ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ขอความช่วยเหลือ ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยธนาคารเป็นผู้นำในการปล่อยสินเชื่อ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.จะหารือกับ ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร เพื่อขอความร่วมมือให้เป็นผู้นำในการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น โดยใช้กลไกตลาดของอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการขยายสินเชื่อ ที่ผ่านมาการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.มีข้อจำกัด โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ซึ่งถือเป็นลูกค้าที่สำคัญของ ธพ. เนื่องจากผู้ส่งออกได้รับเงินตราต่างประเทศจากการเกินดุลการค้าจำนวนมาก ส่วนผู้ผลิตสินค้าในประเทศก็ยังมีกำลังการผลิตเหลืออีกมาก ประกอบกับภาคเอกชนมีทางเลือกในการระดมเงินทุนจากตลาดตราสารหนี้ จึงไม่ต้องการสินเชื่อจาก ธพ. อีก ในส่วนของผู้กู้รายย่อยต่างมีความรู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน ทำให้ไม่กล้ากู้เงินซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อของ ธพ.มีค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ ตัวเลขล่าสุดของยอดคงค้างการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทั้งระบบมีจำนวน 5,107 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 53,543 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 1.06.(เดลินิวส์ 27)
2. ภาวะค่าเงินบาทและการเก็งกำไร นักบริหารเงินจาก ธพ.ระบุว่า ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นในช่วงนี้เป็นภาวการณ์ช่วงสั้นๆ เนื่องจากแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร ทำให้เงินบาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ช่วงเปิดตลาดเมื่อต้นสัปดาห์ต่อเนื่องถึงวันอังคารที่ผ่านมา ประกอบกับการเข้าแทรกแซงของ ธปท.ที่ตลาดต่างประเทศ เพื่อพยุงมิให้ค่าเงินบาทอ่อนลงไปแตะที่ระดับ 43 บาท/ดอลลาร์ และหากพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของประเทศจะเห็นว่ายังไม่สามารถกระตุ้นให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ในระยะยาว เป็นที่น่าสังเกตว่า การเข้าแทรกแซงของ ธปท.ดังกล่าวอาศัยจังหวะที่ตลาดมีข่าวดี คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคาขายปลีกทั้งน้ำมันเบนซินและดีเซลลดลง รวมทั้งการเข้าแทรกแซงค่าเงินยูโรของธนาคารกลางหลายประเทศ ขณะเดียวกัน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในตลาดเสรี ย่อมต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด หากไม่ต้องการให้มีการเก็งกำไร ก็จำเป็นต้องวางกฎกณฑ์ที่ทำให้เกิดการกำไรได้ยาก (ไทยโพสต์ 27)
3. เศรษฐกิจภาคใต้มีแนวโน้มสดใส รายงานข่าวจาก ธปท.สำนักงานภาคใต้กล่าวว่า เศรษฐกิจตลอดปี 43 ยังมีแนวโน้มสดใส หลังจากครึ่งปีแรกได้รับแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีขยายตัวได้ดี รวมถึงการใช้จ่ายเงินงบประมาณภาครัฐก็เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยภาคการท่องเที่ยวเริ่มดีขึ้นในไตรมาสแรก หลังจากพ้นวิกฤติในช่วงวายทูเค จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,018,118 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ที่มีจำนวน 942,298 คน แยกเป็นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย 449,263 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 สิงคโปร์ 113,155 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 และชาติอื่นๆ 445,700 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกาเข้ามามากขึ้น นอกจากนี้ นับจากไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา ภาวะการส่งออกของภาคใต้ส่วนใหญ่มีแนวโน้มสดใส ผลผลิตด้านการเกษตร เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมันและผลไม้ออกสู่ตลาดมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของ สรอ. เพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 43 Conference Board เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 141.9 จากตัวเลขที่ปรับใหม่ ที่ระดับ 140.8 ในเดือน ส.ค. 43 และเพิ่มสูงกว่าการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะอยู่ที่ระดับ 141.4 โดยในเดือน ก.ย. 43 ดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 182.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 181.3 ในเดือน ส.ค. 43 และดัชนีการคาดหวัง อยู่ที่ระดับ 114.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 113.9 ในเดือน ส.ค. 43 Lynn Franco ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยผู้บริโภคของ Conference Board กล่าวว่า แม้ว่าราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน และความคาดหมายว่าต้นทุนราคาน้ำมันที่ใช้ทำความร้อนจะสูงขึ้นในฤดูหนาวนี้ แต่ภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ยังอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากรายงานครั้งนี้ ชี้ว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของ สรอ. เติบโตติดต่อกันยาวนานถึง 10 ปี ได้แสดงสัญญาณชะลอตัวลงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาจากภาวะที่ร้อนแรงในช่วงต้นปี 43 ก็ตาม.(รอยเตอร์ 26)
2. การขายปลีกของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 27 ก.ย.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (MITI) รายงานว่า เดือน ส.ค.43 การขายปลีกโดยรวมของญี่ปุ่น ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.ค.43 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 41 แต่ถ้าเทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่ลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ค.43 โดยในเดือน ส.ค.นี้ ยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 5.0 ในเดือน ก.ค.43 แต่ถ้าเทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากที่ลดลงร้อยละ 3.5 ในเดือน ก.ค. 43 ในขณะเดียวกัน ยอดการขายส่งในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 2.5 ในเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์ 27)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เทียบต่อปีในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากสิงคโปร์ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (EDB) เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เทียบต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ในเดือน ก.ค. 43 และในช่วง3 เดือนที่ผ่านมา ผลผลิตอุตสาหกรรมฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 14.1 เนื่องจากการเติบโตอย่างมากของภาคอิเล็กทรอนิกส์ โดยในเดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 ในเดือน ก.ค. 43.(รอยเตอร์ 26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26 ก.ย. 43 42.551 (42.571)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 ก.ย. 43ซื้อ 42.4526 (42.3411) ขาย 42.7793 (42.6498)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.77(29.49)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.64 (14.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ขอความช่วยเหลือ ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยธนาคารเป็นผู้นำในการปล่อยสินเชื่อ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ธปท.จะหารือกับ ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร เพื่อขอความร่วมมือให้เป็นผู้นำในการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น โดยใช้กลไกตลาดของอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการขยายสินเชื่อ ที่ผ่านมาการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.มีข้อจำกัด โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ซึ่งถือเป็นลูกค้าที่สำคัญของ ธพ. เนื่องจากผู้ส่งออกได้รับเงินตราต่างประเทศจากการเกินดุลการค้าจำนวนมาก ส่วนผู้ผลิตสินค้าในประเทศก็ยังมีกำลังการผลิตเหลืออีกมาก ประกอบกับภาคเอกชนมีทางเลือกในการระดมเงินทุนจากตลาดตราสารหนี้ จึงไม่ต้องการสินเชื่อจาก ธพ. อีก ในส่วนของผู้กู้รายย่อยต่างมีความรู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน ทำให้ไม่กล้ากู้เงินซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อของ ธพ.มีค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ ตัวเลขล่าสุดของยอดคงค้างการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทั้งระบบมีจำนวน 5,107 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 53,543 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 1.06.(เดลินิวส์ 27)
2. ภาวะค่าเงินบาทและการเก็งกำไร นักบริหารเงินจาก ธพ.ระบุว่า ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นในช่วงนี้เป็นภาวการณ์ช่วงสั้นๆ เนื่องจากแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร ทำให้เงินบาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ช่วงเปิดตลาดเมื่อต้นสัปดาห์ต่อเนื่องถึงวันอังคารที่ผ่านมา ประกอบกับการเข้าแทรกแซงของ ธปท.ที่ตลาดต่างประเทศ เพื่อพยุงมิให้ค่าเงินบาทอ่อนลงไปแตะที่ระดับ 43 บาท/ดอลลาร์ และหากพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของประเทศจะเห็นว่ายังไม่สามารถกระตุ้นให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้ในระยะยาว เป็นที่น่าสังเกตว่า การเข้าแทรกแซงของ ธปท.ดังกล่าวอาศัยจังหวะที่ตลาดมีข่าวดี คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคาขายปลีกทั้งน้ำมันเบนซินและดีเซลลดลง รวมทั้งการเข้าแทรกแซงค่าเงินยูโรของธนาคารกลางหลายประเทศ ขณะเดียวกัน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในตลาดเสรี ย่อมต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด หากไม่ต้องการให้มีการเก็งกำไร ก็จำเป็นต้องวางกฎกณฑ์ที่ทำให้เกิดการกำไรได้ยาก (ไทยโพสต์ 27)
