มาตรฐานด้านจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปมีพื้นฐานอยู่บนหลักการที่สำคัญดังต่อไปนี้ คือ
1. หลักฐานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์
2. เงื่อนไขด้านจุลชีววิทยาของวัตถุดิบในการผลิตอาหาร
3. ผลกระทบของขบวนการผลิตที่มีต่อสภาพจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์อาหาร
4. ขั้นตอนการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพหรือการเติบโตของเชื้อจุลชีพในระหว่างการขนย้าย การเก็บรักษา และการผลิตอาหาร
5. การเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค
6. ต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการใช้มาตรฐานจุลชีววิทยา
เชื้อจุลชีพที่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นสาเหตุของการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ยีสต์ เชื้อรา สาหร่าย (Algae) ตัวพยาธิและตัวหนอน (Helminths) อันตรายจากจุลชีพต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น รวมถึงสารพิษที่เกิดขึ้นจากจุลชีพเหล่านั้นด้วยวัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานจุลชีววิทยา
มาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปได้มีการกำหนดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้.-
1. มาตรฐานจุลชีววิทยาได้มีการกำหนดขึ้นมาเพื่อให้มีความชัดเจนเหมือนดังเช่นระบบ HACCP
2. การกำหนดมาตรฐานจุลชีวิทยานี้จะช่วยให้มีการป้องกันสุขอนามัยต่อผู้บริโภคโดยตรง ตัวอย่างเช่น การกำหนดให้เนื้อสับที่ยังไม่ผ่านการปรุง (Raw Minced Meat) เกิดการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ได้ไม่เกิน 20% เป็นต้น
3. มาตรฐานจุลชีววิทยาได้ถูกกำหนดขึ้นใช้ในกรณีที่มีหลักฐานแสดงว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4. มาตรฐานจุลชีววิทยาช่วยในการตรวจหาภาวะการเกิดพิษในผลิตภัณฑ์อาหาร
ถ้าหากว่าภาวะการเกิดพิษในอาหารไม่สามารถตรวจพบได้โดยตรงเพราะว่าการปนเปื้อนมีอยู่เพียงเล็กน้อย เช่น การปนเปื้อนของเชื้อ Clostridium Botulinum ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บรรจุกระป๋อง (Canned Meat) และการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ในผลิตภัณฑ์นมพลาสเจอร์ไรส์ ในกรณีเช่นนี้จะใช้วิธีการทดสอบหาเชื้อจุลชีพประเภทอื่นที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านั้นเกิดการปนเปื้อน เช่น การทดสอบหาเชื้อ Enterobacteriaceae หรือเชื้อแบคทีเรียประเภท Coliforms ในผลิตภัณฑ์นมสด
5. มาตรฐานจุลชีววิทยาสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร ในการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานจุลชีววิทยา (Microbiological Criteria) เพื่อให้ได้มาตรฐานที่สามารถยอมรับได้ ("Acceptable Levels") สำหรับอุตสาหกรรมนั้นข้อจำกัดในการทดสอบจุลชีววิทยา
การควบคุมปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารและคุณภาพของวัตถุดิบในการผลิตอาหาร โดยการใช้มาตรฐานจุลชีววิทยาจำเป็นต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบ แล้วนำมาตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทดลอง และมีการแปรผลโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินได้ว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารนั้นมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดสอบจุลชีววิทยามีดังต่อไปนี้.-
1. ปัญหาจากการสุ่มตัวอย่าง เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารส่วนมากแล้วเป็นไปอย่างไม่สม่ำเสมอ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่ว่าการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น นอกจากนี้เชื้อจุลชีพบางประเภท เช่น เชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Salmonella, จะมีการปนเปื้อนอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก และการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อทำการวิเคราะห์เชื้อจุลชีพเหล่านี้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
