ในปี 2543 การผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของไทยยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2542 ตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ โดยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 25.8 และ 20.1 เทียบกับปี 2542 ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงเท่าตัวและร้อยละ 51.4 และในช่วงปี 2538 - 2541 ที่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 16 และ 19.5 ตามลำดับ การผลิตและจำหน่ายที่ชะลอลงจากปี 2542 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยได้ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 เพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก ความผันผวนของค่าเงินบาท รวมทั้งราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำลงและภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัด ทำให้ความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของประชาชนลดลง
อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์ในปี 2543 ที่มีจำนวน 411,721 คัน จัดว่าอยู่ในเกณฑ์สูงและถือว่าฟื้นตัวจากภาวะถดถอยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจได้ค่อนข้างเร็ว โดยการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 33.4 และ 23.6 การผลิตรถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้นมากเป็นผลมาจากการเพิ่มสายการผลิตรถยนต์นั่งของผู้ประกอบการ 3 ราย ซึ่งทำให้กำลังการผลิตรถยนต์ของไทยในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.7 และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 33.7 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 30 ในปี 2542
ในด้านปริมาณจำหน่ายรถยนต์ในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.1 โดยโตโยต้ายังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในตลาดรถยนต์รวมและรถยนต์นั่ง ขณะที่อีซูซุครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดสำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 21.6 และ 24 โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 27.5 ของมูลค่าการส่งออกรถยนต์ทั้งสิ้น และมิตซูบิชิยังคงเป็นรถยนต์ที่มีการส่งออกมากที่สุด โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 41.6 ของจำนวนรถยนต์ที่ส่งออกทั้งหมด
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 การผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของไทยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10 และ 14.5 ซึ่งชะลอลงเมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ที่ขยายตัวร้อยละ 43.1 ทั้งการผลิตและจำหน่าย เนื่องจากเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก ประกอบกับปัจจัยด้านอุปสงค์ภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 53.8จากความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ในขณะที่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์กลับลดลงร้อยละ 3.6 ตามปริมาณจำหน่ายที่ชะลอลงทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก ระดับการ ใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 จึงอยู่ที่ร้อยละ 36.5 ตามการใช้กำลังการผลิตรถยนต์นั่งเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของไทยในช่วงนี้ได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 36.6 และ 63.5 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลกที่เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมทุน ได้มุ่งเน้นให้ไทยเป็นฐานในการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกมากขึ้น
สำหรับแนวโน้มทั้งปี 2544 คาดว่าผู้ผลิตรถยนต์ของไทยยังคงมีการแข่งขันสูงเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาด โดยคาดว่าทั้งปริมาณจำหน่ายในประเทศและการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจะเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 15
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์ในปี 2543 ที่มีจำนวน 411,721 คัน จัดว่าอยู่ในเกณฑ์สูงและถือว่าฟื้นตัวจากภาวะถดถอยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจได้ค่อนข้างเร็ว โดยการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 33.4 และ 23.6 การผลิตรถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้นมากเป็นผลมาจากการเพิ่มสายการผลิตรถยนต์นั่งของผู้ประกอบการ 3 ราย ซึ่งทำให้กำลังการผลิตรถยนต์ของไทยในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.7 และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 33.7 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 30 ในปี 2542
ในด้านปริมาณจำหน่ายรถยนต์ในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.1 โดยโตโยต้ายังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในตลาดรถยนต์รวมและรถยนต์นั่ง ขณะที่อีซูซุครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดสำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 21.6 และ 24 โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 27.5 ของมูลค่าการส่งออกรถยนต์ทั้งสิ้น และมิตซูบิชิยังคงเป็นรถยนต์ที่มีการส่งออกมากที่สุด โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 41.6 ของจำนวนรถยนต์ที่ส่งออกทั้งหมด
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 การผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของไทยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10 และ 14.5 ซึ่งชะลอลงเมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ที่ขยายตัวร้อยละ 43.1 ทั้งการผลิตและจำหน่าย เนื่องจากเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก ประกอบกับปัจจัยด้านอุปสงค์ภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 53.8จากความสำเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ในขณะที่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์กลับลดลงร้อยละ 3.6 ตามปริมาณจำหน่ายที่ชะลอลงทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก ระดับการ ใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 จึงอยู่ที่ร้อยละ 36.5 ตามการใช้กำลังการผลิตรถยนต์นั่งเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของไทยในช่วงนี้ได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 36.6 และ 63.5 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลกที่เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมทุน ได้มุ่งเน้นให้ไทยเป็นฐานในการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกมากขึ้น
สำหรับแนวโน้มทั้งปี 2544 คาดว่าผู้ผลิตรถยนต์ของไทยยังคงมีการแข่งขันสูงเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาด โดยคาดว่าทั้งปริมาณจำหน่ายในประเทศและการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจะเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 15
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-