 10.0 และ 17.1 ตามลำดับ
สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นธันวาคมนี้มี สัดส่วนร้อยละ 60.9 ลดลงจากร้อยละ 81.0
ของ ณ สิ้นปีก่อน
ทางด้านสาขาธนาคารออมสินในจังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถระดมเงินฝากได้มากขึ้นเช่นกัน โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้
มีเงินฝากจำนวน 5,879.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้น ปีก่อนร้อยละ 22.2
สำหรับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีนี้ปล่อยสินเชื่อให้กับ
เกษตกรเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวน ทั้งสิ้น 4,059.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.7
ทางด้านบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปีนี้ให้กู้ยืมแก่ลูกค้าจำนวน 10 ราย เป็นจำนวนเงิน 248.0 ล้านบาท
เทียบกับปีก่อนจำนวนรายลดลง 2 ราย แต่เงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นถึง 173.5 ล้านบาท
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี 2544
ในปี 2544 เศรษฐกิจของจังหวัดนครศรีธรรมราชมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากราคายางพาราพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
และกุ้งกุลาดำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนโดยรวมดีขึ้น นอกจากนี้ทางด้านการลงทุนก็มีแนวโน้มดีขึ้นทั้งจาก
ภาครัฐบาลและเอกชน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาราคาน้ำมันและปัญหาราคาข้าวตกต่ำจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ เศรษฐกิจขยายตัวได้ไม่ดีนัก
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 23.11 17.47 20.93 19.8
ข้าวเปลือกเจ้า 25% (บาท/เมตริกตัน) 6,639 4,328 0 -100
กาแฟ 66.12 46.25 0 -100
มะพร้าวผลแห้งคละ (บาท/ร้อยผล) 393.02 531.82 165 -69
1.2 ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 33,825 41,147 40,427 -1.7
มูลค่า (ล้านบาท) 559.8 744.4 794 6.7
ปลาเป็ด ปริมาณ (เมตริกตัน) 3,952 2,977 3,328 11.8
มูลค่า (ล้านบาท) 10.8 7.5 6 -20
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) 451.88 363.53 353.33 -2.8
2. เหมืองแร่
สินแร่ดีบุก (เมตริกตัน) 726 725.7 95 -86.9
ยิปซัม (เมตริกตัน) 1,363,401 1,003,312 1,008,149 0.5
3. การค้า
3.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 403 440 599 36.1
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 1,959 1,847 2,445 32.4
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 12,908 10,162 14,654 44.2
3.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 1,169.30 768.9 1,093.10 42.2
มูลค่าการนำเข้า 18.1 17.1 0 -100
4. การลงทุน
4.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 6 2 3 50
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,344.10 260 137.8 -47
การจ้างงาน (คน) 1,103 665 810 21.8
4.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 134 185 239 29.2
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 345.5 335 434 29.6
4.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 103,356 74,267 96,613 30.1
ที่อยู่อาศัย 72,480 37,755 57,533 52.4
การพาณิชย์ 20,912 24,942 33,827 35.6
การบริการ 3,600 2,012 4,407 119
อื่น ๆ 6,364 9,558 846 -91.1
5. ค่าจ้างและการจัดหางาน
5.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
5.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 32,053 12,145 12,375 1.9
ผู้สมัครงาน (คน) 8,932 9,493 8,411 -11.4
การบรรจุงาน (คน) 2,007 2,231 2,315 3.8
6. การคลัง (ล้านบาท)
6.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 15,278.40 16,374.30 15,203.10 -7.2
6.2 การจัดเก็บภาษีอากร 1,435.20 1,314.20 1,207.10 -8.1
สรรพากร 1,116.70 898.3 806.1 -10.3
สรรพสามิต 318.5 415.9 401 -3.6
ศุลกากร 0 0 0
7. การเงิน
7.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 17,713.80 17,136.50 20,931.30 22.1
เงินสดจ่าย 14,422.10 16,661.50 17,234.20 3.4
7.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 22,913.60 25,378.90 27,963.70 10.2
เงินโอนเข้า 39,115.10 41,892.90 46,719.30 11.5
7.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 436,264 356,378 398,860 11.9
มูลค่า (ล้านบาท) 37,268.80 30,025.00 28,060.70 -6.5
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.9 1 1.4