2. ความแปรปรวนของผลการทดสอบ วิธีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการในแต่ละครั้งจะให้ผลการทดสอบที่แตกต่างกันได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ตัวอย่างการตรวจสอบวิธีเดียวกันในการตรวจวิเคราะห์ซ้ำอีกครั้ง เช่น การทดสอบโดยการตรวจนับจำนวนแบคทีเรียในอาหารเลี้ยงเชื้อ (Mesophilic Aerobil Plate Count) ดังนั้น วิธีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการจะต้องเป็นวิธีที่มีความแม่นยำ และเที่ยงตรง นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการทดลองจุลชีววิทยาที่ดำเนินการทดสอบจะต้องเป็นห้องปฏิบัติการทดลองที่เชื่อถือได้
3. ระยะเวลาในการทดสอบในห้องปฏิบัติการทดลอง การทดสอบเชื้อแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการทดลองจุลชีววิทยา จำเป็นต้องใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเชื้อ และทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมีในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ถูกต้องและเป็นจริง
4. แหล่งผลิตอาหารและห้องปฏิบัติการทดลองจุลชีววิทยาไม่ได้อยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทัศนคติในกลุ่มคณะผู้บริหารด้านการผลิตขึ้นมาได้ว่าความรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารนั้นขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติด้านการผลิตเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับนักวิทยาศาสตร์ผู้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในห้องทดลองจุลชีววิทยาแต่อย่างใด
5. การขาดความเที่ยงตรงแม่นยำ การสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการตรวจสอบหาเชื้อจุลชีพทางห้องปฏิบัติการตามแบบอย่างที่เคยปฏิบัติมายังคงเป็นวิธีที่ขาดความแม่นยำในการวินิจฉัยประเภทของเชื้อจุลชีพ
ในปัจจุบัน มาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นขั้นตอนหนี่งของขบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบซึ่งมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารยังมีอยู่ไม่มากนักเชื้อแบคทีเรียที่ยังคงก่อให้เกิดปัญหาในการผลิตอาหาร ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียดังต่อไปนี้คือ Salmonella, Campylobactor, E. coli 0157 และ L.monocytogenes ปัญหาด้านมาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
มาตรฐานการตรวจสอบด้านจุลชีววิทยาสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารได้มีบทบาทในการสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารและความปลอดภัยจากเชื้อจุลชีพในประเทศต่างๆของสหภาพยุโรปมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาด้านมาตรฐานจุลชีพวิทยาของสหภาพยุดรปก็ยังคงมีอยู่ดังต่อไปนี้.-
1. มาตรฐานที่กำหนดขึ้นในลักษณะของ Directives ต่าง ๆ เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นประมาณ 5-10 ปีมาแล้ว และยังไม่ได้มีการทบทวนแต่อย่างใด
2. มาตรฐานด้านจุลชีววิทยามีความซับซ้อนยากต่อการศึกษาและมีความหลากหลายมาก
3. บทบัญญัติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เกษตรประเภทไข่ไก่เท่านั้น ที่มีข้อกำหนดถึงวิธีการทดสอบด้านห้องปฏิบัติการในขณะที่บทบัญญัติของผลิตภัณฑ์เกษตรประเภทอื่น ๆ ไม่มีการกำหนดขั้นตอนของการสุ่มตัวอย่างในขบวนการทดสอบ
4. มาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปยังไม่มีการกำหนดความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างเชื้อโรคในผลิตภัณฑ์อาหารทีมีปรากฎอยู่ตามแหล่งผลิตต่าง ๆ
5. มาตรฐานด้านจุลชีววิทยาเป็นการเน้นเฉพาะการผลิตโดยไม่มีการครอบคลุมรายละเอียดในระดับต่างๆ เช่นการค้าปลีกให้แก่ผู้บริโภครายสุดท้าย
6. ในระยะเวลา 5-10 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่สหภาพยุโรปกำหนดมาตรฐานจุลชีววิทยาขึ้นได้มีการตรวจพบเชื้อโรคและไวรัสต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารต่อกลุ่มผู้บริโภคในสหภาพยุโรป เช่น เชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Campylobacter spp. เชื้อไวรัส SRSV (Small Round Structured Viruses)
