แม้ว่านิวซีแลนด์จะเป็นตลาดขนาดเล็กด้วยจำนวนประชากร ณ เดือนกรกฎาคม 2547 ประมาณ 4 ล้าน
คน แต่ประชากรส่วนใหญ่มีอำนาจซื้อค่อนข้างสูง โดย GDP Per Capita ปี 2547 สูงถึง 23,500 ดอลลาร์สหรัฐ
ประกอบกับในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไทยเป็นฝ่ายเกิน
ดุลการค้ามาโดยตลอดทำให้นิวซีแลนด์เป็นตลาดส่งออกที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในการเปิดเจรจาการค้าเสรีระหว่างกัน
ซึ่งรัฐบาลทั้งสองประเทศได้ร่วมลงนามในความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ (Thailand-New Zealand
Closer Economic Partnership: CEP) เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 ซึ่งมีกรอบข้อตกลงแบบเบ็ดเสร็จ
(Comprehensive Package) ครอบคลุมทั้งการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือในด้านอื่นๆ ที่
ทั้งสองประเทศมีความสนใจร่วมกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าความตกลงดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1
กรกฎาคม 2548
ในส่วนของการเปิดตลาดการค้าสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์สรุปได้ดังนี้
การลดภาษีของไทยภายใต้ความตกลง CEP
สินค้า จำนวนรายการ % ของจำนวนรายการ การลดภาษี
ที่ลดภาษีนำเข้าทั้งหมด
- อาหารปรุงแต่งสำหรับเลี้ยงทารก ธัญพืช 2,978 54.1 เหลือ 0% ทันทีตั้งแต่
ไม้และของทำด้วยไม้ ขนแกะ และของปรุงแต่ง วันที่ 1 กรกฎาคม 2548
สำหรับบริโภค
- ผักและผลไม้เมืองหนาว สัตว์น้ำ เฟอร์นิเจอร์
กระดาษและของทำด้วยกระดาษ 1,961 35.62 เหลือ 0% ภายในปี 2553
- ปลา ไวน์ ไฟเบอร์บอร์ด ตู้วงจรไฟฟ้า
สิ่งทอ เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่ม 520 9.45 เหลือ 0% ภายในปี 2558
- เนื้อสัตว์ นมผงเต็มมันเนย ไวน์ มันฝรั่ง
เนยแข็ง หัวหอม และเมล็ดหัวหอม 42 0.76 เหลือ 0% ภายในปี 2563
นม ครีม และนมผงขาดมันเนย 4 0.07 เหลือ 0% ภายในปี 2568
รวม 5,505 100
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
การลดภาษีของนิวซีแลนด์ภายใต้ความตกลง CEP
สินค้า จำนวนรายการ % ของจำนวนรายการ การลดภาษีนำเข้า
ที่ลดภาษีนำเข้าทั้งหมด
- ทูน่ากระป๋อง รถพิกอัป เม็ดพลาสติก ของปรุงแต่ง 5,878 79.08 เหลือ 0% ทันทีตั้งแต่
จากธัญพืช กุ้งแช่แข็ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง
แก้วและเครื่องแก้ว และเครื่องจักรกล
- อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องสำอาง และเฟอร์นิเจอร์ 697 9.38 เหลือ 0% ภายในปี 2553
- สิ่งทอ เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่ม 858 11.54 เหลือ 0% ภายในปี 2558
รวม 7,433 100
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
เป็นที่น่าสังเกตว่าความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์กำหนดให้ไทยมีระยะเวลาทยอยลดภาษีนำเข้า
สินค้านานกว่านิวซีแลนด์ 10 ปี โดยไทยจะทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการเหลือ 0% ภายในปี 2568 ขณะที่
นิวซีแลนด์จะทยอยลดเหลือ 0% ภายในปี 2558 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้นิวซีแลนด์สนใจทำความตกลง
การค้าเสรีกับไทยเนื่องจากต้องการสร้างและกระชับความร่วมมือกับไทย เพื่อสร้างพันธมิตรสำหรับการต่อรองในเวที
การค้าโลกในฐานะประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ รวมทั้งเพื่อเจาะและขยายฐานการค้าไปยังประเทศอื่นๆ ที่อยู่ใน
กลุ่มการค้าเดียวกับไทยโดยเฉพาะตลาดอาเซียน
สำหรับสินค้าที่ไทยคาดว่าจะได้ประโยชน์จากความตกลงดังกล่าวที่สำคัญ อาทิ รถพิกอัป ทูน่ากระป๋อง กุ้ง
แช่แข็ง เม็ดพลาสติก เฟอร์นิเจอร์ ของปรุงแต่งจากธัญพืช อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง
แก้วและเครื่องแก้ว ฯลฯ ขณะเดียวกันสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบที่สำคัญ คือ นมและผลิตภัณฑ์นม เนื้อวัว และไม้
