ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง
สินค้า ปริมาณส่งออก(พันตัน) มูลค่าส่งออก (ล้าน US$)
2542 2543 % 2542 2543 %
ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 217.7 240.9 10.7 403.5 394.5 -2.2
ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว
- EU 118.7 136.5 15.0
- เยอรมนี 56.4 65.1 15.4
- เนเธอร์แลนด์ 28.9 39.4 36.2
- เดนมาร์ก 1.3 3.3 152.1
- เกาหลีใต้ 9.6 16.8 74.5
- ฮ่องกง 5.1 8.4 65.1
- จีน 3.2 3.3 5.4
ตลาดส่งออกสำคัญที่หดตัว
- ญี่ปุ่น 245.9 210.5 -14.4
- อาเซียน 17.4 16.4 -5.7
- สิงคโปร์ 13.0 12.4 -4.7
- มาเลเซีย 4.4 4.0 -9.9
มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)
2542 2543 %
15,258.7 15,688.9 2.8
ภาวะการส่งออก
- มูลค่าส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในปี 2543 ลดลงจากปี 2542 เล็กน้อย เนื่องจากราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ ลดลงกว่าร้อย
ละ 10 ขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10
- ผลผลิตไก่ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศผู้ผลิตไก่รายใหญ่ 3 ราย คือ สหรัฐอเมริกา จีน และบราซิล ขยายการผลิตและมีการขาย
ตัดราคากันอย่างรุนแรง ส่งผลให้ราคาไก่ในตลาดโลกตกต่ำลง
- การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไปตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยประสบปัญหา เนื่องจากมีสินค้าราคาถูกจากจีนและบราซิลเข้าไป
แข่งขันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของบราซิลมีความได้เปรียบคู่แข่งจากการที่เงินของบราซิลมีค่าลดลงมากตั้งแต่เดือนมกราคม
2542 ขณะที่จีนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ จีนยังสามารถพัฒนาการผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งให้มีมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการได้มากขึ้นเป็นลำดับ
- การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่งหลายประเทศ เนื่องจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตในประเทศมี
ไม่เพียงพอและมีราคาสูง โดยเฉพาะข้าวโพดและกากถั่วเหลือง ทำให้ต้องนำเข้าอาหารสัตว์จากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
- การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไป EU ในปี 2543 อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาโรควัวบ้าระบาดใน
EU ทำให้ประเทศสมาชิกใน EU ต้องทำลายโคเนื้อลงเป็นจำนวนมาก ขณะที่ประชาชนหันมาบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่นแทน จึงเป็นโอกาสดีของการส่งออก
ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไป EU ในช่วงที่เกิดปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกัน ปัญหาการกีดกันการนำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของ EU โดยอ้างเรื่อง
Animal Welfare คลี่คลายลงระดับหนึ่งหลังจากที่เจ้าหน้าที่จาก EU เดินทางเข้ามาตรวจสอบโรงงานผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งในไทย
และผลการตรวจสอบออกมาเป็นที่น่าพอใจ
- ในปี 2544 ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยที่สำคัญ คือ ความต้องการไก่สดแช่เย็นแช่แข็งในตลาดหลัก โดยเฉพาะใน
ตลาด EU มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ทดแทนเนื้อวัวที่ประสบปัญหาโรควัวบ้าระบาดที่ยังไม่คลี่คลายลง และคาดว่ายังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนามาตรฐานการผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งตามที่ EU ต้องการได้ในระดับหนึ่งแล้วและขณะนี้ EU กำลังพิจารณายก
ระดับมาตรฐานผู้ผลิตไก่เนื้อไทยให้สูงขึ้นจาก B เป็น A ซึ่งหากทาง EU อนุมัติได้ทันในปี 2544 ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทย
ไปยัง EU ให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น
- อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญที่อาจส่งผลกระทบให้มูลค่าส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนักในปี 2544 ได้แก่
