โครงการ : การดำเนินงานโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสินค้าเกษตร ปี 2543
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2544 และรายงานผลการดำเนินงานโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสินค้าเกษตร ปี 2543 ทั้งหมด 7 สินค้า คือ ข้าวหอมมะลิ กุ้งกุลาดำ ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน ส้มเขียวหวานและกล้วยไม้สรุปได้ดังนี้
1.ข้าวหอมมะลิ ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์และร้อยเอ็ดปรากฏว่าเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการปลูกข้าวหอมมะลิ เพิ่มขึ้น ทำให้ได้รับผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น โดยเกษตรกรตำบลสระบัว กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ 80-100 กิโลกรัม และเกษตรกรตำบลศรีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ 159 กิโลกรัม
2. กุ้งกุลาดำ ดำเนินการในพื้นที่ 7 จังหวัด ๆ ละ 1 บ่อ ได้แก่ จันทบุรี สงขลา ภูเก็ต เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา สุราษฎร์ธานี และสตูล โดยจัดทำบ่อสาธิตระบบเลี้ยงแบบปิดและแบบปิดหมุนเวียนด้วยชีวภาพ จังหวัดละ 2 รุ่น ๆ ละ 1 บ่อ แต่อยู่ระหว่างการติดตามผลการดำเนินงาน
3. ถั่วเหลือง ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเลย โดยจัดทำแปลงสาธิต ทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 247 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดิมไร่ละ 27 กิโลกรัม
4.ปาล์มน้ำมัน การดำเนินการโดยการปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มพันธุ์ไม่มีคุณภาพ 100 ไร่ ยางพารา 100 ไร่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดิน -ใบ และสาธิตการให้น้ำในสวนปาล์ม
5. ทุเรียน จัดทำแปลงสาธิต GAP ในกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม จำนวน 50 ไร่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ทำให้เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง การใช้สารป้องกันและปราบศัตรูพืชที่ถูกวิธี และคุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 5
6. ส้มเขียวหวาน พื้นที่เป้าหมาย 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย แพร่ น่าน และสุโขทัย ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น ความสมบูรณ์ของต้นส้มดีขึ้น ผลผลิตส้มแปลงสาธิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยจังหวัดแพร่เฉลี่ยไร่ละ 1,869 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดิมไร่ละ 700 กิโลกรัม จังหวัดสุโขทัยเฉลี่ยไร่ละ 1,750 กิโลกรัม เป็นส้มดีร้อยละ 79 ส้มร่วงร้อยละ 21
7. กล้วยไม้ พื้นที่ดำเนินการ 5 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ ทำให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีการใช้สารเคมีถูกต้องดีขึ้นร้อยละ 80 คุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 50
กนข.: อนุมัติรับจำนำข้าวหอมมะลิ ฤดูการผลิต ปี 2543/44 ที่เหลือในยุ้งฉางเกษตรกร
สืบเนื่องจากปัญหาราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศลดลง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่เกษตรกรขายได้ ในปี 2543/44 ราคาเดือนพฤศจิกายน 2543 เฉลี่ยตันละ 7,074 บาท ลดลงจากตันละ 7,600 บาท ของช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 6.92 และลดลง ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนมิถุนายน 2544 เหลือตันละ 5,573 บาท ซึ่งปกติราคาข้าวหลังจากเดือนมีนาคมผ่านไปราคาข้าวจะมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงส่งผลให้ เกษตรกรบางส่วนที่ยังคงมีข้าวเปลือกหอมมะลิเหลืออยู่ในยุ้งฉางเดือดร้อนและได้มีการร้องเรียน กระทรวงพาณิชย์จึงได้ทำการสำรวจปริมาณสต็อกข้าว เพื่อเตรียมหามาตรการช่วยเหลือ พบว่า ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2544 มีข้าวเปลือกหอมมะลิคงเหลือทั้งหมด 1,179,045 ตัน ประกอบด้วย
- ข้าวเปลือกของเกษตรกรรายบุคคล จำนวน 65,870 ครัวเรือน ปริมาณ 275,371 ตัน
- สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์,กลุ่มเกษตรกร) ปริมาณ 414,274 ตัน
- ผู้ประกอบการค้าข้าว (โรงสี,ยุ้งฉาง,ท่าข้าว) ปริมาณ 489,400 ตัน
รวม 1,179,045 ตัน
คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2544 เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ไม่ให้ตกต่ำ จึงอนุมัติโครงการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ ฤดูการผลิตปี 2543/44 โดยให้ ธกส. เป็นผู้รับจำนำข้าวจากเกษตรกรรายบุคคลที่เก็บข้าวอยู่ใน ยุ้งฉางของตนเอง เป้าปริมาณรับจำนำ 300,000 ตัน ในราคารับจำนำตันละ 6,450 บาท ช่วงระยะเวลารับจำนำเริ่ม 16 กรกฎาคม-15 กันยายน 2544 และระยะเวลาไถ่ถอน 2 เดือน นับจากเดือนที่รับจำนำ โดยให้โครงการสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2544
