นายศุภชัย พานิชภักดิ์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำคณะผู้แทนเดินทางไป เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-โรมาเนีย ครั้งที่ 9 ที่ฝ่ายโรมาเนียเป็น เจ้าภาพ จัดขึ้น ณ กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ระหว่างวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2543 โดย หลังจากนั้นได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐโครเอเชียด้วย ในระหว่างการเยือนโรมาเนียได้เข้าเยี่ยมคารวะ ประธานาธิบดีของโรมาเนีย (H.E. Mr. Emil Constantinescu) และพบปะหารือข้อราชการกับรองนายก รัฐมนตรี (H.E. Mr. Mircea Ciumara) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝ่ายโรมาเนีย นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมในพิธีเปิดงานแสดงสินค้า นานาชาติ และให้เกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสภาธุรกิจไทย- โรมาเนีย ครั้งที่ 4 ระหว่างภาคเอกชนไทยและโรมาเนีย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 ด้วย
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าฯ มีประเด็นสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากขณะนี้ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับโรมาเนียยังมีน้อย เมื่อเทียบกับศักยภาพของแต่ละประเทศ ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นพ้องที่จะสนับสนุนให้การค้าระหว่างกันขยายตัวมากขึ้นบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วม และได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้การค้าระหว่างกันมีมูลค่าถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543-2544 นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนรายการสินค้าที่แต่ละฝ่ายสนใจจะส่งออกซึ่งกันและกัน โดยรายการของ ฝ่ายไทยมีทั้งสิ้น 11 รายการ ได้แก่ สินค้าเกษตรและอาหารอาหารทะเลกระป๋อง ผลไม้และผักกระป๋อง เสื้อผ้า ของเด็กเล่น เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับ และคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วน สำหรับของฝ่ายโรมาเนียมี 19 รายการ อาทิ เครื่องมอเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องทอผ้า ปุ๋ย เหล็ก และซีเมนต์ เป็นต้น
2. ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายโรมาเนียพิจารณาลดภาษีนำเข้าสินค้าที่มีอัตราภาษีสูง สำหรับสินค้าไทยที่มีศักยภาพ ในตลาดโรมาเนีย อาทิ ผลไม้กระป๋อง ข้าว รองเท้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน และไก่ แช่แข็ง ทั้งนี้ ฝ่ายโรมาเนียได้ให้ความเห็นว่า ควรนำประเด็นเรื่องการลดภาษีเข้าสู่การเจรจาในกรอบของ GSTP
3. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงแนวทางที่จะส่งเสริมให้นักธุรกิจได้รับทราบข้อมูลทางการค้าระหว่างกันให้ มากขึ้น ด้วยการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนทางการค้า และสนับสนุนการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่แต่ละฝ่ายจัด ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มอบหนังสือเชิญชวนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริม การส่งออกจัดขึ้น แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของโรมาเนีย เพื่อเผยแพร่แก่ นักธุรกิจของโรมาเนียต่อไป และฝ่ายโรมาเนียได้เชิญชวนฝ่ายไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Autumm Fairs ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2543 ณ กรุงบูคาเรสต์
4. ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายโรมาเนียทราบถึงประเด็นความสนใจของภาคเอกชนไทยที่จะให้มีการค้าสินค้า transmission line โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางและการเปิดเส้นทางการบินระหว่างกัน ที่จะเอื้ออำนวย ความสะดวกทางการค้าระหว่างกันได้มากยิ่งขึ้น
5. ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นถึงความร่วมมือด้านการลงทุน โดยฝ่ายไทยได้แสดงความสนใจที่จะเข้าไปมีส่วน ในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านด้วยการร่วมลงทุนกับฝ่ายโรมาเนีย และความร่วมมือระหว่างกันในการเป็นประตูการค้า โดยโรมาเนียสามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคยุโรปกลาง และยุโรปตะวันตก สำหรับไทย ในขณะที่ประเทศไทยจะเป็นประตูสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับโรมาเนียได้ ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐโครเอเชีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าเยี่ยม คารวะประธานาธิบดี และพบหารือกับรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ และประธานหอการค้าของโครเอเชีย มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ได้มีการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของแต่ละฝ่ายและลู่ทางความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน ซึ่งฝ่ายโครเอเชียได้แสดงความสนใจที่จะขอรับคำแนะนำถึงวิธีการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจจากฝ่ายไทยเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของโครเอเชียต่อไป
