กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (5 กรกฎาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งว่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2543 นายบุนเกิด สังสมสัก ปลัดกระทรวงการต่างประเทศลาวได้เชิญนายสุวิทย์ สิมะสกุล เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ไปพบเพื่อหารือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 3 กรกฎาคม ที่ด่านบ้านวังเตา พร้อมกับแจ้งขอรับตัวผู้ก่อกวนที่เกี่ยวข้องที่หนีเข้าประเทศไทยกลับไปดำเนินคดีในลาว ต่อข้อถามของสื่อมวลชนว่า การแจ้งขอรับตัวถือว่าเป็นทางการหรือไม่ นายดอนฯ ได้กล่าวว่า การแจ้งดังกล่าวถือว่าเป็นทางการระดับหนึ่ง แต่มีรายละเอียดที่จะต้องดำเนินการตามขั้นต่อไปเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การแจ้งข้อกล่าวหา พร้อมหลักฐานต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งขณะนี้ไทยยังไม่ได้รับแจ้ง ฝ่ายไทยต้องการให้เรื่องดังกล่าวจบลงโดยเร็ว เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ต่อไป
ต่อคำถามที่ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อคนไทยที่ถูกจับ นายดอนฯ ได้ชี้แจงว่า บุคคลดังกล่าวคงจะถูกดำเนินคดีในข้อหามีอาวุธสงครามไว้ในครอบครอง แต่หากมีการแจ้งข้อ กล่าวหาจากฝ่ายลาวในทางใดทางหนึ่งก็ย่อมต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ตามตัวบทกฎหมายใด เพราะพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 ของไทยไม่ได้กล่าวถึงการส่งบุคคลสัญชาติไทยให้ประเทศที่สาม ยกเว้นแต่มีพันธะผูกพันตามสนธิสัญญาหรือความตกลงอื่น อย่างไรก็ดีการที่คนไทยเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เชื่อว่ามีผู้ว่าจ้าง
นายดอนฯ ได้ย้ำนโยบายของรัฐบาลด้วยว่า ฝ่ายไทยมีท่าทีชัดเจนที่จะไม่ให้บุคคลใดใช้ดินแดนไทยเป็นฐานในการต่อต้านรัฐบาลประเทศอื่น แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุจากการ ดูแลไม่ทั่วถึง เนื่องจากเขตแดนไทย-ลาวมีความยาวมาก การข้ามแดนตรงจุดไหนเวลาใดก็อาจเกิดขึ้นได้โดยยากต่อการตรวจสอบ
ต่อมาในวันเดียวกันได้มีการแถลงข่าวร่วมระหว่างนายเหียม พมมะจัน เอกอัคร ราชทูตลาวกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดย เอกอัครราชทูตลาวได้แสดงความเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม และเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องสอบสวนเพื่อหาสาเหตุและผู้อยู่เบื้องหลัง ในวันนี้ตนจึงได้มาหารือกับ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย เพื่อหาแนวทางป้องกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยจะต้องร่วมมือกันโดยใช้กลไกที่มีอยู่ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นคือ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ลาว-ไทย และคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนทั่วไปไทย-ลาว ลาว-ไทย เป็นกลไกร่วมในการแก้ไขปัญหาและค้นหาว่าอุปสรรคในการป้องกันชายแดนอยู่ที่ใดเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
ในประเด็นนี้ นายดอนฯ ได้กล่าวเสริมว่า ทั้ง สองฝ่ายควรร่วมมือกันดูแลเรื่องนี้ เพื่อมิให้เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอีก ไทยได้เคยเสนอแผนงานความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนไทย-ลาว ซึ่งจะเหมาะสมยิ่งต่อการจัดการปัญหานี้เพราะประกอบด้วยมาตรการหลายมาตรการที่เป็นประโยชน์
ต่อข้อซักถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับข่าวที่ว่ามีคนไทยเข้าไปเกี่ยวข้องและบทบาทของไทยในเรื่องนี้ นายเหียมฯ ตอบว่า ลาวมั่นใจว่าทางการไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะนโยบายของไทยได้มีการย้ำชัดเจนในทุกโอกาสที่มีการพบปะกันในระดับผู้นำของทั้งสองประเทศ แต่ต้องถือว่ามีคนไทยเกี่ยวข้องด้วย เพราะ 2 ใน 6 ศพที่เสียชีวิตในการปะทะกันเป็นผู้ที่มีบัตรประจำตัวไทย
นายดอนฯ กล่าวเสริมว่า เป็นที่น่ายินดีที่ได้รับฟังความมั่นใจของลาวในบทบาทของไทยจากเอกอัครราชทูตลาวประจำกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายของไทย ในการไม่ให้ใช้ดินแดนไทยสร้างปัญหาต่อประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับคนไทยที่เกี่ยวข้องก็เป็นที่ชัดเจนเพียงพอแล้วว่า เป็นคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ รับจ้างจากผู้ก่อกวนให้เข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งนี้ไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมของคนไทยโดยรวมแต่อย่างใด
