แท็ก
Rice
ดินพอดีนั้นสำคัญ ในที่ดินแต่ละแปลงอาจจะมีสูงต่ำบ้าง แต่ถ้ามองในภาพรวมแล้วถ้าเกิดสูงเกินไป 20 % gross sharing มันเตรียมเอาไว้อยู่แล้วว่าสถาบันการเงินจะต้องรับไปในอนาคตข้างหน้า ฉะนั้นถ้าเราไม่เอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เราดูถึงประโยชน์เป็นที่ตั้ง ต้องหา optimum price ไม่ใช่แบ่งคนรวย แบ่งคนจน ไร้สาระ เราไร้สาระมา 4 ปีเพียงพอแล้ว นี่คือสิ่งที่ผมเรียนเสนอ
เรื่องที่ 2 ท่านจะได้พบกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแน่นอน ความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของผมคือ ไม่ใช่ขายรัฐวิสาหกิจ แต่ทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นเป็นองค์กรที่มีพลังไม่แพ้เอกชน การทำให้มีพลังไม่แพ้เอกชนและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ต้องผ่านการพัฒนาภายในให้มี efficiency สูงขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำฐานของโครงสร้างทางการเงินให้แข็งขึ้น เอาเข้าตลาดหุ้น กระจายหุ้นให้ประชาชน กระจายหุ้นให้พนักงาน กระจายหุ้นให้นักลงทุนได้มีโอกาสเข้ามาเกื้อกูล 3 ปีจะทำอย่างต่อเนื่อง ท่านจะได้พบกับการแปรรูปโครงสร้างอุตสาหกรรม ณ ขณะนี้ สินค้าส่วนใหญ่ของไทยขาดความสามารถเชิงแข่งขัน 20 ปีที่ผ่านมาเราไม่เคยทำอะไรกับโครงสร้างอุตสาหกรรมของเราเลยเพราะว่ามันทำยาก ขยับนิดหนึ่งจะไปเจอข้างหน้า ขยับนิดหนึ่งจะไปเจอข้างหลัง ลูบหน้าปะจมูกตลอด ไม่ใช่ง่ายๆ แต่ว่าต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำทรัพยากรของประเทศมีจำกัด ถ้าไม่มีการ set priority หรือระดับความสำคัญของงาน เราอยู่ไม่ได้หรอก ฉะนั้นเตรียมไว้ได้เลยว่า ท่านต้องตามให้ดีๆ ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญของอะไรมากกว่าอะไร เพื่อว่าท่านจะได้ shift strategy ได้ทันท่วงที ท่านจะได้พบกับการปฏิรูประบบราชการ
วันนี้ท่านไปถามพ่อค้าคนไหนก็ได้ว่าอย่างเลวที่สุดในวันนี้ ระบบราชการนั้นดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้วมากมาย เพราะรัฐบาลเอาจริง แต่ถามว่าจะดีขึ้นมากไหมถ้าไม่มีการปฏิรูป ยาก เพราะว่าโครงสร้างมันใหญ่ ต้องค่อยๆ แก้กันไป ท่านจะได้พบกับเรื่องของการปรับปรุง SMEs นี่เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล ต้องทำให้ได้ สร้าง new entrepreneur ผมได้เรียน รมว. อุตสาหกรรมไว้แล้วว่า หน้าที่ใหญ่อันหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรมคือการสร้าง new entrepreneur ขึ้นมา ผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้นมา อีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ กระทรวงการคลังจะมี package หนึ่งที่จะมาช่วยเรื่องของ SMEs แต่ว่ากระทรวงการคลังแห่งเดียวไม่ได้ ต้องหลายๆ หน่วยงานเกี่ยวข้องกัน รวมทั้งหอการค้าด้วย เพราะ SMEs ที่แท้จริงนั้นมันอยู่ในแต่ละจังหวัด นโยบายของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุนหมู่บ้าน ในส่วนที่เกี่ยวกับ ธ.ก.ส. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว มันจะหมุนอยู่รอบหอการค้าทั้งสิ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าท่านอยู่ที่ระยอง เป็นแหล่งท่องเที่ยว 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ก็ต้องผลิตสินค้าเกี่ยวกับผลไม้แน่นอน แปรรูป กองทุนหมู่บ้านไปก็ต้องเกี่ยวข้องกับอันนี้แน่นอน ธ.ก.ส. ไปก็ต้องพยายามทำอันนี้ให้แข็งแรงขึ้นมาแน่นอน SMEs ก็เกิดขึ้น ณ แถบนั้น ฉะนั้นมันก็ต้องเกี่ยวข้องกันหลายๆ หน่วยงาน ฉะนั้นท่านคิดตรงนี้ก็แล้วกันว่า ถ้ารัฐบาลนี้อยู่ 4 ปี สิ่งนี้จะเกิดขึ้นอยู่ 4 ปี แล้วท่านจะทำอย่างไรกับสิ่งเหล่านี้ ท่านเป็นพ่อค้าท่านรู้ดีว่าถ้าจะทำขึ้นมาเป็นอย่างนี้แน่นอน ท่านจะทำอย่างไรกับแนวคิดอันนี้ ท่านจะช่วยตัวเองและจะช่วยประเทศได้อย่างไร คิดเสียแต่เดี๋ยวนี้ ผมพยายามฉายภาพให้ดูว่า ท่านได้พบอะไร
มาอันที่ 2 อันนี้ไม่ใช่ประเด็นของเราแต่ว่ามันมาจากต่างประเทศ คือการปรับตัวครั้งใหญ่ในเรื่องของยุทธศาสตร์ต่างประเทศ ไปที่สิงคโปร์ได้พบทั้ง โก๊ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคนอื่นๆ สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือว่า สิงคโปร์ขณะนี้หวั่นไหวมาก เพราะว่า 1. การส่งออกตก 2. จุดแข็งของสิงคโปร์ที่แท้จริงอยู่ที่คนและเทคโนโลยี สิงคโปร์ไม่มีพื้นฐานของการผลิตนอกจากอิเล็กทรอนิกส์และไฮเทค 3. จีนเข้า WTO ความเจริญเติบโตของจีนนั้นมหาศาล GDP 8-9 % ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย และที่สำคัญสินค้าของจีนในขณะนี้ทั้งถูกและดี ถ้าสินค้าทั้งถูกและดี รวมทั้งสิ่งที่กำลังจะเกิดที่เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น ปักกิ่ง concept global city ของสิงคโปร์หายวับไปกับตา เพราะสิงคโปร์เคยคิดว่าถ้าเขาเป็น global city มีคนเก่ง มีระบบธุรกิจดี มีบริการที่ดี เขาสามารถใช้ประโยชน์จากตรงนี้ขี่หลังนักธุรกิจประเทศอื่นได้ แต่พอดูไปยังเซี่ยงไฮ้เห็นแหล่ง shopping ของเขา ไม่ได้แพ้สิงคโปร์เลย แถมสินค้าราคาถูกกว่าเสียอีก ฉะนั้นความตื่นตัวของเขาเริ่มขับเคลื่อนให้เขา เริ่มปรับยุทธศาสตร์ของประเทศ นายกรัฐมนตรี โก๊ะ จ๊ก ตง พูดในงาน National Rally วันชาติของเขา บอกว่าสิ่งที่สิงคโปร์ต้องทำนั้น ต้องมีการพลิกขนานใหญ่ แนวทางการผลิตโดยเน้น mass production ผลิตขนานใหญ่โดยไม่สนใจว่าสินค้านั้นใครต้องการ หลากหลายออกไปไหม ต้องเปลี่ยนไปเสียแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นสินค้าเขาจะไม่สามารถแข่งกับสินค้าที่ออกมาจากประเทศจีนได้เลย แนวความคิดที่จะพึ่งพิงอยู่กับบริษัทยักษ์ใหญ่แถบเอเชียอย่างเดียว บริษัทข้ามชาติไม่เพียงพอเสียแล้ว ต้องเป็นสินค้าที่สามารถ tailor-made ผลิตโดยเฉพาะ ให้สอดรับกับความต้องการเฉพาะอย่างได้ เริ่มพูดถึง skill ทักษะในการผลิต
