กรุงเทพฯ--14 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้(13 ธันวาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นที่เวียงจันทน์ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2543 ดังนี้
รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของฝ่ายอาเซียนได้ไปร่วมการประชุมครั้งนี้ครบทุกประเทศ โดยกัมพูชา ลาว และพม่าซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้เข้าร่วมประชุมด้วยเป็นครั้งแรก ส่วนฝ่ายสหภาพยุโรปมีระดับรองนายกรัฐมนตรีมาร่วม 1 ประเทศ คือ สวีเดน ซึ่งจะเป็นประธาน สหภาพยุโรปในเดือนหน้า ระดับเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการมีจำนวน 2 ประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศส (รัฐมนตรีฝ่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ) ระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการมี 8 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี สหราชอาณาจักร อิตาลี สเปน โปรตุเกส ไอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ส่วนระดับผู้แทนพิเศษและเอกอัครราชทูตมี 4 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก เดนมาร์ก ออสเตรีย และกรีซ ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปหลายคนมาร่วมประชุมไม่ได้เนื่องจากมีการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเสร็จสิ้นลงล่าช้ากว่ากำหนด
ฯพณฯ นายสีสะหวาด แก้วบุนพัน นายกรัฐมนตรีลาวได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมที่หอวัฒนธรรมแห่งชาติในช่วงเช้าวันที่ 11 ธันวาคม ซึ่งพิธีเปิดได้จัดอย่างสมเกียรติเป็นที่ประทับใจต่อคณะผู้แทนทั้งหลาย หลังจากนั้นจึงเป็นการหารือเต็มคณะที่โรงแรมลาวพลาซ่าในประเด็นเรื่องการเร่งรัดโครงการความร่วมมือสองฝ่ายที่มี่อยู่ในปัจจุบัน เรื่องการเมืองและความมั่นคง การแลกเปลี่ยนทัศนะเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคและระหว่างประเทศ และอนาคตความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป
ผลการหารือสรุปได้ดังนี้
พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ที่ประชุมย้ำว่าอาเซียนเป็นเสาหลักของความร่วมมือและการหารือระหว่างยุโรปกับ เอเชีย และย้ำว่าจะคงการหารือด้านการเมืองต่อไปอย่างเปิดเผยและในฐานะเป็นหุ้นส่วนความสัมพันธ์ของกันและกัน และตกลงที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์เพื่อช่วยเสริมสร้างการหารือระหว่างสหภาพ ยุโรปกับอาเซียนและเพื่อประโยชน์ของประชาชนของทั้งสองฝ่าย
ที่ประชุมเห็นว่าอาเซียนกับสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมายาวนานและให้พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจ ความร่วมมือด้านการพัฒนา การหารือด้านการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งจะต้องเสริมสร้างและขยายการหารือดังกล่าวในอนาคตต่อไป
ด้านการเมืองและความมั่นคง
รัฐมนตรีของอาเซียนและสหภาพยุโรปได้หารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง
แต่ละฝ่ายได้แจ้งให้ทราบถึงพัฒนาการที่สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค โดยฝ่ายอาเซียนได้แจ้งให้ฝ่ายยุโรปทราบถึงความก้าวหน้าของกรอบการประชุมว่าด้วยการเมืองและความ มั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum) ในการส่งเสริมการหารือทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค โดยเฉพาะในเรื่องมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันและการทูตเชิง ป้องกัน และแจ้งถึงเรื่องกลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน (ASEAN Troika) รวมทั้งพัฒนาการล่าสุดในการจัดตั้งกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออก (ASEAN+3) ส่วน สหภาพยุโรปได้แจ้งให้ทราบถึงผลการประชุมสุดยอดของฝ่ายสหภาพยุโรปที่เมืองนีซ นโยบายการป้องกันและความมั่นคงของยุโรป และเรื่องการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป
ในการนี้ ที่ประชุมได้แสดงความชื่นชมต่อบทบาทของไทยในการผลักดันให้ ARF ได้มีการติดต่อกับองค์การด้านความมั่นคงของยุโรป (OSCE) ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี
ที่ประชุมตกลงกันที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิมนุษยชนตาม หลักการพื้นฐานของกรอบการประชุมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับพม่า ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่ารวมถึงเรื่องข้อมติที่เกี่ยวข้องขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และได้แสดงความสนับสนุนความพยายามของนาย Razali Ismail ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติในการกระตุ้นให้มีพัฒนาการที่สร้างสรรค์ในพม่า โดยหวังว่าจะบังเกิดผลให้มีการหารือระหว่างกลุ่มการเมืองฝ่ายต่าง ๆ ในพม่าในโอกาสแรก นอกจากนี้ ที่ประชุมยินดีที่ได้ทราบว่าฝ่ายสหภาพยุโรปจะส่งคณะ ผู้แทน (EU Troika) ไปเยือนพม่าในเดือนมกราคม 2544
ที่ประชุมได้แสดงความสนับสนุนต่อการมีบูรณาการทางการเมืองของอินโดนีเซียและสนับสนุนอินโดนีเซียที่จะแก้ไขปัญหาในภูมิภาคของตนด้วยการเจรจาและการสร้างความปรองดอง ที่ประชุมยังได้แสดงความปรารถนาที่จะเห็นกระบวนการสู่ความเป็นเอกราชของติมอร์ตะวันออกพัฒนาไปอย่างราบรื่น ซึ่งรวมถึงการที่ประชาคมระหว่างประเทศและอินโดนีเซียจะร่วมกันปฏิบัติตามข้อมติของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องในการสร้างความปรองดองในชาติ การตั้งถิ่นฐานและการฟื้นฟูประเทศ
ที่ประชุมมีความยินดีต่อกระบวนการปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยเฉพาะที่ได้เห็นเกาหลีเหนือได้เข้าเป็นสมาชิก ARF ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าเป็นผลที่สำคัญที่จะช่วย ผลักดันสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคดังกล่าว และหวังที่จะเห็นความคืบหน้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในเรื่องการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ที่ประชุมยังได้แสดงความยินดีต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตยใน โครเอเทียและยูโกสลาเวียซึ่งจะนำไปสู่การมีความร่วมมือในคาบสมุทรบอลข่านและการที่จะรวม ภูมิภาคดังกล่าวเข้ากับประชาคมยุโรปส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ที่ประชุมได้แสดงหารือเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางเมื่อไม่นานมานี้ และหวังว่าจะมีการแก้ไขปัญหาตามข้อมติของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง
ด้านเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีฝ่ายอาเซียนได้แจ้งให้ทราบถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ความ จำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนแจ้งให้ทราบพัฒนาการความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียนและความพยายามในการช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนในการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือของ ภูมิภาค รวมทั้งการช่วยเหลือผ่านกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ส่วนฝ่ายสหภาพยุโรปก็ได้แจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าของการจัดตั้งสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของฝ่ายตนที่มีการนำระบบเงินตราสกุลเดียวกัน (Euro) มาใช้ตั้งแต่ปี 2542 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันในทุก ๆ ด้าน ในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับผลกระทบของโลกาภิวัติและการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ความร่วมมือที่จะขจัดปัญหาอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างสองภูมิภาค ตลอดจนเรื่องสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในโลก ที่ประชุมสนับสนุนให้เปิดการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบใหม่โดยเร็วที่สุด และเห็นพ้องกันว่าการเจรจาการค้ารอบใหม่ควรจะมีระเบียบวาระที่กว้างและสมดุลย์ที่ครอบคลุมผลประโยชน์ของทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
ต่อประเด็นเหล่านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กล่าวตอบในนามอาเซียนภายใต้ระเบียบวาระเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่ององค์การการค้าโลก โครงสร้างเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ และช่องว่างทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Divide) ได้กล่าวแสดงความสนับสนุนต่อการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ที่ครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ และมีหัวข้อการเจรจาที่มีความสมดุลย์ การควบคุมพัฒนาการของโลกาภิวัติในทางที่จะเกื้อกูลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจในโลก และการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของกัมพูชา ลาว และเวียดนาม นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังแจ้งให้ทราบถึงความพยายามของอาเซียนในการยกระดับการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดทำความตกลง e-ASEAN และเสนอให้พิจารณาลู่ทางในการพัฒนาความร่วมมือภายใต้กรอบ e-ASEAN กับ e-Europe และแสดงความปรารถนาว่าฝ่ายสหภาพยุโรปจะให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่ อาเซียนในการพัฒนาความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ที่ประชุมเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อประโยชน์ของ ทั้งสองฝ่าย โดยเห็นว่าควรที่จะขยายขอบเขตของการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือและการหารือด้านเศรษฐกิจให้ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่ในแผนงานความสัมพันธ์ (Work Programme) และได้เห็นพ้องที่จะเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงานความสัมพันธ์ที่ได้รับการรับรองโดยที่ประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป (ASEAN-EC Joint Cooperation Committee) ครั้งที่ 13 โดยเฉพาะด้านทรัพย์สินทางปัญญาและมาตรฐาน การดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการรวมตัวในภูมิภาค และให้ส่งเสริมการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างภาคธุรกิจ ประชาชน องค์กรทางสังคม และระหว่างสถาบันทางการเมืองและความมั่นคง
ในด้านการค้า ที่ประชุมสนับสนุนการหารือทางการค้าที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นจากการที่ได้มีการริเริ่มการหารือระหว่างกรรมาธิการด้านการค้าของสหภาพยุโรปกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนเป็นครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อต้นเดือนตุลาคม ศกนี้ ในช่วงการประชุมประจำปีรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน โดยหวังว่าจะช่วยเอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างสองภูมิภาคให้มีมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมได้ยืนยันที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกันทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยจะดำเนินการเปิดตลาดและปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของกันและกัน
ที่ประชุมตกลงที่จะเน้นความร่วมมือในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข การป้องกันสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาชนบทและพัฒนาเมือง การควบคุมยาเสพติด พลังงาน การศึกษาและ วัฒนธรรม โดยจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทั้งอาเซียนและสหภาพยุโรปเห็นควรที่จะให้กลไกการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการระหว่างสองฝ่าย (ASEAN-EC Informal Coordinating Mechanism) มีการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อเร่งรัดและประสานการดำเนินงานตามแผนงานความร่วมมือต่าง ๆ และสนับสนุนกรอบการหารือระหว่าง
ที่ประชุมยังเห็นว่าในยุคโลกาภิวัติที่เทคโนโลยีสารสนเทศนับวันจะเพิ่มพูนความสำคัญมากขึ้นนั้น จึงควรที่จะมีความร่วมมือกันเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจใหม่โดยการ เชื่อมโยงระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนเข้ากับระบบของสหภาพยุโรป (e-ASEAN-e-Europe linkage) และโดยการลดความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีของอาเซียนกับสหภาพยุโรปยังเห็นพ้องที่จะให้มีการศึกษาลู่ทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในด้านอื่น ๆ โดยให้มีการจัดประชุมสัมมนาผู้เชี่ยวชาญในโอกาสแรกเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกันในอันที่จะเผชิญกับโลกาภิวัติ ซึ่งรวมถึงการหารือในประเด็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
อนึ่ง ที่ประชุมได้ตกลงที่จะให้มีการประชุม AEMM ครั้งต่อไปในยุโรป
แถลงการณ์ร่วมของที่ประชุม ที่ประชุม AEMM ครั้งที่ 13 ได้ประกาศแถลงการณ์ร่วมของที่ประชุม เรียกว่าปฏิญญาเวียงจันทน์ (Vientiane Declaration) ซึ่งมีสาระครอบคลุมประเด็นที่ได้หารือกันทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปตามข้างต้น ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายต่อไปโดยกลไกที่เกี่ยวข้อง อาทิ ที่ประชุม เจ้าหน้าที่อาวุโส คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป (ASEAN-EC Joint Cooperation Committee) คณะอนุกรรมการภายใต้ ASEAN-EC JCC ที่มีอยู่ 6 คณะ (การค้า เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ป่าไม้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด) ตลอดจนที่ประชุมคณะทำงานหรือคณะผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
