ข่าวในประเทศ
1. ก.คลังเตรียมเสนอออกพธบ.ใหม่ 2 หมื่นล.บาท รองปลัด ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมเสนอออกพธบ.ออมทรัพย์รัฐบาลเสนอขายแก่ประชาชนผ่าน ธ.ออมสินในวงเงิน 2 หมื่นล.บาท โดย ก.คลังสามารถออกพธบ.ออมทรัพย์ใหม่ได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน ภายหลังจาก ครม. ในรัฐบาลใหม่ให้ความเห็นชอบว่าจะยอมยกเว้นภาษีดอกเบี้ยหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 หรือลดอัตราภาษีดอกเบี้ยหัก ณ ที่จ่ายให้ โดยพธบ.ที่จะออกขายใหม่จะให้อัตราดอกเบี้ยไม่แตกต่างจากดอกเบี้ยพธบ.ทั่วไป แต่หากรัฐบาลยกเว้นภาษีก็จะก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่ประชาชน โดยพธบ.ที่จะออกขายใหม่นี้กำหนดวงเงินซื้อขั้นต่ำไว้ที่ฉบับละ 1 หมื่นบาท และเพิ่มขึ้นได้ช่วงละ 1 หมื่นบาทไปจนถึง 1 ล.บาท และมีอายุ 2 ปี 3 ปี และ 5 ปี จ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 6 เดือน โดย พธบ. อายุ 2 ปี สามารถไถ่ถอนหรือขายคืนได้ก่อนกำหนดเมื่อถือครบ 6 เดือนขึ้นไป ส่วนพธบ.อายุ 3 ปี หากจะขายคืนได้ต้องถือครบ 1 ปีนับจากวันที่ซื้อแต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ย และถูกหักเงินในส่วนที่จะได้รับคืนตามระยะเวลา อย่างไรก็ตามจะมีการศึกษาเพื่อจัดทำรายละเอียดอีกครั้งในช่วงปลายเดือน มี.ค. 44 .(ไทยรัฐ, เดลินิวส์ 15)
2. แนวทางการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ นายกิตติ ลิ่มสกุล ที่ปรึกษาเศรษฐกิจพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ(เอเอ็มซีแห่งชาติ)ว่า จะสามารถดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 3 ปี โดยจะมีการออก พ.ร.บ.รองรับ และรับซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของ ธพ.ทั้งระบบ ที่มียอดการค้างชำระดอกเบี้ย 6 เดือนขึ้นไป และมีขนาดของสินทรัพย์ตั้งแต่ 3 ล.บาทขึ้นไป โดยรับซื้อตามราคาบัญชีสุทธิ ขณะเดียวกัน จะมีการออก พ.ร.บ.เพิ่มเติมให้เอเอ็มซีแห่งชาติสามารถออก พธบ.ระดมทุนได้เองโดยที่รัฐบาลไม่ต้องค้ำประกัน โดยคาดว่า พธบ.จะมีมูลค่า 4 แสน ล.บาท อายุ 10 ปี ปลอดดอกเบี้ยในปีแรก และดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในปีถัดไป และสามารถไถ่ถอนได้ในปีที่ 6 และเมื่อการบริหารครบ 3 ปี หากลูกหนี้รายใดไม่บรรลุข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เอเอ็มซีสามารถนำสินทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้ สำหรับโครงสร้างของคณะกรรมการบริหารเอเอ็มซีจะประมาณ 11 คน แต่งตั้งโดย รมว.คลัง และจะมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำงานของเอเอ็มซี(มติชน, วัฏจักร, กรุงเทพธุรกิจ 15)
3. สคบ. ประกาศให้ธุรกิจกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า สคบ. ได้สรุปร่างประกาศให้ธุรกิจกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาเสร็จเรียบร้อยแล้ว สัญญานี้ครอบคลุมผู้ประกอบการทั้งธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ และสถาบันการเงินอื่น ๆ โดยจะคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหากผู้ประกอบการจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่หากเป็นกรณีเร่งด่วนต้องแจ้งทางหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งสัญญานี้ไม่รวมอัตราดอกเบี้ยของลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) และดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี (เอ็มโออาร์) โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 44 .(เดลินิวส์ 15)
ข่าวต่างประเทศ
1. เดือน ธ.ค. 43 สินค้าคงคลังของธุรกิจใน สรอ. เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดหมาย รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 สินค้าคงคลังของธุรกิจใน สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 อยู่ที่มูลค่า 1.221 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับตัวเลขปรับใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ย. 43 ซึ่งเพิ่มขึ้นต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และเป็นการเพิ่มขึ้นต่ำที่สุดนับแต่เดือนม.ค.42 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เช่นกัน หัวหน้านักเศรษฐกรแห่ง Goldman Sachs (Bill Dudley) กล่าวว่า ภาวะสินค้าคงคลังปรับตัวดีขึ้น ขณะเดียวกัน ในเดือน ธ.ค. 43 ยอดขายส่งสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 อยู่ที่มูลค่า 896.84 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ย. 43.(รอยเตอร์ 14)
