กรุงเทพฯ--22 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ ดร.ประชา คุณะเกษม ผู้แทนพิเศษของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 56 ณ นครนิวยอร์ก วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544
ท่านประธาน
ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ
ท่านผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มากล่าวถ้อยแถลงในนามของ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ก่อนอื่น ข้าพเจ้าใคร่ขอร่วม กับท่านผู้เกียรติทุกท่านที่กล่าวถ้อยแถลงก่อนหน้านี้ แสดงความเสียใจอย่างมากต่อครอบครัวและเพื่อนของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับความทุกข์จากโศกนาฎกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ประชาชนและรัฐบาลไทยขอร่วมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์จากการก่อการร้ายครั้งนี้ เราขอแสดงความ เสียใจต่อประชาชนและรัฐบาลสหรัฐฯ ท่านประธาน ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีที่ท่านได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสมัชชา สมัยที่ 56 และข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าภายใต้การนำของท่าน พวกเราจะสามารถนำปฎิญญาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติเป็นพื้นฐานการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะนำไปสู่สันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความ ผาสุกในโลก ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจต่อเลขาธิการสหประชาชาติ นาย โคฟี อันนัน และสหประชาชาติที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมทั้งการได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติอีกวาระหนึ่ง การได้รับเกียรติครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่ไม่ย่อท้อของท่านเลขาธิการสหประชาชาติ และการอุทิศตนของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ความสำเร็จของเลขาธิการสหประชาชาติเห็นได้จากรายงานแห่งสหัสวรรษ (Millennium Report) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ สหประชาชาติจะดำเนินการในอนาคต และวางกรอบภารกิจโดยมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ทั้งในระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ (การก่อการร้ายสากล) ท่านประธาน หลังเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ชะตากรรมร่วมกันของโลกจะขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับมือกับความเป็นจริงใหม่ที่ซับซ้อนที่กำลังเกิดขึ้นนี้อย่างไร ไม่มีประเทศใดปลอดภัยจากการ ก่อการร้ายอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถต่อสู้กับการก่อการร้ายได้เพียงลำพัง ขณะนี้ถึงเวลาที่ทุกประเทศจะต้องร่วมกันพยายามที่จะต่อสู้กับการก่อการร้าย ในประเทศไทย เราประณามการก่อการร้ายทุกรูปแบบอย่างรุนแรงที่สุดและสนับสนุนความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศในการต่อสู้กับภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลกอย่างเต็มที่ ประเทศไทยสนับสนุนการดำเนินการทุกวิถีทางที่จะต่อสู้กับการก่อการร้ายภายใต้กรอบสหประชาชาติตามข้อมติสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
เราได้ให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศผ่านกฎหมายที่มีอยู่ เช่น การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านอาชญากรรมในรูปของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข่าวกรอง รัฐบาลไทยกำลังแก้ไขกฎหมายและระเบียบของไทยเพื่อสามารถเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินต่อการก่อการร้าย ในระดับภูมิภาค ไทยได้เข้าร่วมอย่างแข็งขันในการประชุมระดับสูงสุด ซึ่งให้ความสำคัญมากกับการก่อการร้ายสากล อาทิ การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่นครเซี่ยงไฮ้ เราร่วมกับผู้นำ เอเปคแสดงความเป็นห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลกและเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกอันเกิดจากการก่อการร้าย และได้ย้ำถึงความเร่งด่วนที่จะทำให้ความมั่นใจในเศรษฐกิจโลกกลับคืนมา ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ที่บรูไน