- ผลผลิตเนื้อไก่ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ 3 ราย ทั้งสหรัฐฯ บราซิล และจีน ต่างขยายการผลิตอย่างต่อเนื่อง
เพื่อรองรับความต้องการบริโภคไก่ของตลาดโลก
- การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไปตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่สุดของไทย มีแนวโน้มต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง
เหมือนเช่นในปี 2543 โดยเฉพาะคู่แข่งจากจีนที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า นอกจากนี้การที่ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีท่าทีว่าจะชะลอตัวลงในปี 2544 ทำให้ผู้นำ
เข้าของญี่ปุ่นอาจหันไปนำเข้าไก่ราคาถูกจากจีนมากขึ้น
- การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนในปี 2544 อาจทำให้ EU ผ่อนปรนให้มีการนำเข้าไก่จากโรงงานของจีนที่ผ่านการตรวจสอบของ EU
แล้ว หลังจากที่ EU ห้ามนำเข้าเนื้อไก่จากจีนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 เป็นต้นมา
- ตลาดออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เริ่มวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาโรค Newcastle ที่ระบาดในไก่ ทำให้มีแนวโน้มว่าตลาดดังกล่าวจะเริ่มเข้ม
งวดต่อการนำเข้าไก่มากยิ่งขึ้น
- ต้นทุนการผลิตไก่ของไทยมีแนวโน้มขยับสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยมีมติห้ามใช้ยา
“Sarafloxacin ”และยา “Encofloxacin ” ที่เป็นยาในกลุ่ม “Fluroquinoiones ” ซึ่งผู้เลี้ยงไก่ของไทยนิยมใช้เพื่อรักษาโรคในไก่ การห้ามใช้ยา
ดังกล่าวของ อย. เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้ประกาศยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มดังกล่าวไปก่อนหน้านั้นแล้ว
เนื่องจากยาดังกล่าวเป็นสาเหตุของการดื้อยาในมนุษย์ ทั้งนี้แม้ว่าไทยส่งไก่เข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ไม่มากนักขณะที่สหภาพยุโรปยังไม่มีการห้ามใช้ยา
เหล่านี้ แต่การห้ามใช้ยาดังกล่าวของ อย. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ของไทยมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
สินค้า ปริมาณส่งออก(พันตัน) มูลค่าส่งออก (ล้าน US$)
2542 2543 % 2542 2543 %
ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 217.7 240.9 10.7 403.5 394.5 -2.2
ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว
- EU 118.7 136.5 15.0
- เยอรมนี 56.4 65.1 15.4
- เนเธอร์แลนด์ 28.9 39.4 36.2
- เดนมาร์ก 1.3 3.3 152.1
- เกาหลีใต้ 9.6 16.8 74.5
- ฮ่องกง 5.1 8.4 65.1
- จีน 3.2 3.3 5.4
ตลาดส่งออกสำคัญที่หดตัว
- ญี่ปุ่น 245.9 210.5 -14.4
- อาเซียน 17.4 16.4 -5.7
- สิงคโปร์ 13.0 12.4 -4.7
- มาเลเซีย 4.4 4.0 -9.9
มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)
2542 2543 %
15,258.7 15,688.9 2.8
ภาวะการส่งออก
- มูลค่าส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในปี 2543 ลดลงจากปี 2542 เล็กน้อย เนื่องจากราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ ลดลงกว่าร้อย
ละ 10 ขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10
- ผลผลิตไก่ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศผู้ผลิตไก่รายใหญ่ 3 ราย คือ สหรัฐอเมริกา จีน และบราซิล ขยายการผลิตและมีการขาย
ตัดราคากันอย่างรุนแรง ส่งผลให้ราคาไก่ในตลาดโลกตกต่ำลง
- การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไปตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยประสบปัญหา เนื่องจากมีสินค้าราคาถูกจากจีนและบราซิลเข้าไป
แข่งขันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของบราซิลมีความได้เปรียบคู่แข่งจากการที่เงินของบราซิลมีค่าลดลงมากตั้งแต่เดือนมกราคม
2542 ขณะที่จีนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ จีนยังสามารถพัฒนาการผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งให้มีมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการได้มากขึ้นเป็นลำดับ
- การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่งหลายประเทศ เนื่องจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตในประเทศมี
