นายธรรมนูญ เชี่ยวสกุล อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน ปี 2544 ประเทศไทยได้ส่งสินค้าออกภายใต้ระบบ GSP ญี่ปุ่น จำนวน 1,193 รายการ มูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 1,157.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 17.11 เมื่อเปรียบเทียบกับในระยะเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีมูลค่า 1,397.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคิดเป็นร้อยละ 15.25 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปญี่ปุ่นในระยะเวลาเดียวกัน สินค้าที่ส่งออกมีทั้งสินค้าเกษตร จำนวน 125 รายการ มูลค่าประมาณ 333.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสินค้าอุตสาหกรรม จำนวน 1,068 รายการ มูลค่าประมาณ 824.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออกภายใต้ GSP ญี่ปุ่นสูง ได้แก่ กุ้งปรุงแต่ง เด็กซ์ทรินและโมดิไฟด์สตาร์ซอื่นๆ ปลาทูนา ปลาสคิปแจ็กปรุงแต่ง กระสอบและถุงทำด้วยโพลิเมอร์ของเอทิลีน ของอื่นๆ ทำด้วยพลาสติก ส่วนอื่นๆ (นอกจากเนื้อ) ของสัตว์ปีกเลี้ยงปรุงแต่ง แก้วเชิงทัศนศาสตร์ที่ไม่เสริมด้วยลวดอื่นๆ ชนิดไม่แต่งสี ไม่ทึบแสง โพลิคาร์บอเนต หอยลายปรุงแต่ง โพลิโพรพิลีน
นายธรรมนูญฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า มูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ในระยะ 9 เดือนของ ปี 2544 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากญี่ปุ่นได้ปรับลดภาษี MFN เหลือร้อยละ 0 หรือลดภาษี MFN เท่ากับภาษี GSP ทำให้สินค้าส่งออกสำคัญของไทยหลายรายการไม่ต้องพึ่งพาการใช้สิทธิ GSP อาจกล่าวได้ว่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ในอนาคตอาจลดความสำคัญลง เนื่องจากการค้าเสรีเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกคงจะต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ เช่น เพิ่มคุณภาพสินค้าโดยปรับปรุงขบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พัฒนาหีบห่อและบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อถือในสินค้าไทย ซึ่งน่าจะเป็นลู่ทางการขยายการค้าของไทยในตลาดญี่ปุ่นอีกทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี ยังมีสินค้าอีกจำนวนมากที่ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ได้อีกตลอดอายุโครงการ GSP ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโครงการที่ 4 เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2544 — 31 มีนาคม 2554 ทั้งนี้ ผู้ผลิต ผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามกฏว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้สิทธิ GSP ด้วย เพื่อไม่ให้เสียสิทธิที่ได้รับควบคู่กับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการส่งออกของไทยในตลาดญี่ปุ่น โดยเน้นการตลาดและการขายในเชิงรุก
--กรมการค้าต่างประเทศ ธันวาคม 2544--
-อน-
นายธรรมนูญฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า มูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ในระยะ 9 เดือนของ ปี 2544 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากญี่ปุ่นได้ปรับลดภาษี MFN เหลือร้อยละ 0 หรือลดภาษี MFN เท่ากับภาษี GSP ทำให้สินค้าส่งออกสำคัญของไทยหลายรายการไม่ต้องพึ่งพาการใช้สิทธิ GSP อาจกล่าวได้ว่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ในอนาคตอาจลดความสำคัญลง เนื่องจากการค้าเสรีเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกคงจะต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ เช่น เพิ่มคุณภาพสินค้าโดยปรับปรุงขบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พัฒนาหีบห่อและบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อถือในสินค้าไทย ซึ่งน่าจะเป็นลู่ทางการขยายการค้าของไทยในตลาดญี่ปุ่นอีกทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี ยังมีสินค้าอีกจำนวนมากที่ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ได้อีกตลอดอายุโครงการ GSP ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโครงการที่ 4 เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2544 — 31 มีนาคม 2554 ทั้งนี้ ผู้ผลิต ผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามกฏว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้สิทธิ GSP ด้วย เพื่อไม่ให้เสียสิทธิที่ได้รับควบคู่กับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการส่งออกของไทยในตลาดญี่ปุ่น โดยเน้นการตลาดและการขายในเชิงรุก
--กรมการค้าต่างประเทศ ธันวาคม 2544--
-อน-