2. ปรับเพิ่มดัชนีราคาผู้ผลิตโดยรวมของ สรอ. ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 14 ก.พ.44 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยรวม หลังปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค.43 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วน PPI พื้นฐาน ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ปรับลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และจากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ จากรอยเตอร์ คาดว่า เดือน ม.ค. 44 PPI โดยรวม และ PPI พื้นฐาน ของ สรอ. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และ 0.1 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 14)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 ก.พ.44 รมว.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมหลังปรับฤดูกาลของญี่ปุ่นเมื่อเทียบเดือนต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 หลังจากลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน พ.ย.43 และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 การส่งมอบสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สินค้าคงคลังลดลงร้อยละ 0.1 สัดส่วนสินค้าคงคลัง/การส่งมอบสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 สำหรับตัวเลขดังกล่าวที่ยังไม่ปรับฤดูกาลในเดือน ธ.ค.43 เมื่อเทียบปีต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8, 3.7, 2.2, 1.8 และ 0.8 เทียบกับเดือน พ.ย.43 ที่ระดับร้อยละ 3.3, 2.5, 1.4, 1.5 และ 0.6 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 14)
4. เงินเฟ้อในระดับราคาขายส่งของเยอรมนีชะลอตัวลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 เงินเฟ้อที่วัดจากราคาขายส่งโดยรวม เทียบต่อเดือน ลดลงร้อยละ 0.5 จากที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน ธ.ค. 43 และเมื่อเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ชะลอตัวลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในเดือน ธ.ค. 43 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาพลังงาน เงินเฟ้อฯในเดือน ม.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เทียบต่อปี ชะลอตัวลง จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในเดือน ธ.ค. 43 จากรายงานครั้งนี้ บ่งชี้ว่าสัญญาณแรงกดดันด้านราคาสินค้าของเยอรมนี อ่อนตัวลง(รอยเตอร์ 14)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14 ก.พ. 44 42.365 (42.480) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 14 ก.พ. 44ซื้อ 42.1900 (42.3311) ขาย 42.5044 (42.6292)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,200 (5,250) ขาย 5,300 (5,350)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.39 (23.78)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังเตรียมเสนอออกพธบ.ใหม่ 2 หมื่นล.บาท รองปลัด ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมเสนอออกพธบ.ออมทรัพย์รัฐบาลเสนอขายแก่ประชาชนผ่าน ธ.ออมสินในวงเงิน 2 หมื่นล.บาท โดย ก.คลังสามารถออกพธบ.ออมทรัพย์ใหม่ได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน ภายหลังจาก ครม. ในรัฐบาลใหม่ให้ความเห็นชอบว่าจะยอมยกเว้นภาษีดอกเบี้ยหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 หรือลดอัตราภาษีดอกเบี้ยหัก ณ ที่จ่ายให้ โดยพธบ.ที่จะออกขายใหม่จะให้อัตราดอกเบี้ยไม่แตกต่างจากดอกเบี้ยพธบ.ทั่วไป แต่หากรัฐบาลยกเว้นภาษีก็จะก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่ประชาชน โดยพธบ.ที่จะออกขายใหม่นี้กำหนดวงเงินซื้อขั้นต่ำไว้ที่ฉบับละ 1 หมื่นบาท และเพิ่มขึ้นได้ช่วงละ 1 หมื่นบาทไปจนถึง 1 ล.บาท และมีอายุ 2 ปี 3 ปี และ 5 ปี จ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 6 เดือน โดย พธบ. อายุ 2 ปี สามารถไถ่ถอนหรือขายคืนได้ก่อนกำหนดเมื่อถือครบ 6 เดือนขึ้นไป ส่วนพธบ.อายุ 3 ปี หากจะขายคืนได้ต้องถือครบ 1 ปีนับจากวันที่ซื้อแต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ย และถูกหักเงินในส่วนที่จะได้รับคืนตามระยะเวลา อย่างไรก็ตามจะมีการศึกษาเพื่อจัดทำรายละเอียดอีกครั้งในช่วงปลายเดือน มี.ค. 44 .(ไทยรัฐ, เดลินิวส์ 15)
2. แนวทางการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ นายกิตติ ลิ่มสกุล ที่ปรึกษาเศรษฐกิจพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ(เอเอ็มซีแห่งชาติ)ว่า จะสามารถดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 3 ปี โดยจะมีการออก พ.ร.บ.รองรับ และรับซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของ ธพ.ทั้งระบบ ที่มียอดการค้างชำระดอกเบี้ย 6 เดือนขึ้นไป และมีขนาดของสินทรัพย์ตั้งแต่ 3 ล.บาทขึ้นไป โดยรับซื้อตามราคาบัญชีสุทธิ ขณะเดียวกัน จะมีการออก พ.ร.บ.เพิ่มเติมให้เอเอ็มซีแห่งชาติสามารถออก พธบ.ระดมทุนได้เองโดยที่รัฐบาลไม่ต้องค้ำประกัน โดยคาดว่า พธบ.จะมีมูลค่า 4 แสน ล.บาท อายุ 10 ปี ปลอดดอกเบี้ยในปีแรก และดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในปีถัดไป และสามารถไถ่ถอนได้ในปีที่ 6 และเมื่อการบริหารครบ 3 ปี หากลูกหนี้รายใดไม่บรรลุข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เอเอ็มซีสามารถนำสินทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้ สำหรับโครงสร้างของคณะกรรมการบริหารเอเอ็มซีจะประมาณ 11 คน แต่งตั้งโดย รมว.คลัง และจะมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำงานของเอเอ็มซี(มติชน, วัฏจักร, กรุงเทพธุรกิจ 15)