7. มาตรฐานจุลชีววิทยามีความหลากหลายและประกอบด้วยความซับซ้อนมาก ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ Staphylococcus Aureus ในผลิตภัณฑ์อาหารจะมีขอบเขตของการปนเปื้อนตั้งแต่การกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารนั้นปราศจากการตรวจพบเชื้อ Stapylococcus Aureus ในผลิตอาหารหนัก 1 กรัม จนถึงการยอมรับการตรวจพบเชื้อ Staphylococcus Aureus ในผลิตภัณฑ์อาหารหนัก 1 กรัม ได้มากถึง 15,000 ตัว หรือมาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Salmonella spp. ซึ่งมีขอบเขตของการปนเปื้อนที่สามารถยอมรับได้ตั้งแต่การตรวจไม่พบเชื้อจุลชีพ Salmonella ในผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 1 กรัม จนกระทั่งถึงระดับของการตรวจพบเชื้อจุลชีพ Salmonella spp. ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 25 กรัม
8. มาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพบางประเภทมีการกำหนดไว้ในขอบเขตที่กว้างเกินไป หรือไม่ก็มีขอบ เขตที่จำกัดมากเกินไป เช่น มาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Enterobacteriaceae, Escherichia Coli, Faecal Coliforms, Thermotolerant Coliforms และเชื้อประเภท Coliform
9. ข้อกำหนดในลักษณะของ Directives สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์นม มีการกำหนดมาตรฐานจุลชีววิทยาไว้อย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับการที่ผลิตภัณฑ์นมจะต้องปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพบางประเภท และไม่ได้เป็นมาตรฐานจุลชีววิทยาที่กำหนดไว้โดยเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์นม
10. มาตรฐานจุลชีววิทยายังไม่มีการครอบคลุมถึงเชื้อโรคที่อาจจะมีการค้นพบขึ้นมาใหม่ ("New Pathogens") ในอนาคต
11. มาตรฐานจุลชีววิทยาจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดขึ้น โดยให้มีความเหมาะสมกับวิธีการสุ่มตัวอย่าง เช่น การสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella จะต้องใช้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารในปริมาณที่มีขนาดเท่ากับ 25 กรัม
12. มาตรฐานจุลชีววิทยา จะต้องเป็นวิธีการทดสอบที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ ถูกต้อง และมีความสอดคล้องกับมาตรการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภค
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 9/2544 วันที่ 15 พฤษภาคม 2544--
-อน-
1. หลักฐานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์
2. เงื่อนไขด้านจุลชีววิทยาของวัตถุดิบในการผลิตอาหาร
3. ผลกระทบของขบวนการผลิตที่มีต่อสภาพจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์อาหาร
4. ขั้นตอนการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพหรือการเติบโตของเชื้อจุลชีพในระหว่างการขนย้าย การเก็บรักษา และการผลิตอาหาร
5. การเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค
6. ต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการใช้มาตรฐานจุลชีววิทยา
เชื้อจุลชีพที่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นสาเหตุของการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ยีสต์ เชื้อรา สาหร่าย (Algae) ตัวพยาธิและตัวหนอน (Helminths) อันตรายจากจุลชีพต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น รวมถึงสารพิษที่เกิดขึ้นจากจุลชีพเหล่านั้นด้วยวัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานจุลชีววิทยา
มาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปได้มีการกำหนดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้.-
1. มาตรฐานจุลชีววิทยาได้มีการกำหนดขึ้นมาเพื่อให้มีความชัดเจนเหมือนดังเช่นระบบ HACCP
2. การกำหนดมาตรฐานจุลชีวิทยานี้จะช่วยให้มีการป้องกันสุขอนามัยต่อผู้บริโภคโดยตรง ตัวอย่างเช่น การกำหนดให้เนื้อสับที่ยังไม่ผ่านการปรุง (Raw Minced Meat) เกิดการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ได้ไม่เกิน 20% เป็นต้น
3. มาตรฐานจุลชีววิทยาได้ถูกกำหนดขึ้นใช้ในกรณีที่มีหลักฐานแสดงว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4. มาตรฐานจุลชีววิทยาช่วยในการตรวจหาภาวะการเกิดพิษในผลิตภัณฑ์อาหาร
