Directive 93/43/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับสุขอนามัยของเครื่องปรุงอาหาร (Hygiene of Foodstuffs) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพในผลิตภัณฑ์อาหาร ข้อกำหนดฉบับนี้จะควบคุมผู้ประกอบการผลิตอาหารที่ดำเนินงานด้านการผลิต การขนส่ง การเก็บรักษา และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร ให้อยู่ภายในเงื่อนไขของกฎหมาย โดยการกำหนดให้ผู้ประกอบการผลิตอาหารจะต้องชี้แจงขั้นตอนในการดำเนินงานซึ่งเป็นจุดวิกฤตต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร และผู้ประกอบการผลิตอาหารจะต้องปฏิบัติการภายใต้ขบวนการผลิตที่สามารถผลิตอาหารซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
Council Directive 93/5/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบการผลิตอาหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขอนามัยของสาธารณะชนและสนับสนุนความปลอดภัยด้านอาหารภายในตลาดของกลุ่มประเทศสมาชิกของ สหภาพยุโรป
Scientific Co-operation (SCOOP) Task Group เป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานของสหภาพยุโรปที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ Directive 93/5/EEC Task Group มีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลวิทยาศาสตร์ด้านจุลชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อาหาร
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารและสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์อาหารได้ถูกควบคุมโดยข้อกำหนดต่าง ๆ มีทั้ง Vertical Directives และ Horizontal Directives
Vertical Directives เป็นข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์เท่านั้น เช่น เนื้อโค เนื้อสัตว์ปีก นมสด ปลา ไข่ไก่ ผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เหล่านี้ จะได้รับการควบคุมด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในขั้นตอนของการผลิต การเก็บรักษา และการขนส่ง ภายใต้ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เป็น Vertical Directives
Horizontal Directives เป็นข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงอาหารทั้งหมดที่ไม่รวมอยู่ใน Vertical Directives การนำผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทออกจำหน่ายเพื่อการค้าปลีกให้แก่ผู้บริโภครายสุดท้ายจะถูกควบคุมโดย Horizontal Directives
มาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปอยู่ภายในข้อกำหนดของกลุ่ม Vertical Directives ซึ่งจะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่มีความสอดคล้องกัน ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานจุลชีววิทยา (Microbiological Criteria) มีดังต่อไปนี้
Directive 89/437/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ประเภทไข่ (Egg Products)
Directive 89/43/EEC เป็นกฎหมายที่ควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์ประเภทไข่ของสัตว์ปีก ซึ่งจะต้องปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพดังต่อไปนี้ คือ Aerobic Mesophile Bacteria, Enterobacteriaceae, Staphylococcus Aureus และ Salmonella Spp.
Directive 91/492/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานจุลชีววิทยาของหอยสองฝาที่ยังมีชีวิต (Live Bivalue Molluscs)
Directive 91/492/EEC ได้กำหนดขอบเขตการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์หอยสองฝาที่มีชีวิต (Live Bivalue Products) ไว้ดังต่อไปนี้.-
เชื้อแบคทีเรีย ขอบเขตของการปนเปื้อน
Salmonella Spp ไม่พบการปนเปื้อนในตัวอย่างจำนวน 25 กรัม หรือ 25 มิลลิลิตร
Faecal Coliforms พบการปนเปื้อนน้อยกว่า 300 ตัวต่อผลิตภัณฑ์หอยสองฝาที่มีชีวิตปริมาณหนัก 100 กรัม
Escherichia Coli พบการปนเปื้อนไม่มากกว่า 230 ตัวต่อผลิตภัณฑ์หอยสองฝาที่มีชีวิตปริมาณหนัก 100 กรัม
Directive 91/493/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ประมง (Fishery Products)
Directive 93/51/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานจุลชีววิทยาที่ควบคุมการผลิตสัตว์ที่มีเปลือกแข็งปรุงสำเร็จ (Cooked Crustaceans) และสัตว์จำพวกหอย (Molluscan Shellfish)