ต่อข้อซักถามสื่อมวลชนว่า ทางการลาวได้ติดตามจับกุมคนลาวผู้ร่วมกระทำความผิดที่หลบหนีการจับกุมได้หรือไม่ ซึ่งนายเหียมฯ ตอบว่า ทางเจ้าหน้าที่ลาวได้ลาดตระเวนตามแนวชายแดนแล้ว ไม่พบผู้ร่วมกระทำผิดที่หลบหนีแต่อย่างใด และต่อข้อซักถามเกี่ยวกับที่มีการกล่าวว่าบุคคลที่สามเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งนายเหียมฯ กล่าวว่า ตนเชื่อว่ามีความพยายามหาโอกาสขยายผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างไทย-ลาว แต่ขณะนี้ยัง มิได้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด จึงบอกแน่ชัดไม่ได้ว่ามีบุคคลที่สามอยู่เบื้องหลัง หรือไม่ และต่อข้อซักถามที่ว่า ลาวประสงค์จะขอรับตัวคนทั้ง 27 คน หรือเฉพาะที่เป็นชาวลาว นายเหียมฯ ตอบว่า หากเป็นไปได้ลาวอยากได้ทั้งหมด ซึ่งในเรื่องนี้นายดอนฯ ได้กล่าวเสริมด้วยว่า ไม่ว่าจะมีมือที่สามหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาที่สุดก็คือการเกิดซ้ำซากของเรื่องนี้ อย่างไรก็ดีการพิจารณาดำเนินคดีผู้ที่ถูกคุมขังไว้ทั้ง 27 คน จะต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมายไทย และเชื่อว่าไทยคงจะช่วยดูแลให้กระบวนการทางกฎหมายยุติลงโดยเร็วได้
ในตอนท้าย เอกอัครราชทูตลาวและนายดอนฯ ได้เห็นพ้องต้องกันที่จะขอให้การนำ เสนอข่าวของสื่อมวลชนในเรื่องนี้เป็นไปในลักษณะสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และขอให้รับฟังข้อมูลข่าวสารจากทางการของทั้งสองฝ่ายเท่านั้นเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด นอกจากนั้นนายดอนฯ ได้ย้ำด้วยว่า เหตุการณ์นี้จะเป็นบทเรียนให้คนไทยตามชายแดนได้พึงตระหนักด้วยว่าอาจถูกหลอกลวงให้ร่วมกระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และเกิดผลลัพท์ที่กระทบกระเทือนต่อประเทศชาติได้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (5 กรกฎาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งว่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2543 นายบุนเกิด สังสมสัก ปลัดกระทรวงการต่างประเทศลาวได้เชิญนายสุวิทย์ สิมะสกุล เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ไปพบเพื่อหารือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 3 กรกฎาคม ที่ด่านบ้านวังเตา พร้อมกับแจ้งขอรับตัวผู้ก่อกวนที่เกี่ยวข้องที่หนีเข้าประเทศไทยกลับไปดำเนินคดีในลาว ต่อข้อถามของสื่อมวลชนว่า การแจ้งขอรับตัวถือว่าเป็นทางการหรือไม่ นายดอนฯ ได้กล่าวว่า การแจ้งดังกล่าวถือว่าเป็นทางการระดับหนึ่ง แต่มีรายละเอียดที่จะต้องดำเนินการตามขั้นต่อไปเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การแจ้งข้อกล่าวหา พร้อมหลักฐานต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งขณะนี้ไทยยังไม่ได้รับแจ้ง ฝ่ายไทยต้องการให้เรื่องดังกล่าวจบลงโดยเร็ว เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ต่อไป
ต่อคำถามที่ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อคนไทยที่ถูกจับ นายดอนฯ ได้ชี้แจงว่า บุคคลดังกล่าวคงจะถูกดำเนินคดีในข้อหามีอาวุธสงครามไว้ในครอบครอง แต่หากมีการแจ้งข้อ กล่าวหาจากฝ่ายลาวในทางใดทางหนึ่งก็ย่อมต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ตามตัวบทกฎหมายใด เพราะพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 ของไทยไม่ได้กล่าวถึงการส่งบุคคลสัญชาติไทยให้ประเทศที่สาม ยกเว้นแต่มีพันธะผูกพันตามสนธิสัญญาหรือความตกลงอื่น อย่างไรก็ดีการที่คนไทยเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เชื่อว่ามีผู้ว่าจ้าง
นายดอนฯ ได้ย้ำนโยบายของรัฐบาลด้วยว่า ฝ่ายไทยมีท่าทีชัดเจนที่จะไม่ให้บุคคลใดใช้ดินแดนไทยเป็นฐานในการต่อต้านรัฐบาลประเทศอื่น แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุจากการ ดูแลไม่ทั่วถึง เนื่องจากเขตแดนไทย-ลาวมีความยาวมาก การข้ามแดนตรงจุดไหนเวลาใดก็อาจเกิดขึ้นได้โดยยากต่อการตรวจสอบ