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 1-8 ก.ค. 2544--
-สส-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2544 และรายงานผลการดำเนินงานโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสินค้าเกษตร ปี 2543 ทั้งหมด 7 สินค้า คือ ข้าวหอมมะลิ กุ้งกุลาดำ ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน ส้มเขียวหวานและกล้วยไม้สรุปได้ดังนี้
1.ข้าวหอมมะลิ ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์และร้อยเอ็ดปรากฏว่าเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการปลูกข้าวหอมมะลิ เพิ่มขึ้น ทำให้ได้รับผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น โดยเกษตรกรตำบลสระบัว กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ 80-100 กิโลกรัม และเกษตรกรตำบลศรีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ 159 กิโลกรัม
2. กุ้งกุลาดำ ดำเนินการในพื้นที่ 7 จังหวัด ๆ ละ 1 บ่อ ได้แก่ จันทบุรี สงขลา ภูเก็ต เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา สุราษฎร์ธานี และสตูล โดยจัดทำบ่อสาธิตระบบเลี้ยงแบบปิดและแบบปิดหมุนเวียนด้วยชีวภาพ จังหวัดละ 2 รุ่น ๆ ละ 1 บ่อ แต่อยู่ระหว่างการติดตามผลการดำเนินงาน
3. ถั่วเหลือง ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเลย โดยจัดทำแปลงสาธิต ทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 247 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดิมไร่ละ 27 กิโลกรัม
4.ปาล์มน้ำมัน การดำเนินการโดยการปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มพันธุ์ไม่มีคุณภาพ 100 ไร่ ยางพารา 100 ไร่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดิน -ใบ และสาธิตการให้น้ำในสวนปาล์ม
5. ทุเรียน จัดทำแปลงสาธิต GAP ในกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม จำนวน 50 ไร่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ทำให้เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง การใช้สารป้องกันและปราบศัตรูพืชที่ถูกวิธี และคุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 5
6. ส้มเขียวหวาน พื้นที่เป้าหมาย 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย แพร่ น่าน และสุโขทัย ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น ความสมบูรณ์ของต้นส้มดีขึ้น ผลผลิตส้มแปลงสาธิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยจังหวัดแพร่เฉลี่ยไร่ละ 1,869 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดิมไร่ละ 700 กิโลกรัม จังหวัดสุโขทัยเฉลี่ยไร่ละ 1,750 กิโลกรัม เป็นส้มดีร้อยละ 79 ส้มร่วงร้อยละ 21
7. กล้วยไม้ พื้นที่ดำเนินการ 5 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ ทำให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีการใช้สารเคมีถูกต้องดีขึ้นร้อยละ 80 คุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 50
กนข.: อนุมัติรับจำนำข้าวหอมมะลิ ฤดูการผลิต ปี 2543/44 ที่เหลือในยุ้งฉางเกษตรกร
สืบเนื่องจากปัญหาราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศลดลง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่เกษตรกรขายได้ ในปี 2543/44 ราคาเดือนพฤศจิกายน 2543 เฉลี่ยตันละ 7,074 บาท ลดลงจากตันละ 7,600 บาท ของช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 6.92 และลดลง ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนมิถุนายน 2544 เหลือตันละ 5,573 บาท ซึ่งปกติราคาข้าวหลังจากเดือนมีนาคมผ่านไปราคาข้าวจะมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงส่งผลให้ เกษตรกรบางส่วนที่ยังคงมีข้าวเปลือกหอมมะลิเหลืออยู่ในยุ้งฉางเดือดร้อนและได้มีการร้องเรียน กระทรวงพาณิชย์จึงได้ทำการสำรวจปริมาณสต็อกข้าว เพื่อเตรียมหามาตรการช่วยเหลือ พบว่า ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2544 มีข้าวเปลือกหอมมะลิคงเหลือทั้งหมด 1,179,045 ตัน ประกอบด้วย
- ข้าวเปลือกของเกษตรกรรายบุคคล จำนวน 65,870 ครัวเรือน ปริมาณ 275,371 ตัน
- สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์,กลุ่มเกษตรกร) ปริมาณ 414,274 ตัน
- ผู้ประกอบการค้าข้าว (โรงสี,ยุ้งฉาง,ท่าข้าว) ปริมาณ 489,400 ตัน
รวม 1,179,045 ตัน
คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2544 เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ไม่ให้ตกต่ำ จึงอนุมัติโครงการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ ฤดูการผลิตปี 2543/44 โดยให้ ธกส. เป็นผู้รับจำนำข้าวจากเกษตรกรรายบุคคลที่เก็บข้าวอยู่ใน ยุ้งฉางของตนเอง เป้าปริมาณรับจำนำ 300,000 ตัน ในราคารับจำนำตันละ 6,450 บาท ช่วงระยะเวลารับจำนำเริ่ม 16 กรกฎาคม-15 กันยายน 2544 และระยะเวลาไถ่ถอน 2 เดือน นับจากเดือนที่รับจำนำ โดยให้โครงการสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2544
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 1-8 ก.ค. 2544--
-สส-