เขา comment หรือวิพากษ์วิจารณ์คนของสิงคโปร์ว่า สิ่งที่ต้องแก้ไขด่วนมี 2-3 ประการ 1. คือการขาดความโอบอ้อมอารี อันนี้ต้องแก้ 2. ความต้องการในการ show off project เพราะความเจริญในอดีตมีสูง ต้องแก้ เขาใช้กับคำแต้จิ๋ว เขาใช้คำว่า… (ภาษาแต้จิ๋ว) 3. เขาใช้กับคำแต้จิ๋วเหมือนกัน พวกเกียซู attitude เกียซูก็คือคำว่ากลัวแพ้ กลัวล้มเหลว กลัวว่าพอนักธุรกิจส่วนใหญ่ตั้งตัวขึ้นมาได้ รุ่นใหม่ที่ขึ้นมานั้นกลัวความล้มเหลว นิยมเป็นลูกจ้างมากกว่าทำอาชีพค้าขายของตัวเอง กฎ 3 สิ่งนี้ต้องทำลายมันซะ แล้วก็เริ่มเตรียมตัวของตัวเองสู้กับความคิด เริ่ม mobilize อาเซียนให้เข้ากับเขา เพื่อรวมพลังอาเซียนดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาสู่อาเซียน นี่คือสิงคโปร์ ไทยเองก็ต้องคิดเหมือนกัน
การปรับยุทธศาสตร์ของเมืองไทยที่รัฐบาลนี้จริงๆ ได้เริ่มแล้ว ที่เราประกาศเป็น manifesto ของพรรคไทยรักไทย เรื่องของการกลับไปสู่สิ่งที่เราเรียกว่า core efficiency สมัยที่เราพูดคำนี้ครั้งแรกคนไม่เข้าใจ เพราะว่ามันเป็นศัพท์ที่เวลาเราสอนหนังสือในบริหารธุรกิจ core efficiency หมายความว่า ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถเฉพาะอย่าง ที่เป็นแก่นของประเทศของเราคืออะไร ฉะนั้นถึงเวลาที่จะต้องกลับมาสู่แก่นแท้ของความสามารถของประเทศไทย เราก้าวสู่ระดับโลก ความสามารถทางการค้าของเราชั้นเซียน เป็นเรื่องที่ต้องหัวเราะ เพราะสินค้าของเรานั้นส่วนใหญ่รับจ้างทำของทั้งสิ้น ฉะนั้นยุคใหม่ข้างหน้าสิ่งที่ท้าทายก็คือว่า ถ้าท่านรู้ว่ารัฐบาลจะเริ่ม shift ไปสู่สิ่งที่เป็นแก่นแท้ของความสามารถ ไปสู่เรื่องของการท่องเที่ยว ไปสู่เรื่องของการบริการ ไปสู่เรื่องของการแปรรูปเกษตร ไปสู่เรื่องของสินค้าที่เน้นทักษะ ท่านเตรียมตัวได้เลยว่าทิศทางของการลงทุนนั้นควรจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าตลาดต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญ ท่านต้องเตรียมตัวว่าการเปิดช่องทางไปต่างประเทศนั้นจะทำกันอย่างไร 10 ปี 20 ปี ที่ผ่านมาใช้วิธีขายให้กับ trading company เพื่อให้เขาไปขายให้กับต่างประเทศอีกทีหนึ่ง ไปขายให้กับยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ในต่างประเทศ วิธีนี้จำเป็นหรือไม่ เรามีวิธีอื่นดีกว่านั้นหรือไม่ อินเตอร์เน็ตช่วยอะไรท่านได้บ้าง ท่านต้องเริ่มศึกษา เพราะว่ากระแสแห่งการค้าระดับโลกมันจะเกิดขึ้นแรงมาก ท่านต้องรีบติดตาม ดูวิธีการ กระทรวงพาณิชย์ก็ต้องพยายามผลักดันเรื่องของอินเตอร์เน็ตเข้ามาเสริม นี่คือสิ่งที่ท่านต้องเผชิญแน่นอน
อันที่ 3 เรื่องของกระแสการค้าเสรี ผมใช้คำว่า The New Competition ผมเขียนชื่อนี้ในหนังสือของผมเมื่อ 15 ปีที่แล้ว แต่วันนี้แน่นอนเลย The New Competition เกิดแน่นอน แนวความคิดที่บอกว่าจะไปสู่ core efficiency ทำสิ่งที่เราเข้มแข็ง มันอยู่ในหนังสือที่ผมเขียนเล่มนี้เมื่อ 15 ปีมาแล้ว แต่กว่ามันจะได้ใช้บางทีเราก็ดีใจเหมือนกันว่าเรายังไม่ตายเสียก่อน วันนี้ได้มีโอกาสมาใช้คำว่า The New Competition, core efficiency เพราะตัวนี้สำคัญ แทนจะเป็นคำว่า S curve เมื่อสมัยที่ผมไปเรียนหนังสือ ปี 1980 ผมไปบอกอาจารย์ผมว่า อาจารย์เขียนชมญี่ปุ่นมากเลย ชมสิงคโปร์มากเลย แต่ผมเห็นว่า ตอนนี้ญี่ปุ่นอยู่ตรงนี้ ไทยอยู่ตรงนี้นะ อนาคตมันจะมีการทดแทนกัน เขาไม่สนใจ ผมคิดอย่างนี้จริงๆ
ฉะนั้น ตรงนี้ที่จะเกิดขึ้นก็คือว่า The New Competition แปลว่า อนาคตข้างหน้าเมื่อมีการค้าเสรี เกิดขึ้น ท่านจะพบ new player ผู้เล่นรายใหม่ที่เข้ามาในเมืองไทย ท่านจะได้เห็นสินค้ามาตรฐานใหม่ที่เข้ามาในเมืองไทย ท่านจะเห็น standard ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ที่เข้ามาในเมืองไทย ฉะนั้นคู่แข่งก็จะเปลี่ยน พลังคู่แข่งก็จะเปลี่ยน เดิมทีกำลังสู้กับรายนี้อยู่ดีๆ แล้วอยู่ๆ คู่แข่งเป็นรายอื่นไปเสียแล้ว พวกนี้รายเล็กๆ กลายเป็นรายใหญ่ๆ เสียด้วย ฉะนั้น new player หรือผู้เล่นรายใหม่ที่เข้ามา new of the game กฎเกณฑ์การแข่งขันใหม่จะเข้ามา สินค้าของท่านได้มาตรฐานหรือไม่? บริษัทของท่านได้มาตรฐานหรือไม่ ท่านจะต้องเตรียมรับชะตานี้ให้ดีๆ มิเช่นนั้นท่านจะเหมือนกับโชห่วยในวันนี้ที่ต้องแข่งขันกับ super store ระดับยักษ์ อันนี้แน่นอน และไม่ได้เกิดขึ้นในเมืองไทยอย่างเดียว มันจะเกิดขึ้นทั่วโลก ตรงนี้ความหมายความสำคัญคืออะไร หมายความว่า อนาคตข้างหน้ายุทธศาสตร์แห่งการทำธุรกิจ นี่ไม่ต้องพูดถึงประเทศนะ เอาแค่พวกท่าน หมายความว่า แค่ผลิตและขาย ผลิตและขาย ผลิตและขาย ไม่เพียงพอ แต่ว่าจะผลิตอะไร ขายอะไร และขายอย่างไร ตรงนั้นสำคัญ ฉะนั้นท่านคิดเสียก่อนว่าจะทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร นี่คือลมแห่งความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น แล้วมันจะมาถึงเรา
อันที่ 4 ในเชิงของ customer ลูกค้า ท่านจะได้พบกับสิ่งที่ผมเคยเรียกว่า demanding customer หรือ demanding demand ลูกค้าที่มีอำนาจสูงมาก อย่างที่ผมเรียนเมื่อสักครู่นี้ก็คือว่า การผลิตขนานใหญ่ และก็ขายแบบเยอะๆ อนาคตจะลำบาก มันจะมาสู่ยุคของ customize ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละกลุ่ม เพราะว่า มันถูกบีบ ทั้งมาจากผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งเขาเริ่มสามารถเข้าสู่ผู้ผลิตแต่ละรายได้ผ่านทาง IT เทคโนโลยี และผ่านกระบวนการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถ tailor-made สินค้าให้สอดรับกับขบวนการได้โดยต้นทุนที่ต่ำ ฉะนั้น ความเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเกิด ที่แทนให้ความต้องการที่ต้องการสินค้าเฉพาะอย่าง สินค้าที่มีคุณค่า สินค้าที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมี value ตรงนี้สำคัญ วันนี้ผมเริ่มรู้สึกตัวแล้วว่าเวลาเราจะซื้อสินค้า เราเปลี่ยนไป ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเราชราภาพขึ้นมากหรือเปล่า ซื้อสินค้าทีต้องมาดู อันนี้มีอะไรพิเศษหรือเปล่า? มีอะไรที่มันธรรมชาติมากขึ้นหรือเปล่า? อันนี้ทานแล้วคลอเรสเตอรอลสูงไหม? มันเริ่มเข้ามาสู่ความคิดความต้องการ ยี่ห้อเริ่มไม่สำคัญ กลายเป็นว่า ใครจะมา offer good product คนนั้นได้เปรียบ สินค้าบางอย่างไปซื้อคุณภาพก็ธรรมดา packaging สวยหน่อย ดีหน่อย ซื้อทันที ความเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเกิดขึ้น ท่านจะทำอย่างไร ? ณ ตรงนี้ มันกำลังเกิดขึ้น ไล่มาทีละช่วง ทีละช่วง
