กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 เวลา 14.00 น.ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามมินทร์ ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลได้แถลงข่าว ผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 ดังต่อไปนี้ คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ประชุมพิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลจำนวน 47 รายจาก 25ประเทศ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2544 โดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ มีมติตัดสินดังนี้
1. ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 สาขาการแพทย์ ได้แก่ เซอร์ เดวิด เวเธอร์รอล (Sir David Weatherall) จากสหราชอาณาจักร
2. ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์แบรี่ มาร์แชล (Professor Barry Marshall) จากประเทศออสเตรเลีย รับร่วมกับศาสตราจารย์ ดร. แลม ซัยกิต (Professor Lam Sai Kit) จากประเทศมาเลเซีย เซอร์ เดวิด เวเธอร์รอล (Sir David Weatherall) เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร และเป็นบุคคลแรกที่ทำการศึกษาวิจัยจนได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคธาลัสซีเมียในระดับโมเลกุลทั้งทางด้านพันธุศาสตร์ พยาธิสรีรวิทยา และทางด้านคลีนิก เป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วย ธาลัสเซียเมีย ซึ่งมีจำนวนนับล้านคนทั่วโลก อีกทั้งเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคโดยการวินิจฉัยทารกก่อนคลอดด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์แบรี่ มาร์แชล (Professor Barry Marshall) เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทอร์น ออสเตรเลีย ศาสตราจารย์มาร์แชล และคณะค้นพบว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอรัย (Helicobactor pylori) เป็นสาเหตุหนึ่งของกระเพาะอาหารอักเสบและแผลในกระเพาะอาหาร เป็นผลทำให้เกิดความเข้าใจและมีการเปลี่ยนหลักการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบและแผลในกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้ จากการให้ยาลดกรดมาเป็นยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่งผลประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยหลายร้อยล้านคนทั่วโลก ศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์แลม ซัยกิต (Professor Lam Sai Kit) เป็นนักไวรัสวิทยา อดีตหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา เป็นผู้ค้นพบ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ ไวรัส นิป้าห์ (Nipah virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดในหมูและ ติดต่อมายังคนในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ จากการศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อไวรัสนี้ ทำให้ สามารควบคุมโรคไว้ได้ โดยการทำลายหมูนับแสนตัว และเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการป้องการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสชนิดนี้ไปสู่คน มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นในวโรกาสเฉลิมฉลองวันคล้าย วันพระราชสมภพในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือมีผลงานวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์ และด้านการสาธารณสุข อันเป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ สามารถเสนอชื่อและผลงานของบุคคลหรือองค์กรให้คณะกรรมการรางวัลนานาชาติมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลพิจารณาคัดเลือกเพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลประจำปีซึ่งมี 2 รางวัลคือด้านการแพทย์และด้านการสาธารณสุข โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัลๆ ละ 50,000 เหรียญสหรัฐ
สำหรับพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 จะจัดขึ้นในวันที่ 31 มกราคม 2545 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เวลา 17.30 น. โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิสมเด็จ เจ้าฟ้ามหิดล เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลพร้อมคู่สมรสในวันเดียวกัน เวลา 20.00 น. ณ ศาลาสหทัยสมาคม พระบรมมหาราชวัง
The Prince Mahidol Award A press conference was held on Thursday 29th November 2001 at Somdejphraboromrajanok Room, Siamintra Building, Faculty of Medicine Siriraj Hospital at 14.00 hrs to announce the awardees of the Prince Mahidol Award 2001. Mr. Rathakit Manathat, Director-General of the Information Department, Ministry of Foreign Affairs, Chairperson of the Prince Mahidol Award ’s Public Relations Subcommittee announced that the 2001 Prince Mahidol Award is presented to the following:
1. Medicine Sir David John Weatherall of U.K.
2. Public Health Professor Barry J. Marshall of Australia and Professor Lam Sai Kit of Malaysia The curriculum vitae of the three awardees are as follows: Professor David Weatherall is the outstanding British clinician scientist of his generation. He is an accomplished pioneering researcher in molecular genetics, haematology, pathology and clinical medicine. The results of David Weatherall ’ laboratory and clinical research on thalassaemias has helped to explain the molecular pathophysiology and causes of phenotypic variability of these disorders. These findings have provided the basis for ante-natal diagnosis and genetic counselling aimed at preventing these abnormalities and have improved the clinical management of inherited blood disorders. He has drawn global attention to the challenge of caring for the increasing numbers of thalassaemia sufferers who now survive beyond childhood. In a broader sense, his discoveries have demonstrated how understanding of molecular genetics can be applied to design practical strategies for disease prevention, control and alleviation. Professor Barry J. Marshall of University of Western Australia reported with his colleague the indentification and culture of a novel organism that was found to colonize the human gastric central, and upper duodenal mucosa in cases of gastritis and gastric/duodenal ulcer. Later he recognized that the new becterium now indentified as Helicobacter pylori caused severe gastritis and that it was sensitive to particular antibacterial drugs.
That discovery transformed therapy in peptic ulcer from consumption of antacid H1 receptor or radical or radical gastric surgery, to a short highly effective course of antibiotics. Professor S.K. Lam has been one of the most influential figures in Medical Virology in Southeast Asia. His research in dengue is recognized worldwide as well as by the World Health Organization. In recent years, his involvement in emerging diseases has led to the discovery of new viruses in the region, and the isolation of Nipah virus and Tioman virus has made his team internationally recognized. The Prince Mahidol Award Foundation under the Royal Patronage of His Majesty the King was established on 1 January 1992 to commemorate the 100th anniversary of the birth of His Royal Highness Prince Mahidol. Two awards are annually given to individual (s) or institution (s) demonstrating oustanding contributions to the advancement of medicine and public health throughout the world. The awards are conferred by His Majesty the King at the Chakri Throne Hall in the Grand Palace in January each year. Each award consists of a medal, a certificate and a sum of US$50,000. His Majesty the King will confer the awards on 31st January 2002 at the Chakri Throne Hall at 17.30 hrs., and Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn will host a dinner in honour of the awardees at 20.00 hrs. at the Sala Sahathai in the Grand Palace.
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 เวลา 14.00 น.ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามมินทร์ ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลได้แถลงข่าว ผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 ดังต่อไปนี้ คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ประชุมพิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลจำนวน 47 รายจาก 25ประเทศ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2544 โดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ มีมติตัดสินดังนี้
1. ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 สาขาการแพทย์ ได้แก่ เซอร์ เดวิด เวเธอร์รอล (Sir David Weatherall) จากสหราชอาณาจักร
2. ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์แบรี่ มาร์แชล (Professor Barry Marshall) จากประเทศออสเตรเลีย รับร่วมกับศาสตราจารย์ ดร. แลม ซัยกิต (Professor Lam Sai Kit) จากประเทศมาเลเซีย เซอร์ เดวิด เวเธอร์รอล (Sir David Weatherall) เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร และเป็นบุคคลแรกที่ทำการศึกษาวิจัยจนได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคธาลัสซีเมียในระดับโมเลกุลทั้งทางด้านพันธุศาสตร์ พยาธิสรีรวิทยา และทางด้านคลีนิก เป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วย ธาลัสเซียเมีย ซึ่งมีจำนวนนับล้านคนทั่วโลก อีกทั้งเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคโดยการวินิจฉัยทารกก่อนคลอดด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์แบรี่ มาร์แชล (Professor Barry Marshall) เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทอร์น ออสเตรเลีย ศาสตราจารย์มาร์แชล และคณะค้นพบว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอรัย (Helicobactor pylori) เป็นสาเหตุหนึ่งของกระเพาะอาหารอักเสบและแผลในกระเพาะอาหาร เป็นผลทำให้เกิดความเข้าใจและมีการเปลี่ยนหลักการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบและแผลในกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้ จากการให้ยาลดกรดมาเป็นยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่งผลประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยหลายร้อยล้านคนทั่วโลก ศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์แลม ซัยกิต (Professor Lam Sai Kit) เป็นนักไวรัสวิทยา อดีตหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา เป็นผู้ค้นพบ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ ไวรัส นิป้าห์ (Nipah virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดในหมูและ ติดต่อมายังคนในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ จากการศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อไวรัสนี้ ทำให้ สามารควบคุมโรคไว้ได้ โดยการทำลายหมูนับแสนตัว และเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการป้องการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสชนิดนี้ไปสู่คน มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นในวโรกาสเฉลิมฉลองวันคล้าย วันพระราชสมภพในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือมีผลงานวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์ และด้านการสาธารณสุข อันเป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ สามารถเสนอชื่อและผลงานของบุคคลหรือองค์กรให้คณะกรรมการรางวัลนานาชาติมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลพิจารณาคัดเลือกเพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลประจำปีซึ่งมี 2 รางวัลคือด้านการแพทย์และด้านการสาธารณสุข โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัลๆ ละ 50,000 เหรียญสหรัฐ
สำหรับพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2544 จะจัดขึ้นในวันที่ 31 มกราคม 2545 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เวลา 17.30 น. โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิสมเด็จ เจ้าฟ้ามหิดล เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลพร้อมคู่สมรสในวันเดียวกัน เวลา 20.00 น. ณ ศาลาสหทัยสมาคม พระบรมมหาราชวัง
The Prince Mahidol Award A press conference was held on Thursday 29th November 2001 at Somdejphraboromrajanok Room, Siamintra Building, Faculty of Medicine Siriraj Hospital at 14.00 hrs to announce the awardees of the Prince Mahidol Award 2001. Mr. Rathakit Manathat, Director-General of the Information Department, Ministry of Foreign Affairs, Chairperson of the Prince Mahidol Award ’s Public Relations Subcommittee announced that the 2001 Prince Mahidol Award is presented to the following:
1. Medicine Sir David John Weatherall of U.K.
2. Public Health Professor Barry J. Marshall of Australia and Professor Lam Sai Kit of Malaysia The curriculum vitae of the three awardees are as follows: Professor David Weatherall is the outstanding British clinician scientist of his generation. He is an accomplished pioneering researcher in molecular genetics, haematology, pathology and clinical medicine. The results of David Weatherall ’ laboratory and clinical research on thalassaemias has helped to explain the molecular pathophysiology and causes of phenotypic variability of these disorders. These findings have provided the basis for ante-natal diagnosis and genetic counselling aimed at preventing these abnormalities and have improved the clinical management of inherited blood disorders. He has drawn global attention to the challenge of caring for the increasing numbers of thalassaemia sufferers who now survive beyond childhood. In a broader sense, his discoveries have demonstrated how understanding of molecular genetics can be applied to design practical strategies for disease prevention, control and alleviation. Professor Barry J. Marshall of University of Western Australia reported with his colleague the indentification and culture of a novel organism that was found to colonize the human gastric central, and upper duodenal mucosa in cases of gastritis and gastric/duodenal ulcer. Later he recognized that the new becterium now indentified as Helicobacter pylori caused severe gastritis and that it was sensitive to particular antibacterial drugs.
That discovery transformed therapy in peptic ulcer from consumption of antacid H1 receptor or radical or radical gastric surgery, to a short highly effective course of antibiotics. Professor S.K. Lam has been one of the most influential figures in Medical Virology in Southeast Asia. His research in dengue is recognized worldwide as well as by the World Health Organization. In recent years, his involvement in emerging diseases has led to the discovery of new viruses in the region, and the isolation of Nipah virus and Tioman virus has made his team internationally recognized. The Prince Mahidol Award Foundation under the Royal Patronage of His Majesty the King was established on 1 January 1992 to commemorate the 100th anniversary of the birth of His Royal Highness Prince Mahidol. Two awards are annually given to individual (s) or institution (s) demonstrating oustanding contributions to the advancement of medicine and public health throughout the world. The awards are conferred by His Majesty the King at the Chakri Throne Hall in the Grand Palace in January each year. Each award consists of a medal, a certificate and a sum of US$50,000. His Majesty the King will confer the awards on 31st January 2002 at the Chakri Throne Hall at 17.30 hrs., and Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn will host a dinner in honour of the awardees at 20.00 hrs. at the Sala Sahathai in the Grand Palace.
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-