การอุดหนุนการส่งออกตามมาตราที่ 1 ของข้อตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ (Agreement on Subsidies and Countervailing Measures) ได้แก่ การที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินหรือรายได้ หรือสนับสนุนด้านราคาเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่องค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดๆ เป็นกรณีพิเศษ
การอุดหนุนการค้าที่องค์กรระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกได้พิจารณาว่าเป็นข้อห้ามไม่ให้มีการกระทำได้แก่ การอุดหนุนการส่งออกสินค้าโดยตรง (Export Performance) หรือมาตรการที่กำหนดให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศมากกว่าสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
การอุดหนุนการค้าที่ประเทศสมาชิกของ WTO สามารถกระทำได้ คือ การให้ความช่วยเหลือด้านวิจัย การพัฒนาแหล่งทุรกันดารและด้อยโอกาส และการสนับสนุนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตัวอย่างของการอุดหนุนที่สามารถกระทำได้โดยไม่ขัดแย้งต่อข้อตกลงของ WTO เช่น การที่รัฐบาลให้เงินกู้แก่อุตสาหกรรมผู้ผลิตรถยนต์ โดยมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หรือการที่รัฐบาลลดอัตราภาษีเงินได้แก่รายได้ที่เกิดขึ้นจากการเกษตรกรรม
ภายใต้ข้อตกลงของ WTO ประเทศกำลังพัฒนาที่ประกอบด้วยประชากรที่มีรายได้ประชาชาติสูงกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี จะต้องยกเลิกการอุดหนุนภายในระยะเวลา 8 ปี นับตั้งแต่การยอมรับข้อตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและภาษีโต้ตอบ (The Agreement on Subsidies and Countervailing Duties)
ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดโครงการอุดหนุนและส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยนโยบายการส่งออกต่างๆ เช่น กฎหมาย Farm Bill, Market Promotion Program (MPP) และ ฯลฯ
Eport Enhancement Program (EEP) เป็นโครงการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ผู้ส่งออกสินค้าของสหรัฐฯ สามารถขอเงินชดเชยในการผลิตสินค้าแข่งขันกับสินค้าส่งออกของประเทศคู่ค้าอื่นๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับเงินชดเชยการส่งออกจากรัฐบาลของประเทศนั้น
Dairy Export Incentive Program (DEIP) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์นมของประเทศสหรัฐอเมริกา
Market Access Program เป็นโครงการที่รัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเสนอให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินทุนเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรในตลาดฮ่องกงที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะ
Farm Bill เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รัฐบาลสหรัฐฯ มีสิทธิที่จะจัดสรรเงินเพื่ออุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 1996-2002 เป็นจำนวนเงินเท่ากับ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
Emerging Market Program เป็นโครงที่อยู่ภายใต้กฎหมาย Farm Bill ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (Technical Assistance) ในการส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 1996-2002 เป็นเงินเท่ากับ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
Export Credit Guarantee Program เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถเป็นผู้รับรองสินเชื่อระยะปานกลางและสินเชื่อระยะสั้นให้แก่ธนาคารพาณิชย์ผู้ให้บริการด้านสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่มีการกู้ยีมกันโดยปกติของธนาคารพาณิชย์ โครงการนี้มีเป้าหมายในการับรองสินเชื่อให้แก่ประเทศที่มีศักยภาพในการชดใช้หนี้สินคืนแก่สถาบันการเงินผู้ให้บริการด้านสินเชื่อให้แก่ประเทศที่มีศักยภาพในการชดใช้หนี้สินคืนแก่สถาบันการเงินผู้ให้บริการด้านสินเชื่อ และนับว่าเป็นนโยบายหลักในการส่งออกสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริก (USDA)
Export Credit Guarantee Program แบ่งออกเป็น 2 โครงการ ได้แก่
GSM-102 เป็นโครงการเงินกู้ระยะสั้นที่มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ภายในระยะเวลา 6 เดือน ถึง 3 ปี