ถ้าหากว่าภาวะการเกิดพิษในอาหารไม่สามารถตรวจพบได้โดยตรงเพราะว่าการปนเปื้อนมีอยู่เพียงเล็กน้อย เช่น การปนเปื้อนของเชื้อ Clostridium Botulinum ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บรรจุกระป๋อง (Canned Meat) และการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ในผลิตภัณฑ์นมพลาสเจอร์ไรส์ ในกรณีเช่นนี้จะใช้วิธีการทดสอบหาเชื้อจุลชีพประเภทอื่นที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านั้นเกิดการปนเปื้อน เช่น การทดสอบหาเชื้อ Enterobacteriaceae หรือเชื้อแบคทีเรียประเภท Coliforms ในผลิตภัณฑ์นมสด
5. มาตรฐานจุลชีววิทยาสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร ในการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานจุลชีววิทยา (Microbiological Criteria) เพื่อให้ได้มาตรฐานที่สามารถยอมรับได้ ("Acceptable Levels") สำหรับอุตสาหกรรมนั้นข้อจำกัดในการทดสอบจุลชีววิทยา
การควบคุมปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารและคุณภาพของวัตถุดิบในการผลิตอาหาร โดยการใช้มาตรฐานจุลชีววิทยาจำเป็นต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบ แล้วนำมาตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทดลอง และมีการแปรผลโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินได้ว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารนั้นมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดสอบจุลชีววิทยามีดังต่อไปนี้.-
1. ปัญหาจากการสุ่มตัวอย่าง เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารส่วนมากแล้วเป็นไปอย่างไม่สม่ำเสมอ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่ว่าการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น นอกจากนี้เชื้อจุลชีพบางประเภท เช่น เชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Salmonella, จะมีการปนเปื้อนอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก และการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อทำการวิเคราะห์เชื้อจุลชีพเหล่านี้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
2. ความแปรปรวนของผลการทดสอบ วิธีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการในแต่ละครั้งจะให้ผลการทดสอบที่แตกต่างกันได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ตัวอย่างการตรวจสอบวิธีเดียวกันในการตรวจวิเคราะห์ซ้ำอีกครั้ง เช่น การทดสอบโดยการตรวจนับจำนวนแบคทีเรียในอาหารเลี้ยงเชื้อ (Mesophilic Aerobil Plate Count) ดังนั้น วิธีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการจะต้องเป็นวิธีที่มีความแม่นยำ และเที่ยงตรง นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการทดลองจุลชีววิทยาที่ดำเนินการทดสอบจะต้องเป็นห้องปฏิบัติการทดลองที่เชื่อถือได้
3. ระยะเวลาในการทดสอบในห้องปฏิบัติการทดลอง การทดสอบเชื้อแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการทดลองจุลชีววิทยา จำเป็นต้องใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเชื้อ และทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมีในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ถูกต้องและเป็นจริง
4. แหล่งผลิตอาหารและห้องปฏิบัติการทดลองจุลชีววิทยาไม่ได้อยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทัศนคติในกลุ่มคณะผู้บริหารด้านการผลิตขึ้นมาได้ว่าความรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารนั้นขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติด้านการผลิตเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับนักวิทยาศาสตร์ผู้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในห้องทดลองจุลชีววิทยาแต่อย่างใด
5. การขาดความเที่ยงตรงแม่นยำ การสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการตรวจสอบหาเชื้อจุลชีพทางห้องปฏิบัติการตามแบบอย่างที่เคยปฏิบัติมายังคงเป็นวิธีที่ขาดความแม่นยำในการวินิจฉัยประเภทของเชื้อจุลชีพ
ในปัจจุบัน มาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นขั้นตอนหนี่งของขบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบซึ่งมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารยังมีอยู่ไม่มากนักเชื้อแบคทีเรียที่ยังคงก่อให้เกิดปัญหาในการผลิตอาหาร ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียดังต่อไปนี้คือ Salmonella, Campylobactor, E. coli 0157 และ L.monocytogenes ปัญหาด้านมาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