มาสู่อีกอันหนึ่ง สิ่งที่ท่านต้องเจอแน่นอน สมัยผมหนุ่มๆ เป็นลูกจ้าง เป็นนายจ้าง เป็นที่ปรึกษา พวกท่านมีโรงงาน มีลูกจ้าง อนาคตข้างหน้าคอมพิวเตอร์เข้ามา IT เข้ามา สิ่งที่เป็น knowledge worker หรือลูกจ้างที่มีความรู้จะมีมากขึ้นเป็นสัดส่วนที่มากไม่แพ้ลูกจ้างประเภทแรงงาน ความเปลี่ยนแปลงนี้กำลังจะเกิด การแทนด้วยคนเหล่านี้ในองค์กรของท่านจะเปลี่ยนแปลง ในระดับชาติมันจะเกิด knowledge society ขึ้นมา อีกกี่ปีไม่ทราบ แต่ในระดับ knowledge worker มันจะเกิดขึ้นเร็วแน่นอน วันนี้เดินไปตามถนนในใจกลางเมืองจะเห็น knowledge worker เต็มไปหมด นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่ท่านจะต้องเผชิญ ฉะนั้น ทั้งหมดนี้ก็คือคำถามที่ผมเคยบอกว่า The road stops here. ถนนจากอดีตมาถึงตรงนี้ หยุดแล้ว จากวันนี้ไปมีแต่ความเปลี่ยนแปลงแล้ว ท่านจะต้องตอบคำถามในหัวข้อใหญ่ข้อที่ 2 ทันทีว่า แล้วอย่างนั้นเราจะเดินไปเส้นทางไหน ตรงนี้ถ้าตอบข้อที่ 1 ท่านต้องคิดใหม่กับยุทธศาสตร์การทำธุรกิจของท่าน redefine business ประเทศที่เจริญ องค์กรธุรกิจจะไม่นั่งเฉยๆ หอการค้าต้องพยายามผลักดันตรงนี้ คือการที่จะให้อุตสาหกรรมมันพัฒนาไปตามวงจรชีวิตของมัน ยุคข้างหน้าเป็นยุคที่นักธุรกิจต้องคิดใหม่ให้ได้ว่าอุตสาหกรรมควรจะเป็นอย่างไร เพื่อให้เป็นประโยชน์กับพวกเรามากที่สุด
ยกตัวอย่างง่าย ๆ คนมองว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็คือการนำคนต่างประเทศเข้ามาและก็ไปเอาไกด์พาทัวร์ แล้วก็ไป deal กับโรงแรม คิดอยู่แค่นั้น แต่ถ้าคนที่ฉลาดต้องการขยายธุรกิจก็คือการ redefine tourism industry ตั้งแต่ว่าไปดักให้ข้อมูลข่าวสารกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศได้อย่างไร ? ดึงเขาเข้ามาแล้วจะให้เขาไปเที่ยวที่ไหน ? มันเกี่ยวข้องกับเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยว เรื่องของโรงแรม เรื่องของไกด์ เรื่องของข้อมูลข่าวสาร เรื่องของความปลอดภัย เรื่องของ entertainment เรื่องของอาหาร มันเชื่อมโยงกันไปหมด ฉะนั้นถ้าหากว่าสามารถ redefine อุตสาหกรรมได้ ท่านก็สามารถ redefine ธุรกิจของท่านได้ เมื่อท่าน redefine ธุรกิจของท่านใหม่ได้ หมายความว่าท่านกำลัง create หรือสร้างตลาดใหม่ขึ้นมาได้ทันที ไม่ใช่ไปรอน้ำใต้ศอกจากคนอื่น คนที่ประสบความสำเร็จไม่เคยเป็นคนที่นั่งเฉย ๆ แล้วรอให้สิ่งที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงเรา คนที่ประสบความสำเร็จก็คือคนที่รู้ว่าจะคิดยังไง ดักทาง แล้วก็ไปสร้างสิ่งใหม่รอรับไว้ก่อน แล้วก็ผลักดันให้ทุกสิ่งนั้นไปสู่จุดนั้นให้ได้ อันนั้นคือหัวใจ
Michael Porter ที่มีชื่อเสียง เวลาจะมา เราสนใจอยู่อย่างเดียวว่าค่าตัวของเขา 40 ล้าน เหลือกี่ล้าน แต่เราไม่เคยเข้าไปสนใจว่าแก่นความคิดเขาคืออะไร อันนี้เป็นสิ่งตลกมาก ความคิดหนึ่งของ Porter ก็คือเรื่องที่บอกว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้มีการสร้าง คือเราคิดไปก่อนว่าอุตสาหกรรมที่เราอยู่นี้ ต้องกลายเป็นอะไร เราถึงได้ประโยชน์ ประเทศถึงได้ประโยชน์และเราร่วมกันผลักดันสิ่งเหล่านี้ให้อุตสาหกรรมนั้นๆ เกิดขึ้นมาในภาพที่เราต้องการ อันนั้นเรียก reinvest industry
ในหนังสือเล่มที่ 2 ของเขา หลายท่านถ้าเจอมักจะเอาไปหนุนนอน เพราะมันอ่านยาก น่าเบื่อหน่าย แต่เล่มนี้มหาศาลทีเดียว เขาเรียก concept ตัวนี้ว่า diamond หรือเพชร เขาบอกจะทำประเทศให้แข็งแรงนั้น ต้องประกอบด้วย 1. เรื่องของ whole market condition สภาพภายในประเทศ ต้องทำให้แข็ง ตลาดต้องใหญ่ มีแรงในการซื้อขายมาก 2. ท่านต้องมีแนวร่วมจากต่างประเทศ 3. ท่านต้องมี supplier จะ manage supply chain อย่างไร เขาไล่เป็นจุดๆ เป็นการเสริมพลังของ synergy ให้เกิดรูป diamond effect ประเทศก็จะมีพลัง ในระดับธุรกิจจะวางอย่างไรที่จะมีพลัง เมืองไทยไม่สนใจ สนใจคำว่า 40 ล้าน 4 ล้าน 1 ล้าน ตรงนี้ต่างหากท่านต้องเริ่มคิดแล้ว เพราะว่าถ้าท่านต้องแข่งขันกับคนอื่นเขา ขนาดอย่างนั้น ท่านก็ต้องเก่งจริงจึงจะอยู่ได้
ฉะนั้นนี่คือการ redefine, reinvest ธุรกิจ strategy ถึงจะออกมา มันก็มาสู่คำถามใหญ่คำถามที่ 3 ที่บอกว่าถนนเส้นเดิมมาถึงตรงนี้ได้หยุดแล้ว เราจะไปไหนต่อ คำถามต่อไปก็คือว่า แล้วเราจะจัดทัพอย่างไร จะขับรถประเภทไหน on the road หรือ off road ตรงนี้ก็คือการปรับโครงสร้างธุรกิจนั่นเอง ผมเคยบอกว่าประเทศไทยไม่มีทางฟื้นทางเศรษฐกิจได้ถ้าธุรกิจไทยไม่ปรับโครงสร้างอย่างแท้จริง เพราะว่าการผลักดันจริงๆ ของกลไกเศรษฐกิจนั้นมันมาจาก private sector มาจากภาคเอกชน ภาคเอกชนวันนี้กองใหญ่กองหนึ่งอยู่ที่ NPL ความสำคัญของ บสท. อยู่ตรงนั้น ทำหนี้ด้อยให้เป็นหนี้ดี ให้เขาขึ้นมาใหม่ได้ อีกกองหนึ่งก็คือบริษัทที่ดูว่าใหญ่แต่วันนี้ไม่ค่อยมีแรง เพราะฐานะการเงินไม่เหมือนเมื่อก่อน อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มเล็กที่ยังอยู่ได้ เป็นพลังขับเคลื่อน รวมเบ็ดเสร็จพอไปได้ แต่ลองนึกภาพหลับตานึกดูว่าถ้าท่านเจอกองทัพสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา อยู่ได้หรือไม่ ? อันนี้ต้องตอบคำถามดีๆ