7.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 54 54 54 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 26,493.80 27,149.10 29,476.10 8.6
กระแสรายวัน 338.4 373.7 488.9 30.8
ออมทรัพย์ 5,856.90 7,284.20 9,337.90 28.2
ประจำ 20,294.70 19,490.00 19,647.70 0.8
อื่น ๆ 3.8 1.2 1.6 33.3
สินเชื่อ (ล้านบาท) 22,847.30 21,977.20 17,962.40 -18.3
เงินเบิกเกินบัญชี 10,688.40 9,334.80 6,621.40 -29.1
เงินให้กู้ 10,553.60 11,193.30 10,319.60 -7.8
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 1,605.30 1,449.10 1,021.40 -29.5
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 2,292.40 2,096.90 1,927.60 -8.1
เหมืองแร่ 119.1 104.9 74.6 -28.9
การอุตสาหกรรม 2,192.30 2,174.60 1,956.80 -10
การรับเหมาก่อสร้าง 1,208.50 1,186.70 928.9 -21.7
การค้าส่งออก 86.7 40.8 76.7 88
การค้าปลีกค้าส่ง 8,505.40 8,252.70 6,610.90 -19.9
ธุรกิจการเงิน 19.9 3.6 1.1 -69.4
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 1,232.90 1,101.50 910.9 -17.3
สาธารณูปโภค 116.1 112.6 98.6 -12.4
การบริการ 1,354.10 1,820.70 1,508.80 -17.1
การบริโภคส่วนบุคคล 5,719.90 5,082.20 4,413.40 -13.2
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 86.2 81 60.9
7.5 ธนาคารออมสิน
จำนวน (สำนักงาน) 14 14 14 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 4,305.50 4,812.80 5,879.30 22.2
7.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 3,296.80 3,805.10 4,059.70 6.7
7.7 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 5 12 10 -16.7
สินเชื่อ (ล้านบาท) 23.9 74.5 248 232.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ในจังหวัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคายางพาราพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและราคากุ้งกุลาดำสูงขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
ประกอบกับการลงทุนขยาย ตัว นอกจากนี้ทางด้านการส่งออกปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก แต่อย่างไรก็ตามทางด้านการคลัง
รัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณและจัดเก็บภาษ ีได้ลดลง สำหรับทางด้านสถาบันการเงิน เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจาก
ณ สิ้นปีก่อนเล็กน้อย ขณะที่สินเชื่อคงค้างลดลงถึงร้อยละ 16.0
ภาคการเกษตร
ยางพารา แม้ว่าในช่วงต้นปีการผลิตยางพาราจะชะลอตัวลง เนื่องจากมีฝนตกชุก ทำให้การกรีดยางทำได้ไม่เต็มที่
แต่หลังจากนั้นสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ทำให้ผลผลิตยางออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนทางด้านราคาสูงขึ้นจากปีก่อน โดยในปีนี้ราคายาง
แผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.93 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.8 ทั้งนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้ความต้อง
การยางในตลาดโลกเพิ่มขึ้นในขณะที่ผลผลิตยางของโลกลดลง
ข้าว การผลิตข้าวฤดูกาล 2542/43 ซึ่งเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคมถึงเมษายนได้รับผลดี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย
ฝนตกตามฤดูกาล จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ผลผลิตข้าวนาปีมีจำนวนทั้งสิ้น 229,251 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูการผลิตปี
2541/2542 ร้อยละ 57.2 แต่ทางด้านราคากลับชะลอตัวลง โดยข้าวเปลือกเจ้าความชื้นไม่เกิน 15% ราคาเฉลี่ยประมาณเมตริกตันละ
4,000 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ในระดับเฉลี่ยเมตริกตันละ 4,267 บาท
ประมง การผลิตอยู่ในภาวะทรงตัว ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลามีจำนวน 40,427 เมตริกตัน
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.7 แต่มูลค่าสูงขึ้น โดยมีมูลค่าทั้งสิ้น 794.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.7 สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
คึกคักขึ้น เนื่องจากผลผลิตกุ้งของเอควาดอร์ลดลง ทำให้ราคากุ้งกุลาดำอยู่ในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้น
นอกภาคการเกษตร
การค้า ในปีนี้การใช้จ่ายของภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะยาง
พาราและกุ้งกุลาดำ ทำให้อำนาจซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ยอดการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ทั้งนี้ เห็นได้ชัดจากยอดการจดทะเบีย