มาตรฐานการตรวจสอบด้านจุลชีววิทยาสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารได้มีบทบาทในการสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารและความปลอดภัยจากเชื้อจุลชีพในประเทศต่างๆของสหภาพยุโรปมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาด้านมาตรฐานจุลชีพวิทยาของสหภาพยุดรปก็ยังคงมีอยู่ดังต่อไปนี้.-
1. มาตรฐานที่กำหนดขึ้นในลักษณะของ Directives ต่าง ๆ เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นประมาณ 5-10 ปีมาแล้ว และยังไม่ได้มีการทบทวนแต่อย่างใด
2. มาตรฐานด้านจุลชีววิทยามีความซับซ้อนยากต่อการศึกษาและมีความหลากหลายมาก
3. บทบัญญัติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เกษตรประเภทไข่ไก่เท่านั้น ที่มีข้อกำหนดถึงวิธีการทดสอบด้านห้องปฏิบัติการในขณะที่บทบัญญัติของผลิตภัณฑ์เกษตรประเภทอื่น ๆ ไม่มีการกำหนดขั้นตอนของการสุ่มตัวอย่างในขบวนการทดสอบ
4. มาตรฐานจุลชีววิทยาของสหภาพยุโรปยังไม่มีการกำหนดความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างเชื้อโรคในผลิตภัณฑ์อาหารทีมีปรากฎอยู่ตามแหล่งผลิตต่าง ๆ
5. มาตรฐานด้านจุลชีววิทยาเป็นการเน้นเฉพาะการผลิตโดยไม่มีการครอบคลุมรายละเอียดในระดับต่างๆ เช่นการค้าปลีกให้แก่ผู้บริโภครายสุดท้าย
6. ในระยะเวลา 5-10 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่สหภาพยุโรปกำหนดมาตรฐานจุลชีววิทยาขึ้นได้มีการตรวจพบเชื้อโรคและไวรัสต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารต่อกลุ่มผู้บริโภคในสหภาพยุโรป เช่น เชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Campylobacter spp. เชื้อไวรัส SRSV (Small Round Structured Viruses)
7. มาตรฐานจุลชีววิทยามีความหลากหลายและประกอบด้วยความซับซ้อนมาก ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ Staphylococcus Aureus ในผลิตภัณฑ์อาหารจะมีขอบเขตของการปนเปื้อนตั้งแต่การกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารนั้นปราศจากการตรวจพบเชื้อ Stapylococcus Aureus ในผลิตอาหารหนัก 1 กรัม จนถึงการยอมรับการตรวจพบเชื้อ Staphylococcus Aureus ในผลิตภัณฑ์อาหารหนัก 1 กรัม ได้มากถึง 15,000 ตัว หรือมาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Salmonella spp. ซึ่งมีขอบเขตของการปนเปื้อนที่สามารถยอมรับได้ตั้งแต่การตรวจไม่พบเชื้อจุลชีพ Salmonella ในผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 1 กรัม จนกระทั่งถึงระดับของการตรวจพบเชื้อจุลชีพ Salmonella spp. ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 25 กรัม
8. มาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพบางประเภทมีการกำหนดไว้ในขอบเขตที่กว้างเกินไป หรือไม่ก็มีขอบ เขตที่จำกัดมากเกินไป เช่น มาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพสายพันธุ์ Enterobacteriaceae, Escherichia Coli, Faecal Coliforms, Thermotolerant Coliforms และเชื้อประเภท Coliform
9. ข้อกำหนดในลักษณะของ Directives สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์นม มีการกำหนดมาตรฐานจุลชีววิทยาไว้อย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับการที่ผลิตภัณฑ์นมจะต้องปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพบางประเภท และไม่ได้เป็นมาตรฐานจุลชีววิทยาที่กำหนดไว้โดยเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์นม
10. มาตรฐานจุลชีววิทยายังไม่มีการครอบคลุมถึงเชื้อโรคที่อาจจะมีการค้นพบขึ้นมาใหม่ ("New Pathogens") ในอนาคต
11. มาตรฐานจุลชีววิทยาจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดขึ้น โดยให้มีความเหมาะสมกับวิธีการสุ่มตัวอย่าง เช่น การสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Salmonella จะต้องใช้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารในปริมาณที่มีขนาดเท่ากับ 25 กรัม
12. มาตรฐานจุลชีววิทยา จะต้องเป็นวิธีการทดสอบที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ ถูกต้อง และมีความสอดคล้องกับมาตรการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภค
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 9/2544 วันที่ 15 พฤษภาคม 2544--
-อน-