การส่งออก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัว
ของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 2.6 ขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สินค้าที่
มูลค่าการส่งออกลดลงมาก ได้แก่ สินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวที่ราคาส่งออก ลดลงมากแม้ปริมาณจะเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการ ส่งออกข้าวแบบ
รัฐต่อรัฐไปยัง ฟิลิปปินส์ ขณะที่ยางพาราประสบปัญหาจากสภาพภูมิอากาศที่ ไม่เอื้ออำนวยทำให้ราคาและมูลค่าส่งออกลดลง เช่นกัน อย่างไรก็
ตามการส่งออกเป็ดไก่แช่แข็งยังขยายตัวดี เนื่องจากผลพลอยได้จากการเกิดโรค วัวบ้าและโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสหภาพยุโรป และ
โรคไข้หวัดนกในจีน นอกจากนี้ มูลค่าการ ส่งออกมันสำปะหลังก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีอุปสงค์มันเส้นจากจีนเพื่อไปทำแอลกอฮอล์
สำหรับมูลค่าการส่งออก สินค้าประมงลดลงตามราคาส่งออกที่ลดลง เนื่องจากภาวะตลาดที่แข่งขันสูงแม้ว่าปริมาณส่งออกจะเพิ่มขึ้นก็ตาม
สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 85.3 ของการส่งออก ทั้งหมดลดลงเล็กน้อย (ร้อยละ 0.5)
ตามการลดลงของอุปสงค์จากตลาดโลกในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน รวมถึงแผงวงจรรวมและชิ้นส่วนที่ชะลอ
ลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้ายังมีปัจจัยสนับสนุนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ทำให้มูลค่าส่งออกลดลงเพียง
เล็กน้อยอย่างไร ก็ตาม อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์และชิ้นส่วน ยังมีทิศทางการส่งออกที่ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สินค้าที่ใช้แรงงานสูงยังคงลดลงจากเสื้อผ้า
สำเร็จรูป ซึ่งลดลงตามอุปสงค์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลัก รวมทั้งอุปสรรคจากสหภาพยุโรปซึ่งมีการกีดกัน สินค้าจากนอกกลุ่ม
ขณะที่อัญมณีและเครื่องประดับยังคงขยายตัวต่อเนื่องส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่
น้ำตาลเนื่องจากมีอุปสงค์จากจีน และอาหารทะเลกระป๋องที่เพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงการบริโภคในตลาดสหภาพยุโรปที่ประสบปัญหาโรค
วัวบ้า
การนำเข้า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 16.4 ขณะที่ปริมาณการ
นำเข้าลดลงร้อยละ 8.0
สินค้าอุปโภคบริโภคชะลอลงอย่างมากเหลือร้อยละ 1.5 เช่นเดียวกับสินค้าวัตถุดิบและกึ่ง วัตถุดิบที่รวมคอมพิวเตอร์ แผงวงจรรวมและ
ชิ้นส่วนแล้ว ชะลอลงเหลือร้อยละ 3.5 (หากไม่รวมคอมพิวเตอร์และแผงวงจรรวมจะลดลงร้อยละ 2.2) ส่วนสินค้าทุนมีการนำเข้าเครื่องบิน
เพื่อการพาณิชย์ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2 ลำ มูลค่าประมาณ 383 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าระยะเดียวกันปีก่อนที่นำเข้า
5 ลำ มูลค่า 791 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้การนำเข้าสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบินฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ซึ่งเป็นผลทางด้านราคาเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องจักรกลเพื่อการอุตสาหกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบที่ราคาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-20 สำหรับ
การนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากในช่วงที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาด สิงคโปร์สูงขึ้น ในช่วงไตรมาสที่สอง โรงกลั่นน้ำมันในประเทศ
มีการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น น้ำมันดิบมีราคา นำเข้า 23.7 เทียบกับ 23.4 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ บาเรล ในระยะเดียวกันปีก่อน
ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด แม้การส่งออกจะลดลง แต่การนำเข้าที่ชะลอลงมากโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสอง ทำให้ดุลการค้ายัง
คงเกินดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับที่เกินดุล 2.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกัน ปีก่อน ขณะที่ดุลบริการและบริจาค
