ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินทั้งระบบ ปี 2543 ที่ผลประกอบการกระเตื้องขึ้นมากและมีแนวโน้มที่สถาบันการเงินทั้งระบบจะมีผลการดำเนินงานที่ดีมากขึ้นในปี 2544
นายโอบเอื้อ ครุฑานุช ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชนในฐานะรองโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2543 ที่ผ่านมา สถาบันการเงินทั้งระบบของประเทศไทย มีผลการดำเนินงานที่กระเตื้องขึ้นมาก เมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2542 โดยในปี 2543ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนมีผลการดำเนินงานขาดทุนลดลงเหลือ 13.8 พันล้านบาท จากปี 2542 ที่ขาดทุน 359.4 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งระบบ มีกำไรจากการดำเนินงาน(ก่อนการหักสำรอง) จำนวน 3.5 พันล้านบาท โดยในส่วนนี้ธนาคารพาณิชย์เอกชน 5 แห่ง มีผลกำไรทั้งสิ้น 20.6 พันล้านบาท ภายหลังหักสำรองเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญซึ่งสูงถึง 119.4 พันล้านบาทแล้วทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทย ขาดทุนสุทธิ 11.5 พันล้านบาท ลดลงมากเมื่อเทียบกับผลขาดทุนในปี 2542 ที่สูงถึง 335 พันล้านบาท
ปัจจัยประการหนี่งที่ทำให้ระบบ ธพ.ไทยมีผลขาดทุนลดลงมากในปี 2543 เกิดจาก ธพ.รัฐบางแห่งมีการปรับปรุงรายการค่าเผื่อหนี้สูญที่เกิดจากการโอนหนี้ไปยัง เอเอ็มซี กลับมาเป็นรายได้ ส่งผลให้ธพ.ไทยมีกำไร(สุทธิ)จากส่วนนี้ จำนวน 68.6 พันล้านบาท ซึ่งช่วยชดเชยผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกได้มาก
นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป ภาระการกันสำรองของธพ.ไทยจะลดลงเป็นลำดับ เพราะธพ.ไทยส่วนใหญ่สามารถกันสำรองได้ครบร้อยละ 100 ตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนด ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานของธพ.ไทยจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น
ในส่วนของบริษัทเงินทุนจำนวน 21 แห่ง ก็มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นมากเช่นกัน โดยมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนสุทธิรวม 2.3 พันล้านบาท ลดลงจากที่เคยขาดทุน 24.4 พันล้านบาท ในปี 2542 ทั้งนี้ มี บง.ที่ได้กำไรในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 11 แห่ง จากเดิมที่มีบง.เคยทำกำไรในปี 2542 เพียง 6 แห่งเท่านั้น
โดยปัจจัยหลักมาจาก ภาระการกันสำรองลดลงมากเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ โดยมีบง.เพียง 7 แห่งเท่านั้น ที่ยังต้องกันสำรองเพิ่มให้ครบในงวดครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม ยอดการกันสำรองในปีนี้ของบง.ทั้งระบบมีเพียง 6.4 พันล้านบาท เป็นเพียง 1 ใน 4 ของยอดการกันสำรองของปีก่อนเท่านั้น
ส่วนปัจจัยรองลงมา คือ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของบง.ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1.1 พันล้านบาท จากปี 2542 จำนวน 4.1 พันล้านบาท เป็น 5.2 พันล้านบาท ในปี 2543 นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของบง.ยังเกิดจากการควบคุมค่าใช้จ่ายดีขึ้นและสามารถทำกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ได้มากขึ้นด้วย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/27 กุมภาพันธ์ 2544--
-ยก-
นายโอบเอื้อ ครุฑานุช ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชนในฐานะรองโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2543 ที่ผ่านมา สถาบันการเงินทั้งระบบของประเทศไทย มีผลการดำเนินงานที่กระเตื้องขึ้นมาก เมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2542 โดยในปี 2543ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนมีผลการดำเนินงานขาดทุนลดลงเหลือ 13.8 พันล้านบาท จากปี 2542 ที่ขาดทุน 359.4 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งระบบ มีกำไรจากการดำเนินงาน(ก่อนการหักสำรอง) จำนวน 3.5 พันล้านบาท โดยในส่วนนี้ธนาคารพาณิชย์เอกชน 5 แห่ง มีผลกำไรทั้งสิ้น 20.6 พันล้านบาท ภายหลังหักสำรองเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญซึ่งสูงถึง 119.4 พันล้านบาทแล้วทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทย ขาดทุนสุทธิ 11.5 พันล้านบาท ลดลงมากเมื่อเทียบกับผลขาดทุนในปี 2542 ที่สูงถึง 335 พันล้านบาท
ปัจจัยประการหนี่งที่ทำให้ระบบ ธพ.ไทยมีผลขาดทุนลดลงมากในปี 2543 เกิดจาก ธพ.รัฐบางแห่งมีการปรับปรุงรายการค่าเผื่อหนี้สูญที่เกิดจากการโอนหนี้ไปยัง เอเอ็มซี กลับมาเป็นรายได้ ส่งผลให้ธพ.ไทยมีกำไร(สุทธิ)จากส่วนนี้ จำนวน 68.6 พันล้านบาท ซึ่งช่วยชดเชยผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกได้มาก
นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป ภาระการกันสำรองของธพ.ไทยจะลดลงเป็นลำดับ เพราะธพ.ไทยส่วนใหญ่สามารถกันสำรองได้ครบร้อยละ 100 ตามเกณฑ์ที่ทางการกำหนด ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานของธพ.ไทยจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น
ในส่วนของบริษัทเงินทุนจำนวน 21 แห่ง ก็มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นมากเช่นกัน โดยมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนสุทธิรวม 2.3 พันล้านบาท ลดลงจากที่เคยขาดทุน 24.4 พันล้านบาท ในปี 2542 ทั้งนี้ มี บง.ที่ได้กำไรในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 11 แห่ง จากเดิมที่มีบง.เคยทำกำไรในปี 2542 เพียง 6 แห่งเท่านั้น
โดยปัจจัยหลักมาจาก ภาระการกันสำรองลดลงมากเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ โดยมีบง.เพียง 7 แห่งเท่านั้น ที่ยังต้องกันสำรองเพิ่มให้ครบในงวดครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม ยอดการกันสำรองในปีนี้ของบง.ทั้งระบบมีเพียง 6.4 พันล้านบาท เป็นเพียง 1 ใน 4 ของยอดการกันสำรองของปีก่อนเท่านั้น
ส่วนปัจจัยรองลงมา คือ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของบง.ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1.1 พันล้านบาท จากปี 2542 จำนวน 4.1 พันล้านบาท เป็น 5.2 พันล้านบาท ในปี 2543 นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของบง.ยังเกิดจากการควบคุมค่าใช้จ่ายดีขึ้นและสามารถทำกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ได้มากขึ้นด้วย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/27 กุมภาพันธ์ 2544--
-ยก-