ไม่เพียงพอและมีราคาสูง โดยเฉพาะข้าวโพดและกากถั่วเหลือง ทำให้ต้องนำเข้าอาหารสัตว์จากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
- การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไป EU ในปี 2543 อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับปัจจัยหนุนจากปัญหาโรควัวบ้าระบาดใน
EU ทำให้ประเทศสมาชิกใน EU ต้องทำลายโคเนื้อลงเป็นจำนวนมาก ขณะที่ประชาชนหันมาบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่นแทน จึงเป็นโอกาสดีของการส่งออก
ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยไป EU ในช่วงที่เกิดปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกัน ปัญหาการกีดกันการนำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของ EU โดยอ้างเรื่อง
Animal Welfare คลี่คลายลงระดับหนึ่งหลังจากที่เจ้าหน้าที่จาก EU เดินทางเข้ามาตรวจสอบโรงงานผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งในไทย
และผลการตรวจสอบออกมาเป็นที่น่าพอใจ
- ในปี 2544 ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยที่สำคัญ คือ ความต้องการไก่สดแช่เย็นแช่แข็งในตลาดหลัก โดยเฉพาะใน
ตลาด EU มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ทดแทนเนื้อวัวที่ประสบปัญหาโรควัวบ้าระบาดที่ยังไม่คลี่คลายลง และคาดว่ายังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนามาตรฐานการผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งตามที่ EU ต้องการได้ในระดับหนึ่งแล้วและขณะนี้ EU กำลังพิจารณายก
ระดับมาตรฐานผู้ผลิตไก่เนื้อไทยให้สูงขึ้นจาก B เป็น A ซึ่งหากทาง EU อนุมัติได้ทันในปี 2544 ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทย
ไปยัง EU ให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น
- อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญที่อาจส่งผลกระทบให้มูลค่าส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนักในปี 2544 ได้แก่
- ผลผลิตเนื้อไก่ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ 3 ราย ทั้งสหรัฐฯ บราซิล และจีน ต่างขยายการผลิตอย่างต่อเนื่อง
เพื่อรองรับความต้องการบริโภคไก่ของตลาดโลก
- การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไปตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่สุดของไทย มีแนวโน้มต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง
เหมือนเช่นในปี 2543 โดยเฉพาะคู่แข่งจากจีนที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า นอกจากนี้การที่ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีท่าทีว่าจะชะลอตัวลงในปี 2544 ทำให้ผู้นำ
เข้าของญี่ปุ่นอาจหันไปนำเข้าไก่ราคาถูกจากจีนมากขึ้น
- การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนในปี 2544 อาจทำให้ EU ผ่อนปรนให้มีการนำเข้าไก่จากโรงงานของจีนที่ผ่านการตรวจสอบของ EU
แล้ว หลังจากที่ EU ห้ามนำเข้าเนื้อไก่จากจีนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 เป็นต้นมา
- ตลาดออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เริ่มวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาโรค Newcastle ที่ระบาดในไก่ ทำให้มีแนวโน้มว่าตลาดดังกล่าวจะเริ่มเข้ม
งวดต่อการนำเข้าไก่มากยิ่งขึ้น
- ต้นทุนการผลิตไก่ของไทยมีแนวโน้มขยับสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยมีมติห้ามใช้ยา
“Sarafloxacin ”และยา “Encofloxacin ” ที่เป็นยาในกลุ่ม “Fluroquinoiones ” ซึ่งผู้เลี้ยงไก่ของไทยนิยมใช้เพื่อรักษาโรคในไก่ การห้ามใช้ยา
ดังกล่าวของ อย. เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้ประกาศยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มดังกล่าวไปก่อนหน้านั้นแล้ว
เนื่องจากยาดังกล่าวเป็นสาเหตุของการดื้อยาในมนุษย์ ทั้งนี้แม้ว่าไทยส่งไก่เข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ไม่มากนักขณะที่สหภาพยุโรปยังไม่มีการห้ามใช้ยา
เหล่านี้ แต่การห้ามใช้ยาดังกล่าวของ อย. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ของไทยมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-