1. เอกสารสำคัญที่ต้องการจากผู้ส่งออก
(1) Health Certificate จากหน่วยงานที่รับผิดชอบของทางการไทย
(2) หนังสือแสดงส่วนประกอบของสินค้า การตรวจสอบเจือปนต่างๆ จากผู้ผลิตในไทย
(3) Certificate of Origin จากหน่วยงานที่รับผิดชอบของทางการไทย ในกรณีที่สินค้าได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร2. หน่วยงานรับผิดชอบตรวจสอบ
(1) อาหารทั่วไป หน่วยงานรับผิดชอบตรวจสอบก่อนเข้าประเทศ คือ หน่วยงานสาธารณสุขประจำแต่ละเขต (Voivod Sanitary-Epidemiological Station : SANEPID) ของกระทรวงสาธารณสุข
ที่อยู่ของสำนักงาน SANEPID ในกรุงวอร์ซอ มีดังนี้.-
Voivod Sanitary-Epidemiological Station (SANEPID)
Ul. Zelazna 79, Warszawa
Tel.: (4822) 6209001, Fax: (4822) 6248209
(2) อาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์สัตว์ หน่วยงานรับผิดชอบตรวจสอบก่อนเข้าประเทศ คือกรมบริการสุขลักษณะสัตว์ ซึ่งมีที่อยู่ดังนี้.-
Department of Veterinary Service
Ul. Wspolna 30, 00-930 Warszawa
Tel.: (4822) 6232263, Fax: (4822) 62314083. กระบวนการตรวจสอบ
3.1 สินค้าอาหารทั่วไป
ผู้นำเข้าต้องขออนุมัติการใช้โรงเก็บสินค้าจากกระทรวงเกษตรฯ ก่อนนำสินค้าเข้าเก็บสินค้า ซึ่งใบอนุญาตให้ใช้เป็นโรงเก็บสินค้าอาหารนี้ สามารถใช้ได้ตลอดไป เว้นแต่จะมีการดัดแปลงสถานที่ก่อนการนำเข้าในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่ ผู้นำเข้าอาจส่งตัวอย่างสินค้าพร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าให้ SANEPID ตรวจวิเคราะห์และให้ความเห็นเพื่อผู้นำเข้าประกอบการพิจารณาก่อนการนำเข้าได้
ในการนำเข้า ผู้นำเข้าต้องแจ้งจุดเข้าประเทศโปแลนด์ กำหนดเวลาเข้าประเทศ รวมทั้งสถานที่ที่สินค้าจะไปเก็บรักษาไว้ให้ SANEPID ทราบ ในกรณีที่สินค้าต้องเสียอากรขาเข้า SANEPID จะตรวจสอบสินค้าที่ชายแดน แต่ในกรณีที่สินค้าไม่ต้องเสียอาการขาเข้าและเคยมีการนำเข้าไปก่อนหน้านั้นแล้ว SANEPID อาจตรวจที่โรงเก็บสินค้าที่ผู้นำเข้าแจ้ง ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องแจ้งให้ SANEPID ไปตรวจสอบสินค้า พร้อมทั้งยื่นเอกสารต่อไปนี้ให้แก่ SANEPID
- รายงานเกี่ยวกับ Physio-chemical Characteristic ของสินค้า
- หนังสือของผู้ผลิตเกี่ยวกับส่วนประกอบทั้งหมดของสินค้า รวมทั้งปริมาณโลหะ จุลิน-ทรีย์ สารปนเปื้อน และอื่น ๆ
- หนังสือรับรองของหน่วยราชการที่รับผิดชอบในประเทศผู้ผลิตว่าสินค้าได้รับการยอมรับให้ใช้บริโภคได้ (Health Certificate)
3.2 สินค้าผลิตภัณฑ์สัตว์
ผู้นำเข้าต้องขออนุมัติการใช้โรงเก็บสินค้าจากกระทรวงเกษตรฯ ก่อนนำสินค้าเข้าเก็บในโรงเก็บสินค้า ซึ่งใบอนุญาตให้ใช้เป็นโรงเก็บสินค้าอาหารนี้สามารถใช้ได้ตลอดไป เว้นแต่จะมีการดัดแปลงสถานที่ก่อนการนำเข้าในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่ ผู้นำเข้าอาจส่งตัวอย่างสินค้าพร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบทั้งหมดของสินค้า รวมทั้งปริมาณโลหะ จุลินทรีย์ สารปนเปื้อน และอื่น ๆ ให้ Department of Veterinary Service ตรวจวิเคราะห์และให้ความเห็นเพื่อผู้นำเข้าประกอบการพิจารณาก่อนการนำเข้าได้