เกินดุลใกล้เคียงกับปีก่อน แม้รายรับจากการท่องเที่ยวจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากรายจ่ายด้านการท่องเที่ยวของคนไทยและดอกเบี้ยจ่ายของภาคเอกชน
ลดลงดุลบัญชี เดินสะพัดจึงเกินดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 5.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ จากข้อมูล เบื้องต้นขาดดุล 4.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับที่ขาดดุล 6.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการขาดดุลที่ ลดลงของภาคเอกชนเป็นสำคัญ
เงินทุนภาคเอกชน ขาดดุลลดลงตามการชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศที่ชะลอตัวลงเหลือ 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน
ชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 4.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากยอดชำระหนี้ของกิจการวิเทศธนกิจลดลงมากเหลือเพียง 0.5 พันล้านดอลลาร์
สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อนชำระหนี้ถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ในจำนวนหนี้ที่ชำระนี้เป็นการ ชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนด 1.2 พันล้านดอลลาร์
สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน 2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) การเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ลดลง เหลือประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ขาดดุลจากที่เกินดุลในช่วงเดียวกันปีก่อน
เนื่องจากการชำระคืนตราสารหนี้ที่ครบกำหนด
เงินทุนภาคทางการ (รวมธปท.) ขาดดุลเพิ่มขึ้น เนื่องจากธปท. ชำระคืนหนี้เงินกู้จาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF
package) จำนวน 1.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับภาค รัฐบาลเกินดุลเล็กน้อย เนื่องจากมีการออกขายตราสารหนี้ระยะสั้น ( Euro
Commercial Papers) ในต่างประเทศของกระทรวงการคลัง และการนำเข้าเงินกู้จาก Japan Bank for International Cooperation
(JBIC) ตามโครงการปรับโครงสร้างทางการเกษตรรวม 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ ขณะที่มีการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวของรัฐวิสาหกิจ 0.2 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ.
ดุลการชำระเงิน ขาดดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงมากจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุลสูงถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 อยู่ที่ระดับ 31.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าการ นำเข้า 5.9 เดือน โดยมียอดคง
ค้างการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ตารางดุลการชำระเงิน (Balance of Payments)
(หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.) 2543 2543 2544
H1 H2 H1 1/ Q1 Q2 1/
สินค้าออก เอฟ.โอ.บี. 67,943 31,957 35,986 31,654 16,019 15,635
% การเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 19.6 21.1 18.3 -0.9 -1.3 -0.6
สินค้าเข้า ซี.ไอ.เอฟ. 62,422 29,100 33,322 31,187 15,954 15,233
% การเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 31.3 34.8 28.4 7.2 11.6 2.9
ดุลการค้า 5,521 2,857 2,664 467 65 402
ดุลบริการบริจาค 3,862 2,113 1,749 2,075 1,311 764
ดุลบัญชีเดินสะพัด 9,383 4,970 4,413 2,542 1,376 1,166
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ -10,015 -6,573 -3,442 n.a. -2,450 n.a.
เอกชน -9,515 -6,267 -3,248 n.a. -2,153 n.a.
- ธนาคาร -6,606 -3,421 -3,185 n.a. -1,656 n.a.
ธนาคารพาณิชย์ -2,596 -1,406 -1,190 n.a. -1,378 n.a.
กิจการวิเทศธนกิจ -4,010 -2,015 -1,995 n.a. -278 n.a.
- ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร -2,909 -2,846 -63 n.a. -497 n.a.
ทางการ -350 -333 -17 n.a. -127 n.a.
ธปท. -150 27 -177 n.a. -170 n.a.
คลาดเคลื่อนสุทธิ -985 -598 -387 n.a. 1,323 n.a.