Directive 93/51/EEC เป็นบทบัญญัติที่ควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกปรุงสำเร็จ (Cooked Shellfish and Molluscs) เช่น หอย กุ้ง ปู จะต้องไม่ปรากฏการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียดังต่อไปนี้.-
ก. Staphylococcus Aureus
ข. Escherichia Coli
ค. เชื้อแบคทีเรียจำพวก Coliforms ที่ทนต่อความร้อนในระดับอุณหภูมิที่ 44 องศาเซลเซียส
ง. เชื้อแบคทีเรียกสายพันธุ์ Salmonella Spp จะต้องไม่มีการตรวจพบการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ปริมาณ 25 กรัม หรือ 25 มิลลิลิตร
Directive 92/46/EEC เป็นข้อกำหนดที่ใช้เพื่อควบคุมการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์นม (Dairy Products) แต่ละประเภทดังต่อไปนี้.-
1). น้ำนมดิบ (Raw Cow's Drinking Milk) จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อ Staphylo-coccus Aureus และไม่มีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella Spp จากการสุ่มตัวอย่างน้ำนมดิบจำนวน 25 กรัม มาตรวจสอบทางด้านห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
2). นมสม (Pasteurised Drinking Milk) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปราศจากการตรวจพบเชื้อ Listeria Monocy-togenes และ Salmonella Spp จากการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำนมดิบ จำนวน 25 กรัม
3). เนยแข็ง (Fresh Cheese) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปราศจากการปนเปื้อนของจุลชีพ Listeria Monocytogenes และเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์เนยแข็งปริมาณหนัก 25 กรัม Fresh Cheese ต้องเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการตรวจพบ Staphylococcus Aureus
4). เนยแข็ง (Hard Cheese Made From Heat-Treated Milk) ที่ผลิตจากน้ำนมซึ่งผ่านการฆ่าทำลายเชื้อโรคมาแล้วจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อ Listeria Monocytogenes ในผลิตภัณฑ์เนยแข็ง ปริมาณ 1.0 กรัม และเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์เนยแข็งปริมาณ 25 กรัม
เนยแข็ง (Hard Cheese Made From Raw or Thermised Milk) ที่ผลิตจากน้ำนมดิบต้องเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อ Listeria Monocytogenes สำหรับผลิตภัณฑ์เนยแข็งปริมาณ 1.0 กรัม และเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการตรวจพบเชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์เนยแข็งปริมาณ 25 กรัม นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เนยแข็งที่ผลิตจากน้ำนมดิบจะต้องเป็นเนยแข็งที่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียประเภท Staphylococcus Aureus และ Escherichia Coli
5). นมผง (Milk Powder) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียประเภท Staphylococcus Aureus และนมผงจำนวน 25 กรัม จะต้องปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella Spp การตรวจสอบนมผงจำนวน 1 กรัม ต้องไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ Listeria Monocytogenes
6). ผลิตภัณฑ์นม (Liquid Dairy Products) จะต้องปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmo-nella Spp ในผลิตภัณฑ์นมปริมาณ 25 กรัม และปราศจากเชื้อจุลชีพ Listeria Monocytogenes ในผลิตภัณฑ์นมปริมาณ 1 กรัม
7). ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม ยู เอช ที (Sterilised and UHT Drinking Milk) มาตรฐานจุลชีพวิทยาของผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม ยู เอช ที คือเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย (Aerobic Microorganisms) ในผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณ 1 กรัม ณ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ได้ไม่มากเกินกว่า 10 ตัวต่อผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม ยู เอช ที ปริมาตร 0.1 มิลลิกรัม
8). เนย (Pasteurised Butter) มาตรฐานจุลชีววิทยาของเนย คือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการตรวจพบเชื้อ Listeria Monocytogenes สำหรับเนยที่มีน้ำหนัก 1 กรัม และปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์เนยที่มีน้ำหนักเท่ากับ 25 กรัม