ถ้าหลับตานึกภาพ คือบังเอิญ 10 กว่าปีที่ผ่านมาผมยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจในเมืองไทยเยอะ ไม่ว่าธุรกิจแบบจีน แบบไทย แบบอะไรก็แล้วแต่ เห็นมาหมดแล้ว ได้เห็นภาพๆ หนึ่ง ก็คือว่า ธุรกิจของไทยส่วนใหญ่ 1. ไม่ได้อิงกับระบบ แต่อิงอยู่กับคน ต่อให้มีการปรับโครงสร้างองค์กรอย่างไรก็แล้วแต่ ทุกอย่างอยู่ที่คน จะให้ใครอยู่ตรงไหน แล้วใช้คนเหล่านั้นในการขับเคลื่อนองค์กร นี่คือสายเอเชียเลยแหละ ฉะนั้นต่อให้เป็นแบบฝรั่งก็ยังใช้วิธีนี้อย่างเดิม 2. ธุรกิจของไทยส่วนใหญ่เป็นแบบที่เขาเรียกว่า family business คือแบบครอบครัว ไม่มีความชัดเจนของตัวเลขทางการเงิน ตรงนี้ที่นักธุรกิจต่างประเทศเขาตั้งข้อสังเกต good governance ในสายตาของฝรั่งไม่ดี จะโทษเมืองไทยโทษไม่ได้ นี่คือ Asian style ของ management คือ 1. เชื่อมั่นในตัวคน 2. เชื่อมั่นในความยืดหยุ่น ตัวเลขไม่ชัดเจน ทำอย่างนี้มาเป็นสิบๆ ปี 3. อยู่ที่ contention network นี่คือพลังขับเคลื่อนที่แท้จริงเลยของธุรกิจของเอเชีย ถามว่าเพียงพอหรือไม่? ตอบว่าไม่เพียงพอ เพราะเวลาได้ผ่านไปแล้ว ธุรกิจสมัยเตี่ยเป็นแบบหนึ่ง อนาคตข้างหน้าแน่นอน นักธุรกิจสมัยเสี่ยรับรองออกมาแล้วแต่ว่าข้างหน้ามันแสนจะขรุขระ 1.ของการมี structure เท่าที่ผมดู องค์กรของท่านก็ไม่ใช่องค์กรที่จะเน้นความใหญ่ แต่เป็นองค์กรที่เน้นความคล่องตัว ท่านเคยมีลูกใช่ไหม เวลาลูกเล็ก ลูกชอบเล่นอะไร เห็นตุ๊กตาที่แปลงร่างไหม องค์กรแห่งอนาคตคือองค์กรอย่างนั้น หมายความว่าองค์กรท่านอย่ามานั่งลากเส้น มีช่อง มีบล็อก คนนี้เป็นรองผู้จัดการใหญ่ มันใหญ่ทั้งนั้นเลย แต่องค์กรใหญ่อย่างนั้นก็คือว่า ยืดหยุ่น เสมือนหนึ่งที่เรียกว่า hollow organization หรือ virtual organization มีเหมือนไม่มี แต่ปรับได้ทุกอย่าง เน้นความเร็ว นี่ข้อที่ 1 2. speed ทุกอย่างอยู่ที่ speed 3. standard มาตรฐานที่แท้จริงต้องมีแน่นอน อนาคตการบล็อกสินค้าในต่างประเทศจะสู้กันด้วยมาตรฐาน
ผมไปที่จีน เห็นนาฬิกาแต่ละยี่ห้อ ทั้งมองบลอง ทั้งบาเต็ก ฟิลิปส์ วางแบกะดิน เรือนละ 500 บาท เวลาเราเจอแบกะดินของเราที่หัวหินเนี่ยคนละรุ่นเลย ที่นู้นฝรั่งที่ทำร้องไห้จริงๆ ฆ่าตัวตายแน่นอน เหมือนเปี๊ยบ 500 บาท ของจริง 1 ล้านบาท มันแปลว่าอะไร มันไม่ได้แปลว่าเก่งนะ ไม่ใช่อย่างนั้น มันแปลว่าถ้านาฬิกาเรือนหนึ่งสามารถทำให้เหมือนขนาดนั้น และแค่ 500 บาท หมายความว่าการผลิตนั้นเป็นล้าน engine ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นต้องเยอะมากถึงจะถูก และฝีมือในการประกอบอย่างนั้นแสดงว่ามี skill มีทักษะ ถ้าเมื่อไหร่เขาแปลงลักษณะนี้ ไม่ใช่เป็นของปลอม แต่มันเป็นของจริงที่แข่งขัน ใช้การตลาดเข้าช่วยอันนั้นเรื่องใหญ่ แต่พอเราเห็นเรา โอ้โฮ! มิน่าสิงคโปร์ถึงผวา เราเห็นสินค้ามันถูกนะ 500 บาท แต่ว่าลองนึกดูว่าถ้าเขาใช้ตรงนี้ในการแข่งขันการค้าที่แท้จริง อันนี้เรื่องใหญ่ สิ่งนี้สำคัญมาก ผมถึงอยากเรียนว่า ธุรกิจไทยต้องปรับโครงสร้างอย่างแท้จริง ให้มี good governance ต้องมี เพราะว่าถ้าเขาไม่มี good governance ระบบบัญชีไม่เด่นชัด โอนหนี้ไม่ชัดเจน จะมีการเก็บไว้ในส่วนอื่น อนาคตข้างหน้าถ้าท่านไม่ใหญ่จริงท่านกู้แบงก์ไม่ได้ ถ้าตัวเลขไม่ชัดเจนท่านกู้แบงก์ไม่ได้ เข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ โครงสร้างทุนท่านจะไม่แข็ง แข่งขันไม่ได้ สินค้าไม่มี quality แข่งไม่ได้ องค์กรอืดอาดยืดยาดแข่งไม่ได้
ตรงนี้ผมกลับมาจุดเริ่มต้นใหม่ 1. อนาคตเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง และความเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นลักษณะของความไม่ต่อเนื่องจากอดีต discontinuity ฉะนั้นท่านต้องเกาะติดกับวิ่งแวดล้อมที่มันเปลี่ยนแปลงไป 2. เมื่อเกาะติดแล้วท่านต้องรู้ว่าท่านจะไปไหน ผมเคยบอกลูกศิษย์เสมอเวลาผมสอนหนังสือว่า อย่าปล่อยชีวิตให้เหมือนกับลูกปิงปองที่กลิ้งตามตู้เกมส์ ผมก็ไม่รู้ว่ามันเรียกว่าอะไรเพราะตอนเด็กๆ ผมเคยเล่น ท่านจะเดินเส้นทางไหน อย่าปล่อยไปตามโชควาสนา 3. ท่านจะจัดทัพของท่านอย่างไร นี่คือระดับของท่าน ในระดับประเทศก็เหมือนกัน ถ้ามัวแต่บอกว่าข้าราชการ สื่อนำเสนอ ยังไม่ได้รับรายงาน ไม่ได้ top down ลงมา ผมว่าท่านต้อง bottom up บ้าง ไม่มีตำราฉบับไหนเลยที่บอกว่าความเจริญเกิดขึ้นเพราะ bottom up อย่างเดียว มันต้อง top down พร้อมทั้ง bottom up และมาเจอที่ตรงกลาง ถ้าคุณเรียนหนังสือ ป. 4 กับคนที่เรียนหนังสือสูง มีประสบการณ์ สิบๆ ปี ใครจะมีสิ่งที่เป็นวิสัยทัศน์สูงกว่าใคร แต่ถ้าอยู่ข้างบนไม่มองลงมาที่ข้างล่าง วิสัยทัศน์อันนี้คือวิสัยทัศน์เก๊ คือเราฝัน คือไม่สามารถลงไปถึงรากฐานของชาวบ้านที่แท้จริงได้ ฉะนั้นมันต้อง 2 ส่วนผสมกันทั้ง top down ทั้ง bottom up ต้องชี้นำให้ได้ว่า คุณต้องทำอย่างนี้ และถ้าเขาไม่เห็นด้วย ท้วงติงมา ประเทศมันถึงจะไปได้
หอการค้าของท่านจะช่วยอะไรผมได้ ท่านต้องตอบได้ ผมจะช่วยท่าน เพราะ 1 ใน 3 ของชีวิตผมอยู่ในอาจารย์ 1 ใน 3 อยู่ในภาคธุรกิจ อีก 1 ใน 3 อยู่ในการเมือง ท่านอยู่ไม่ได้แน่นอนถ้ารัฐบาลไม่ support ท่าน ไม่ช่วยท่านทางอ้อม แต่ว่ารัฐบาลก็อยู่ไม่ได้เหมือนกันถ้าท่านนิ่งๆ เฉยๆ ผมบอกว่าผมจะพัฒนา SMEs ในต่างจังหวัด ท่านเป็นหอการค้าจังหวัด ท่านไม่รวมกลุ่มกัน ไม่ช่วยเรื่อง SMEs ไม่ช่วยเรื่อง 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ไม่ช่วยเรื่องการพัฒนาธุรกิจในท้องถิ่น รัฐบาลทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้
ฉะนั้นผมถึงฝันอยากจะเห็นว่า นักธุรกิจหอการค้าทั้งประเทศรวมพลังกัน ดีไม่ดีผมอยากให้รวมกับสภาอุตสาหกรรมด้วยซ้ำไป ถ้าไม่คิดเรื่องโควต้าตำแหน่งเก้าอี้ ให้มันเป็นสภาธุรกิจที่เข้มแข็งมีพลัง จะไปไหนไม่ใช่เพื่อตามนายกฯ แต่เพื่อว่าจะเอาอะไรมาสู่ประเทศไทย การเจรจาแบบการเจรจาที่แท้จริง ตรงนี้สำคัญ การปรับองค์กรเสียใหม่ ภายใต้การนำของท่าน ดร.อาชว์ฯ ผมเชื่อว่าทำได้เพราะท่านมีแผนอยู่ตลอด
เอาละครับผมใช้เวลามาพอแล้ว พวกท่านคงหิวข้าวกัน มีอะไรก็ฝากบอกอาจารย์อาชว์ฯ นะครับ ผมยินดีที่จะช่วยเหลือ และถ้ามีอะไรช่วยผมบ้างขอให้บอก และถ้ามีอะไรขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ขอให้บอกนะครับ ขอบคุณครับ____________________