สรุป
การประชุม AEMM ครั้งที่ 13 นับว่าประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปหลังจากที่หยุดชะงักไปในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากประสบอุปสรรคจากการมีทัศนะที่แตกต่างกันในบางประเด็น ประกอบกับแต่ละฝ่ายมีภาระเร่งด่วนเกี่ยวกับกิจการภายในของตน อีกทั้งในส่วนสหภาพยุโรปก็มีการปรับองค์กรภายใน ทำให้ไม่พร้อมจะดำเนินความร่วมมือกับอาเซียน ในขณะที่อาเซียนเองก็ประสบกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ
ในการนี้ ที่ประชุม AEMM เห็นพ้องกันว่าไม่ควรนำประเด็นปัญหาหนึ่งใดมาขัดขวางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ในการนี้ ประเทศไทยซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์ อาเซียน-สหภาพยุโรปมาเป็นเวลา 3 ปี ได้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคที่เป็นคู่ค้าคู่ลงทุนและคู่หารือทางการเมืองที่สำคัญของกันและกัน จึงได้ดำเนินความพยายามในการประสานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ สหภาพยุโรป (ASEAN-EC JCC) ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 พร้อมทั้งได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการที่มีอยู่ในขณะนั้นจำนวน 4 คณะในคราวเดียวกัน ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการค้า ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ด้านป่าไม้ และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งที่ประชุม ASEAN-EC JCC ได้ รับรองแผนงานความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างสองฝ่าย คือ New Dynamic Work Programme in ASEAN-EU Relations และได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการใหม่อีก 2 คณะ คือคณะอนุกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมและด้านยาเสพติด โดยหลังจากนั้นได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมครั้งแรกไปแล้วที่กรุงบรัสเซลส์เมื่อเดือนตุลาคม 2542 และลาวจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะอนุกรรมการด้านยาเสพติดครั้งแรกในช่วงต้นปี 2544 พร้อมกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
วันนี้(13 ธันวาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นที่เวียงจันทน์ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2543 ดังนี้
รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของฝ่ายอาเซียนได้ไปร่วมการประชุมครั้งนี้ครบทุกประเทศ โดยกัมพูชา ลาว และพม่าซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้เข้าร่วมประชุมด้วยเป็นครั้งแรก ส่วนฝ่ายสหภาพยุโรปมีระดับรองนายกรัฐมนตรีมาร่วม 1 ประเทศ คือ สวีเดน ซึ่งจะเป็นประธาน สหภาพยุโรปในเดือนหน้า ระดับเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการมีจำนวน 2 ประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศส (รัฐมนตรีฝ่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ) ระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการมี 8 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี สหราชอาณาจักร อิตาลี สเปน โปรตุเกส ไอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ส่วนระดับผู้แทนพิเศษและเอกอัครราชทูตมี 4 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก เดนมาร์ก ออสเตรีย และกรีซ ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปหลายคนมาร่วมประชุมไม่ได้เนื่องจากมีการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเสร็จสิ้นลงล่าช้ากว่ากำหนด
ฯพณฯ นายสีสะหวาด แก้วบุนพัน นายกรัฐมนตรีลาวได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมที่หอวัฒนธรรมแห่งชาติในช่วงเช้าวันที่ 11 ธันวาคม ซึ่งพิธีเปิดได้จัดอย่างสมเกียรติเป็นที่ประทับใจต่อคณะผู้แทนทั้งหลาย หลังจากนั้นจึงเป็นการหารือเต็มคณะที่โรงแรมลาวพลาซ่าในประเด็นเรื่องการเร่งรัดโครงการความร่วมมือสองฝ่ายที่มี่อยู่ในปัจจุบัน เรื่องการเมืองและความมั่นคง การแลกเปลี่ยนทัศนะเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคและระหว่างประเทศ และอนาคตความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป
ผลการหารือสรุปได้ดังนี้
พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ที่ประชุมย้ำว่าอาเซียนเป็นเสาหลักของความร่วมมือและการหารือระหว่างยุโรปกับ เอเชีย และย้ำว่าจะคงการหารือด้านการเมืองต่อไปอย่างเปิดเผยและในฐานะเป็นหุ้นส่วนความสัมพันธ์ของกันและกัน และตกลงที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์เพื่อช่วยเสริมสร้างการหารือระหว่างสหภาพ ยุโรปกับอาเซียนและเพื่อประโยชน์ของประชาชนของทั้งสองฝ่าย
ที่ประชุมเห็นว่าอาเซียนกับสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมายาวนานและให้พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจ ความร่วมมือด้านการพัฒนา การหารือด้านการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งจะต้องเสริมสร้างและขยายการหารือดังกล่าวในอนาคตต่อไป
ด้านการเมืองและความมั่นคง
รัฐมนตรีของอาเซียนและสหภาพยุโรปได้หารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง
แต่ละฝ่ายได้แจ้งให้ทราบถึงพัฒนาการที่สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค โดยฝ่ายอาเซียนได้แจ้งให้ฝ่ายยุโรปทราบถึงความก้าวหน้าของกรอบการประชุมว่าด้วยการเมืองและความ มั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum) ในการส่งเสริมการหารือทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค โดยเฉพาะในเรื่องมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันและการทูตเชิง ป้องกัน และแจ้งถึงเรื่องกลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน (ASEAN Troika) รวมทั้งพัฒนาการล่าสุดในการจัดตั้งกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออก (ASEAN+3) ส่วน สหภาพยุโรปได้แจ้งให้ทราบถึงผลการประชุมสุดยอดของฝ่ายสหภาพยุโรปที่เมืองนีซ นโยบายการป้องกันและความมั่นคงของยุโรป และเรื่องการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป
ในการนี้ ที่ประชุมได้แสดงความชื่นชมต่อบทบาทของไทยในการผลักดันให้ ARF ได้มีการติดต่อกับองค์การด้านความมั่นคงของยุโรป (OSCE) ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี
ที่ประชุมตกลงกันที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิมนุษยชนตาม หลักการพื้นฐานของกรอบการประชุมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับพม่า ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่ารวมถึงเรื่องข้อมติที่เกี่ยวข้องขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และได้แสดงความสนับสนุนความพยายามของนาย Razali Ismail ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติในการกระตุ้นให้มีพัฒนาการที่สร้างสรรค์ในพม่า โดยหวังว่าจะบังเกิดผลให้มีการหารือระหว่างกลุ่มการเมืองฝ่ายต่าง ๆ ในพม่าในโอกาสแรก นอกจากนี้ ที่ประชุมยินดีที่ได้ทราบว่าฝ่ายสหภาพยุโรปจะส่งคณะ ผู้แทน (EU Troika) ไปเยือนพม่าในเดือนมกราคม 2544
ที่ประชุมได้แสดงความสนับสนุนต่อการมีบูรณาการทางการเมืองของอินโดนีเซียและสนับสนุนอินโดนีเซียที่จะแก้ไขปัญหาในภูมิภาคของตนด้วยการเจรจาและการสร้างความปรองดอง ที่ประชุมยังได้แสดงความปรารถนาที่จะเห็นกระบวนการสู่ความเป็นเอกราชของติมอร์ตะวันออกพัฒนาไปอย่างราบรื่น ซึ่งรวมถึงการที่ประชาคมระหว่างประเทศและอินโดนีเซียจะร่วมกันปฏิบัติตามข้อมติของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องในการสร้างความปรองดองในชาติ การตั้งถิ่นฐานและการฟื้นฟูประเทศ
ที่ประชุมมีความยินดีต่อกระบวนการปรองดองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยเฉพาะที่ได้เห็นเกาหลีเหนือได้เข้าเป็นสมาชิก ARF ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าเป็นผลที่สำคัญที่จะช่วย ผลักดันสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคดังกล่าว และหวังที่จะเห็นความคืบหน้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในเรื่องการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ที่ประชุมยังได้แสดงความยินดีต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตยใน โครเอเทียและยูโกสลาเวียซึ่งจะนำไปสู่การมีความร่วมมือในคาบสมุทรบอลข่านและการที่จะรวม ภูมิภาคดังกล่าวเข้ากับประชาคมยุโรปส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ที่ประชุมได้แสดงหารือเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางเมื่อไม่นานมานี้ และหวังว่าจะมีการแก้ไขปัญหาตามข้อมติของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง
ด้านเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีฝ่ายอาเซียนได้แจ้งให้ทราบถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ความ จำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนแจ้งให้ทราบพัฒนาการความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องเขตการค้าเสรีอาเซียนและความพยายามในการช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนในการเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือของ ภูมิภาค รวมทั้งการช่วยเหลือผ่านกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ส่วนฝ่ายสหภาพยุโรปก็ได้แจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าของการจัดตั้งสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของฝ่ายตนที่มีการนำระบบเงินตราสกุลเดียวกัน (Euro) มาใช้ตั้งแต่ปี 2542 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันในทุก ๆ ด้าน ในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับผลกระทบของโลกาภิวัติและการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ความร่วมมือที่จะขจัดปัญหาอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างสองภูมิภาค ตลอดจนเรื่องสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในโลก ที่ประชุมสนับสนุนให้เปิดการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบใหม่โดยเร็วที่สุด และเห็นพ้องกันว่าการเจรจาการค้ารอบใหม่ควรจะมีระเบียบวาระที่กว้างและสมดุลย์ที่ครอบคลุมผลประโยชน์ของทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
ต่อประเด็นเหล่านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กล่าวตอบในนามอาเซียนภายใต้ระเบียบวาระเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่ององค์การการค้าโลก โครงสร้างเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ และช่องว่างทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Divide) ได้กล่าวแสดงความสนับสนุนต่อการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ที่ครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ และมีหัวข้อการเจรจาที่มีความสมดุลย์ การควบคุมพัฒนาการของโลกาภิวัติในทางที่จะเกื้อกูลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจในโลก และการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของกัมพูชา ลาว และเวียดนาม นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังแจ้งให้ทราบถึงความพยายามของอาเซียนในการยกระดับการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดทำความตกลง e-ASEAN และเสนอให้พิจารณาลู่ทางในการพัฒนาความร่วมมือภายใต้กรอบ e-ASEAN กับ e-Europe และแสดงความปรารถนาว่าฝ่ายสหภาพยุโรปจะให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่ อาเซียนในการพัฒนาความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ที่ประชุมเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อประโยชน์ของ ทั้งสองฝ่าย โดยเห็นว่าควรที่จะขยายขอบเขตของการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือและการหารือด้านเศรษฐกิจให้ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่ในแผนงานความสัมพันธ์ (Work Programme) และได้เห็นพ้องที่จะเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงานความสัมพันธ์ที่ได้รับการรับรองโดยที่ประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป (ASEAN-EC Joint Cooperation Committee) ครั้งที่ 13 โดยเฉพาะด้านทรัพย์สินทางปัญญาและมาตรฐาน การดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการรวมตัวในภูมิภาค และให้ส่งเสริมการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างภาคธุรกิจ ประชาชน องค์กรทางสังคม และระหว่างสถาบันทางการเมืองและความมั่นคง
ในด้านการค้า ที่ประชุมสนับสนุนการหารือทางการค้าที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นจากการที่ได้มีการริเริ่มการหารือระหว่างกรรมาธิการด้านการค้าของสหภาพยุโรปกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนเป็นครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อต้นเดือนตุลาคม ศกนี้ ในช่วงการประชุมประจำปีรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน โดยหวังว่าจะช่วยเอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างสองภูมิภาคให้มีมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมได้ยืนยันที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกันทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยจะดำเนินการเปิดตลาดและปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของกันและกัน
ที่ประชุมตกลงที่จะเน้นความร่วมมือในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข การป้องกันสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาชนบทและพัฒนาเมือง การควบคุมยาเสพติด พลังงาน การศึกษาและ วัฒนธรรม โดยจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทั้งอาเซียนและสหภาพยุโรปเห็นควรที่จะให้กลไกการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการระหว่างสองฝ่าย (ASEAN-EC Informal Coordinating Mechanism) มีการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อเร่งรัดและประสานการดำเนินงานตามแผนงานความร่วมมือต่าง ๆ และสนับสนุนกรอบการหารือระหว่าง
ที่ประชุมยังเห็นว่าในยุคโลกาภิวัติที่เทคโนโลยีสารสนเทศนับวันจะเพิ่มพูนความสำคัญมากขึ้นนั้น จึงควรที่จะมีความร่วมมือกันเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจใหม่โดยการ เชื่อมโยงระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนเข้ากับระบบของสหภาพยุโรป (e-ASEAN-e-Europe linkage) และโดยการลดความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีของอาเซียนกับสหภาพยุโรปยังเห็นพ้องที่จะให้มีการศึกษาลู่ทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในด้านอื่น ๆ โดยให้มีการจัดประชุมสัมมนาผู้เชี่ยวชาญในโอกาสแรกเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกันในอันที่จะเผชิญกับโลกาภิวัติ ซึ่งรวมถึงการหารือในประเด็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
อนึ่ง ที่ประชุมได้ตกลงที่จะให้มีการประชุม AEMM ครั้งต่อไปในยุโรป
แถลงการณ์ร่วมของที่ประชุม ที่ประชุม AEMM ครั้งที่ 13 ได้ประกาศแถลงการณ์ร่วมของที่ประชุม เรียกว่าปฏิญญาเวียงจันทน์ (Vientiane Declaration) ซึ่งมีสาระครอบคลุมประเด็นที่ได้หารือกันทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปตามข้างต้น ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายต่อไปโดยกลไกที่เกี่ยวข้อง อาทิ ที่ประชุม เจ้าหน้าที่อาวุโส คณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป (ASEAN-EC Joint Cooperation Committee) คณะอนุกรรมการภายใต้ ASEAN-EC JCC ที่มีอยู่ 6 คณะ (การค้า เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ป่าไม้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด) ตลอดจนที่ประชุมคณะทำงานหรือคณะผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
สรุป
การประชุม AEMM ครั้งที่ 13 นับว่าประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปหลังจากที่หยุดชะงักไปในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากประสบอุปสรรคจากการมีทัศนะที่แตกต่างกันในบางประเด็น ประกอบกับแต่ละฝ่ายมีภาระเร่งด่วนเกี่ยวกับกิจการภายในของตน อีกทั้งในส่วนสหภาพยุโรปก็มีการปรับองค์กรภายใน ทำให้ไม่พร้อมจะดำเนินความร่วมมือกับอาเซียน ในขณะที่อาเซียนเองก็ประสบกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ
ในการนี้ ที่ประชุม AEMM เห็นพ้องกันว่าไม่ควรนำประเด็นปัญหาหนึ่งใดมาขัดขวางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ในการนี้ ประเทศไทยซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์ อาเซียน-สหภาพยุโรปมาเป็นเวลา 3 ปี ได้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคที่เป็นคู่ค้าคู่ลงทุนและคู่หารือทางการเมืองที่สำคัญของกันและกัน จึงได้ดำเนินความพยายามในการประสานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ สหภาพยุโรป (ASEAN-EC JCC) ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 พร้อมทั้งได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการที่มีอยู่ในขณะนั้นจำนวน 4 คณะในคราวเดียวกัน ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการค้า ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ด้านป่าไม้ และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งที่ประชุม ASEAN-EC JCC ได้ รับรองแผนงานความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างสองฝ่าย คือ New Dynamic Work Programme in ASEAN-EU Relations และได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการใหม่อีก 2 คณะ คือคณะอนุกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมและด้านยาเสพติด โดยหลังจากนั้นได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมครั้งแรกไปแล้วที่กรุงบรัสเซลส์เมื่อเดือนตุลาคม 2542 และลาวจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะอนุกรรมการด้านยาเสพติดครั้งแรกในช่วงต้นปี 2544 พร้อมกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--