อัด ฯลฯ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2548--
-พห-
คน แต่ประชากรส่วนใหญ่มีอำนาจซื้อค่อนข้างสูง โดย GDP Per Capita ปี 2547 สูงถึง 23,500 ดอลลาร์สหรัฐ
ประกอบกับในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไทยเป็นฝ่ายเกิน
ดุลการค้ามาโดยตลอดทำให้นิวซีแลนด์เป็นตลาดส่งออกที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในการเปิดเจรจาการค้าเสรีระหว่างกัน
ซึ่งรัฐบาลทั้งสองประเทศได้ร่วมลงนามในความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ (Thailand-New Zealand
Closer Economic Partnership: CEP) เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 ซึ่งมีกรอบข้อตกลงแบบเบ็ดเสร็จ
(Comprehensive Package) ครอบคลุมทั้งการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือในด้านอื่นๆ ที่
ทั้งสองประเทศมีความสนใจร่วมกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าความตกลงดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1
กรกฎาคม 2548
ในส่วนของการเปิดตลาดการค้าสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์สรุปได้ดังนี้
การลดภาษีของไทยภายใต้ความตกลง CEP
สินค้า จำนวนรายการ % ของจำนวนรายการ การลดภาษี
ที่ลดภาษีนำเข้าทั้งหมด
- อาหารปรุงแต่งสำหรับเลี้ยงทารก ธัญพืช 2,978 54.1 เหลือ 0% ทันทีตั้งแต่
ไม้และของทำด้วยไม้ ขนแกะ และของปรุงแต่ง วันที่ 1 กรกฎาคม 2548
สำหรับบริโภค
- ผักและผลไม้เมืองหนาว สัตว์น้ำ เฟอร์นิเจอร์
กระดาษและของทำด้วยกระดาษ 1,961 35.62 เหลือ 0% ภายในปี 2553
- ปลา ไวน์ ไฟเบอร์บอร์ด ตู้วงจรไฟฟ้า
สิ่งทอ เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่ม 520 9.45 เหลือ 0% ภายในปี 2558
- เนื้อสัตว์ นมผงเต็มมันเนย ไวน์ มันฝรั่ง
เนยแข็ง หัวหอม และเมล็ดหัวหอม 42 0.76 เหลือ 0% ภายในปี 2563
นม ครีม และนมผงขาดมันเนย 4 0.07 เหลือ 0% ภายในปี 2568
รวม 5,505 100
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
การลดภาษีของนิวซีแลนด์ภายใต้ความตกลง CEP
สินค้า จำนวนรายการ % ของจำนวนรายการ การลดภาษีนำเข้า
ที่ลดภาษีนำเข้าทั้งหมด
- ทูน่ากระป๋อง รถพิกอัป เม็ดพลาสติก ของปรุงแต่ง 5,878 79.08 เหลือ 0% ทันทีตั้งแต่
จากธัญพืช กุ้งแช่แข็ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง
แก้วและเครื่องแก้ว และเครื่องจักรกล
- อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องสำอาง และเฟอร์นิเจอร์ 697 9.38 เหลือ 0% ภายในปี 2553
- สิ่งทอ เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่ม 858 11.54 เหลือ 0% ภายในปี 2558
รวม 7,433 100
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
เป็นที่น่าสังเกตว่าความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์กำหนดให้ไทยมีระยะเวลาทยอยลดภาษีนำเข้า
สินค้านานกว่านิวซีแลนด์ 10 ปี โดยไทยจะทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการเหลือ 0% ภายในปี 2568 ขณะที่
นิวซีแลนด์จะทยอยลดเหลือ 0% ภายในปี 2558 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้นิวซีแลนด์สนใจทำความตกลง
การค้าเสรีกับไทยเนื่องจากต้องการสร้างและกระชับความร่วมมือกับไทย เพื่อสร้างพันธมิตรสำหรับการต่อรองในเวที
การค้าโลกในฐานะประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ รวมทั้งเพื่อเจาะและขยายฐานการค้าไปยังประเทศอื่นๆ ที่อยู่ใน
กลุ่มการค้าเดียวกับไทยโดยเฉพาะตลาดอาเซียน
สำหรับสินค้าที่ไทยคาดว่าจะได้ประโยชน์จากความตกลงดังกล่าวที่สำคัญ อาทิ รถพิกอัป ทูน่ากระป๋อง กุ้ง
แช่แข็ง เม็ดพลาสติก เฟอร์นิเจอร์ ของปรุงแต่งจากธัญพืช อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง
แก้วและเครื่องแก้ว ฯลฯ ขณะเดียวกันสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบที่สำคัญ คือ นมและผลิตภัณฑ์นม เนื้อวัว และไม้
อัด ฯลฯ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2548--
-พห-