ต่อมาในวันเดียวกันได้มีการแถลงข่าวร่วมระหว่างนายเหียม พมมะจัน เอกอัคร ราชทูตลาวกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดย เอกอัครราชทูตลาวได้แสดงความเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม และเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องสอบสวนเพื่อหาสาเหตุและผู้อยู่เบื้องหลัง ในวันนี้ตนจึงได้มาหารือกับ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย เพื่อหาแนวทางป้องกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยจะต้องร่วมมือกันโดยใช้กลไกที่มีอยู่ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นคือ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ลาว-ไทย และคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนทั่วไปไทย-ลาว ลาว-ไทย เป็นกลไกร่วมในการแก้ไขปัญหาและค้นหาว่าอุปสรรคในการป้องกันชายแดนอยู่ที่ใดเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
ในประเด็นนี้ นายดอนฯ ได้กล่าวเสริมว่า ทั้ง สองฝ่ายควรร่วมมือกันดูแลเรื่องนี้ เพื่อมิให้เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอีก ไทยได้เคยเสนอแผนงานความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนไทย-ลาว ซึ่งจะเหมาะสมยิ่งต่อการจัดการปัญหานี้เพราะประกอบด้วยมาตรการหลายมาตรการที่เป็นประโยชน์
ต่อข้อซักถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับข่าวที่ว่ามีคนไทยเข้าไปเกี่ยวข้องและบทบาทของไทยในเรื่องนี้ นายเหียมฯ ตอบว่า ลาวมั่นใจว่าทางการไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะนโยบายของไทยได้มีการย้ำชัดเจนในทุกโอกาสที่มีการพบปะกันในระดับผู้นำของทั้งสองประเทศ แต่ต้องถือว่ามีคนไทยเกี่ยวข้องด้วย เพราะ 2 ใน 6 ศพที่เสียชีวิตในการปะทะกันเป็นผู้ที่มีบัตรประจำตัวไทย
นายดอนฯ กล่าวเสริมว่า เป็นที่น่ายินดีที่ได้รับฟังความมั่นใจของลาวในบทบาทของไทยจากเอกอัครราชทูตลาวประจำกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายของไทย ในการไม่ให้ใช้ดินแดนไทยสร้างปัญหาต่อประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับคนไทยที่เกี่ยวข้องก็เป็นที่ชัดเจนเพียงพอแล้วว่า เป็นคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ รับจ้างจากผู้ก่อกวนให้เข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งนี้ไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมของคนไทยโดยรวมแต่อย่างใด
ต่อข้อซักถามสื่อมวลชนว่า ทางการลาวได้ติดตามจับกุมคนลาวผู้ร่วมกระทำความผิดที่หลบหนีการจับกุมได้หรือไม่ ซึ่งนายเหียมฯ ตอบว่า ทางเจ้าหน้าที่ลาวได้ลาดตระเวนตามแนวชายแดนแล้ว ไม่พบผู้ร่วมกระทำผิดที่หลบหนีแต่อย่างใด และต่อข้อซักถามเกี่ยวกับที่มีการกล่าวว่าบุคคลที่สามเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งนายเหียมฯ กล่าวว่า ตนเชื่อว่ามีความพยายามหาโอกาสขยายผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างไทย-ลาว แต่ขณะนี้ยัง มิได้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด จึงบอกแน่ชัดไม่ได้ว่ามีบุคคลที่สามอยู่เบื้องหลัง หรือไม่ และต่อข้อซักถามที่ว่า ลาวประสงค์จะขอรับตัวคนทั้ง 27 คน หรือเฉพาะที่เป็นชาวลาว นายเหียมฯ ตอบว่า หากเป็นไปได้ลาวอยากได้ทั้งหมด ซึ่งในเรื่องนี้นายดอนฯ ได้กล่าวเสริมด้วยว่า ไม่ว่าจะมีมือที่สามหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาที่สุดก็คือการเกิดซ้ำซากของเรื่องนี้ อย่างไรก็ดีการพิจารณาดำเนินคดีผู้ที่ถูกคุมขังไว้ทั้ง 27 คน จะต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมายไทย และเชื่อว่าไทยคงจะช่วยดูแลให้กระบวนการทางกฎหมายยุติลงโดยเร็วได้
ในตอนท้าย เอกอัครราชทูตลาวและนายดอนฯ ได้เห็นพ้องต้องกันที่จะขอให้การนำ เสนอข่าวของสื่อมวลชนในเรื่องนี้เป็นไปในลักษณะสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และขอให้รับฟังข้อมูลข่าวสารจากทางการของทั้งสองฝ่ายเท่านั้นเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด นอกจากนั้นนายดอนฯ ได้ย้ำด้วยว่า เหตุการณ์นี้จะเป็นบทเรียนให้คนไทยตามชายแดนได้พึงตระหนักด้วยว่าอาจถูกหลอกลวงให้ร่วมกระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และเกิดผลลัพท์ที่กระทบกระเทือนต่อประเทศชาติได้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-