3. เศรษฐกิจภาคใต้มีแนวโน้มสดใส รายงานข่าวจาก ธปท.สำนักงานภาคใต้กล่าวว่า เศรษฐกิจตลอดปี 43 ยังมีแนวโน้มสดใส หลังจากครึ่งปีแรกได้รับแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีขยายตัวได้ดี รวมถึงการใช้จ่ายเงินงบประมาณภาครัฐก็เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยภาคการท่องเที่ยวเริ่มดีขึ้นในไตรมาสแรก หลังจากพ้นวิกฤติในช่วงวายทูเค จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,018,118 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ที่มีจำนวน 942,298 คน แยกเป็นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย 449,263 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 สิงคโปร์ 113,155 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 และชาติอื่นๆ 445,700 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกาเข้ามามากขึ้น นอกจากนี้ นับจากไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา ภาวะการส่งออกของภาคใต้ส่วนใหญ่มีแนวโน้มสดใส ผลผลิตด้านการเกษตร เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมันและผลไม้ออกสู่ตลาดมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของ สรอ. เพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 43 Conference Board เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 141.9 จากตัวเลขที่ปรับใหม่ ที่ระดับ 140.8 ในเดือน ส.ค. 43 และเพิ่มสูงกว่าการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะอยู่ที่ระดับ 141.4 โดยในเดือน ก.ย. 43 ดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 182.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 181.3 ในเดือน ส.ค. 43 และดัชนีการคาดหวัง อยู่ที่ระดับ 114.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 113.9 ในเดือน ส.ค. 43 Lynn Franco ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยผู้บริโภคของ Conference Board กล่าวว่า แม้ว่าราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน และความคาดหมายว่าต้นทุนราคาน้ำมันที่ใช้ทำความร้อนจะสูงขึ้นในฤดูหนาวนี้ แต่ภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ยังอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากรายงานครั้งนี้ ชี้ว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของ สรอ. เติบโตติดต่อกันยาวนานถึง 10 ปี ได้แสดงสัญญาณชะลอตัวลงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาจากภาวะที่ร้อนแรงในช่วงต้นปี 43 ก็ตาม.(รอยเตอร์ 26)
2. การขายปลีกของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 27 ก.ย.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (MITI) รายงานว่า เดือน ส.ค.43 การขายปลีกโดยรวมของญี่ปุ่น ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.ค.43 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 41 แต่ถ้าเทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่ลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ค.43 โดยในเดือน ส.ค.นี้ ยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 5.0 ในเดือน ก.ค.43 แต่ถ้าเทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากที่ลดลงร้อยละ 3.5 ในเดือน ก.ค. 43 ในขณะเดียวกัน ยอดการขายส่งในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 2.5 ในเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์ 27)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เทียบต่อปีในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากสิงคโปร์ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (EDB) เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เทียบต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ในเดือน ก.ค. 43 และในช่วง3 เดือนที่ผ่านมา ผลผลิตอุตสาหกรรมฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 14.1 เนื่องจากการเติบโตอย่างมากของภาคอิเล็กทรอนิกส์ โดยในเดือน ส.ค. 43 ผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 ในเดือน ก.ค. 43.(รอยเตอร์ 26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26 ก.ย. 43 42.551 (42.571)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 ก.ย. 43ซื้อ 42.4526 (42.3411) ขาย 42.7793 (42.6498)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.77(29.49)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.64 (14.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-