9). ไอศกรีม (Frozen Dairy Products Including Ice Cream) ผลิตภัณฑ์นมแช่แข็ง เช่น ไอศกรีม ต้องเป็นผลิต- ภัณฑ์อาหารที่ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพประเภท Listeria Monocytogenes ในผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณ 1 กรัม และปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพประเภท Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณ 25 กรัม
กฎระเบียบเรื่องสวัสดิภาพของหมูของสหภาพยุโรป
คณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้การรับรองรายงานเกี่ยวกับการทำฟาร์มสุกร และรายงานดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำหรับกฎระเบียบ (Directive) ฉบับใหม่ที่จะแก้ไข Directive 91/630/EEC ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพของสุกร สาระสำคัญของรายงานมีดังนี้.-
1. ประเด็นหลักของปัญหาสวัสดิภาพสุกรในฟาร์ม เช่น การแยกเลี้ยงสุกรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุกรตัวเมียโดยไม่รวมเป็นคอกมีผลต่อพฤติกรรมของสุกร ระบบการให้อาหารบางชนิดจะทำให้สุกรมีพฤติกรรมก้าวร้าว บุคลากรที่ไม่มีความสามารถที่เหมาะสมอาจจะทำให้สวัสดิภาพของสุกรเสื่อมทรามลง
2. สืบเนื่องจากปัญหาข้างต้น คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเสนอมาตรการดังนี้.-
2.1 ห้ามเลี้ยงสุกรที่ตั้งครรภ์ในคอกที่แยกต่างหากจนถึง 7 วันก่อนคลอด
2.2 ห้ามการผูกหรือล่ามสุกรที่ตั้งครรภ์
2.3 กำหนดขนาดขั้นต่ำสำหรับคอกสุกรที่ตั้งครรภ์
2.4 กำหนดให้สุกรได้รับอาหารเส้นใยอย่างสม่ำเสมอ
2.5 กำหนดให้มีสถานที่ขับถ่ายแยกจากสถานที่พักผ่อนและให้อาหาร
3. ระเบียบบางข้อได้มีการบังคับใช้อยู่แล้วในประเทศสมาชิกสภาพยุโรปบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เป็นต้น ทั้งนี้ ระเบียบใหม่จะถูกทะยอยนำมาใช้เพื่อให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัว ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อช่วยในการลงทุนสร้างฟาร์มใหม่
4. Directive ฉบับใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้กับฟาร์มสุกรที่ตั้งขึ้นหลังวันที่ 1 มกราคม 2545 สำหรับฟาร์มที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วนั้น Directive นี้จะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่ในปี 2555
Directive ฉบับใหม่ของคณะกรรมาธิการยุโรปนี้จะยังไม่มีผลบังคับใช้ในทันที และคณะกรรมาธิการยุโรปยังไม่ได้กำหนดว่าผู้ประกอบการที่จะส่งผลิตภัณฑ์สุกรเข้ามาจำหน่ายในสหภาพยุโรปจะต้องปฏิบัติตาม Directive นี้แต่คาดได้ว่าเมื่อผู้ประกอบการในสหภาพยุโรปสามารถปฏิบัติตาม Directive นี้ได้หมดแล้ว คณะกรรมการไทยจึงน่าจะต้องเร่งปรับตัวแต่เนิ่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการต่าง ๆ ควรจะได้หารือแนวทางสนับสนุนภาคเอกชนไทยเพื่อมิให้ไทยต้องเสียโอกาสในการส่งออกผลิตภัณฑ์สุกรไปยังตลาดสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่
สหภาพยุโรปต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรควัวบ้าอย่างกว้างขวาง และไม่มีท่าทีที่ปัญหานี้จะหมดไปในอนาคตอันใกล้ ผู้บริโภคในยุโรปและในภูมิภาคอื่น ๆ เริ่มหันไปบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ แทนผลิตภัณฑ์สุกรจึงน่าจะมีโอกาสอันดีในการที่จะเข้าไปแทนที่ผลิตภัณฑ์เนื้อวัว ดังนั้น หากผู้ส่งออกไทยสามมรถปรับตัวและยกระดับคุณภาพของการดำเนินการและสินค้าได้ทันท่วงที โอกาสของไทยในการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรน่าจะมีอนาคตที่ดีต่อไป
สหภาพยุโรปประกาศห้ามใช้สาร Pentabromodiphenyl Ether
สหภาพยุโรปได้เตรียมการประกาศห้ามใช้สาร Pentabromodiphenyl ether (PentaBDE) ซึ่งเป็นสารเคมีประเภท Brominated Flame Retardant ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต Flexible Polyurethane Foam สำหรับเฟอร์นิเจอร์และเครื่องหุ้มเบาะ (Upholstery) เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องมาจากการใช้สาร PentaBDE ในการผลิต Polyurethane Foam และการใช้โฟมดังกล่าวก่อให้เกิดความเสี่ยงในการกระจายของสาร PentaBDE ไปสู่สภาพแวดล้อม นอกจากนี้ คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ฯ ของ EU คือ Scientific committee on Toxicity, Ecotoxicity and the Environment (CSTEE) ได้ประเมินความเสี่ยงและเสนอข้อคิดเห็นในการจำกัดการใช้สาร PentaBDE เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อม และระบุความกังวลเกี่ยวกับการพบระดับสาร PentaBDE เพิ่มสูงขึ้นในน้ำนมมารดา โดยเกรงว่าอาจทำให้เด็กที่เลี้ยงด้วยนมมารดาได้รับอันตรายจากกสาร PentaBDE
