กรุงเทพฯ--31 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (30 มีนาคม 2543) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานจัดการประชุมระหว่างผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นักธุรกิจภาคการประมงไทยและสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทย เพื่อรับทราบข้อมูล ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำไทย โดยภายหลังการประชุม ดร.สุรินทร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ ต่อสื่อมวลชน สรุปดังนี้
1. ที่ประชุมยอมรับว่า ปัจจุบันการประกอบธุรกิจประมงนอกน่านน้ำของไทยมีปัญหากระทบกระทั่งกับประเทศเพื่อนบ้านหลายครั้ง โดยเฉพาะล่าสุดมีปัญหาการจับกุมเรือประมงร่วมทุนไทย-อินโดนีเซียในเขตทะเลจังหวัดสุมาตราเหนือและอาเจห์ของอินโดนีเซีย และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อินโดนีเซียได้เสนอให้ไทยเข้าร่วมทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงครบวงจรไม่ใช่เพราะเข้าไปจับปลาเท่านั้น
2. สำหรับมาตราการแก้ไขปัญหาประมงในระยะกลางและยาว ผู้แทนภาครัฐและภาคธุรกิจประมงโดยเฉพาะสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทยเห็นพ้องกันว่า ควรจัดตั้งกลไกร่วมระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชนด้านประมง ซึ่งจะเป็นกลไกที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลรับฟังปัญหาและแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้ประมงนอกน่านน้ำของไทยเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน
3. ที่ประชุมเห็นควรให้มีตัวแทนจากภาคธุรกิจประมงเอกชนเข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เป็นเจ้าของน่านน้ำทั้งหลาย เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
4. ที่ประชุมเห็นว่า ในอนาคต บุคลากรทางด้านการประมงของไทยที่จะออกไปทำธุรกิจ ทั้งผู้บริหาร บุคลากรประจำเรือ ลูกเรือ กับปตันเรือ ควรมีความเข้าในในระเบียบต่างๆ ของประเทศเจ้าของน่านน้ำซึ่งแตต่างกันไป เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนและเพื่อเป็นการป้องปรามมิให้เกิดปัญหาด้านประมงระหว่างประเทศอีก
5. ดร.สุรินทร์ฯ ได้ย้ำเตือนผู้แทนของภาคการประมงทั้งหลายว่า ต่อไปนี้ เงื่อนไขกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศจะมีมากขึ้น เพราะทุกประเทศจะหวงแหนทรัพยากรของตนเอง โดยหลายประเทศมีความตื่นตัวด้านธุรกิจการประมงมากขึ้น เช่น มีการจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรทางทะเล การกำหนดมาตรการควบคุมการรั่วไหลของทรัพยากรทางทะเล เป็นต้น ดังนั้นนักธุรกิจประมงไทยจึงไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้ และ ต้องหามาตรการและวิธีการเพื่อปรับองค์กรประมงเอกชนชองไทยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
6. ดร.สุรินทร์ฯ แสดงความห่วงใยต่อกรณีที่เรือประมงไทยถูกจับกุม ดังนั้น ในการแก้ไข ปัญหาข้อขัดแย้งด้านประมงในอนาคต กระทรวงฯจะมีส่วนร่วมในการวางแนวทางกลยุทธเพื่อเจรจาการร่วมลงทุน การเปิดน่านน้ำแหล่งประมงใหม่ โดยมีการเจรจาอย่างโปร่งใส เป็นไปตามระบบกฎเกณฑ์
7. อนึ่ง วิธีการแก้ไขและป้องกันปัญหาประมงที่เกิดขึ้นที่อินโดนีเซียนั้น ทางรัฐบาลไทย-อินโดนีเซียจะได้มีการหารือกันเพื่อหาทางร่วมมือกันในระยะยาวต่อไป ทั้งในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน--จบ--
วันนี้ (30 มีนาคม 2543) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานจัดการประชุมระหว่างผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นักธุรกิจภาคการประมงไทยและสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทย เพื่อรับทราบข้อมูล ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำไทย โดยภายหลังการประชุม ดร.สุรินทร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ ต่อสื่อมวลชน สรุปดังนี้
1. ที่ประชุมยอมรับว่า ปัจจุบันการประกอบธุรกิจประมงนอกน่านน้ำของไทยมีปัญหากระทบกระทั่งกับประเทศเพื่อนบ้านหลายครั้ง โดยเฉพาะล่าสุดมีปัญหาการจับกุมเรือประมงร่วมทุนไทย-อินโดนีเซียในเขตทะเลจังหวัดสุมาตราเหนือและอาเจห์ของอินโดนีเซีย และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อินโดนีเซียได้เสนอให้ไทยเข้าร่วมทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงครบวงจรไม่ใช่เพราะเข้าไปจับปลาเท่านั้น
2. สำหรับมาตราการแก้ไขปัญหาประมงในระยะกลางและยาว ผู้แทนภาครัฐและภาคธุรกิจประมงโดยเฉพาะสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทยเห็นพ้องกันว่า ควรจัดตั้งกลไกร่วมระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชนด้านประมง ซึ่งจะเป็นกลไกที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลรับฟังปัญหาและแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้ประมงนอกน่านน้ำของไทยเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน
3. ที่ประชุมเห็นควรให้มีตัวแทนจากภาคธุรกิจประมงเอกชนเข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เป็นเจ้าของน่านน้ำทั้งหลาย เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
4. ที่ประชุมเห็นว่า ในอนาคต บุคลากรทางด้านการประมงของไทยที่จะออกไปทำธุรกิจ ทั้งผู้บริหาร บุคลากรประจำเรือ ลูกเรือ กับปตันเรือ ควรมีความเข้าในในระเบียบต่างๆ ของประเทศเจ้าของน่านน้ำซึ่งแตต่างกันไป เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนและเพื่อเป็นการป้องปรามมิให้เกิดปัญหาด้านประมงระหว่างประเทศอีก
5. ดร.สุรินทร์ฯ ได้ย้ำเตือนผู้แทนของภาคการประมงทั้งหลายว่า ต่อไปนี้ เงื่อนไขกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศจะมีมากขึ้น เพราะทุกประเทศจะหวงแหนทรัพยากรของตนเอง โดยหลายประเทศมีความตื่นตัวด้านธุรกิจการประมงมากขึ้น เช่น มีการจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรทางทะเล การกำหนดมาตรการควบคุมการรั่วไหลของทรัพยากรทางทะเล เป็นต้น ดังนั้นนักธุรกิจประมงไทยจึงไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้ และ ต้องหามาตรการและวิธีการเพื่อปรับองค์กรประมงเอกชนชองไทยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
6. ดร.สุรินทร์ฯ แสดงความห่วงใยต่อกรณีที่เรือประมงไทยถูกจับกุม ดังนั้น ในการแก้ไข ปัญหาข้อขัดแย้งด้านประมงในอนาคต กระทรวงฯจะมีส่วนร่วมในการวางแนวทางกลยุทธเพื่อเจรจาการร่วมลงทุน การเปิดน่านน้ำแหล่งประมงใหม่ โดยมีการเจรจาอย่างโปร่งใส เป็นไปตามระบบกฎเกณฑ์
7. อนึ่ง วิธีการแก้ไขและป้องกันปัญหาประมงที่เกิดขึ้นที่อินโดนีเซียนั้น ทางรัฐบาลไทย-อินโดนีเซียจะได้มีการหารือกันเพื่อหาทางร่วมมือกันในระยะยาวต่อไป ทั้งในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน--จบ--