ผู้ที่ต้องการนำเข้าต้องแจ้งปริมาณที่ต้องการนำเข้าต่อ Department of Veterinary Ser-vice ซึ่งไม่มีการจำกัดปริมาณ ทางการโปแลนด์จะออกหนังสืออนุญาตให้นำเข้าตามปริมาณที่ขอภายในเวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
ในการนำเข้า ผู้นำเข้าต้องยื่นหนังสือรับรองคุณภาพสินค้า (Health Certificate) และหนังสือการตรวจสอบคุณภาพที่เกี่ยวข้องให้ Department of Veterinary Service ของโปแลนด์ตรวจสอบ ซึ่งหนังสือกำหนดรูปแบบฟอร์มโดย Department of Veterinary Service ของโปแลนด์ และออกโดยหน่วยงานรับผิดชอบของประเทศผู้ผลิต ทั้งนี้ในหนังสือจะมีระบุโรงงานที่ผลิต ซึ่งต้องเป็นโรงงานที่ได้รับการรับรองจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา หรือโรงงานที่ได้รับการตรวจสอบรับรองจาก Department of Veterinary Service ของโปแลนด์
ในกรณีที่เป็นการนำเข้าครั้งแรก เจ้าหน้าที่ Department of Veterinary Service ของโปแลนด์ จะสุ่มตัวอย่างสินค้านำเข้าที่ชายแดนไปตรวจสอบ หากเป็นการนำเข้าครั้งต่อ ๆ ไปจากแหล่งเดิมโดยใช้ฉลากเดิม เจ้าหน้าที่ Department of Veterinary Service มักจะเพียงไปตรวจที่โรงเก็บสินค้า แต่ต้องมีการตรวจทุกครั้ง
ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำเข้ากับเจ้าหน้าที่ทางการโปแลนด์ที่เกี่ยวข้องด้วย4. มาตรฐานสินค้า
สินค้าอาหารบางรายการมีมาตรฐานสินค้าที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น
4.1 ข้าว
ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15
ข้าวชั้นพิเศษ มีเมล็ดหักไม่เกินร้อยละ 5
ข้าวชั้น 1 มีเมล็ดหักไม่เกินร้อยละ 12
ข้าวชั้น 2 มีเมล็ดหักไม่เกินร้อยละ 20
ทั้งนี้ เมล็ดหักหมายถึงเมล็ดที่มีขนาดสั้นกว่าร้อยละ 75
4.2 ปลากระป๋อง
มีสารตะกั่วได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ใน 1,000 กรัม
มีสารแคดเมี่ยมได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม ใน 1,000 กรัม
มีสารฮิสตามีนได้ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม ใน 100 กรัม
ปลากระป๋องในน้ำมันและในน้ำมีแบคทีเรียไม่เกิน 40 (in the 20 field vision in the slide)
ปลากระป๋องในซ๊อสมะเขือเทศมีแบคทีเรียไม่เกิน 100 (in the 20 field vision in the slide)
4.3 สัตว์น้ำแช่แข็ง
มีสารตะกั่วได้ไม่เกิน 0.6 มิลลิกรัม ใน 1,000 กรัม
มีสารหนูได้ไม่เกิน 4 มิลลิกรัม ใน 1,000 กรัม
เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -1 ถึง 5 องศาเซลเซียส
ผ่านการตรวจ Organoleptic Test
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงวอร์ซอ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2544 วันที่ 31 กรกฎาคม 2544--