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้พิจารณาเตรียมการประกาศห้ามการจำหน่ายและการใช้สาร PentaBDE รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีสาร PentaBDE เป็นองค์ประกอบเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น โดยอาศัยหลักการ Precautionary Principle เป็นพื้นฐาน อนึ่ง เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2001 คณกรรมาธิการฯ ได้ออกประกาศข้อเสนอแนะที่ COM(2001) 12 Final เกี่ยวกับการห้ามใช้สาร PentaBDE โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ Council Directive 76/769/EEC ซึ่งควบคุมการใช้สารอันตราย โดยข้อเสนอแนะนี้เป็นการห้ามการจำหน่ายหรือใช้สาร PentaBDE หรือใช้เป็นองค์ประกอบการผลิต รวมทั้งห้ามการจำหน่ายสินค้าที่มีสาร PentaBDE เป็นส่วนผสมในการผลิต อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะนี้จะต้องผ่านความเห็นชอบของสภายุโรปและคณะมนตรีต่อไป ภายใต้กระบวนการตัดสินใจร่วม (Co-Decision Process) นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ยังได้ประกาศให้สาร PentaBDE เป็นหนึ่งในรายการสารเคมีอันตราย 32 ประเภท ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินมาตรการควบคุม (Priority Hazardous Substances)
(ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/2544 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-
Council Directive 93/5/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบการผลิตอาหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสุขอนามัยของสาธารณะชนและสนับสนุนความปลอดภัยด้านอาหารภายในตลาดของกลุ่มประเทศสมาชิกของ สหภาพยุโรป
Scientific Co-operation (SCOOP) Task Group เป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานของสหภาพยุโรปที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ Directive 93/5/EEC Task Group มีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลวิทยาศาสตร์ด้านจุลชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อาหาร
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารและสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์อาหารได้ถูกควบคุมโดยข้อกำหนดต่าง ๆ มีทั้ง Vertical Directives และ Horizontal Directives
Vertical Directives เป็นข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์เท่านั้น เช่น เนื้อโค เนื้อสัตว์ปีก นมสด ปลา ไข่ไก่ ผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เหล่านี้ จะได้รับการควบคุมด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในขั้นตอนของการผลิต การเก็บรักษา และการขนส่ง ภายใต้ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เป็น Vertical Directives
Horizontal Directives เป็นข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงอาหารทั้งหมดที่ไม่รวมอยู่ใน Vertical Directives การนำผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทออกจำหน่ายเพื่อการค้าปลีกให้แก่ผู้บริโภครายสุดท้ายจะถูกควบคุมโดย Horizontal Directives
มาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปอยู่ภายในข้อกำหนดของกลุ่ม Vertical Directives ซึ่งจะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่มีความสอดคล้องกัน ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานจุลชีววิทยา (Microbiological Criteria) มีดังต่อไปนี้
Directive 89/437/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ประเภทไข่ (Egg Products)
Directive 89/43/EEC เป็นกฎหมายที่ควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์ประเภทไข่ของสัตว์ปีก ซึ่งจะต้องปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพดังต่อไปนี้ คือ Aerobic Mesophile Bacteria, Enterobacteriaceae, Staphylococcus Aureus และ Salmonella Spp.