3. สคบ. ประกาศให้ธุรกิจกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า สคบ. ได้สรุปร่างประกาศให้ธุรกิจกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาเสร็จเรียบร้อยแล้ว สัญญานี้ครอบคลุมผู้ประกอบการทั้งธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ และสถาบันการเงินอื่น ๆ โดยจะคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหากผู้ประกอบการจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่หากเป็นกรณีเร่งด่วนต้องแจ้งทางหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งสัญญานี้ไม่รวมอัตราดอกเบี้ยของลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) และดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี (เอ็มโออาร์) โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 44 .(เดลินิวส์ 15)
ข่าวต่างประเทศ
1. เดือน ธ.ค. 43 สินค้าคงคลังของธุรกิจใน สรอ. เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดหมาย รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 สินค้าคงคลังของธุรกิจใน สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 อยู่ที่มูลค่า 1.221 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับตัวเลขปรับใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ย. 43 ซึ่งเพิ่มขึ้นต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และเป็นการเพิ่มขึ้นต่ำที่สุดนับแต่เดือนม.ค.42 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เช่นกัน หัวหน้านักเศรษฐกรแห่ง Goldman Sachs (Bill Dudley) กล่าวว่า ภาวะสินค้าคงคลังปรับตัวดีขึ้น ขณะเดียวกัน ในเดือน ธ.ค. 43 ยอดขายส่งสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 อยู่ที่มูลค่า 896.84 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ย. 43.(รอยเตอร์ 14)
2. ปรับเพิ่มดัชนีราคาผู้ผลิตโดยรวมของ สรอ. ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 14 ก.พ.44 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยรวม หลังปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค.43 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วน PPI พื้นฐาน ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ปรับลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และจากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ จากรอยเตอร์ คาดว่า เดือน ม.ค. 44 PPI โดยรวม และ PPI พื้นฐาน ของ สรอ. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และ 0.1 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 14)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 ก.พ.44 รมว.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมหลังปรับฤดูกาลของญี่ปุ่นเมื่อเทียบเดือนต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 หลังจากลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน พ.ย.43 และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 การส่งมอบสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สินค้าคงคลังลดลงร้อยละ 0.1 สัดส่วนสินค้าคงคลัง/การส่งมอบสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 สำหรับตัวเลขดังกล่าวที่ยังไม่ปรับฤดูกาลในเดือน ธ.ค.43 เมื่อเทียบปีต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8, 3.7, 2.2, 1.8 และ 0.8 เทียบกับเดือน พ.ย.43 ที่ระดับร้อยละ 3.3, 2.5, 1.4, 1.5 และ 0.6 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 14)
4. เงินเฟ้อในระดับราคาขายส่งของเยอรมนีชะลอตัวลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 เงินเฟ้อที่วัดจากราคาขายส่งโดยรวม เทียบต่อเดือน ลดลงร้อยละ 0.5 จากที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน ธ.ค. 43 และเมื่อเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ชะลอตัวลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในเดือน ธ.ค. 43 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาพลังงาน เงินเฟ้อฯในเดือน ม.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เทียบต่อปี ชะลอตัวลง จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในเดือน ธ.ค. 43 จากรายงานครั้งนี้ บ่งชี้ว่าสัญญาณแรงกดดันด้านราคาสินค้าของเยอรมนี อ่อนตัวลง(รอยเตอร์ 14)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14 ก.พ. 44 42.365 (42.480) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 14 ก.พ. 44ซื้อ 42.1900 (42.3311) ขาย 42.5044 (42.6292)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,200 (5,250) ขาย 5,300 (5,350)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.39 (23.78)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-