ข่าวในประเทศ
1. ไทยเกินดุลการค้าในเดือน ก.ย.และช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์กล่าวว่า การรวบรวมตัวเลขเบื้องต้นของกรมศุลกากรมากกว่าร้อยละ 95 พบว่าการส่งออกในเดือน ก.ย.43 มีมูลค่า 5,764 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากระยะเดียวกันปี 42 แต่ลดลงร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.43 และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 การส่งออกมีมูลค่า 51,048 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การนำเข้าในเดือน ก.ย.มีมูลค่า 5,122 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงจากเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาร้อยละ 12.2 สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 การนำเข้ามีมูลค่ารวม 45,027 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยในเดือน ก.ย. ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 641.7 ล.ดอลลาร์ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค. รวม 9 เดือนของปี 43 ไทยเกินดุลการค้า 6,020 ล.ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 6.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน (มติชน 17)
2. ธปท.กำลังพิจารณาข้อเสนอการผ่อนคลายการขอมีบัตรเครดิตของสมาคมธนาคารไทย นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.กำลังพิจารณาข้อเสนอของสมาคมธนาคารไทยที่ต้องการให้ผ่อนคลายเงื่อนไขการทำบัตรเครดิต โดยเฉพาะประเด็นการปรับรายได้ขั้นต่ำของผู้ยื่นขอทำบัตรเครดิตจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 20,000 บาทต่อเดือน หรือปีละไม่ต่ำกว่า 24,000 บาท ลดลงเหลือเป็น 15,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ เพื่อขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิตให้ครอบคลุมถึงกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง เพราะขณะนี้ ธพ.กำลังมีปัญหาในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ หากปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้ารายใหญ่ที่มีสถานะทางการเงินไม่มั่นคง อาจทำให้กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในอนาคต และกลับมาเป็นภาระให้สถาบันการเงินในที่สุด (แนวหน้า,วัฏจักร 17)
3. รัฐบาลมีมติให้ปฏิรูประบบการออมระยะยาว รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบตามที่ ก.คลังเสนอในเรื่องแผนการปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยรัฐบาลจะจัดตั้งระบบบำนาญแบบ Multi-pillar เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทุนที่มีอยู่เดิม และขยายขอบข่ายการครอบคลุมให้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งดำเนินการให้โครงการออมในส่วนของกองทุนบำเหน็จบำนาญแบบบังคับและการออมเพื่อชราภาพแบบสมัครใจมีการประสานกันอย่างเหมาะสม ในส่วนของการออมเพื่อเกษียณอายุจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกแบบทยอยจ่าย แทนการจ่ายแบบเป็นก้อนในคราวเดียวกัน รวมถึงการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับภาษีให้เงินก้อนที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นำไปซื้อประกันของบริษัทประกันชีวิตให้ได้รับการลดหย่อนภาษี นอกจากนี้จะมีการออกแบบและการจัดตั้งโครงการออมเพื่อเกษียณอายุแบบบังคับ โดยให้ผู้จัดการกองทุนเอกชนเป็นผู้บริหารบัญชีสะสมแยกรายตัวของสมาชิก เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ กบข. และพิจารณารูปแบบการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับพนักงานที่ไม่ได้ครอบคลุมภายใต้กองทุน กบข.ด้วย (วัฏจักร,กรุงเทพธุรกิจ 17)
ข่าวต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังของธุรกิจ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 สินค้าคงคลังในระดับผู้ขายส่งและขายปลีก เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.ค. 43 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากผู้ค้าได้เพิ่มสต็อกรถยนต์และรถบรรทุกใหม่ไว้สำหรับขายในช่วงคริตส์มาสซึ่งเป็นฤดูกาลใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ยอดขายสินค้าของธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.ค. 43 สำหรับ สินค้าคงคลังต่อยอดขาย ในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 1.34 เดือน จาก 1.33 เดือน ในเดือน ก.ค. 43 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน (รอยเตอร์ 16)