ดารุซาลาม ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์กำหนดมาตรการเพื่อกระชับความร่วมมือในการรับมือ กับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในภูมิภาค มาตรการที่เสนอ ได้แก่ การส่งเสริมการแลกเปลี่ยน ข่าวกรอง และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษากฎหมาย ผู้นำอาเซียนได้ย้ำถึงความจำเป็นในการกระชับความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาอาเซียน และในกรอบการประชุม ASEAN Regional Forum (ARF) และยืนยันว่าสหประชาชาติควรจะมีบทบาทหลักในเรื่องนี้ ประเทศไทยสนับสนุนให้มีการประชุมระหว่างประเทศในระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับการก่อการร้ายสากลภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติในโอกาสแรก การประชุมนี้จะทำให้เกิดการหารือถึงปัญหาและความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายอันนำไปสู่มาตรการที่เป็นรูปธรรมในระดับโลก การก่อการร้ายไม่ควรถูกนำไปเชื่อมโยงกับกลุ่มเชื้อชาติ ความเชื่อหรือสัญชาติใด มิฉะนั้น ความพยายามของเราจะมีผลอันตรายต่อประชาชนของเรา (การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม)
ท่านประธาน การก่อการร้ายสากลได้ทำให้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวมีสภาพที่ย่ำแย่ลงไปอีก และ ทำให้เกิดผลกระทบทางสังคมอย่างมาก สายการบิน การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดระหว่างประเทศ ประเทศที่กำลังพยายามฟื้นตัวจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเมื่อเร็ว ๆ นี้ กำลังดำเนินการเพื่อมิให้เศรษฐกิจของตนทรุดลงไปอีก สหประชาชาติ และรัฐสมาชิกซึ่งเผชิญกับปัญหาช่องว่างที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาต้องดำเนินการร่วมกันเพื่อยุติแนวโน้มนี้ ความพยายามที่จะลดช่องว่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาต้องไม่ถูกจำกัดอยู่เพียงภายในกรอบสหประชาชาติเท่านั้น การประชุมองค์การการค้าโลกที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง เป็นโอกาสอันควรที่แสดงให้เห็นว่าประเทศต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันและประสบความก้าวหน้าในการผลักดันระเบียบวาระการค้าโลกเพื่อประโยชน์ร่วมกัน (นโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล) ท่านประธาน นับตั้งแต่รัฐบาลปัจจุบันเข้ารับหน้าที่เมื่อต้นปีนี้ รัฐบาลไทยได้เริ่มโครงการด้าน เศรษฐกิจและสังคมหลายโครงการเพื่อส่งเสริมการสร้างศักยภาพของประชาชนในระดับรากหญ้า เช่น โครงการธนาคารประชาชนและสินเชื่อรายย่อยสำหรับคนยากจนในเมืองและชนบท โดยช่วยเหลือด้านการเงินในโครงการเล็ก ๆ แก่ชุมชนระดับท้องถิ่นเพื่อพัฒนาและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ทำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน นอกจากนั้น ชาวนาไทยรายย่อยจำนวนกว่า 2 ล้านคนจะได้รับประโยชน์จากโครงการพักชำระหนี้ของรัฐบาลและโครงการประกันสุขภาพทั่วประเทศ
ท่านประธาน ในเรื่องอัฟกานิสถาน สหประชาชาติ และประชาคมระหว่างประเทศร่วมกับชาวอัฟกันจะต้องร่วมกันช่วยกันฟื้นฟูระเบียบ และเสถียรภาพให้กลับคืนมา เราควรให้ความช่วยเหลือที่เป็นไปได้แก่อัฟกานิสถาน เริ่มต้นจาก ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในช่วงเวลาสำคัญเพื่อสร้างศักยภาพในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะบริจาคข้าวประมาณ 3,000 เมตริกตันเป็นสิ่งบรรเทาทุกข์ด้านอาหารแก่ชาวอัฟกัน สภากาชาดไทยได้บริจาคผ้าห่ม 10,000 ผืน (การพัฒนาระดับภูมิภาค) ท่านประธาน ประเทศไทยได้กระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน และร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเป้าหมายร่วมกันในการเปิดพรมแดน นอกจากนี้ เรายังได้ตัดสินใจจัดตั้งฐานการผลิตร่วมกันและเชื่อมโยงเครือข่ายระบบขนส่ง ความริเริ่มเหล่านี้เกิดจากที่ประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกเมื่อปีที่แล้วได้รับรองข้อมติซึ่งเสนอโดยประเทศไทยเรื่อง ทศวรรษแห่งความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ค.