GSM-103 เป็นโครงการเงินกู้ระยะปานกลาง (Medium Term) ที่มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ภายในระยะเวลา 3 ปี ถึง 10 ปี
ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/29 กุมภาพันธ์ 2543--
การอุดหนุนการค้าที่องค์กรระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกได้พิจารณาว่าเป็นข้อห้ามไม่ให้มีการกระทำได้แก่ การอุดหนุนการส่งออกสินค้าโดยตรง (Export Performance) หรือมาตรการที่กำหนดให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศมากกว่าสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
การอุดหนุนการค้าที่ประเทศสมาชิกของ WTO สามารถกระทำได้ คือ การให้ความช่วยเหลือด้านวิจัย การพัฒนาแหล่งทุรกันดารและด้อยโอกาส และการสนับสนุนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตัวอย่างของการอุดหนุนที่สามารถกระทำได้โดยไม่ขัดแย้งต่อข้อตกลงของ WTO เช่น การที่รัฐบาลให้เงินกู้แก่อุตสาหกรรมผู้ผลิตรถยนต์ โดยมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หรือการที่รัฐบาลลดอัตราภาษีเงินได้แก่รายได้ที่เกิดขึ้นจากการเกษตรกรรม
ภายใต้ข้อตกลงของ WTO ประเทศกำลังพัฒนาที่ประกอบด้วยประชากรที่มีรายได้ประชาชาติสูงกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี จะต้องยกเลิกการอุดหนุนภายในระยะเวลา 8 ปี นับตั้งแต่การยอมรับข้อตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและภาษีโต้ตอบ (The Agreement on Subsidies and Countervailing Duties)
ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดโครงการอุดหนุนและส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยนโยบายการส่งออกต่างๆ เช่น กฎหมาย Farm Bill, Market Promotion Program (MPP) และ ฯลฯ
Eport Enhancement Program (EEP) เป็นโครงการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ผู้ส่งออกสินค้าของสหรัฐฯ สามารถขอเงินชดเชยในการผลิตสินค้าแข่งขันกับสินค้าส่งออกของประเทศคู่ค้าอื่นๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับเงินชดเชยการส่งออกจากรัฐบาลของประเทศนั้น
Dairy Export Incentive Program (DEIP) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์นมของประเทศสหรัฐอเมริกา
Market Access Program เป็นโครงการที่รัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเสนอให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินทุนเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรในตลาดฮ่องกงที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะ
Farm Bill เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รัฐบาลสหรัฐฯ มีสิทธิที่จะจัดสรรเงินเพื่ออุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 1996-2002 เป็นจำนวนเงินเท่ากับ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
Emerging Market Program เป็นโครงที่อยู่ภายใต้กฎหมาย Farm Bill ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (Technical Assistance) ในการส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 1996-2002 เป็นเงินเท่ากับ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
Export Credit Guarantee Program เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถเป็นผู้รับรองสินเชื่อระยะปานกลางและสินเชื่อระยะสั้นให้แก่ธนาคารพาณิชย์ผู้ให้บริการด้านสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่มีการกู้ยีมกันโดยปกติของธนาคารพาณิชย์ โครงการนี้มีเป้าหมายในการับรองสินเชื่อให้แก่ประเทศที่มีศักยภาพในการชดใช้หนี้สินคืนแก่สถาบันการเงินผู้ให้บริการด้านสินเชื่อให้แก่ประเทศที่มีศักยภาพในการชดใช้หนี้สินคืนแก่สถาบันการเงินผู้ให้บริการด้านสินเชื่อ และนับว่าเป็นนโยบายหลักในการส่งออกสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริก (USDA)
Export Credit Guarantee Program แบ่งออกเป็น 2 โครงการ ได้แก่
GSM-102 เป็นโครงการเงินกู้ระยะสั้นที่มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ภายในระยะเวลา 6 เดือน ถึง 3 ปี
GSM-103 เป็นโครงการเงินกู้ระยะปานกลาง (Medium Term) ที่มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ภายในระยะเวลา 3 ปี ถึง 10 ปี
ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/29 กุมภาพันธ์ 2543--