1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องของระบบการเงินในไตรมาสแรกปี 2544 โดยรวมอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ในตลาดเงินเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ สภาพคล่องของระบบการเงิน ในเดือนมีนาคม 2544 อยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดย สภาพคล่องได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงสิ้นเดือน เนื่องจากสถาบันการเงินต้องเตรียมสำรองสภาพคล่องสำหรับการเบิกถอนในช่วงชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และช่วงต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ติดต่อกันและ เทศกาลสงกรานต์
ในไตรมาสแรกของปี 2544 สภาพคล่องโดยรวมของระบบการเงินอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งนี้ สภาพคล่องปรับตึงตัวขึ้น เล็กน้อยเป็นระยะสั้นๆ ในช่วงเทศกาลและวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งสภาพคล่องได้ปรับเข้าสู่ระดับปกติในช่วงเวลาต่อมา
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน สภาพคล่องเงินบาทที่อยู่ ในเกณฑ์สูงได้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน เคลื่อนไหวในระดับต่ำ โดยในไตรมาสแรก อัตราดอกเบี้ย ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.44 1.17 และ 1.13 ต่อปี ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.01 1.55 และ 1.47 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร สภาพคล่องในระบบการเงินที่เพิ่มขึ้นในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2544 ทำให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการลงทุน ในตลาดซื้อคืน และมีฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 138 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 เป็น 145 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมลง ร้อยละ 0.50 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ ณ สิ้นไตรมาสแรก ของปี 2544
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริงปรับลดลง เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ในเดือนกุมภาพันธ์ และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง ลดลงจากร้อยละ 1.70 และ 6.45 ต่อปี มาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.10 และ 5.975 ต่อปีตามลำดับ
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เงินฝากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ค่อนข้างทรงตัว ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ อยู่ในระดับสูง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 มียอดคงค้าง 4905.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.8 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2543 ส่วนหนึ่งเนื่องจากเม็ดเงิน ที่ภาคเอกชนเบิกถอนเพื่อใช้จ่ายในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ และตรุษจีนได้กลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 294.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.4 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มีแนวโน้มลดลง ในไตรมาสแรกของปี เนื่องจากภาคธุรกิจเอกชนมีการ ชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 4559.2 พันล้านบาท ลดลง 7.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ สิ้นปี 2543 โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจเพิ่มขึ้น 8.5 พันล้านบาท ขณะที่สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจลดลง 16.4 พันล้านบาท
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวม ลดลง 509.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.1 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ในไตรมาสแรกของปี 2544 มียอดคงค้างชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2543 อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ในช่วงไตรมาสแรก ยอดคงค้างของฐานเงินมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ในไตรมาสแรก ยอดคงค้างมีแนวโน้มลดลงจากสิ้นปี 2543 ทั้งนี้ เป็นไปตามการลดลงของความต้องการถือเงินสดเพื่อการใช้จ่าย ซึ่งเป็นปกติในช่วงต้นปี โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 ฐานเงินมียอดคงค้าง 512.5 พันล้านบาท ลดลงจาก 527.2 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลง ส่วนใหญ่ เพราะธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขายพันธบัตรจำนวน 60.5 พันล้านบาท 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีการขาดดุลเงินสด
ปริมาณเงิน M2A ปรับเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5381.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน M2A เพิ่มขึ้น 238 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.6 ต่อปี
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 6011.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 273.2 พันล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (Yield Curve)
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีความผันผวนมาก
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองมีความผันผวนสูง เนื่องจากปัจจัยทั้งทางด้านอุปสงค์และ อุปทาน โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี อัตราผลตอบแทน ปรับลดลงจากช่วงสิ้นปี 2543 จากการที่มีความต้องการ ซื้อพันธบัตรเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาด คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลงต่ำสุดเมื่อประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544
หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว อุปทานของพันธบัตร ในตลาดเริ่มมีมากขึ้น โดยรัฐวิสาหกิจเร่งออกพันธบัตรมากขึ้น เพราะต้นทุนระดมเงินทุนต่ำ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทน พันธบัตรปรับตัวขึ้นมาสูงสุดในวันที่ 13 มีนาคม 2544 และ ต่อมา สภาพคล่องของระบบที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการ ลงทุนในพันธบัตรเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งแรกของเดือนเมษายน รัฐวิสาหกิจมีการออกพันธบัตรจำนวนมาก ส่งผลให้อัตรา ผลตอบแทนระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น และ Yield Curve มีความชันมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องของระบบการเงินในไตรมาสแรกปี 2544 โดยรวมอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ในตลาดเงินเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ สภาพคล่องของระบบการเงิน ในเดือนมีนาคม 2544 อยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดย สภาพคล่องได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงสิ้นเดือน เนื่องจากสถาบันการเงินต้องเตรียมสำรองสภาพคล่องสำหรับการเบิกถอนในช่วงชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และช่วงต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ติดต่อกันและ เทศกาลสงกรานต์