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ชนาธิป : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-
เรื่องที่ 2 ท่านจะได้พบกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแน่นอน ความหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของผมคือ ไม่ใช่ขายรัฐวิสาหกิจ แต่ทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นเป็นองค์กรที่มีพลังไม่แพ้เอกชน การทำให้มีพลังไม่แพ้เอกชนและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ต้องผ่านการพัฒนาภายในให้มี efficiency สูงขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำฐานของโครงสร้างทางการเงินให้แข็งขึ้น เอาเข้าตลาดหุ้น กระจายหุ้นให้ประชาชน กระจายหุ้นให้พนักงาน กระจายหุ้นให้นักลงทุนได้มีโอกาสเข้ามาเกื้อกูล 3 ปีจะทำอย่างต่อเนื่อง ท่านจะได้พบกับการแปรรูปโครงสร้างอุตสาหกรรม ณ ขณะนี้ สินค้าส่วนใหญ่ของไทยขาดความสามารถเชิงแข่งขัน 20 ปีที่ผ่านมาเราไม่เคยทำอะไรกับโครงสร้างอุตสาหกรรมของเราเลยเพราะว่ามันทำยาก ขยับนิดหนึ่งจะไปเจอข้างหน้า ขยับนิดหนึ่งจะไปเจอข้างหลัง ลูบหน้าปะจมูกตลอด ไม่ใช่ง่ายๆ แต่ว่าต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำทรัพยากรของประเทศมีจำกัด ถ้าไม่มีการ set priority หรือระดับความสำคัญของงาน เราอยู่ไม่ได้หรอก ฉะนั้นเตรียมไว้ได้เลยว่า ท่านต้องตามให้ดีๆ ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญของอะไรมากกว่าอะไร เพื่อว่าท่านจะได้ shift strategy ได้ทันท่วงที ท่านจะได้พบกับการปฏิรูประบบราชการ
วันนี้ท่านไปถามพ่อค้าคนไหนก็ได้ว่าอย่างเลวที่สุดในวันนี้ ระบบราชการนั้นดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้วมากมาย เพราะรัฐบาลเอาจริง แต่ถามว่าจะดีขึ้นมากไหมถ้าไม่มีการปฏิรูป ยาก เพราะว่าโครงสร้างมันใหญ่ ต้องค่อยๆ แก้กันไป ท่านจะได้พบกับเรื่องของการปรับปรุง SMEs นี่เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล ต้องทำให้ได้ สร้าง new entrepreneur ผมได้เรียน รมว. อุตสาหกรรมไว้แล้วว่า หน้าที่ใหญ่อันหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรมคือการสร้าง new entrepreneur ขึ้นมา ผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้นมา อีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ กระทรวงการคลังจะมี package หนึ่งที่จะมาช่วยเรื่องของ SMEs แต่ว่ากระทรวงการคลังแห่งเดียวไม่ได้ ต้องหลายๆ หน่วยงานเกี่ยวข้องกัน รวมทั้งหอการค้าด้วย เพราะ SMEs ที่แท้จริงนั้นมันอยู่ในแต่ละจังหวัด นโยบายของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุนหมู่บ้าน ในส่วนที่เกี่ยวกับ ธ.ก.ส. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว มันจะหมุนอยู่รอบหอการค้าทั้งสิ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าท่านอยู่ที่ระยอง เป็นแหล่งท่องเที่ยว 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ก็ต้องผลิตสินค้าเกี่ยวกับผลไม้แน่นอน แปรรูป กองทุนหมู่บ้านไปก็ต้องเกี่ยวข้องกับอันนี้แน่นอน ธ.ก.ส. ไปก็ต้องพยายามทำอันนี้ให้แข็งแรงขึ้นมาแน่นอน SMEs ก็เกิดขึ้น ณ แถบนั้น ฉะนั้นมันก็ต้องเกี่ยวข้องกันหลายๆ หน่วยงาน ฉะนั้นท่านคิดตรงนี้ก็แล้วกันว่า ถ้ารัฐบาลนี้อยู่ 4 ปี สิ่งนี้จะเกิดขึ้นอยู่ 4 ปี แล้วท่านจะทำอย่างไรกับสิ่งเหล่านี้ ท่านเป็นพ่อค้าท่านรู้ดีว่าถ้าจะทำขึ้นมาเป็นอย่างนี้แน่นอน ท่านจะทำอย่างไรกับแนวคิดอันนี้ ท่านจะช่วยตัวเองและจะช่วยประเทศได้อย่างไร คิดเสียแต่เดี๋ยวนี้ ผมพยายามฉายภาพให้ดูว่า ท่านได้พบอะไร
มาอันที่ 2 อันนี้ไม่ใช่ประเด็นของเราแต่ว่ามันมาจากต่างประเทศ คือการปรับตัวครั้งใหญ่ในเรื่องของยุทธศาสตร์ต่างประเทศ ไปที่สิงคโปร์ได้พบทั้ง โก๊ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคนอื่นๆ สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือว่า สิงคโปร์ขณะนี้หวั่นไหวมาก เพราะว่า 1. การส่งออกตก 2. จุดแข็งของสิงคโปร์ที่แท้จริงอยู่ที่คนและเทคโนโลยี สิงคโปร์ไม่มีพื้นฐานของการผลิตนอกจากอิเล็กทรอนิกส์และไฮเทค 3. จีนเข้า WTO ความเจริญเติบโตของจีนนั้นมหาศาล GDP 8-9 % ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย และที่สำคัญสินค้าของจีนในขณะนี้ทั้งถูกและดี ถ้าสินค้าทั้งถูกและดี รวมทั้งสิ่งที่กำลังจะเกิดที่เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น ปักกิ่ง concept global city ของสิงคโปร์หายวับไปกับตา เพราะสิงคโปร์เคยคิดว่าถ้าเขาเป็น global city มีคนเก่ง มีระบบธุรกิจดี มีบริการที่ดี เขาสามารถใช้ประโยชน์จากตรงนี้ขี่หลังนักธุรกิจประเทศอื่นได้ แต่พอดูไปยังเซี่ยงไฮ้เห็นแหล่ง shopping ของเขา ไม่ได้แพ้สิงคโปร์เลย แถมสินค้าราคาถูกกว่าเสียอีก ฉะนั้นความตื่นตัวของเขาเริ่มขับเคลื่อนให้เขา เริ่มปรับยุทธศาสตร์ของประเทศ นายกรัฐมนตรี โก๊ะ จ๊ก ตง พูดในงาน National Rally วันชาติของเขา บอกว่าสิ่งที่สิงคโปร์ต้องทำนั้น ต้องมีการพลิกขนานใหญ่ แนวทางการผลิตโดยเน้น mass production ผลิตขนานใหญ่โดยไม่สนใจว่าสินค้านั้นใครต้องการ หลากหลายออกไปไหม ต้องเปลี่ยนไปเสียแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นสินค้าเขาจะไม่สามารถแข่งกับสินค้าที่ออกมาจากประเทศจีนได้เลย แนวความคิดที่จะพึ่งพิงอยู่กับบริษัทยักษ์ใหญ่แถบเอเชียอย่างเดียว บริษัทข้ามชาติไม่เพียงพอเสียแล้ว ต้องเป็นสินค้าที่สามารถ tailor-made ผลิตโดยเฉพาะ ให้สอดรับกับความต้องการเฉพาะอย่างได้ เริ่มพูดถึง skill ทักษะในการผลิต