Directive 91/492/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานจุลชีววิทยาของหอยสองฝาที่ยังมีชีวิต (Live Bivalue Molluscs)
Directive 91/492/EEC ได้กำหนดขอบเขตการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์หอยสองฝาที่มีชีวิต (Live Bivalue Products) ไว้ดังต่อไปนี้.-
เชื้อแบคทีเรีย ขอบเขตของการปนเปื้อน
Salmonella Spp ไม่พบการปนเปื้อนในตัวอย่างจำนวน 25 กรัม หรือ 25 มิลลิลิตร
Faecal Coliforms พบการปนเปื้อนน้อยกว่า 300 ตัวต่อผลิตภัณฑ์หอยสองฝาที่มีชีวิตปริมาณหนัก 100 กรัม
Escherichia Coli พบการปนเปื้อนไม่มากกว่า 230 ตัวต่อผลิตภัณฑ์หอยสองฝาที่มีชีวิตปริมาณหนัก 100 กรัม
Directive 91/493/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ประมง (Fishery Products)
Directive 93/51/EEC เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานจุลชีววิทยาที่ควบคุมการผลิตสัตว์ที่มีเปลือกแข็งปรุงสำเร็จ (Cooked Crustaceans) และสัตว์จำพวกหอย (Molluscan Shellfish)
Directive 93/51/EEC เป็นบทบัญญัติที่ควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกปรุงสำเร็จ (Cooked Shellfish and Molluscs) เช่น หอย กุ้ง ปู จะต้องไม่ปรากฏการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียดังต่อไปนี้.-
ก. Staphylococcus Aureus
ข. Escherichia Coli
ค. เชื้อแบคทีเรียจำพวก Coliforms ที่ทนต่อความร้อนในระดับอุณหภูมิที่ 44 องศาเซลเซียส
ง. เชื้อแบคทีเรียกสายพันธุ์ Salmonella Spp จะต้องไม่มีการตรวจพบการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ปริมาณ 25 กรัม หรือ 25 มิลลิลิตร
Directive 92/46/EEC เป็นข้อกำหนดที่ใช้เพื่อควบคุมการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์นม (Dairy Products) แต่ละประเภทดังต่อไปนี้.-
1). น้ำนมดิบ (Raw Cow's Drinking Milk) จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อ Staphylo-coccus Aureus และไม่มีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella Spp จากการสุ่มตัวอย่างน้ำนมดิบจำนวน 25 กรัม มาตรวจสอบทางด้านห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
2). นมสม (Pasteurised Drinking Milk) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปราศจากการตรวจพบเชื้อ Listeria Monocy-togenes และ Salmonella Spp จากการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำนมดิบ จำนวน 25 กรัม
3). เนยแข็ง (Fresh Cheese) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปราศจากการปนเปื้อนของจุลชีพ Listeria Monocytogenes และเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์เนยแข็งปริมาณหนัก 25 กรัม Fresh Cheese ต้องเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการตรวจพบ Staphylococcus Aureus
4). เนยแข็ง (Hard Cheese Made From Heat-Treated Milk) ที่ผลิตจากน้ำนมซึ่งผ่านการฆ่าทำลายเชื้อโรคมาแล้วจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อ Listeria Monocytogenes ในผลิตภัณฑ์เนยแข็ง ปริมาณ 1.0 กรัม และเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์เนยแข็งปริมาณ 25 กรัม
เนยแข็ง (Hard Cheese Made From Raw or Thermised Milk) ที่ผลิตจากน้ำนมดิบต้องเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อ Listeria Monocytogenes สำหรับผลิตภัณฑ์เนยแข็งปริมาณ 1.0 กรัม และเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการตรวจพบเชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์เนยแข็งปริมาณ 25 กรัม นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เนยแข็งที่ผลิตจากน้ำนมดิบจะต้องเป็นเนยแข็งที่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียประเภท Staphylococcus Aureus และ Escherichia Coli
