แท็ก
องค์การการค้าโลก
ตามที่คณะผู้แทนถาวรสวิตเซอร์แลนด์ประจำองค์การการค้าโลกได้เชิญสมาชิกจากภูมิภาคต่างๆ รวม 13 ประเทศ รวมทั้งไทย เข้าร่วมการประชุม retreat เจ้าหน้าที่ระดับสูงระหว่างวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2544 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม การลงทุน และนโยบายการแข่งขัน เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 (MC 4) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
เรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม: ประเทศที่เข้าร่วมประชุมฯ ยังคงมี่ท่าทีที่แตกต่างกันมาก คือ สวิตเซอร์แลนด์ ฮังการี และนอร์เว ยังผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อมในการประชุม MC 4 แต่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง แคนาดา และไทย คัดค้านการเจรจาในเรื่องดังกล่าว โดยเรื่องที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ได้แก่ การตีความความสัมพันธ์บทบัญญัติทางการค้าภายใต้ WTO และ MEAs (Multilateral Environment Agreements) การตีความกฎเกณฑ์เรื่อง Precautionary principles และ Labeling และการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงบทบาทของคณะกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม (Committee on Trade and Environment: CTE) สำหรับเรื่องที่ค่อนข้างจะสามารถประนีประนอมกันได้ คือ การให้มีบทความย้ำถึงวัตถุประสงค์ของ WTO ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบทนำของร่างปฏิญญารัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 และการย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างการค้า สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้ ไทยได้แจ้งต่อที่ประชุมฯ ว่าร่างปฏิญญารัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม ควรสั้นและกระชับ โดยเป็นเพียงการกล่าวถึงข้อผูกพันภายใต้ WTO ในปัจจุบันเท่านั้น และไม่ต้องการให้มาตรการ ปกป้องสิ่งแวดล้อมกลายเป็นมาตรการกีดกันทางกีดกันทางการค้า และเห็นว่าประเทศสมาชิกยังคงไม่สามารถตัด สินใจให้มีการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงบทบาทของ CTE ได้ในขณะนี้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับผลของการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ว่าควรจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป
เรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขัน: ประเทศที่เข้ารวมประชุมฯ เห็นพ้องกันว่าเรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่ประเทศสมาชิกยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก จึงยังไม่ควรมีการหารือกันในครั้งนี้ และควรมีการจัดการประชุมเพื่อพิจารณา 2 เรื่องนี้อย่างลึกซึ้งอีกครั้งหลังจากการหยุดพักภาคฤดูร้อนขององค์การการค้าโลก คือหลังจากเดือนสิงหาคม 2544
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
เรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม: ประเทศที่เข้าร่วมประชุมฯ ยังคงมี่ท่าทีที่แตกต่างกันมาก คือ สวิตเซอร์แลนด์ ฮังการี และนอร์เว ยังผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อมในการประชุม MC 4 แต่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง แคนาดา และไทย คัดค้านการเจรจาในเรื่องดังกล่าว โดยเรื่องที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ได้แก่ การตีความความสัมพันธ์บทบัญญัติทางการค้าภายใต้ WTO และ MEAs (Multilateral Environment Agreements) การตีความกฎเกณฑ์เรื่อง Precautionary principles และ Labeling และการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงบทบาทของคณะกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม (Committee on Trade and Environment: CTE) สำหรับเรื่องที่ค่อนข้างจะสามารถประนีประนอมกันได้ คือ การให้มีบทความย้ำถึงวัตถุประสงค์ของ WTO ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบทนำของร่างปฏิญญารัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 และการย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างการค้า สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้ ไทยได้แจ้งต่อที่ประชุมฯ ว่าร่างปฏิญญารัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม ควรสั้นและกระชับ โดยเป็นเพียงการกล่าวถึงข้อผูกพันภายใต้ WTO ในปัจจุบันเท่านั้น และไม่ต้องการให้มาตรการ ปกป้องสิ่งแวดล้อมกลายเป็นมาตรการกีดกันทางกีดกันทางการค้า และเห็นว่าประเทศสมาชิกยังคงไม่สามารถตัด สินใจให้มีการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงบทบาทของ CTE ได้ในขณะนี้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับผลของการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ว่าควรจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป
เรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขัน: ประเทศที่เข้ารวมประชุมฯ เห็นพ้องกันว่าเรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่ประเทศสมาชิกยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก จึงยังไม่ควรมีการหารือกันในครั้งนี้ และควรมีการจัดการประชุมเพื่อพิจารณา 2 เรื่องนี้อย่างลึกซึ้งอีกครั้งหลังจากการหยุดพักภาคฤดูร้อนขององค์การการค้าโลก คือหลังจากเดือนสิงหาคม 2544
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-