ดุลการชำระเงินรวม 2/ -1,617 -2,201 584 -232 249 -481
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น
2/ ข้อมูลจริง
ที่มา: 1. กรมศุลกากร
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้จัดทำ: ทีมวิเคราะห์ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน สายนโยบายการเงิน
วันที่จัดทำ: 27 มกราคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
ของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 2.6 ขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สินค้าที่
มูลค่าการส่งออกลดลงมาก ได้แก่ สินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวที่ราคาส่งออก ลดลงมากแม้ปริมาณจะเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการ ส่งออกข้าวแบบ
รัฐต่อรัฐไปยัง ฟิลิปปินส์ ขณะที่ยางพาราประสบปัญหาจากสภาพภูมิอากาศที่ ไม่เอื้ออำนวยทำให้ราคาและมูลค่าส่งออกลดลง เช่นกัน อย่างไรก็
ตามการส่งออกเป็ดไก่แช่แข็งยังขยายตัวดี เนื่องจากผลพลอยได้จากการเกิดโรค วัวบ้าและโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสหภาพยุโรป และ
โรคไข้หวัดนกในจีน นอกจากนี้ มูลค่าการ ส่งออกมันสำปะหลังก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีอุปสงค์มันเส้นจากจีนเพื่อไปทำแอลกอฮอล์
สำหรับมูลค่าการส่งออก สินค้าประมงลดลงตามราคาส่งออกที่ลดลง เนื่องจากภาวะตลาดที่แข่งขันสูงแม้ว่าปริมาณส่งออกจะเพิ่มขึ้นก็ตาม
สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 85.3 ของการส่งออก ทั้งหมดลดลงเล็กน้อย (ร้อยละ 0.5)
ตามการลดลงของอุปสงค์จากตลาดโลกในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน รวมถึงแผงวงจรรวมและชิ้นส่วนที่ชะลอ
ลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้ายังมีปัจจัยสนับสนุนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ทำให้มูลค่าส่งออกลดลงเพียง
เล็กน้อยอย่างไร ก็ตาม อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์และชิ้นส่วน ยังมีทิศทางการส่งออกที่ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สินค้าที่ใช้แรงงานสูงยังคงลดลงจากเสื้อผ้า
สำเร็จรูป ซึ่งลดลงตามอุปสงค์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลัก รวมทั้งอุปสรรคจากสหภาพยุโรปซึ่งมีการกีดกัน สินค้าจากนอกกลุ่ม
ขณะที่อัญมณีและเครื่องประดับยังคงขยายตัวต่อเนื่องส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่
น้ำตาลเนื่องจากมีอุปสงค์จากจีน และอาหารทะเลกระป๋องที่เพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงการบริโภคในตลาดสหภาพยุโรปที่ประสบปัญหาโรค
วัวบ้า
การนำเข้า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 16.4 ขณะที่ปริมาณการ
นำเข้าลดลงร้อยละ 8.0
สินค้าอุปโภคบริโภคชะลอลงอย่างมากเหลือร้อยละ 1.5 เช่นเดียวกับสินค้าวัตถุดิบและกึ่ง วัตถุดิบที่รวมคอมพิวเตอร์ แผงวงจรรวมและ
ชิ้นส่วนแล้ว ชะลอลงเหลือร้อยละ 3.5 (หากไม่รวมคอมพิวเตอร์และแผงวงจรรวมจะลดลงร้อยละ 2.2) ส่วนสินค้าทุนมีการนำเข้าเครื่องบิน
เพื่อการพาณิชย์ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2 ลำ มูลค่าประมาณ 383 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าระยะเดียวกันปีก่อนที่นำเข้า
5 ลำ มูลค่า 791 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้การนำเข้าสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบินฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ซึ่งเป็นผลทางด้านราคาเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องจักรกลเพื่อการอุตสาหกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบที่ราคาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-20 สำหรับ
การนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากในช่วงที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาด สิงคโปร์สูงขึ้น ในช่วงไตรมาสที่สอง โรงกลั่นน้ำมันในประเทศ
มีการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น น้ำมันดิบมีราคา นำเข้า 23.7 เทียบกับ 23.4 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ บาเรล ในระยะเดียวกันปีก่อน
ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด แม้การส่งออกจะลดลง แต่การนำเข้าที่ชะลอลงมากโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสอง ทำให้ดุลการค้ายัง
คงเกินดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับที่เกินดุล 2.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกัน ปีก่อน ขณะที่ดุลบริการและบริจาค