5). นมผง (Milk Powder) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียประเภท Staphylococcus Aureus และนมผงจำนวน 25 กรัม จะต้องปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella Spp การตรวจสอบนมผงจำนวน 1 กรัม ต้องไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ Listeria Monocytogenes
6). ผลิตภัณฑ์นม (Liquid Dairy Products) จะต้องปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmo-nella Spp ในผลิตภัณฑ์นมปริมาณ 25 กรัม และปราศจากเชื้อจุลชีพ Listeria Monocytogenes ในผลิตภัณฑ์นมปริมาณ 1 กรัม
7). ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม ยู เอช ที (Sterilised and UHT Drinking Milk) มาตรฐานจุลชีพวิทยาของผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม ยู เอช ที คือเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย (Aerobic Microorganisms) ในผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณ 1 กรัม ณ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ได้ไม่มากเกินกว่า 10 ตัวต่อผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม ยู เอช ที ปริมาตร 0.1 มิลลิกรัม
8). เนย (Pasteurised Butter) มาตรฐานจุลชีววิทยาของเนย คือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการตรวจพบเชื้อ Listeria Monocytogenes สำหรับเนยที่มีน้ำหนัก 1 กรัม และปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์เนยที่มีน้ำหนักเท่ากับ 25 กรัม
9). ไอศกรีม (Frozen Dairy Products Including Ice Cream) ผลิตภัณฑ์นมแช่แข็ง เช่น ไอศกรีม ต้องเป็นผลิต- ภัณฑ์อาหารที่ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพประเภท Listeria Monocytogenes ในผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณ 1 กรัม และปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพประเภท Salmonella Spp ในผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณ 25 กรัม
กฎระเบียบเรื่องสวัสดิภาพของหมูของสหภาพยุโรป
คณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้การรับรองรายงานเกี่ยวกับการทำฟาร์มสุกร และรายงานดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำหรับกฎระเบียบ (Directive) ฉบับใหม่ที่จะแก้ไข Directive 91/630/EEC ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพของสุกร สาระสำคัญของรายงานมีดังนี้.-
1. ประเด็นหลักของปัญหาสวัสดิภาพสุกรในฟาร์ม เช่น การแยกเลี้ยงสุกรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุกรตัวเมียโดยไม่รวมเป็นคอกมีผลต่อพฤติกรรมของสุกร ระบบการให้อาหารบางชนิดจะทำให้สุกรมีพฤติกรรมก้าวร้าว บุคลากรที่ไม่มีความสามารถที่เหมาะสมอาจจะทำให้สวัสดิภาพของสุกรเสื่อมทรามลง
2. สืบเนื่องจากปัญหาข้างต้น คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเสนอมาตรการดังนี้.-
2.1 ห้ามเลี้ยงสุกรที่ตั้งครรภ์ในคอกที่แยกต่างหากจนถึง 7 วันก่อนคลอด
2.2 ห้ามการผูกหรือล่ามสุกรที่ตั้งครรภ์
2.3 กำหนดขนาดขั้นต่ำสำหรับคอกสุกรที่ตั้งครรภ์
2.4 กำหนดให้สุกรได้รับอาหารเส้นใยอย่างสม่ำเสมอ
2.5 กำหนดให้มีสถานที่ขับถ่ายแยกจากสถานที่พักผ่อนและให้อาหาร
3. ระเบียบบางข้อได้มีการบังคับใช้อยู่แล้วในประเทศสมาชิกสภาพยุโรปบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เป็นต้น ทั้งนี้ ระเบียบใหม่จะถูกทะยอยนำมาใช้เพื่อให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัว ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อช่วยในการลงทุนสร้างฟาร์มใหม่
4. Directive ฉบับใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้กับฟาร์มสุกรที่ตั้งขึ้นหลังวันที่ 1 มกราคม 2545 สำหรับฟาร์มที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วนั้น Directive นี้จะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่ในปี 2555