ในไตรมาสแรกของปี 2544 สภาพคล่องโดยรวมของระบบการเงินอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งนี้ สภาพคล่องปรับตึงตัวขึ้น เล็กน้อยเป็นระยะสั้นๆ ในช่วงเทศกาลและวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งสภาพคล่องได้ปรับเข้าสู่ระดับปกติในช่วงเวลาต่อมา
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน สภาพคล่องเงินบาทที่อยู่ ในเกณฑ์สูงได้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน เคลื่อนไหวในระดับต่ำ โดยในไตรมาสแรก อัตราดอกเบี้ย ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.44 1.17 และ 1.13 ต่อปี ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.01 1.55 และ 1.47 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร สภาพคล่องในระบบการเงินที่เพิ่มขึ้นในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2544 ทำให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการลงทุน ในตลาดซื้อคืน และมีฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 138 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 เป็น 145 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมลง ร้อยละ 0.50 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ ณ สิ้นไตรมาสแรก ของปี 2544
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริงปรับลดลง เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ในเดือนกุมภาพันธ์ และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง ลดลงจากร้อยละ 1.70 และ 6.45 ต่อปี มาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.10 และ 5.975 ต่อปีตามลำดับ
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เงินฝากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ค่อนข้างทรงตัว ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ อยู่ในระดับสูง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 มียอดคงค้าง 4905.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.8 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2543 ส่วนหนึ่งเนื่องจากเม็ดเงิน ที่ภาคเอกชนเบิกถอนเพื่อใช้จ่ายในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ และตรุษจีนได้กลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 294.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.4 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มีแนวโน้มลดลง ในไตรมาสแรกของปี เนื่องจากภาคธุรกิจเอกชนมีการ ชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 4559.2 พันล้านบาท ลดลง 7.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ สิ้นปี 2543 โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจเพิ่มขึ้น 8.5 พันล้านบาท ขณะที่สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจลดลง 16.4 พันล้านบาท
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวม ลดลง 509.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.1 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ในไตรมาสแรกของปี 2544 มียอดคงค้างชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2543 อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ในช่วงไตรมาสแรก ยอดคงค้างของฐานเงินมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ในไตรมาสแรก ยอดคงค้างมีแนวโน้มลดลงจากสิ้นปี 2543 ทั้งนี้ เป็นไปตามการลดลงของความต้องการถือเงินสดเพื่อการใช้จ่าย ซึ่งเป็นปกติในช่วงต้นปี โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 ฐานเงินมียอดคงค้าง 512.5 พันล้านบาท ลดลงจาก 527.2 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลง ส่วนใหญ่ เพราะธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขายพันธบัตรจำนวน 60.5 พันล้านบาท 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีการขาดดุลเงินสด
ปริมาณเงิน M2A ปรับเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5381.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน M2A เพิ่มขึ้น 238 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.6 ต่อปี
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 6011.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 273.2 พันล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (Yield Curve)
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีความผันผวนมาก
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองมีความผันผวนสูง เนื่องจากปัจจัยทั้งทางด้านอุปสงค์และ อุปทาน โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี อัตราผลตอบแทน ปรับลดลงจากช่วงสิ้นปี 2543 จากการที่มีความต้องการ ซื้อพันธบัตรเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาด คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลงต่ำสุดเมื่อประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544
หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว อุปทานของพันธบัตร ในตลาดเริ่มมีมากขึ้น โดยรัฐวิสาหกิจเร่งออกพันธบัตรมากขึ้น เพราะต้นทุนระดมเงินทุนต่ำ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทน พันธบัตรปรับตัวขึ้นมาสูงสุดในวันที่ 13 มีนาคม 2544 และ ต่อมา สภาพคล่องของระบบที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการ ลงทุนในพันธบัตรเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งแรกของเดือนเมษายน รัฐวิสาหกิจมีการออกพันธบัตรจำนวนมาก ส่งผลให้อัตรา ผลตอบแทนระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น และ Yield Curve มีความชันมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-