-อน-
(1) Health Certificate จากหน่วยงานที่รับผิดชอบของทางการไทย
(2) หนังสือแสดงส่วนประกอบของสินค้า การตรวจสอบเจือปนต่างๆ จากผู้ผลิตในไทย
(3) Certificate of Origin จากหน่วยงานที่รับผิดชอบของทางการไทย ในกรณีที่สินค้าได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร2. หน่วยงานรับผิดชอบตรวจสอบ
(1) อาหารทั่วไป หน่วยงานรับผิดชอบตรวจสอบก่อนเข้าประเทศ คือ หน่วยงานสาธารณสุขประจำแต่ละเขต (Voivod Sanitary-Epidemiological Station : SANEPID) ของกระทรวงสาธารณสุข
ที่อยู่ของสำนักงาน SANEPID ในกรุงวอร์ซอ มีดังนี้.-
Voivod Sanitary-Epidemiological Station (SANEPID)
Ul. Zelazna 79, Warszawa
Tel.: (4822) 6209001, Fax: (4822) 6248209
(2) อาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์สัตว์ หน่วยงานรับผิดชอบตรวจสอบก่อนเข้าประเทศ คือกรมบริการสุขลักษณะสัตว์ ซึ่งมีที่อยู่ดังนี้.-
Department of Veterinary Service
Ul. Wspolna 30, 00-930 Warszawa
Tel.: (4822) 6232263, Fax: (4822) 62314083. กระบวนการตรวจสอบ
3.1 สินค้าอาหารทั่วไป
ผู้นำเข้าต้องขออนุมัติการใช้โรงเก็บสินค้าจากกระทรวงเกษตรฯ ก่อนนำสินค้าเข้าเก็บสินค้า ซึ่งใบอนุญาตให้ใช้เป็นโรงเก็บสินค้าอาหารนี้ สามารถใช้ได้ตลอดไป เว้นแต่จะมีการดัดแปลงสถานที่ก่อนการนำเข้าในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่ ผู้นำเข้าอาจส่งตัวอย่างสินค้าพร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าให้ SANEPID ตรวจวิเคราะห์และให้ความเห็นเพื่อผู้นำเข้าประกอบการพิจารณาก่อนการนำเข้าได้
ในการนำเข้า ผู้นำเข้าต้องแจ้งจุดเข้าประเทศโปแลนด์ กำหนดเวลาเข้าประเทศ รวมทั้งสถานที่ที่สินค้าจะไปเก็บรักษาไว้ให้ SANEPID ทราบ ในกรณีที่สินค้าต้องเสียอากรขาเข้า SANEPID จะตรวจสอบสินค้าที่ชายแดน แต่ในกรณีที่สินค้าไม่ต้องเสียอาการขาเข้าและเคยมีการนำเข้าไปก่อนหน้านั้นแล้ว SANEPID อาจตรวจที่โรงเก็บสินค้าที่ผู้นำเข้าแจ้ง ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องแจ้งให้ SANEPID ไปตรวจสอบสินค้า พร้อมทั้งยื่นเอกสารต่อไปนี้ให้แก่ SANEPID
- รายงานเกี่ยวกับ Physio-chemical Characteristic ของสินค้า
- หนังสือของผู้ผลิตเกี่ยวกับส่วนประกอบทั้งหมดของสินค้า รวมทั้งปริมาณโลหะ จุลิน-ทรีย์ สารปนเปื้อน และอื่น ๆ
- หนังสือรับรองของหน่วยราชการที่รับผิดชอบในประเทศผู้ผลิตว่าสินค้าได้รับการยอมรับให้ใช้บริโภคได้ (Health Certificate)
3.2 สินค้าผลิตภัณฑ์สัตว์
ผู้นำเข้าต้องขออนุมัติการใช้โรงเก็บสินค้าจากกระทรวงเกษตรฯ ก่อนนำสินค้าเข้าเก็บในโรงเก็บสินค้า ซึ่งใบอนุญาตให้ใช้เป็นโรงเก็บสินค้าอาหารนี้สามารถใช้ได้ตลอดไป เว้นแต่จะมีการดัดแปลงสถานที่ก่อนการนำเข้าในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่ ผู้นำเข้าอาจส่งตัวอย่างสินค้าพร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบทั้งหมดของสินค้า รวมทั้งปริมาณโลหะ จุลินทรีย์ สารปนเปื้อน และอื่น ๆ ให้ Department of Veterinary Service ตรวจวิเคราะห์และให้ความเห็นเพื่อผู้นำเข้าประกอบการพิจารณาก่อนการนำเข้าได้
