อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีโอกาสก้าวไกลในตลาดโลก พิจารณาได้จากตลอดช่วงภาวะวิกฤต
ทางเศรษฐกิจตั้งแต่กลางปี 2540 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมนี้สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมี
มูลค่าการส่งออกในปี 2543 อยู่ในอันดับที่ 3 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของไทย
1. การผลิต
สืบเนื่องจากปริมาณการผลิตเครื่องเรือนไม้ยางพารามีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.47 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2544 ส่งผลต่อเนื่องให้
ปริมาณการผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่สามเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Order ของประเทศญี่ปุ่น ที่เริ่ม
เข้ามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา โดยผู้ผลิตขนาดใหญ่ที่ค้าขายประจำกับญี่ปุ่นจะได้รับ Order เพิ่มขึ้น สำหรับผู้ผลิตรายเล็กที่ไม่ได้ค้าขาย
ประจำจะมี Order ลดลง ทั้งนี้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ได้แก่ เครื่องเรือนจากไม้ยางพาราและไม้บอร์ด เครื่องใช้ทำด้วยไม้ กรอบรูปไม้
และรูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
2. การจำหน่ายในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 ตลาดภายในยังอยู่ในภาวะทรงตัวจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ
ของรัฐบาล ผู้ประกอบการจึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยการลดราคาสินค้า และเน้นหนักในด้านการประชาสัมพันธ์เนื่องจากตลาด
มีการแข่งขันสูง ทำให้ภาพรวมของตลาดภายในประเทศไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
3. การส่งออกและนำเข้า
3.1 ตลาดส่งออก ประเภทผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ผลิตและส่งออก แบ่งได้ 3 กลุ่ม (ตารางที่ 1) คือ
1) เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่น ๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วง
ไตรมาสที่สามของปี 2544 จำนวน 195.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่สองร้อยละ 17 และหากเปรียบเทียบในช่วงไตรมาส
เดียวกันของปี 2543 ลดลงร้อยละ 1.6
2) ผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วย กรอบรูป อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องใช้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับต่าง ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วง
ไตรมาสที่สามของปี 2544 จำนวน 92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่สองร้อยละ 18.9 และหากเปรียบเทียบในช่วงไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2543 ลดลงร้อยละ 10.7
3) ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 มีมูลค่าการส่งออกจำนวน 59.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
จากช่วงไตรมาสที่สองร้อยละ 10.5 และหากเปรียบเทียบในช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ลดลงร้อยละ 5.8
3.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าหลัก ได้แก่ ไม้ซุง และไม้แปรรูป โดยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 มีมูลค่า
การนำเข้าจำนวน 83.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงไตรมาสที่สองร้อยละ 4.7 และหากเปรียบเทียบในช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2543
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 1. มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
รายการ ปี 2543 ปี 2544 อัตราขยายตัว (%) อัตราขยายตัว (%)
Q2 Q3 Q2 Q3 Q2(44) & Q3(44) Q3(43) & Q3(44)
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 171.0 198.7 167.3 195.6 17.0 -1.6
1.1 เครื่องเรือนไม้ 146.3 168.4 141.2 168.8 19.5 0.2
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 10.1 12.1 11.7 10.6 -9.4 -12.4
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 14.6 18.2 14.4 16.2 12.5 -11.0
2.ผลิตภัณฑ์ไม้ 85.9 103 77.4 92 18.9 -10.7
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 27.1 34.8 23.9 28.9 20.9 -17.0
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 31.3 29.7 27.5 28.2 2.5 -5.1
2.3 กรอบรูปไม้ 22.2 31.8 20.4 26.5 29.9 -16.7
2.4 รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ 5.3 6.7 5.6 8.4 50 25.4
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 60.7 63.5 54.1 59.8 10.5 -5.8
รวม 317.6 365.2 298.8 347.4 16.3 -4.9
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กรมส่งเสริมการส่งออก
ตารางที่ 2. มูลค่าการนำเข้าไม้ซุง และไม้แปรรูป
รายการ ปี 2543 ปี 2544 อัตราขยายตัว (%) อัตราขยายตัว (%)
Q2 Q3 Q2 Q3 Q2(44) & Q3(44) Q3(43) & Q3(44)
ไม้ซุงและไม้แปรรูป 108.5 83.3 88 83.9 - 4.7 0.7
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
3. สรุป
ในไตรมาสที่สามของปี 2544 มูลค่าการส่งออกสินค้าของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์
ยกเว้นเครื่องเรือนอื่นๆ แต่หากเปรียบเทียบกับปี 2543 แล้ว มูลค่าการส่งออกยังลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลงตั้งแต่ช่วง
ไตรมาสแรกเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามตลาดส่งออกหลักในช่วงนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น ที่แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่
ยังมีความต้องการเครื่องเรือนและชิ้นส่วนจากไม้ยางพารา และไม้บอร์ด ของไทยจำนวนมาก เพราะคุณภาพของสินค้าไทยเหนือกว่าประเทศอื่น
การส่งมอบตรงเวลา มีความรับผิดชอบกรณีเกิดการผิดพลาดหรือเสียหายในการผลิต ประกอบกับโรงงานผลิตเครื่องเรือนของญี่ปุ่นส่วนใหญ่เลิก
กิจการ จึงทำให้มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 16 สำหรับแนวโน้ม
ในไตรมาสที่สี่จำนวน Order ในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม จะเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณการผลิตและการส่งออกในปี 2545 ได้เป็นอย่างดี ซึ่ง
คาดว่าจะมีทิศทางลดลงจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่จะส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าเครื่องเรือนซึ่งเป็นสิ่งไม่จำเป็น
ลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ทางเศรษฐกิจตั้งแต่กลางปี 2540 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมนี้สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมี
มูลค่าการส่งออกในปี 2543 อยู่ในอันดับที่ 3 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของไทย
1. การผลิต
สืบเนื่องจากปริมาณการผลิตเครื่องเรือนไม้ยางพารามีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.47 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2544 ส่งผลต่อเนื่องให้
ปริมาณการผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่สามเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Order ของประเทศญี่ปุ่น ที่เริ่ม
เข้ามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา โดยผู้ผลิตขนาดใหญ่ที่ค้าขายประจำกับญี่ปุ่นจะได้รับ Order เพิ่มขึ้น สำหรับผู้ผลิตรายเล็กที่ไม่ได้ค้าขาย
ประจำจะมี Order ลดลง ทั้งนี้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ได้แก่ เครื่องเรือนจากไม้ยางพาราและไม้บอร์ด เครื่องใช้ทำด้วยไม้ กรอบรูปไม้
และรูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
2. การจำหน่ายในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 ตลาดภายในยังอยู่ในภาวะทรงตัวจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ
ของรัฐบาล ผู้ประกอบการจึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยการลดราคาสินค้า และเน้นหนักในด้านการประชาสัมพันธ์เนื่องจากตลาด
มีการแข่งขันสูง ทำให้ภาพรวมของตลาดภายในประเทศไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
3. การส่งออกและนำเข้า
3.1 ตลาดส่งออก ประเภทผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ผลิตและส่งออก แบ่งได้ 3 กลุ่ม (ตารางที่ 1) คือ
1) เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่น ๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วง
ไตรมาสที่สามของปี 2544 จำนวน 195.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่สองร้อยละ 17 และหากเปรียบเทียบในช่วงไตรมาส
เดียวกันของปี 2543 ลดลงร้อยละ 1.6
2) ผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วย กรอบรูป อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องใช้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับต่าง ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วง
ไตรมาสที่สามของปี 2544 จำนวน 92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่สองร้อยละ 18.9 และหากเปรียบเทียบในช่วงไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2543 ลดลงร้อยละ 10.7
3) ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 มีมูลค่าการส่งออกจำนวน 59.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
จากช่วงไตรมาสที่สองร้อยละ 10.5 และหากเปรียบเทียบในช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2543 ลดลงร้อยละ 5.8
3.2 ตลาดนำเข้า ประเภทผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าหลัก ได้แก่ ไม้ซุง และไม้แปรรูป โดยในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 มีมูลค่า
การนำเข้าจำนวน 83.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงไตรมาสที่สองร้อยละ 4.7 และหากเปรียบเทียบในช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2543
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 1. มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
รายการ ปี 2543 ปี 2544 อัตราขยายตัว (%) อัตราขยายตัว (%)
Q2 Q3 Q2 Q3 Q2(44) & Q3(44) Q3(43) & Q3(44)
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 171.0 198.7 167.3 195.6 17.0 -1.6
1.1 เครื่องเรือนไม้ 146.3 168.4 141.2 168.8 19.5 0.2
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 10.1 12.1 11.7 10.6 -9.4 -12.4
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 14.6 18.2 14.4 16.2 12.5 -11.0
2.ผลิตภัณฑ์ไม้ 85.9 103 77.4 92 18.9 -10.7
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 27.1 34.8 23.9 28.9 20.9 -17.0
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 31.3 29.7 27.5 28.2 2.5 -5.1
2.3 กรอบรูปไม้ 22.2 31.8 20.4 26.5 29.9 -16.7
2.4 รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ 5.3 6.7 5.6 8.4 50 25.4
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 60.7 63.5 54.1 59.8 10.5 -5.8
รวม 317.6 365.2 298.8 347.4 16.3 -4.9
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กรมส่งเสริมการส่งออก
ตารางที่ 2. มูลค่าการนำเข้าไม้ซุง และไม้แปรรูป
รายการ ปี 2543 ปี 2544 อัตราขยายตัว (%) อัตราขยายตัว (%)
Q2 Q3 Q2 Q3 Q2(44) & Q3(44) Q3(43) & Q3(44)
ไม้ซุงและไม้แปรรูป 108.5 83.3 88 83.9 - 4.7 0.7
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
3. สรุป
ในไตรมาสที่สามของปี 2544 มูลค่าการส่งออกสินค้าของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์
ยกเว้นเครื่องเรือนอื่นๆ แต่หากเปรียบเทียบกับปี 2543 แล้ว มูลค่าการส่งออกยังลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลงตั้งแต่ช่วง
ไตรมาสแรกเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามตลาดส่งออกหลักในช่วงนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น ที่แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่
ยังมีความต้องการเครื่องเรือนและชิ้นส่วนจากไม้ยางพารา และไม้บอร์ด ของไทยจำนวนมาก เพราะคุณภาพของสินค้าไทยเหนือกว่าประเทศอื่น
การส่งมอบตรงเวลา มีความรับผิดชอบกรณีเกิดการผิดพลาดหรือเสียหายในการผลิต ประกอบกับโรงงานผลิตเครื่องเรือนของญี่ปุ่นส่วนใหญ่เลิก
กิจการ จึงทำให้มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 16 สำหรับแนวโน้ม
ในไตรมาสที่สี่จำนวน Order ในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม จะเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณการผลิตและการส่งออกในปี 2545 ได้เป็นอย่างดี ซึ่ง
คาดว่าจะมีทิศทางลดลงจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่จะส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าเครื่องเรือนซึ่งเป็นสิ่งไม่จำเป็น
ลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--