ร้อยละ 36.1 32.4 และ 44.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการเร่งจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ โดยการจูงใจผู้
บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะเวลาผ่อนชำระนาน
การลงทุน ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็ก เช่น กิจการค้ายางพารา กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง
กิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และกิจการร้านอาหาร เป็นต้น โดยในปีนี้การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่มีจำนวน
239 ราย ทุนจดทะเบียน 434.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 29.2 และ 29.6 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
การลงทุนจำนวน 3 ราย เงินลงทุน 137.8 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 810 คน เทียบกับปีก่อนจำนวนรายเพิ่มขึ้น 1 ราย และจ้างงาน
พิ่มขึ้น 145 คน ขณะที่เงินลงทุนลดลง 122.2 ล้านบาท ประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ กิจการผลิตภัณฑ์ยาง 2 ราย
และกิจการผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา 1 ราย
ขณะเดียวกันทางด้านการก่อสร้างก็ปรับตัวดีขึ้น การลงทุนก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด
โดยในปีนี้มีพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการ ก่อสร้างในเขตเทศบาลจำนวน 96,613 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.1 โดยเป็นพื้นที่
ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 57,533 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4 พื้นที่เพื่อการพาณิชย์จำนวน 33,827 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ
35.6 และพื้นที่เพื่อการบริการ 4,407 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นกว่า เท่าตัว ส่วนพื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ 846 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 91.1
การจ้างงาน ในปีนี้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดยังคงทรงตัวอยู่ที่วันละ 130 บาท ส่วนการว่าจ้างแรงงานเริ่มดีขึ้น โดยในปีนี้มีการ
จ้างงานผ่านสำนักงาน จัดหางานจังหวัด มีตำแหน่งงานว่าง 12,375 ตำแหน่ง ผู้สมัครงาน 8,411 คน และการบรรจุงาน 2,315 คน เทียบ
กับปีก่อนตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และการบรรจุงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ขณะที่ผู้สมัครงานลดลงร้อยละ 11.4
การคลัง ในปีนี้ส่วนราชการในจังหวัดนครศรีธรรมราชเบิกเงินงบประมาณจากสำนักงานคลังจังหวัดจำนวน 15,203.1 ล้านบาท
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.2 เนื่องจากรัฐบาลปรับลดงบประมาณการใช้จ่ายลง ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามมาตรการเพิ่มการ
ใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในปีนี้มีจำนวนเพียง 89.9 ล้านบาท ในขณะที่ในปีก่อนมีการเบิกจ่ายถึง 1,881.4 ล้านบาท
สำหรับการจัดเก็บภาษีลดลงจากปีก่อน โดยในปีนี้จัดเก็บได้ 1,207.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.1 เนื่องจากจัดเก็บภาษี
ดอกเบี้ยเงินฝากลดลงเป็นสำคัญ ทำให้ภาษีสรรพากรที่จัดเก็บได้ในปีนี้มีจำนวน 806.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.3 ขณะเดียวกันจัด
เก็บภาษี สรรพสามิตได้ 401.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.6
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินสดหมุนเวียนในปีนี้มีจำนวน 38,165.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เป็นปริมาณเงินสดที่สาขา
ธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 20,931.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.1 และปริมาณเงินสดที่เบิกจำนวน
17,234.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
ในขณะเดียวกันปริมาณและมูลค่าเช็คผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 398,860 ฉบับ มูลค่า 28,060.7 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนจำนวน
ฉบับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 แต่มูลค่ากลับลดลงร้อยละ 6.5
ส่วนการดำเนินงานของสาขาธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มขึ้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
จะอยู่ในระดับต่ำมากจนเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3-6 เดือน ของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม เฉลี่ย
