ฟิลิปปินส์ โดย National Food Authority (NFA) มีโครงการนำเข้าน้ำตาลในปี ค.ศ. 2001 เนื่องจากผลผลิตในประเทศไม่พอเพียง ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าจำนวนประมาณ 54,000 ตัน ภายใต้ Munimum Access Volume (MAV) โดยจะมีการจัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 50 จากที่ตามปกติจะจัดเก็บในอัตราร้อยละ 65 การนำเข้าน้ำตาลภายใต้ MAV ที่มีอัตราต่ำนี้จะช่วยลดการขาดทุนของตัวแทนนำเข้า กรณีที่มีการซื้อน้ำตาลดิบเพื่อพยุงราคาจากผู้ผลิตในประเทศและจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในราคาถูก ทั้งนี้ Sugar Regulatory Administration (SRA) จะเป็นหน่วยงานที่ตัดสินใจว่าจะมีการนำเข้าน้ำตาลเพิ่มเติมจากปริมาณการนำเข้าภายใต้ MAV อีกหรือไม่
อนึ่ง ในปีนี้ผลผลิตน้ำตาลดิบภายในประเทศฟิลิปปินส์มีมากขึ้น กล่าวคือ มีจำนวน 1.72 ล้านตัน เทียบกับปีที่แล้ว 1.62 ล้านตัน เนื่องจากราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นทำให้เกษตรกรเร่งการเก็บเกี่ยว ขณะนี้ราคาน้ำตาลดิบอยู่ที่ 780 - 800 เปโซต่อถุงละ 50 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับต้นปีที่ระดับราคา 650 เปโซในปริมาณดังกล่าว และคาดว่าปริมาณการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศสำหรับปีนี้จะอยู่ระหว่าง 1.9 - 2 ล้านตัน ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์มีโควต้าการนำเข้าน้ำตาลจากสหรัฐฯ อีกปีละ 137,000 ตัน ในราคาที่ดีกว่าราคาตลาดโลก
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 หนังสือพิมพ์ Manila Bullentin ได้เสนอข่าวว่าสหสพันธ์ผู้ปลูกอ้อยแห่งชาติ (National Federation of Sugarcane Planters - NFSP) ได้ยื่นต่อขอรัฐสภาฟิลิปปินส์เพื่อขออนุญาตให้สมาชิกของ NFSP เป็นผู้นำเข้าน้ำตาล เนื่องจากมีการกล่าวหาว่า National Food Authority (NFA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของ รัฐบาลที่ดูแลการนำเข้าน้ำตาลเพื่อให้พอเพียงกับการบริโภคและกำกับดูแลราคาน้ำตาลได้บริหารงานผิดพลาด ทั้งนี้ รัฐสภาจะเป็นผู้ตัดสินว่าข้อเสนอให้ NFSP เป็นผู้นำเข้าน้ำตาลดังกล่าวจะมีประโยชน์กับอุตสาหกรรมน้ำตาลและผู้บริโภคภายในประเทศเพียงใด
ในปี 2543 ฟิลิปปินส์ได้นำเข้าน้ำตาลภายใน Minimum Access Value (MAV) เป็นปริมาณ 51,00 ตัน ซึ่งต่อมาจากการประมาณการอุปทานน้ำตาลภายในประเทศ Sugar Regultory Administration (SRA) ได้แนะนำให้รัฐบาลนำเข้าน้ำตาลเพิ่มอีก 150,000 ตัน โดยเป็นการนำเข้าโดย NFA 50,000 ตัน และเอกชน 100,000 ตัน ซึ่งในส่วน 100,000 ตันนี้ยังไม่มีการนำเข้าเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการเงิน อย่างไรก็ดี จากการประเมินสถานการณ์น้ำตาลคงคลังล่าสุด NFA ได้ตัดสินใจให้ลดการนำเข้าในส่วนที่เหลือลง 50,000 ตัน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำตาลล้นตลาด
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/2544 วันที่ 15 มกราคม 2544--
-อน-
อนึ่ง ในปีนี้ผลผลิตน้ำตาลดิบภายในประเทศฟิลิปปินส์มีมากขึ้น กล่าวคือ มีจำนวน 1.72 ล้านตัน เทียบกับปีที่แล้ว 1.62 ล้านตัน เนื่องจากราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นทำให้เกษตรกรเร่งการเก็บเกี่ยว ขณะนี้ราคาน้ำตาลดิบอยู่ที่ 780 - 800 เปโซต่อถุงละ 50 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับต้นปีที่ระดับราคา 650 เปโซในปริมาณดังกล่าว และคาดว่าปริมาณการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศสำหรับปีนี้จะอยู่ระหว่าง 1.9 - 2 ล้านตัน ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์มีโควต้าการนำเข้าน้ำตาลจากสหรัฐฯ อีกปีละ 137,000 ตัน ในราคาที่ดีกว่าราคาตลาดโลก
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 หนังสือพิมพ์ Manila Bullentin ได้เสนอข่าวว่าสหสพันธ์ผู้ปลูกอ้อยแห่งชาติ (National Federation of Sugarcane Planters - NFSP) ได้ยื่นต่อขอรัฐสภาฟิลิปปินส์เพื่อขออนุญาตให้สมาชิกของ NFSP เป็นผู้นำเข้าน้ำตาล เนื่องจากมีการกล่าวหาว่า National Food Authority (NFA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของ รัฐบาลที่ดูแลการนำเข้าน้ำตาลเพื่อให้พอเพียงกับการบริโภคและกำกับดูแลราคาน้ำตาลได้บริหารงานผิดพลาด ทั้งนี้ รัฐสภาจะเป็นผู้ตัดสินว่าข้อเสนอให้ NFSP เป็นผู้นำเข้าน้ำตาลดังกล่าวจะมีประโยชน์กับอุตสาหกรรมน้ำตาลและผู้บริโภคภายในประเทศเพียงใด
ในปี 2543 ฟิลิปปินส์ได้นำเข้าน้ำตาลภายใน Minimum Access Value (MAV) เป็นปริมาณ 51,00 ตัน ซึ่งต่อมาจากการประมาณการอุปทานน้ำตาลภายในประเทศ Sugar Regultory Administration (SRA) ได้แนะนำให้รัฐบาลนำเข้าน้ำตาลเพิ่มอีก 150,000 ตัน โดยเป็นการนำเข้าโดย NFA 50,000 ตัน และเอกชน 100,000 ตัน ซึ่งในส่วน 100,000 ตันนี้ยังไม่มีการนำเข้าเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการเงิน อย่างไรก็ดี จากการประเมินสถานการณ์น้ำตาลคงคลังล่าสุด NFA ได้ตัดสินใจให้ลดการนำเข้าในส่วนที่เหลือลง 50,000 ตัน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำตาลล้นตลาด
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/2544 วันที่ 15 มกราคม 2544--
-อน-