Directive ฉบับใหม่ของคณะกรรมาธิการยุโรปนี้จะยังไม่มีผลบังคับใช้ในทันที และคณะกรรมาธิการยุโรปยังไม่ได้กำหนดว่าผู้ประกอบการที่จะส่งผลิตภัณฑ์สุกรเข้ามาจำหน่ายในสหภาพยุโรปจะต้องปฏิบัติตาม Directive นี้แต่คาดได้ว่าเมื่อผู้ประกอบการในสหภาพยุโรปสามารถปฏิบัติตาม Directive นี้ได้หมดแล้ว คณะกรรมการไทยจึงน่าจะต้องเร่งปรับตัวแต่เนิ่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการต่าง ๆ ควรจะได้หารือแนวทางสนับสนุนภาคเอกชนไทยเพื่อมิให้ไทยต้องเสียโอกาสในการส่งออกผลิตภัณฑ์สุกรไปยังตลาดสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่
สหภาพยุโรปต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรควัวบ้าอย่างกว้างขวาง และไม่มีท่าทีที่ปัญหานี้จะหมดไปในอนาคตอันใกล้ ผู้บริโภคในยุโรปและในภูมิภาคอื่น ๆ เริ่มหันไปบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ แทนผลิตภัณฑ์สุกรจึงน่าจะมีโอกาสอันดีในการที่จะเข้าไปแทนที่ผลิตภัณฑ์เนื้อวัว ดังนั้น หากผู้ส่งออกไทยสามมรถปรับตัวและยกระดับคุณภาพของการดำเนินการและสินค้าได้ทันท่วงที โอกาสของไทยในการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรน่าจะมีอนาคตที่ดีต่อไป
สหภาพยุโรปประกาศห้ามใช้สาร Pentabromodiphenyl Ether
สหภาพยุโรปได้เตรียมการประกาศห้ามใช้สาร Pentabromodiphenyl ether (PentaBDE) ซึ่งเป็นสารเคมีประเภท Brominated Flame Retardant ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต Flexible Polyurethane Foam สำหรับเฟอร์นิเจอร์และเครื่องหุ้มเบาะ (Upholstery) เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องมาจากการใช้สาร PentaBDE ในการผลิต Polyurethane Foam และการใช้โฟมดังกล่าวก่อให้เกิดความเสี่ยงในการกระจายของสาร PentaBDE ไปสู่สภาพแวดล้อม นอกจากนี้ คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ฯ ของ EU คือ Scientific committee on Toxicity, Ecotoxicity and the Environment (CSTEE) ได้ประเมินความเสี่ยงและเสนอข้อคิดเห็นในการจำกัดการใช้สาร PentaBDE เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อม และระบุความกังวลเกี่ยวกับการพบระดับสาร PentaBDE เพิ่มสูงขึ้นในน้ำนมมารดา โดยเกรงว่าอาจทำให้เด็กที่เลี้ยงด้วยนมมารดาได้รับอันตรายจากกสาร PentaBDE
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้พิจารณาเตรียมการประกาศห้ามการจำหน่ายและการใช้สาร PentaBDE รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีสาร PentaBDE เป็นองค์ประกอบเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น โดยอาศัยหลักการ Precautionary Principle เป็นพื้นฐาน อนึ่ง เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2001 คณกรรมาธิการฯ ได้ออกประกาศข้อเสนอแนะที่ COM(2001) 12 Final เกี่ยวกับการห้ามใช้สาร PentaBDE โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ Council Directive 76/769/EEC ซึ่งควบคุมการใช้สารอันตราย โดยข้อเสนอแนะนี้เป็นการห้ามการจำหน่ายหรือใช้สาร PentaBDE หรือใช้เป็นองค์ประกอบการผลิต รวมทั้งห้ามการจำหน่ายสินค้าที่มีสาร PentaBDE เป็นส่วนผสมในการผลิต อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะนี้จะต้องผ่านความเห็นชอบของสภายุโรปและคณะมนตรีต่อไป ภายใต้กระบวนการตัดสินใจร่วม (Co-Decision Process) นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ยังได้ประกาศให้สาร PentaBDE เป็นหนึ่งในรายการสารเคมีอันตราย 32 ประเภท ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินมาตรการควบคุม (Priority Hazardous Substances)
(ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/2544 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-