เขา comment หรือวิพากษ์วิจารณ์คนของสิงคโปร์ว่า สิ่งที่ต้องแก้ไขด่วนมี 2-3 ประการ 1. คือการขาดความโอบอ้อมอารี อันนี้ต้องแก้ 2. ความต้องการในการ show off project เพราะความเจริญในอดีตมีสูง ต้องแก้ เขาใช้กับคำแต้จิ๋ว เขาใช้คำว่า… (ภาษาแต้จิ๋ว) 3. เขาใช้กับคำแต้จิ๋วเหมือนกัน พวกเกียซู attitude เกียซูก็คือคำว่ากลัวแพ้ กลัวล้มเหลว กลัวว่าพอนักธุรกิจส่วนใหญ่ตั้งตัวขึ้นมาได้ รุ่นใหม่ที่ขึ้นมานั้นกลัวความล้มเหลว นิยมเป็นลูกจ้างมากกว่าทำอาชีพค้าขายของตัวเอง กฎ 3 สิ่งนี้ต้องทำลายมันซะ แล้วก็เริ่มเตรียมตัวของตัวเองสู้กับความคิด เริ่ม mobilize อาเซียนให้เข้ากับเขา เพื่อรวมพลังอาเซียนดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาสู่อาเซียน นี่คือสิงคโปร์ ไทยเองก็ต้องคิดเหมือนกัน
การปรับยุทธศาสตร์ของเมืองไทยที่รัฐบาลนี้จริงๆ ได้เริ่มแล้ว ที่เราประกาศเป็น manifesto ของพรรคไทยรักไทย เรื่องของการกลับไปสู่สิ่งที่เราเรียกว่า core efficiency สมัยที่เราพูดคำนี้ครั้งแรกคนไม่เข้าใจ เพราะว่ามันเป็นศัพท์ที่เวลาเราสอนหนังสือในบริหารธุรกิจ core efficiency หมายความว่า ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถเฉพาะอย่าง ที่เป็นแก่นของประเทศของเราคืออะไร ฉะนั้นถึงเวลาที่จะต้องกลับมาสู่แก่นแท้ของความสามารถของประเทศไทย เราก้าวสู่ระดับโลก ความสามารถทางการค้าของเราชั้นเซียน เป็นเรื่องที่ต้องหัวเราะ เพราะสินค้าของเรานั้นส่วนใหญ่รับจ้างทำของทั้งสิ้น ฉะนั้นยุคใหม่ข้างหน้าสิ่งที่ท้าทายก็คือว่า ถ้าท่านรู้ว่ารัฐบาลจะเริ่ม shift ไปสู่สิ่งที่เป็นแก่นแท้ของความสามารถ ไปสู่เรื่องของการท่องเที่ยว ไปสู่เรื่องของการบริการ ไปสู่เรื่องของการแปรรูปเกษตร ไปสู่เรื่องของสินค้าที่เน้นทักษะ ท่านเตรียมตัวได้เลยว่าทิศทางของการลงทุนนั้นควรจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าตลาดต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญ ท่านต้องเตรียมตัวว่าการเปิดช่องทางไปต่างประเทศนั้นจะทำกันอย่างไร 10 ปี 20 ปี ที่ผ่านมาใช้วิธีขายให้กับ trading company เพื่อให้เขาไปขายให้กับต่างประเทศอีกทีหนึ่ง ไปขายให้กับยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ในต่างประเทศ วิธีนี้จำเป็นหรือไม่ เรามีวิธีอื่นดีกว่านั้นหรือไม่ อินเตอร์เน็ตช่วยอะไรท่านได้บ้าง ท่านต้องเริ่มศึกษา เพราะว่ากระแสแห่งการค้าระดับโลกมันจะเกิดขึ้นแรงมาก ท่านต้องรีบติดตาม ดูวิธีการ กระทรวงพาณิชย์ก็ต้องพยายามผลักดันเรื่องของอินเตอร์เน็ตเข้ามาเสริม นี่คือสิ่งที่ท่านต้องเผชิญแน่นอน
อันที่ 3 เรื่องของกระแสการค้าเสรี ผมใช้คำว่า The New Competition ผมเขียนชื่อนี้ในหนังสือของผมเมื่อ 15 ปีที่แล้ว แต่วันนี้แน่นอนเลย The New Competition เกิดแน่นอน แนวความคิดที่บอกว่าจะไปสู่ core efficiency ทำสิ่งที่เราเข้มแข็ง มันอยู่ในหนังสือที่ผมเขียนเล่มนี้เมื่อ 15 ปีมาแล้ว แต่กว่ามันจะได้ใช้บางทีเราก็ดีใจเหมือนกันว่าเรายังไม่ตายเสียก่อน วันนี้ได้มีโอกาสมาใช้คำว่า The New Competition, core efficiency เพราะตัวนี้สำคัญ แทนจะเป็นคำว่า S curve เมื่อสมัยที่ผมไปเรียนหนังสือ ปี 1980 ผมไปบอกอาจารย์ผมว่า อาจารย์เขียนชมญี่ปุ่นมากเลย ชมสิงคโปร์มากเลย แต่ผมเห็นว่า ตอนนี้ญี่ปุ่นอยู่ตรงนี้ ไทยอยู่ตรงนี้นะ อนาคตมันจะมีการทดแทนกัน เขาไม่สนใจ ผมคิดอย่างนี้จริงๆ
ฉะนั้น ตรงนี้ที่จะเกิดขึ้นก็คือว่า The New Competition แปลว่า อนาคตข้างหน้าเมื่อมีการค้าเสรี เกิดขึ้น ท่านจะพบ new player ผู้เล่นรายใหม่ที่เข้ามาในเมืองไทย ท่านจะได้เห็นสินค้ามาตรฐานใหม่ที่เข้ามาในเมืองไทย ท่านจะเห็น standard ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ที่เข้ามาในเมืองไทย ฉะนั้นคู่แข่งก็จะเปลี่ยน พลังคู่แข่งก็จะเปลี่ยน เดิมทีกำลังสู้กับรายนี้อยู่ดีๆ แล้วอยู่ๆ คู่แข่งเป็นรายอื่นไปเสียแล้ว พวกนี้รายเล็กๆ กลายเป็นรายใหญ่ๆ เสียด้วย ฉะนั้น new player หรือผู้เล่นรายใหม่ที่เข้ามา new of the game กฎเกณฑ์การแข่งขันใหม่จะเข้ามา สินค้าของท่านได้มาตรฐานหรือไม่? บริษัทของท่านได้มาตรฐานหรือไม่ ท่านจะต้องเตรียมรับชะตานี้ให้ดีๆ มิเช่นนั้นท่านจะเหมือนกับโชห่วยในวันนี้ที่ต้องแข่งขันกับ super store ระดับยักษ์ อันนี้แน่นอน และไม่ได้เกิดขึ้นในเมืองไทยอย่างเดียว มันจะเกิดขึ้นทั่วโลก ตรงนี้ความหมายความสำคัญคืออะไร หมายความว่า อนาคตข้างหน้ายุทธศาสตร์แห่งการทำธุรกิจ นี่ไม่ต้องพูดถึงประเทศนะ เอาแค่พวกท่าน หมายความว่า แค่ผลิตและขาย ผลิตและขาย ผลิตและขาย ไม่เพียงพอ แต่ว่าจะผลิตอะไร ขายอะไร และขายอย่างไร ตรงนั้นสำคัญ ฉะนั้นท่านคิดเสียก่อนว่าจะทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร นี่คือลมแห่งความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น แล้วมันจะมาถึงเรา
อันที่ 4 ในเชิงของ customer ลูกค้า ท่านจะได้พบกับสิ่งที่ผมเคยเรียกว่า demanding customer หรือ demanding demand ลูกค้าที่มีอำนาจสูงมาก อย่างที่ผมเรียนเมื่อสักครู่นี้ก็คือว่า การผลิตขนานใหญ่ และก็ขายแบบเยอะๆ อนาคตจะลำบาก มันจะมาสู่ยุคของ customize ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละกลุ่ม เพราะว่า มันถูกบีบ ทั้งมาจากผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งเขาเริ่มสามารถเข้าสู่ผู้ผลิตแต่ละรายได้ผ่านทาง IT เทคโนโลยี และผ่านกระบวนการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถ tailor-made สินค้าให้สอดรับกับขบวนการได้โดยต้นทุนที่ต่ำ ฉะนั้น ความเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเกิด ที่แทนให้ความต้องการที่ต้องการสินค้าเฉพาะอย่าง สินค้าที่มีคุณค่า สินค้าที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมี value ตรงนี้สำคัญ วันนี้ผมเริ่มรู้สึกตัวแล้วว่าเวลาเราจะซื้อสินค้า เราเปลี่ยนไป ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเราชราภาพขึ้นมากหรือเปล่า ซื้อสินค้าทีต้องมาดู อันนี้มีอะไรพิเศษหรือเปล่า? มีอะไรที่มันธรรมชาติมากขึ้นหรือเปล่า? อันนี้ทานแล้วคลอเรสเตอรอลสูงไหม? มันเริ่มเข้ามาสู่ความคิดความต้องการ ยี่ห้อเริ่มไม่สำคัญ กลายเป็นว่า ใครจะมา offer good product คนนั้นได้เปรียบ สินค้าบางอย่างไปซื้อคุณภาพก็ธรรมดา packaging สวยหน่อย ดีหน่อย ซื้อทันที ความเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเกิดขึ้น ท่านจะทำอย่างไร ? ณ ตรงนี้ มันกำลังเกิดขึ้น ไล่มาทีละช่วง ทีละช่วง
