การหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในเดือนกรกฎาคม 2543 มีปริมาณเช็คเรียกเก็บ 4.4 ล้านฉบับ มูลค่ารวม 1,150.40 พันล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.09 และ 4.51 ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่เบาบางลง และการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยทางภาวะเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ปริมาณเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันทำการในเดือนนี้จะเท่ากับ 219,969 ฉบับ สูงขึ้นกว่าเดือนก่อนร้อยละ 7.70 และมูลค่าเช็คเรียกเก็บเป็น 57.52 พันล้านบาทต่อวัน สูงขึ้นร้อยละ 5.04
ในส่วนของเช็คคืนในเดือนกรกฎาคม 2543 มีปริมาณทั้งหมด 112,835 ฉบับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.56 ของปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งหมด และมีมูลค่า 10.34 พันล้านบาท ซึ่งเป็นร้อยละ 0.90 ของมูลค่าเช็คเรียกเก็บ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน จะเห็นว่าสัดส่วนของทั้งปริมาณและมูลค่าเช็คคืนเมื่อเทียบกับเช็คเรียกเก็บนั้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กน้อย
สำหรับเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงิน ซึ่งประกอบด้วยเหตุผลข้อ 1 "เงินในบัญชีไม่พอจ่าย" ข้อ 2 "โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย" และข้อ 3 "ยังไม่มีการตกลงกับธนาคาร" ในเดือนกรกฎาคม 2543 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 65,932 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 4.99 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.5 และ 0.43 ของปริมาณและมูลค่าของเช็คเรียกเก็บตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ในส่วนของเช็คคืนในเดือนกรกฎาคม 2543 มีปริมาณทั้งหมด 112,835 ฉบับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.56 ของปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งหมด และมีมูลค่า 10.34 พันล้านบาท ซึ่งเป็นร้อยละ 0.90 ของมูลค่าเช็คเรียกเก็บ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน จะเห็นว่าสัดส่วนของทั้งปริมาณและมูลค่าเช็คคืนเมื่อเทียบกับเช็คเรียกเก็บนั้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กน้อย
สำหรับเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงิน ซึ่งประกอบด้วยเหตุผลข้อ 1 "เงินในบัญชีไม่พอจ่าย" ข้อ 2 "โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย" และข้อ 3 "ยังไม่มีการตกลงกับธนาคาร" ในเดือนกรกฎาคม 2543 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 65,932 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 4.99 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.5 และ 0.43 ของปริมาณและมูลค่าของเช็คเรียกเก็บตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-