ศ.2000 - 2009 ซึ่งทำให้อนุภูมิภาคนี้ได้รับความสำคัญในระเบียบวาระของการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ ไทยมีบทบาทในการรักษาสันติภาพในภูมิภาค เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่นายพลของไทยสองท่านได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลัง UNTAET ซึ่งเป็นกองกำลังที่ปฏิบัติการสืบเนื่องจากกองกำลัง INTERFET บทบาทนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธกรณีของไทยที่จะร่วมรับผิดชอบในความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยเฉพาะใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ท่านประธาน เราต้องการเห็นสหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในการวางพื้นฐานที่แข็งแกร่งเพื่อโลกในอนาคตที่สงบสุข มีขันติ และยั่งยืนเพื่อประชาชนของเราและประชาชนรุ่นใหม่ต่อไป ดังนั้น ประเทศไทยสนับสนุนปีแห่งการปฏิสัมพันธ์ข้ามอารยธรรมอย่างเต็มที่และได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการขจัดการเหยียดผิว การเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ ความเกลียดชังชาวต่างชาติ และการขาดขันติธรรมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ในขณะที่เราเฉลิมฉลองการครบรอบ 56 ปีของสหประชาชาติ และแสดงความยินดีกับเลขาธิการสหประชาชาติ และองค์การสหประชาชาติ เราต้องถามตัวเองว่าเราคาดหวังอะไรจาก สหประชาชาติ ? ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราคาดหวังให้สหประชาชาติปฏิบัติหน้าที่หนักยิ่งขึ้นอีก เพื่อสร้างวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ และปรับปรุงการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เราเชื่อว่าทั้งประเทศที่ร่ำรวยและยากจนต้องมีส่วนร่วมในความพยายามนี้อย่างเต็มความสามารถ ความพยายามของประเทศต่างๆ เหล่านี้จะต้องดำเนินไปพร้อมๆ กับความพยายามของสหประชาชาติ ท่านประธาน ขอให้เราให้ความสำคัญกับการรักษาสันติภาพและความสมานฉันท์ในโลก เราควรจะให้คำมั่นที่จะทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันมากขึ้นเพื่อสวัสดิภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และผาสุกของประชาชน นี่คือสิ่งที่เป็นอยู่ และควรจะเป็นสิ่งสำคัญของสหประชาชาติและมนุษยชาติ ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ ดร.ประชา คุณะเกษม ผู้แทนพิเศษของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 56 ณ นครนิวยอร์ก วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544
ท่านประธาน
ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ
ท่านผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มากล่าวถ้อยแถลงในนามของ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ก่อนอื่น ข้าพเจ้าใคร่ขอร่วม กับท่านผู้เกียรติทุกท่านที่กล่าวถ้อยแถลงก่อนหน้านี้ แสดงความเสียใจอย่างมากต่อครอบครัวและเพื่อนของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับความทุกข์จากโศกนาฎกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ประชาชนและรัฐบาลไทยขอร่วมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์จากการก่อการร้ายครั้งนี้ เราขอแสดงความ เสียใจต่อประชาชนและรัฐบาลสหรัฐฯ ท่านประธาน ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีที่ท่านได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสมัชชา สมัยที่ 56 และข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าภายใต้การนำของท่าน พวกเราจะสามารถนำปฎิญญาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติเป็นพื้นฐานการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะนำไปสู่สันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความ ผาสุกในโลก ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจต่อเลขาธิการสหประชาชาติ นาย โคฟี อันนัน และสหประชาชาติที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมทั้งการได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติอีกวาระหนึ่ง การได้รับเกียรติครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่ไม่ย่อท้อของท่านเลขาธิการสหประชาชาติ และการอุทิศตนของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ความสำเร็จของเลขาธิการสหประชาชาติเห็นได้จากรายงานแห่งสหัสวรรษ (Millennium Report) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ สหประชาชาติจะดำเนินการในอนาคต และวางกรอบภารกิจโดยมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ทั้งในระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ (การก่อการร้ายสากล) ท่านประธาน หลังเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ชะตากรรมร่วมกันของโลกจะขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับมือกับความเป็นจริงใหม่ที่ซับซ้อนที่กำลังเกิดขึ้นนี้อย่างไร ไม่มีประเทศใดปลอดภัยจากการ ก่อการร้ายอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถต่อสู้กับการก่อการร้ายได้เพียงลำพัง ขณะนี้ถึงเวลาที่ทุกประเทศจะต้องร่วมกันพยายามที่จะต่อสู้กับการก่อการร้าย ในประเทศไทย เราประณามการก่อการร้ายทุกรูปแบบอย่างรุนแรงที่สุดและสนับสนุนความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศในการต่อสู้กับภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลกอย่างเต็มที่ ประเทศไทยสนับสนุนการดำเนินการทุกวิถีทางที่จะต่อสู้กับการก่อการร้ายภายใต้กรอบสหประชาชาติตามข้อมติสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
เราได้ให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศผ่านกฎหมายที่มีอยู่ เช่น การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านอาชญากรรมในรูปของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข่าวกรอง รัฐบาลไทยกำลังแก้ไขกฎหมายและระเบียบของไทยเพื่อสามารถเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินต่อการก่อการร้าย ในระดับภูมิภาค ไทยได้เข้าร่วมอย่างแข็งขันในการประชุมระดับสูงสุด ซึ่งให้ความสำคัญมากกับการก่อการร้ายสากล อาทิ การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่นครเซี่ยงไฮ้ เราร่วมกับผู้นำ เอเปคแสดงความเป็นห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลกและเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกอันเกิดจากการก่อการร้าย และได้ย้ำถึงความเร่งด่วนที่จะทำให้ความมั่นใจในเศรษฐกิจโลกกลับคืนมา ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ที่บรูไน ดารุซาลาม ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์กำหนดมาตรการเพื่อกระชับความร่วมมือในการรับมือ กับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในภูมิภาค มาตรการที่เสนอ ได้แก่ การส่งเสริมการแลกเปลี่ยน ข่าวกรอง และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษากฎหมาย ผู้นำอาเซียนได้ย้ำถึงความจำเป็นในการกระชับความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาอาเซียน และในกรอบการประชุม ASEAN Regional Forum (ARF) และยืนยันว่าสหประชาชาติควรจะมีบทบาทหลักในเรื่องนี้ ประเทศไทยสนับสนุนให้มีการประชุมระหว่างประเทศในระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับการก่อการร้ายสากลภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติในโอกาสแรก การประชุมนี้จะทำให้เกิดการหารือถึงปัญหาและความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายอันนำไปสู่มาตรการที่เป็นรูปธรรมในระดับโลก การก่อการร้ายไม่ควรถูกนำไปเชื่อมโยงกับกลุ่มเชื้อชาติ ความเชื่อหรือสัญชาติใด มิฉะนั้น ความพยายามของเราจะมีผลอันตรายต่อประชาชนของเรา (การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม)
ท่านประธาน การก่อการร้ายสากลได้ทำให้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวมีสภาพที่ย่ำแย่ลงไปอีก และ ทำให้เกิดผลกระทบทางสังคมอย่างมาก สายการบิน การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดระหว่างประเทศ ประเทศที่กำลังพยายามฟื้นตัวจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเมื่อเร็ว ๆ นี้ กำลังดำเนินการเพื่อมิให้เศรษฐกิจของตนทรุดลงไปอีก สหประชาชาติ และรัฐสมาชิกซึ่งเผชิญกับปัญหาช่องว่างที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาต้องดำเนินการร่วมกันเพื่อยุติแนวโน้มนี้ ความพยายามที่จะลดช่องว่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาต้องไม่ถูกจำกัดอยู่เพียงภายในกรอบสหประชาชาติเท่านั้น การประชุมองค์การการค้าโลกที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง เป็นโอกาสอันควรที่แสดงให้เห็นว่าประเทศต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันและประสบความก้าวหน้าในการผลักดันระเบียบวาระการค้าโลกเพื่อประโยชน์ร่วมกัน (นโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล) ท่านประธาน นับตั้งแต่รัฐบาลปัจจุบันเข้ารับหน้าที่เมื่อต้นปีนี้ รัฐบาลไทยได้เริ่มโครงการด้าน เศรษฐกิจและสังคมหลายโครงการเพื่อส่งเสริมการสร้างศักยภาพของประชาชนในระดับรากหญ้า เช่น โครงการธนาคารประชาชนและสินเชื่อรายย่อยสำหรับคนยากจนในเมืองและชนบท โดยช่วยเหลือด้านการเงินในโครงการเล็ก ๆ แก่ชุมชนระดับท้องถิ่นเพื่อพัฒนาและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ทำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน นอกจากนั้น ชาวนาไทยรายย่อยจำนวนกว่า 2 ล้านคนจะได้รับประโยชน์จากโครงการพักชำระหนี้ของรัฐบาลและโครงการประกันสุขภาพทั่วประเทศ
ท่านประธาน ในเรื่องอัฟกานิสถาน สหประชาชาติ และประชาคมระหว่างประเทศร่วมกับชาวอัฟกันจะต้องร่วมกันช่วยกันฟื้นฟูระเบียบ และเสถียรภาพให้กลับคืนมา เราควรให้ความช่วยเหลือที่เป็นไปได้แก่อัฟกานิสถาน เริ่มต้นจาก ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในช่วงเวลาสำคัญเพื่อสร้างศักยภาพในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะบริจาคข้าวประมาณ 3,000 เมตริกตันเป็นสิ่งบรรเทาทุกข์ด้านอาหารแก่ชาวอัฟกัน สภากาชาดไทยได้บริจาคผ้าห่ม 10,000 ผืน (การพัฒนาระดับภูมิภาค) ท่านประธาน ประเทศไทยได้กระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน และร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเป้าหมายร่วมกันในการเปิดพรมแดน นอกจากนี้ เรายังได้ตัดสินใจจัดตั้งฐานการผลิตร่วมกันและเชื่อมโยงเครือข่ายระบบขนส่ง ความริเริ่มเหล่านี้เกิดจากที่ประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกเมื่อปีที่แล้วได้รับรองข้อมติซึ่งเสนอโดยประเทศไทยเรื่อง ทศวรรษแห่งความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ค.ศ.2000 - 2009 ซึ่งทำให้อนุภูมิภาคนี้ได้รับความสำคัญในระเบียบวาระของการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ ไทยมีบทบาทในการรักษาสันติภาพในภูมิภาค เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่นายพลของไทยสองท่านได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลัง UNTAET ซึ่งเป็นกองกำลังที่ปฏิบัติการสืบเนื่องจากกองกำลัง INTERFET บทบาทนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธกรณีของไทยที่จะร่วมรับผิดชอบในความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยเฉพาะใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ท่านประธาน เราต้องการเห็นสหประชาชาติมีบทบาทสำคัญในการวางพื้นฐานที่แข็งแกร่งเพื่อโลกในอนาคตที่สงบสุข มีขันติ และยั่งยืนเพื่อประชาชนของเราและประชาชนรุ่นใหม่ต่อไป ดังนั้น ประเทศไทยสนับสนุนปีแห่งการปฏิสัมพันธ์ข้ามอารยธรรมอย่างเต็มที่และได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการขจัดการเหยียดผิว การเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ ความเกลียดชังชาวต่างชาติ และการขาดขันติธรรมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ในขณะที่เราเฉลิมฉลองการครบรอบ 56 ปีของสหประชาชาติ และแสดงความยินดีกับเลขาธิการสหประชาชาติ และองค์การสหประชาชาติ เราต้องถามตัวเองว่าเราคาดหวังอะไรจาก สหประชาชาติ ? ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราคาดหวังให้สหประชาชาติปฏิบัติหน้าที่หนักยิ่งขึ้นอีก เพื่อสร้างวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ และปรับปรุงการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เราเชื่อว่าทั้งประเทศที่ร่ำรวยและยากจนต้องมีส่วนร่วมในความพยายามนี้อย่างเต็มความสามารถ ความพยายามของประเทศต่างๆ เหล่านี้จะต้องดำเนินไปพร้อมๆ กับความพยายามของสหประชาชาติ ท่านประธาน ขอให้เราให้ความสำคัญกับการรักษาสันติภาพและความสมานฉันท์ในโลก เราควรจะให้คำมั่นที่จะทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันมากขึ้นเพื่อสวัสดิภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และผาสุกของประชาชน นี่คือสิ่งที่เป็นอยู่ และควรจะเป็นสิ่งสำคัญของสหประชาชาติและมนุษยชาติ ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-