2. ทั้งสองฝ่ายสนใจที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น ซึ่งแม้โครเอเชียจะเป็นประเทศเล็กมีประชากร เพียง 4.5 ล้านคน แต่ก็มีโอกาสสำหรับนักธุรกิจไทยที่จะเข้าไปร่วมลงทุนได้และเห็นควรสนับสนุนให้ นักธุรกิจแต่ละฝ่ายได้รู้จักกันมากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เชิญฝ่ายโครเอเชียเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าในประเทศไทย และแจ้งว่าจะสนับสนุนให้จัดคณะผู้แทนการค้าไทยมาเยือนโครเอเชีย ในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่โครเอเชีย มีโอกาสเข้ามาลงทุนในประเทศไทยคือ อุตสาหกรรม กระแสไฟฟ้า และอุตสาหกรรมต่อเรือ ขณะที่ประเทศไทยจะมีลู่ทางลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวในโครเอเชีย
3. ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายโครเอเชียทราบว่า ประเทศไทยพยายามที่จะขยายการค้าไปยังตลาดใหม่ ๆ ให้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดเดิม เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ EU โดยโครเอเชียเป็นประเทศหนึ่ง ที่น่าสนใจสำหรับไทย เพราะเป็นประเทศที่มีอำนาจซื้อสูง มีการผลิต (production structure) ที่มีเทคโนโลยี ดีและไทยสามารถเป็นประตูการค้าสู่ประเทศอาเซียน ขณะที่โครเอเชียสามารถเป็นประตูสู่การค้าสู่ยุโรปกลาง และยุโรปตะวันออกแก่ประเทศไทย โดยฝ่ายไทยแสดงความสนใจที่จะร่วมกับโครเอเชียด้านการก่อสร้าง และฟื้นฟูประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แสดงความยินดีที่สาธารณรัฐโครเอเชียจะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะได้มีโอกาสร่วมกันทำงานให้การค้าของโลกมีความโปร่งใสเป็นประชาธิปไตย และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกทุกประเทศมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือ เกี่ยวกับการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการที่จะมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับโครเอเชีย เช่นที่ไทยกำลังทำการศึกษาอยู่กับประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
--กรมส่งเสริมการส่งออก มิถุนายน 2543--
-ยก-
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าฯ มีประเด็นสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากขณะนี้ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับโรมาเนียยังมีน้อย เมื่อเทียบกับศักยภาพของแต่ละประเทศ ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นพ้องที่จะสนับสนุนให้การค้าระหว่างกันขยายตัวมากขึ้นบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วม และได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้การค้าระหว่างกันมีมูลค่าถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543-2544 นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนรายการสินค้าที่แต่ละฝ่ายสนใจจะส่งออกซึ่งกันและกัน โดยรายการของ ฝ่ายไทยมีทั้งสิ้น 11 รายการ ได้แก่ สินค้าเกษตรและอาหารอาหารทะเลกระป๋อง ผลไม้และผักกระป๋อง เสื้อผ้า ของเด็กเล่น เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับ และคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วน สำหรับของฝ่ายโรมาเนียมี 19 รายการ อาทิ เครื่องมอเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องทอผ้า ปุ๋ย เหล็ก และซีเมนต์ เป็นต้น
2. ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายโรมาเนียพิจารณาลดภาษีนำเข้าสินค้าที่มีอัตราภาษีสูง สำหรับสินค้าไทยที่มีศักยภาพ ในตลาดโรมาเนีย อาทิ ผลไม้กระป๋อง ข้าว รองเท้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน และไก่ แช่แข็ง ทั้งนี้ ฝ่ายโรมาเนียได้ให้ความเห็นว่า ควรนำประเด็นเรื่องการลดภาษีเข้าสู่การเจรจาในกรอบของ GSTP
3. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงแนวทางที่จะส่งเสริมให้นักธุรกิจได้รับทราบข้อมูลทางการค้าระหว่างกันให้ มากขึ้น ด้วยการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนทางการค้า และสนับสนุนการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่แต่ละฝ่ายจัด ในโอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มอบหนังสือเชิญชวนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริม การส่งออกจัดขึ้น แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของโรมาเนีย เพื่อเผยแพร่แก่ นักธุรกิจของโรมาเนียต่อไป และฝ่ายโรมาเนียได้เชิญชวนฝ่ายไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Autumm Fairs ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2543 ณ กรุงบูคาเรสต์
4. ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายโรมาเนียทราบถึงประเด็นความสนใจของภาคเอกชนไทยที่จะให้มีการค้าสินค้า transmission line โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางและการเปิดเส้นทางการบินระหว่างกัน ที่จะเอื้ออำนวย ความสะดวกทางการค้าระหว่างกันได้มากยิ่งขึ้น
5. ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นถึงความร่วมมือด้านการลงทุน โดยฝ่ายไทยได้แสดงความสนใจที่จะเข้าไปมีส่วน ในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านด้วยการร่วมลงทุนกับฝ่ายโรมาเนีย และความร่วมมือระหว่างกันในการเป็นประตูการค้า โดยโรมาเนียสามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคยุโรปกลาง และยุโรปตะวันตก สำหรับไทย ในขณะที่ประเทศไทยจะเป็นประตูสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับโรมาเนียได้ ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐโครเอเชีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าเยี่ยม คารวะประธานาธิบดี และพบหารือกับรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ และประธานหอการค้าของโครเอเชีย มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. ได้มีการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของแต่ละฝ่ายและลู่ทางความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน ซึ่งฝ่ายโครเอเชียได้แสดงความสนใจที่จะขอรับคำแนะนำถึงวิธีการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจจากฝ่ายไทยเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของโครเอเชียต่อไป
2. ทั้งสองฝ่ายสนใจที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น ซึ่งแม้โครเอเชียจะเป็นประเทศเล็กมีประชากร เพียง 4.5 ล้านคน แต่ก็มีโอกาสสำหรับนักธุรกิจไทยที่จะเข้าไปร่วมลงทุนได้และเห็นควรสนับสนุนให้ นักธุรกิจแต่ละฝ่ายได้รู้จักกันมากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เชิญฝ่ายโครเอเชียเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าในประเทศไทย และแจ้งว่าจะสนับสนุนให้จัดคณะผู้แทนการค้าไทยมาเยือนโครเอเชีย ในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่โครเอเชีย มีโอกาสเข้ามาลงทุนในประเทศไทยคือ อุตสาหกรรม กระแสไฟฟ้า และอุตสาหกรรมต่อเรือ ขณะที่ประเทศไทยจะมีลู่ทางลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวในโครเอเชีย
3. ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายโครเอเชียทราบว่า ประเทศไทยพยายามที่จะขยายการค้าไปยังตลาดใหม่ ๆ ให้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดเดิม เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ EU โดยโครเอเชียเป็นประเทศหนึ่ง ที่น่าสนใจสำหรับไทย เพราะเป็นประเทศที่มีอำนาจซื้อสูง มีการผลิต (production structure) ที่มีเทคโนโลยี ดีและไทยสามารถเป็นประตูการค้าสู่ประเทศอาเซียน ขณะที่โครเอเชียสามารถเป็นประตูสู่การค้าสู่ยุโรปกลาง และยุโรปตะวันออกแก่ประเทศไทย โดยฝ่ายไทยแสดงความสนใจที่จะร่วมกับโครเอเชียด้านการก่อสร้าง และฟื้นฟูประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แสดงความยินดีที่สาธารณรัฐโครเอเชียจะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะได้มีโอกาสร่วมกันทำงานให้การค้าของโลกมีความโปร่งใสเป็นประชาธิปไตย และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกทุกประเทศมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือ เกี่ยวกับการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการที่จะมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับโครเอเชีย เช่นที่ไทยกำลังทำการศึกษาอยู่กับประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
--กรมส่งเสริมการส่งออก มิถุนายน 2543--
-ยก-