2. การล้มละลายของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 16 ต.ค.43 บริษัทวิจัยสินเชื่อ Teikoku Databank รายงานว่า เดือน ก.ย.43 บริษัทล้มละลายของญี่ปุ่นมีจำนวน 1,502 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 หากเทียบเฉพาะสถิติของเดือน ก.ย. ด้วยกัน นับเป็นการเพิ่มสูงสุดเป็นครั้งที่2 นับตั้งแต่ญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยบริษัทฯ วิเคราะห์ว่า การล้มละลายยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และทั้งปี 43 คาดว่า บริษัทล้มละลายจะมีจำนวนมากกว่า 19,000 ราย ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับปี 41 ซึ่งจะทำให้ปี 43 เป็นปีที่ 2 ที่สถานการณ์การล้มละลายเลวร้ายที่สุดนับแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะเดียวกัน บริษัทฯ รายงาน ยอดหนี้ของบริษัทล้มละลายในเดือน ก.ย.43 ว่า มีมูลค่า 774.2 พัน ล.เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 ทำให้ยอดหนี้ฯรวม ในช่วงเดือน เม.ย.-ก.ย.43 ซึ่งเป็นครึ่งแรกของปี งปม.43/44 เพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 10.914 ล้านล้านเยน นับเป็นการเพิ่มขึ้นถึงระดับ 10 ล้านล้านเยนเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ กล่าวว่า ในภาพรวม ภาคธุรกิจเอกชนของญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว และเป็นปัจจัยที่สนับสนุนเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากถึงแม้สถานการณ์ของบริษัทขนาดเล็กจะไม่ค่อยดี แต่บริษัทขนาดใหญ่ทำกำไรได้มากขึ้น และมีการใช้จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการขยายแผนการผลิต (รอยเตอร์ 16)
3. เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 8.2 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 รายงานจากเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 43 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เติบโตร้อยละ 8.2 จากระยะเดียวกันของปี 42 หลังจากเติบโตร้อยละ 8.3 และร้อยละ8.1 ในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 1 ปี 43 ตามลำดับ นับเป็นการเติบโตมากกว่าร้อยละ 8 ติดต่อกันถึง 3 ไตรมาส สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 GDP เติบโตร้อยละ 8.2 อยู่ที่มูลค่า 750.02 พัน ล. ดอลลาร์ เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.1 จากระยะเดียวกันของปี 42. (เอเชียนวอลล์สตรีท17)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 16 ต.ค. 43 43.260 (43.528)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 16 ต.ค. 43 ซื้อ 43.0739 (43.3054) ขาย 43.3830 (43.6122)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,500) ขาย 5,600 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.87 (28.80)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (14.74)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ไทยเกินดุลการค้าในเดือน ก.ย.และช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์กล่าวว่า การรวบรวมตัวเลขเบื้องต้นของกรมศุลกากรมากกว่าร้อยละ 95 พบว่าการส่งออกในเดือน ก.ย.43 มีมูลค่า 5,764 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากระยะเดียวกันปี 42 แต่ลดลงร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.43 และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 การส่งออกมีมูลค่า 51,048 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การนำเข้าในเดือน ก.ย.มีมูลค่า 5,122 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงจากเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาร้อยละ 12.2 สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 การนำเข้ามีมูลค่ารวม 45,027 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยในเดือน ก.ย. ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 641.7 ล.ดอลลาร์ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค. รวม 9 เดือนของปี 43 ไทยเกินดุลการค้า 6,020 ล.ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 6.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน (มติชน 17)
2. ธปท.กำลังพิจารณาข้อเสนอการผ่อนคลายการขอมีบัตรเครดิตของสมาคมธนาคารไทย นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.กำลังพิจารณาข้อเสนอของสมาคมธนาคารไทยที่ต้องการให้ผ่อนคลายเงื่อนไขการทำบัตรเครดิต โดยเฉพาะประเด็นการปรับรายได้ขั้นต่ำของผู้ยื่นขอทำบัตรเครดิตจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 20,000 บาทต่อเดือน หรือปีละไม่ต่ำกว่า 24,000 บาท ลดลงเหลือเป็น 15,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ เพื่อขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิตให้ครอบคลุมถึงกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง เพราะขณะนี้ ธพ.กำลังมีปัญหาในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ หากปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้ารายใหญ่ที่มีสถานะทางการเงินไม่มั่นคง อาจทำให้กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในอนาคต และกลับมาเป็นภาระให้สถาบันการเงินในที่สุด (แนวหน้า,วัฏจักร 17)