ผู้ที่ต้องการนำเข้าต้องแจ้งปริมาณที่ต้องการนำเข้าต่อ Department of Veterinary Ser-vice ซึ่งไม่มีการจำกัดปริมาณ ทางการโปแลนด์จะออกหนังสืออนุญาตให้นำเข้าตามปริมาณที่ขอภายในเวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
ในการนำเข้า ผู้นำเข้าต้องยื่นหนังสือรับรองคุณภาพสินค้า (Health Certificate) และหนังสือการตรวจสอบคุณภาพที่เกี่ยวข้องให้ Department of Veterinary Service ของโปแลนด์ตรวจสอบ ซึ่งหนังสือกำหนดรูปแบบฟอร์มโดย Department of Veterinary Service ของโปแลนด์ และออกโดยหน่วยงานรับผิดชอบของประเทศผู้ผลิต ทั้งนี้ในหนังสือจะมีระบุโรงงานที่ผลิต ซึ่งต้องเป็นโรงงานที่ได้รับการรับรองจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา หรือโรงงานที่ได้รับการตรวจสอบรับรองจาก Department of Veterinary Service ของโปแลนด์
ในกรณีที่เป็นการนำเข้าครั้งแรก เจ้าหน้าที่ Department of Veterinary Service ของโปแลนด์ จะสุ่มตัวอย่างสินค้านำเข้าที่ชายแดนไปตรวจสอบ หากเป็นการนำเข้าครั้งต่อ ๆ ไปจากแหล่งเดิมโดยใช้ฉลากเดิม เจ้าหน้าที่ Department of Veterinary Service มักจะเพียงไปตรวจที่โรงเก็บสินค้า แต่ต้องมีการตรวจทุกครั้ง
ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำเข้ากับเจ้าหน้าที่ทางการโปแลนด์ที่เกี่ยวข้องด้วย4. มาตรฐานสินค้า
สินค้าอาหารบางรายการมีมาตรฐานสินค้าที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น
4.1 ข้าว
ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15
ข้าวชั้นพิเศษ มีเมล็ดหักไม่เกินร้อยละ 5
ข้าวชั้น 1 มีเมล็ดหักไม่เกินร้อยละ 12
ข้าวชั้น 2 มีเมล็ดหักไม่เกินร้อยละ 20
ทั้งนี้ เมล็ดหักหมายถึงเมล็ดที่มีขนาดสั้นกว่าร้อยละ 75
4.2 ปลากระป๋อง
มีสารตะกั่วได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ใน 1,000 กรัม
มีสารแคดเมี่ยมได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม ใน 1,000 กรัม
มีสารฮิสตามีนได้ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม ใน 100 กรัม
ปลากระป๋องในน้ำมันและในน้ำมีแบคทีเรียไม่เกิน 40 (in the 20 field vision in the slide)
ปลากระป๋องในซ๊อสมะเขือเทศมีแบคทีเรียไม่เกิน 100 (in the 20 field vision in the slide)
4.3 สัตว์น้ำแช่แข็ง
มีสารตะกั่วได้ไม่เกิน 0.6 มิลลิกรัม ใน 1,000 กรัม
มีสารหนูได้ไม่เกิน 4 มิลลิกรัม ใน 1,000 กรัม
เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -1 ถึง 5 องศาเซลเซียส
ผ่านการตรวจ Organoleptic Test
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงวอร์ซอ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2544 วันที่ 31 กรกฎาคม 2544--
-อน-