มาสู่อีกอันหนึ่ง สิ่งที่ท่านต้องเจอแน่นอน สมัยผมหนุ่มๆ เป็นลูกจ้าง เป็นนายจ้าง เป็นที่ปรึกษา พวกท่านมีโรงงาน มีลูกจ้าง อนาคตข้างหน้าคอมพิวเตอร์เข้ามา IT เข้ามา สิ่งที่เป็น knowledge worker หรือลูกจ้างที่มีความรู้จะมีมากขึ้นเป็นสัดส่วนที่มากไม่แพ้ลูกจ้างประเภทแรงงาน ความเปลี่ยนแปลงนี้กำลังจะเกิด การแทนด้วยคนเหล่านี้ในองค์กรของท่านจะเปลี่ยนแปลง ในระดับชาติมันจะเกิด knowledge society ขึ้นมา อีกกี่ปีไม่ทราบ แต่ในระดับ knowledge worker มันจะเกิดขึ้นเร็วแน่นอน วันนี้เดินไปตามถนนในใจกลางเมืองจะเห็น knowledge worker เต็มไปหมด นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่ท่านจะต้องเผชิญ ฉะนั้น ทั้งหมดนี้ก็คือคำถามที่ผมเคยบอกว่า The road stops here. ถนนจากอดีตมาถึงตรงนี้ หยุดแล้ว จากวันนี้ไปมีแต่ความเปลี่ยนแปลงแล้ว ท่านจะต้องตอบคำถามในหัวข้อใหญ่ข้อที่ 2 ทันทีว่า แล้วอย่างนั้นเราจะเดินไปเส้นทางไหน ตรงนี้ถ้าตอบข้อที่ 1 ท่านต้องคิดใหม่กับยุทธศาสตร์การทำธุรกิจของท่าน redefine business ประเทศที่เจริญ องค์กรธุรกิจจะไม่นั่งเฉยๆ หอการค้าต้องพยายามผลักดันตรงนี้ คือการที่จะให้อุตสาหกรรมมันพัฒนาไปตามวงจรชีวิตของมัน ยุคข้างหน้าเป็นยุคที่นักธุรกิจต้องคิดใหม่ให้ได้ว่าอุตสาหกรรมควรจะเป็นอย่างไร เพื่อให้เป็นประโยชน์กับพวกเรามากที่สุด
ยกตัวอย่างง่าย ๆ คนมองว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็คือการนำคนต่างประเทศเข้ามาและก็ไปเอาไกด์พาทัวร์ แล้วก็ไป deal กับโรงแรม คิดอยู่แค่นั้น แต่ถ้าคนที่ฉลาดต้องการขยายธุรกิจก็คือการ redefine tourism industry ตั้งแต่ว่าไปดักให้ข้อมูลข่าวสารกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศได้อย่างไร ? ดึงเขาเข้ามาแล้วจะให้เขาไปเที่ยวที่ไหน ? มันเกี่ยวข้องกับเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยว เรื่องของโรงแรม เรื่องของไกด์ เรื่องของข้อมูลข่าวสาร เรื่องของความปลอดภัย เรื่องของ entertainment เรื่องของอาหาร มันเชื่อมโยงกันไปหมด ฉะนั้นถ้าหากว่าสามารถ redefine อุตสาหกรรมได้ ท่านก็สามารถ redefine ธุรกิจของท่านได้ เมื่อท่าน redefine ธุรกิจของท่านใหม่ได้ หมายความว่าท่านกำลัง create หรือสร้างตลาดใหม่ขึ้นมาได้ทันที ไม่ใช่ไปรอน้ำใต้ศอกจากคนอื่น คนที่ประสบความสำเร็จไม่เคยเป็นคนที่นั่งเฉย ๆ แล้วรอให้สิ่งที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงเรา คนที่ประสบความสำเร็จก็คือคนที่รู้ว่าจะคิดยังไง ดักทาง แล้วก็ไปสร้างสิ่งใหม่รอรับไว้ก่อน แล้วก็ผลักดันให้ทุกสิ่งนั้นไปสู่จุดนั้นให้ได้ อันนั้นคือหัวใจ
Michael Porter ที่มีชื่อเสียง เวลาจะมา เราสนใจอยู่อย่างเดียวว่าค่าตัวของเขา 40 ล้าน เหลือกี่ล้าน แต่เราไม่เคยเข้าไปสนใจว่าแก่นความคิดเขาคืออะไร อันนี้เป็นสิ่งตลกมาก ความคิดหนึ่งของ Porter ก็คือเรื่องที่บอกว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้มีการสร้าง คือเราคิดไปก่อนว่าอุตสาหกรรมที่เราอยู่นี้ ต้องกลายเป็นอะไร เราถึงได้ประโยชน์ ประเทศถึงได้ประโยชน์และเราร่วมกันผลักดันสิ่งเหล่านี้ให้อุตสาหกรรมนั้นๆ เกิดขึ้นมาในภาพที่เราต้องการ อันนั้นเรียก reinvest industry
ในหนังสือเล่มที่ 2 ของเขา หลายท่านถ้าเจอมักจะเอาไปหนุนนอน เพราะมันอ่านยาก น่าเบื่อหน่าย แต่เล่มนี้มหาศาลทีเดียว เขาเรียก concept ตัวนี้ว่า diamond หรือเพชร เขาบอกจะทำประเทศให้แข็งแรงนั้น ต้องประกอบด้วย 1. เรื่องของ whole market condition สภาพภายในประเทศ ต้องทำให้แข็ง ตลาดต้องใหญ่ มีแรงในการซื้อขายมาก 2. ท่านต้องมีแนวร่วมจากต่างประเทศ 3. ท่านต้องมี supplier จะ manage supply chain อย่างไร เขาไล่เป็นจุดๆ เป็นการเสริมพลังของ synergy ให้เกิดรูป diamond effect ประเทศก็จะมีพลัง ในระดับธุรกิจจะวางอย่างไรที่จะมีพลัง เมืองไทยไม่สนใจ สนใจคำว่า 40 ล้าน 4 ล้าน 1 ล้าน ตรงนี้ต่างหากท่านต้องเริ่มคิดแล้ว เพราะว่าถ้าท่านต้องแข่งขันกับคนอื่นเขา ขนาดอย่างนั้น ท่านก็ต้องเก่งจริงจึงจะอยู่ได้
ฉะนั้นนี่คือการ redefine, reinvest ธุรกิจ strategy ถึงจะออกมา มันก็มาสู่คำถามใหญ่คำถามที่ 3 ที่บอกว่าถนนเส้นเดิมมาถึงตรงนี้ได้หยุดแล้ว เราจะไปไหนต่อ คำถามต่อไปก็คือว่า แล้วเราจะจัดทัพอย่างไร จะขับรถประเภทไหน on the road หรือ off road ตรงนี้ก็คือการปรับโครงสร้างธุรกิจนั่นเอง ผมเคยบอกว่าประเทศไทยไม่มีทางฟื้นทางเศรษฐกิจได้ถ้าธุรกิจไทยไม่ปรับโครงสร้างอย่างแท้จริง เพราะว่าการผลักดันจริงๆ ของกลไกเศรษฐกิจนั้นมันมาจาก private sector มาจากภาคเอกชน ภาคเอกชนวันนี้กองใหญ่กองหนึ่งอยู่ที่ NPL ความสำคัญของ บสท. อยู่ตรงนั้น ทำหนี้ด้อยให้เป็นหนี้ดี ให้เขาขึ้นมาใหม่ได้ อีกกองหนึ่งก็คือบริษัทที่ดูว่าใหญ่แต่วันนี้ไม่ค่อยมีแรง เพราะฐานะการเงินไม่เหมือนเมื่อก่อน อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มเล็กที่ยังอยู่ได้ เป็นพลังขับเคลื่อน รวมเบ็ดเสร็จพอไปได้ แต่ลองนึกภาพหลับตานึกดูว่าถ้าท่านเจอกองทัพสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา อยู่ได้หรือไม่ ? อันนี้ต้องตอบคำถามดีๆ