3. รัฐบาลมีมติให้ปฏิรูประบบการออมระยะยาว รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบตามที่ ก.คลังเสนอในเรื่องแผนการปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยรัฐบาลจะจัดตั้งระบบบำนาญแบบ Multi-pillar เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทุนที่มีอยู่เดิม และขยายขอบข่ายการครอบคลุมให้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งดำเนินการให้โครงการออมในส่วนของกองทุนบำเหน็จบำนาญแบบบังคับและการออมเพื่อชราภาพแบบสมัครใจมีการประสานกันอย่างเหมาะสม ในส่วนของการออมเพื่อเกษียณอายุจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกแบบทยอยจ่าย แทนการจ่ายแบบเป็นก้อนในคราวเดียวกัน รวมถึงการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับภาษีให้เงินก้อนที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นำไปซื้อประกันของบริษัทประกันชีวิตให้ได้รับการลดหย่อนภาษี นอกจากนี้จะมีการออกแบบและการจัดตั้งโครงการออมเพื่อเกษียณอายุแบบบังคับ โดยให้ผู้จัดการกองทุนเอกชนเป็นผู้บริหารบัญชีสะสมแยกรายตัวของสมาชิก เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ กบข. และพิจารณารูปแบบการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับพนักงานที่ไม่ได้ครอบคลุมภายใต้กองทุน กบข.ด้วย (วัฏจักร,กรุงเทพธุรกิจ 17)
ข่าวต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังของธุรกิจ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 สินค้าคงคลังในระดับผู้ขายส่งและขายปลีก เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.ค. 43 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากผู้ค้าได้เพิ่มสต็อกรถยนต์และรถบรรทุกใหม่ไว้สำหรับขายในช่วงคริตส์มาสซึ่งเป็นฤดูกาลใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ยอดขายสินค้าของธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.ค. 43 สำหรับ สินค้าคงคลังต่อยอดขาย ในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 1.34 เดือน จาก 1.33 เดือน ในเดือน ก.ค. 43 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน (รอยเตอร์ 16)
2. การล้มละลายของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 16 ต.ค.43 บริษัทวิจัยสินเชื่อ Teikoku Databank รายงานว่า เดือน ก.ย.43 บริษัทล้มละลายของญี่ปุ่นมีจำนวน 1,502 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 หากเทียบเฉพาะสถิติของเดือน ก.ย. ด้วยกัน นับเป็นการเพิ่มสูงสุดเป็นครั้งที่2 นับตั้งแต่ญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยบริษัทฯ วิเคราะห์ว่า การล้มละลายยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และทั้งปี 43 คาดว่า บริษัทล้มละลายจะมีจำนวนมากกว่า 19,000 ราย ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับปี 41 ซึ่งจะทำให้ปี 43 เป็นปีที่ 2 ที่สถานการณ์การล้มละลายเลวร้ายที่สุดนับแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะเดียวกัน บริษัทฯ รายงาน ยอดหนี้ของบริษัทล้มละลายในเดือน ก.ย.43 ว่า มีมูลค่า 774.2 พัน ล.เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 ทำให้ยอดหนี้ฯรวม ในช่วงเดือน เม.ย.-ก.ย.43 ซึ่งเป็นครึ่งแรกของปี งปม.43/44 เพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 10.914 ล้านล้านเยน นับเป็นการเพิ่มขึ้นถึงระดับ 10 ล้านล้านเยนเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ กล่าวว่า ในภาพรวม ภาคธุรกิจเอกชนของญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว และเป็นปัจจัยที่สนับสนุนเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากถึงแม้สถานการณ์ของบริษัทขนาดเล็กจะไม่ค่อยดี แต่บริษัทขนาดใหญ่ทำกำไรได้มากขึ้น และมีการใช้จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการขยายแผนการผลิต (รอยเตอร์ 16)
3. เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 8.2 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 รายงานจากเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 43 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เติบโตร้อยละ 8.2 จากระยะเดียวกันของปี 42 หลังจากเติบโตร้อยละ 8.3 และร้อยละ8.1 ในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 1 ปี 43 ตามลำดับ นับเป็นการเติบโตมากกว่าร้อยละ 8 ติดต่อกันถึง 3 ไตรมาส สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 GDP เติบโตร้อยละ 8.2 อยู่ที่มูลค่า 750.02 พัน ล. ดอลลาร์ เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.1 จากระยะเดียวกันของปี 42. (เอเชียนวอลล์สตรีท17)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 16 ต.ค. 43 43.260 (43.528)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 16 ต.ค. 43 ซื้อ 43.0739 (43.3054) ขาย 43.3830 (43.6122)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,500) ขาย 5,600 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.87 (28.80)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (14.74)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-