เกินดุลใกล้เคียงกับปีก่อน แม้รายรับจากการท่องเที่ยวจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากรายจ่ายด้านการท่องเที่ยวของคนไทยและดอกเบี้ยจ่ายของภาคเอกชน
ลดลงดุลบัญชี เดินสะพัดจึงเกินดุล 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 5.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ จากข้อมูล เบื้องต้นขาดดุล 4.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับที่ขาดดุล 6.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการขาดดุลที่ ลดลงของภาคเอกชนเป็นสำคัญ
เงินทุนภาคเอกชน ขาดดุลลดลงตามการชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศที่ชะลอตัวลงเหลือ 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน
ชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 4.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากยอดชำระหนี้ของกิจการวิเทศธนกิจลดลงมากเหลือเพียง 0.5 พันล้านดอลลาร์
สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อนชำระหนี้ถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ในจำนวนหนี้ที่ชำระนี้เป็นการ ชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนด 1.2 พันล้านดอลลาร์
สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน 2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) การเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ลดลง เหลือประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ขาดดุลจากที่เกินดุลในช่วงเดียวกันปีก่อน
เนื่องจากการชำระคืนตราสารหนี้ที่ครบกำหนด
เงินทุนภาคทางการ (รวมธปท.) ขาดดุลเพิ่มขึ้น เนื่องจากธปท. ชำระคืนหนี้เงินกู้จาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF
package) จำนวน 1.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับภาค รัฐบาลเกินดุลเล็กน้อย เนื่องจากมีการออกขายตราสารหนี้ระยะสั้น ( Euro
Commercial Papers) ในต่างประเทศของกระทรวงการคลัง และการนำเข้าเงินกู้จาก Japan Bank for International Cooperation
(JBIC) ตามโครงการปรับโครงสร้างทางการเกษตรรวม 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ ขณะที่มีการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวของรัฐวิสาหกิจ 0.2 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ.
ดุลการชำระเงิน ขาดดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงมากจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุลสูงถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 อยู่ที่ระดับ 31.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าการ นำเข้า 5.9 เดือน โดยมียอดคง
ค้างการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ตารางดุลการชำระเงิน (Balance of Payments)
(หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.) 2543 2543 2544
H1 H2 H1 1/ Q1 Q2 1/
สินค้าออก เอฟ.โอ.บี. 67,943 31,957 35,986 31,654 16,019 15,635
% การเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 19.6 21.1 18.3 -0.9 -1.3 -0.6
สินค้าเข้า ซี.ไอ.เอฟ. 62,422 29,100 33,322 31,187 15,954 15,233
% การเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 31.3 34.8 28.4 7.2 11.6 2.9
ดุลการค้า 5,521 2,857 2,664 467 65 402
ดุลบริการบริจาค 3,862 2,113 1,749 2,075 1,311 764
ดุลบัญชีเดินสะพัด 9,383 4,970 4,413 2,542 1,376 1,166
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ -10,015 -6,573 -3,442 n.a. -2,450 n.a.
เอกชน -9,515 -6,267 -3,248 n.a. -2,153 n.a.
- ธนาคาร -6,606 -3,421 -3,185 n.a. -1,656 n.a.
ธนาคารพาณิชย์ -2,596 -1,406 -1,190 n.a. -1,378 n.a.
กิจการวิเทศธนกิจ -4,010 -2,015 -1,995 n.a. -278 n.a.
- ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร -2,909 -2,846 -63 n.a. -497 n.a.
ทางการ -350 -333 -17 n.a. -127 n.a.
ธปท. -150 27 -177 n.a. -170 n.a.
คลาดเคลื่อนสุทธิ -985 -598 -387 n.a. 1,323 n.a.
ดุลการชำระเงินรวม 2/ -1,617 -2,201 584 -232 249 -481
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น
2/ ข้อมูลจริง
ที่มา: 1. กรมศุลกากร
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้จัดทำ: ทีมวิเคราะห์ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน สายนโยบายการเงิน
วันที่จัดทำ: 27 มกราคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-