เพียงร้อยละ 3.0 ลดลงจาก ณ สิ้นเปีก่อนร้อยละ 0.75 แต่เนื่องจากทางเลือกในการออมมีจำกัด ทำให้ประชาชนยังคงฝากเงินกับสาขาธนาคาร
พาณิชย์ โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคมสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีเงินฝากคงค้างจำนวนทั้งสิ้น 29,476.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากออมทรัพย์ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำกับเงินฝากออมทรัพย์
แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ทำให้ประชาชนนิยมฝากในรูป เงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนเดียวกันนี้มีจำนวน 9,337.9 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 ขณะที่เงินฝากประจำมีจำนวน 19,647.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8
สำหรับทางด้านสินเชื่อ ได้มีการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยการปรับปรุงโครงสร้างไปเป็นจำนวนมาก ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อ
ให้เกิดรายได้ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในช่วงต้นปีคลี่คลายลง โดยจนถึง ณ สิ้นเดือนธันวาคมสถาบันการเงินในจังหวัด
นครศรีธรรมราชได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วจำนวน 5,405 ราย เป็นจำนวนเงิน 8,426.8 ล้านบาท และมีหนี้ที่เหลืออยู่ในระหว่างการ
ปรับปรุงจำนวนเพียง 902 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 703.5 ล้านบาท
สำหรับยอดสินเชื่อโดยรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคมมียอดคงค้างจำนวน 17,962.4 ล้านบาท ลดลงจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ
18.3 ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้กลับไปบริหารที่สำนักงานใหญ่และไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ของธนาคารที่จัดตั้งขึ้น
ประกอบกับการให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหม่ยังมีน้อย เพราะอำนาจในการให้สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำกัด และบางสาขาธนาคาร
อำนาจในการให้สินเชื่อยังคงอยู่ที่สำนักงานใหญ่ นอกจากนี้ความต้องการสินเชื่อของลูกค้าก็มีไม่มากนัก
สินเชื่อที่สำคัญของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดนครศรีธรรมราชยังคงเป็นสินเชื่อค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งมียอดคงค้างจำนวน 6,610.9
ล้านบาท ลดลงจากสิ้นระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.9 รองลงมาเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลมียอดคงค้าง 4,413.4 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 13.2 และสินเชื่อเกษตร สินเชื่ออุตสาหกรรม สินเชื่อบริการ ซึ่งมีจำนวน 1,927.6 1,956.8 และ 1,508.8 ล้านบาท
ลดลงจากร้อยละ 8.1 10.0 และ 17.1 ตามลำดับ
สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นธันวาคมนี้มี สัดส่วนร้อยละ 60.9 ลดลงจากร้อยละ 81.0
ของ ณ สิ้นปีก่อน
ทางด้านสาขาธนาคารออมสินในจังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถระดมเงินฝากได้มากขึ้นเช่นกัน โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้
มีเงินฝากจำนวน 5,879.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้น ปีก่อนร้อยละ 22.2
สำหรับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีนี้ปล่อยสินเชื่อให้กับ
เกษตกรเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวน ทั้งสิ้น 4,059.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.7
ทางด้านบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปีนี้ให้กู้ยืมแก่ลูกค้าจำนวน 10 ราย เป็นจำนวนเงิน 248.0 ล้านบาท
เทียบกับปีก่อนจำนวนรายลดลง 2 ราย แต่เงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นถึง 173.5 ล้านบาท
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี 2544
ในปี 2544 เศรษฐกิจของจังหวัดนครศรีธรรมราชมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากราคายางพาราพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
และกุ้งกุลาดำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนโดยรวมดีขึ้น นอกจากนี้ทางด้านการลงทุนก็มีแนวโน้มดีขึ้นทั้งจาก
ภาครัฐบาลและเอกชน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาราคาน้ำมันและปัญหาราคาข้าวตกต่ำจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ เศรษฐกิจขยายตัวได้ไม่ดีนัก
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 23.11 17.47 20.93 19.8
ข้าวเปลือกเจ้า 25% (บาท/เมตริกตัน) 6,639 4,328 0 -100