ถ้าหลับตานึกภาพ คือบังเอิญ 10 กว่าปีที่ผ่านมาผมยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจในเมืองไทยเยอะ ไม่ว่าธุรกิจแบบจีน แบบไทย แบบอะไรก็แล้วแต่ เห็นมาหมดแล้ว ได้เห็นภาพๆ หนึ่ง ก็คือว่า ธุรกิจของไทยส่วนใหญ่ 1. ไม่ได้อิงกับระบบ แต่อิงอยู่กับคน ต่อให้มีการปรับโครงสร้างองค์กรอย่างไรก็แล้วแต่ ทุกอย่างอยู่ที่คน จะให้ใครอยู่ตรงไหน แล้วใช้คนเหล่านั้นในการขับเคลื่อนองค์กร นี่คือสายเอเชียเลยแหละ ฉะนั้นต่อให้เป็นแบบฝรั่งก็ยังใช้วิธีนี้อย่างเดิม 2. ธุรกิจของไทยส่วนใหญ่เป็นแบบที่เขาเรียกว่า family business คือแบบครอบครัว ไม่มีความชัดเจนของตัวเลขทางการเงิน ตรงนี้ที่นักธุรกิจต่างประเทศเขาตั้งข้อสังเกต good governance ในสายตาของฝรั่งไม่ดี จะโทษเมืองไทยโทษไม่ได้ นี่คือ Asian style ของ management คือ 1. เชื่อมั่นในตัวคน 2. เชื่อมั่นในความยืดหยุ่น ตัวเลขไม่ชัดเจน ทำอย่างนี้มาเป็นสิบๆ ปี 3. อยู่ที่ contention network นี่คือพลังขับเคลื่อนที่แท้จริงเลยของธุรกิจของเอเชีย ถามว่าเพียงพอหรือไม่? ตอบว่าไม่เพียงพอ เพราะเวลาได้ผ่านไปแล้ว ธุรกิจสมัยเตี่ยเป็นแบบหนึ่ง อนาคตข้างหน้าแน่นอน นักธุรกิจสมัยเสี่ยรับรองออกมาแล้วแต่ว่าข้างหน้ามันแสนจะขรุขระ 1.ของการมี structure เท่าที่ผมดู องค์กรของท่านก็ไม่ใช่องค์กรที่จะเน้นความใหญ่ แต่เป็นองค์กรที่เน้นความคล่องตัว ท่านเคยมีลูกใช่ไหม เวลาลูกเล็ก ลูกชอบเล่นอะไร เห็นตุ๊กตาที่แปลงร่างไหม องค์กรแห่งอนาคตคือองค์กรอย่างนั้น หมายความว่าองค์กรท่านอย่ามานั่งลากเส้น มีช่อง มีบล็อก คนนี้เป็นรองผู้จัดการใหญ่ มันใหญ่ทั้งนั้นเลย แต่องค์กรใหญ่อย่างนั้นก็คือว่า ยืดหยุ่น เสมือนหนึ่งที่เรียกว่า hollow organization หรือ virtual organization มีเหมือนไม่มี แต่ปรับได้ทุกอย่าง เน้นความเร็ว นี่ข้อที่ 1 2. speed ทุกอย่างอยู่ที่ speed 3. standard มาตรฐานที่แท้จริงต้องมีแน่นอน อนาคตการบล็อกสินค้าในต่างประเทศจะสู้กันด้วยมาตรฐาน
ผมไปที่จีน เห็นนาฬิกาแต่ละยี่ห้อ ทั้งมองบลอง ทั้งบาเต็ก ฟิลิปส์ วางแบกะดิน เรือนละ 500 บาท เวลาเราเจอแบกะดินของเราที่หัวหินเนี่ยคนละรุ่นเลย ที่นู้นฝรั่งที่ทำร้องไห้จริงๆ ฆ่าตัวตายแน่นอน เหมือนเปี๊ยบ 500 บาท ของจริง 1 ล้านบาท มันแปลว่าอะไร มันไม่ได้แปลว่าเก่งนะ ไม่ใช่อย่างนั้น มันแปลว่าถ้านาฬิกาเรือนหนึ่งสามารถทำให้เหมือนขนาดนั้น และแค่ 500 บาท หมายความว่าการผลิตนั้นเป็นล้าน engine ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นต้องเยอะมากถึงจะถูก และฝีมือในการประกอบอย่างนั้นแสดงว่ามี skill มีทักษะ ถ้าเมื่อไหร่เขาแปลงลักษณะนี้ ไม่ใช่เป็นของปลอม แต่มันเป็นของจริงที่แข่งขัน ใช้การตลาดเข้าช่วยอันนั้นเรื่องใหญ่ แต่พอเราเห็นเรา โอ้โฮ! มิน่าสิงคโปร์ถึงผวา เราเห็นสินค้ามันถูกนะ 500 บาท แต่ว่าลองนึกดูว่าถ้าเขาใช้ตรงนี้ในการแข่งขันการค้าที่แท้จริง อันนี้เรื่องใหญ่ สิ่งนี้สำคัญมาก ผมถึงอยากเรียนว่า ธุรกิจไทยต้องปรับโครงสร้างอย่างแท้จริง ให้มี good governance ต้องมี เพราะว่าถ้าเขาไม่มี good governance ระบบบัญชีไม่เด่นชัด โอนหนี้ไม่ชัดเจน จะมีการเก็บไว้ในส่วนอื่น อนาคตข้างหน้าถ้าท่านไม่ใหญ่จริงท่านกู้แบงก์ไม่ได้ ถ้าตัวเลขไม่ชัดเจนท่านกู้แบงก์ไม่ได้ เข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ โครงสร้างทุนท่านจะไม่แข็ง แข่งขันไม่ได้ สินค้าไม่มี quality แข่งไม่ได้ องค์กรอืดอาดยืดยาดแข่งไม่ได้
ตรงนี้ผมกลับมาจุดเริ่มต้นใหม่ 1. อนาคตเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง และความเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นลักษณะของความไม่ต่อเนื่องจากอดีต discontinuity ฉะนั้นท่านต้องเกาะติดกับวิ่งแวดล้อมที่มันเปลี่ยนแปลงไป 2. เมื่อเกาะติดแล้วท่านต้องรู้ว่าท่านจะไปไหน ผมเคยบอกลูกศิษย์เสมอเวลาผมสอนหนังสือว่า อย่าปล่อยชีวิตให้เหมือนกับลูกปิงปองที่กลิ้งตามตู้เกมส์ ผมก็ไม่รู้ว่ามันเรียกว่าอะไรเพราะตอนเด็กๆ ผมเคยเล่น ท่านจะเดินเส้นทางไหน อย่าปล่อยไปตามโชควาสนา 3. ท่านจะจัดทัพของท่านอย่างไร นี่คือระดับของท่าน ในระดับประเทศก็เหมือนกัน ถ้ามัวแต่บอกว่าข้าราชการ สื่อนำเสนอ ยังไม่ได้รับรายงาน ไม่ได้ top down ลงมา ผมว่าท่านต้อง bottom up บ้าง ไม่มีตำราฉบับไหนเลยที่บอกว่าความเจริญเกิดขึ้นเพราะ bottom up อย่างเดียว มันต้อง top down พร้อมทั้ง bottom up และมาเจอที่ตรงกลาง ถ้าคุณเรียนหนังสือ ป. 4 กับคนที่เรียนหนังสือสูง มีประสบการณ์ สิบๆ ปี ใครจะมีสิ่งที่เป็นวิสัยทัศน์สูงกว่าใคร แต่ถ้าอยู่ข้างบนไม่มองลงมาที่ข้างล่าง วิสัยทัศน์อันนี้คือวิสัยทัศน์เก๊ คือเราฝัน คือไม่สามารถลงไปถึงรากฐานของชาวบ้านที่แท้จริงได้ ฉะนั้นมันต้อง 2 ส่วนผสมกันทั้ง top down ทั้ง bottom up ต้องชี้นำให้ได้ว่า คุณต้องทำอย่างนี้ และถ้าเขาไม่เห็นด้วย ท้วงติงมา ประเทศมันถึงจะไปได้
หอการค้าของท่านจะช่วยอะไรผมได้ ท่านต้องตอบได้ ผมจะช่วยท่าน เพราะ 1 ใน 3 ของชีวิตผมอยู่ในอาจารย์ 1 ใน 3 อยู่ในภาคธุรกิจ อีก 1 ใน 3 อยู่ในการเมือง ท่านอยู่ไม่ได้แน่นอนถ้ารัฐบาลไม่ support ท่าน ไม่ช่วยท่านทางอ้อม แต่ว่ารัฐบาลก็อยู่ไม่ได้เหมือนกันถ้าท่านนิ่งๆ เฉยๆ ผมบอกว่าผมจะพัฒนา SMEs ในต่างจังหวัด ท่านเป็นหอการค้าจังหวัด ท่านไม่รวมกลุ่มกัน ไม่ช่วยเรื่อง SMEs ไม่ช่วยเรื่อง 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ไม่ช่วยเรื่องการพัฒนาธุรกิจในท้องถิ่น รัฐบาลทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้
ฉะนั้นผมถึงฝันอยากจะเห็นว่า นักธุรกิจหอการค้าทั้งประเทศรวมพลังกัน ดีไม่ดีผมอยากให้รวมกับสภาอุตสาหกรรมด้วยซ้ำไป ถ้าไม่คิดเรื่องโควต้าตำแหน่งเก้าอี้ ให้มันเป็นสภาธุรกิจที่เข้มแข็งมีพลัง จะไปไหนไม่ใช่เพื่อตามนายกฯ แต่เพื่อว่าจะเอาอะไรมาสู่ประเทศไทย การเจรจาแบบการเจรจาที่แท้จริง ตรงนี้สำคัญ การปรับองค์กรเสียใหม่ ภายใต้การนำของท่าน ดร.อาชว์ฯ ผมเชื่อว่าทำได้เพราะท่านมีแผนอยู่ตลอด
เอาละครับผมใช้เวลามาพอแล้ว พวกท่านคงหิวข้าวกัน มีอะไรก็ฝากบอกอาจารย์อาชว์ฯ นะครับ ผมยินดีที่จะช่วยเหลือ และถ้ามีอะไรช่วยผมบ้างขอให้บอก และถ้ามีอะไรขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ขอให้บอกนะครับ ขอบคุณครับ____________________
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ชนาธิป : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-