กาแฟ 66.12 46.25 0 -100
มะพร้าวผลแห้งคละ (บาท/ร้อยผล) 393.02 531.82 165 -69
1.2 ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 33,825 41,147 40,427 -1.7
มูลค่า (ล้านบาท) 559.8 744.4 794 6.7
ปลาเป็ด ปริมาณ (เมตริกตัน) 3,952 2,977 3,328 11.8
มูลค่า (ล้านบาท) 10.8 7.5 6 -20
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) 451.88 363.53 353.33 -2.8
2. เหมืองแร่
สินแร่ดีบุก (เมตริกตัน) 726 725.7 95 -86.9
ยิปซัม (เมตริกตัน) 1,363,401 1,003,312 1,008,149 0.5
3. การค้า
3.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 403 440 599 36.1
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 1,959 1,847 2,445 32.4
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 12,908 10,162 14,654 44.2
3.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 1,169.30 768.9 1,093.10 42.2
มูลค่าการนำเข้า 18.1 17.1 0 -100
4. การลงทุน
4.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 6 2 3 50
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,344.10 260 137.8 -47
การจ้างงาน (คน) 1,103 665 810 21.8
4.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 134 185 239 29.2
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 345.5 335 434 29.6
4.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 103,356 74,267 96,613 30.1
ที่อยู่อาศัย 72,480 37,755 57,533 52.4
การพาณิชย์ 20,912 24,942 33,827 35.6
การบริการ 3,600 2,012 4,407 119
อื่น ๆ 6,364 9,558 846 -91.1
5. ค่าจ้างและการจัดหางาน
5.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
5.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 32,053 12,145 12,375 1.9
ผู้สมัครงาน (คน) 8,932 9,493 8,411 -11.4
การบรรจุงาน (คน) 2,007 2,231 2,315 3.8
6. การคลัง (ล้านบาท)
6.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 15,278.40 16,374.30 15,203.10 -7.2
6.2 การจัดเก็บภาษีอากร 1,435.20 1,314.20 1,207.10 -8.1
สรรพากร 1,116.70 898.3 806.1 -10.3
สรรพสามิต 318.5 415.9 401 -3.6
ศุลกากร 0 0 0
7. การเงิน
7.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 17,713.80 17,136.50 20,931.30 22.1
เงินสดจ่าย 14,422.10 16,661.50 17,234.20 3.4
7.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 22,913.60 25,378.90 27,963.70 10.2
เงินโอนเข้า 39,115.10 41,892.90 46,719.30 11.5
7.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 436,264 356,378 398,860 11.9
มูลค่า (ล้านบาท) 37,268.80 30,025.00 28,060.70 -6.5
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.9 1 1.4
7.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 54 54 54 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 26,493.80 27,149.10 29,476.10 8.6
กระแสรายวัน 338.4 373.7 488.9 30.8
ออมทรัพย์ 5,856.90 7,284.20 9,337.90 28.2
ประจำ 20,294.70 19,490.00 19,647.70 0.8
อื่น ๆ 3.8 1.2 1.6 33.3
สินเชื่อ (ล้านบาท) 22,847.30 21,977.20 17,962.40 -18.3
เงินเบิกเกินบัญชี 10,688.40 9,334.80 6,621.40 -29.1
เงินให้กู้ 10,553.60 11,193.30 10,319.60 -7.8
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 1,605.30 1,449.10 1,021.40 -29.5
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 2,292.40 2,096.90 1,927.60 -8.1
เหมืองแร่ 119.1 104.9 74.6 -28.9
การอุตสาหกรรม 2,192.30 2,174.60 1,956.80 -10
การรับเหมาก่อสร้าง 1,208.50 1,186.70 928.9 -21.7
การค้าส่งออก 86.7 40.8 76.7 88
การค้าปลีกค้าส่ง 8,505.40 8,252.70 6,610.90 -19.9
ธุรกิจการเงิน 19.9 3.6 1.1 -69.4
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 1,232.90 1,101.50 910.9 -17.3
สาธารณูปโภค 116.1 112.6 98.6 -12.4
การบริการ 1,354.10 1,820.70 1,508.80 -17.1
การบริโภคส่วนบุคคล 5,719.90 5,082.20 4,413.40 -13.2
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 86.2 81 60.9
7.5 ธนาคารออมสิน
จำนวน (สำนักงาน) 14 14 14 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 4,305.50 4,812.80 5,879.30 22.2
7.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 3,296.80 3,805.10 4,059.70 6.7
7.7 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 5 12 10 -16.7
สินเชื่อ (ล้านบาท) 23.9 74.5 248 232.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-