นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาประกาศยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อเวียดนามเมื่อปี 2537 มูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น แม้จะยังไม่สูงนัก เนื่องจากเวียดนามเคยเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศสังคมนิยม 6 ประเทศ (อัฟกานิสถาน คิวบา ลาว เกาหลีเหนือ ยูโกสลาเวีย และเวียดนาม) ที่สหรัฐฯ ไม่ได้ให้สถานะการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment: MFN) หรือที่ปัจจุบันสหรัฐเรียกว่าข้อตกลงฟื้นฟูสัมพันธภาพด้านเศรษฐกิจและการค้าในสภาวะปกติ (Normal Trade Relations: NTR) อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2543 สหรัฐฯ กับเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างกัน (The U.S. — Vietnam Bilateral Trade Agreement) โดยยึดหลัก MFN จึงคาดว่าการค้าและการลงทุนระหว่างสหรัฐฯ และเวียดนามจะขยายตัวเพิ่มขึ้น พอสรุปได้ดังนี้
สหรัฐอเมริกา การลงนามในข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับเวียดนามคาดว่าจะส่งผลดีต่อสหรัฐฯ ดังนี้
- ด้านการค้า ในปี 2542 เวียดนามเป็นคู่ค้าอันดับที่ 72 ของสหรัฐฯ แต่คาดว่าเมื่อข้อตกลงการค้าทวิภาคี ระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามมีผลบังคับใช้ สหรัฐฯ จะสามารถขยายการส่งออกสินค้าหลายชนิดไปจำหน่ายในเวียดนามได้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และการคมนาคมสื่อสาร เนื่องจากเวียดนามต้องยกเลิกการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้า (Surcharge) ในอัตราร้อยละ 50 ให้แก่สินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ ธนาคารโลก (World Bank) ยังคาดว่าผู้บริโภคอเมริกันจะได้รับประโยชน์ (Welfare Gains) จากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากเวียดนามคิดเป็นมูลค่าประมาณ 56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีอีกด้วย
- ด้านการลงทุน ณ สิ้นปี 2542 สหรัฐฯ เป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 9 ในเวียดนาม มีโครงการลงทุนรวม 112 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าการลงทุนของสหรัฐฯ ในเวียดนามจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลเวียดนามจะให้การคุ้มครองนักลงทุนอเมริกันมากขึ้น ประกอบกับการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการลงทุนจะส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในเวียดนามดีขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนอเมริกันในเวียดนามจะได้ประโยชน์จากการที่เวียดนามเป็นสมาชิกอาเซียน ทำให้สามารถส่งสินค้าที่ผลิตได้ในเวียดนามเข้าไปขายในเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับที่นักธุรกิจเวียดนามได้รับ
เวียดนาม การลงนามในข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหรัฐฯ คาดว่าจะส่งผลดีต่อเวียดนามดังนี้
- ด้านการค้า ในปี 2542 สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 9 ของเวียดนาม โดยเวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ รวม 504 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าจากสหรัฐฯ 335 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเวียดนามเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2540 ทั้งนี้ ธนาคารโลกคาดว่าเวียดนามจะได้รับประโยชน์ (Welfare Gains) คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีจากการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตให้ดีขึ้นและการขยายการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีแรกที่ข้อตกลงการค้าทวิภาคีมีผลบังคับใช้ เนื่องจากสินค้าเวียดนามที่ส่งไปยังสหรัฐฯ จะได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าจากอัตราทั่วไป (General) เฉลี่ยร้อยละ 40 เหลืออัตรา MFN เฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น
สินค้าสำคัญที่รัฐบาลเวียดนามคาดว่าจะสามารถขยายการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้มากขึ้น คือ รองเท้า (คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2543 เป็น 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2544) และสิ่งทอ (คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2543 เป็น 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2544) ขณะที่ธนาคารโลกคาดว่าการส่งออกสิ่งทอของเวียดนามไปจำหน่ายในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเป็น 384 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีแรกที่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้
- ด้านการลงทุน ในช่วงวิกฤตค่าเงินเอเชีย นักลงทุนต่างชาติชะลอการเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ทำให้มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศลดลงจาก 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2539 เหลือ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2542 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของเวียดนามขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 9.3 ในปี 2539 เหลือเพียงร้อยละ 4.5 ในปี 2542 แต่การที่นักลงทุนอเมริกันสนใจเข้าไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้นจะส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในเวียดนามดีขึ้นและจะเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจของเวียดนามขยายตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.7-6.0 ในช่วงปี 2543-2544 นอกจากนี้ การบรรลุข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหรัฐฯ ยังเป็นการก้าวสำคัญที่จะช่วยให้เวียดนามได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) จากสหรัฐฯ และปูทางให้เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในอนาคตอีกด้วย
ส่วนผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทยนั้นคาดว่าข้อตกลงทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามจะส่งผลให้สินค้าไทยบางรายการ เช่น รองเท้า ฯลฯ สูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ให้แก่สินค้าจากเวียดนาม อย่างไรก็ตาม สินค้าจากเวียดนามส่วนใหญ่เป็นสินค้าราคาถูกที่ผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดระดับล่าง ในขณะที่สินค้าไทยมุ่งสนองความต้องการของตลาดระดับกลางและบน ทำให้คาดว่าผู้ผลิตสินค้าของไทยจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก สำหรับสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปก็คาดว่าไทยจะไดัรับผลกระทบไม่มากนักเช่นกัน เนื่องจากสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยได้รับการจัดสรรโควตาจากสหรัฐฯ เป็นปริมาณที่แน่นอนในแต่ละปี อีกทั้งผู้ผลิตเส้นใยและผ้าผืนของไทยอาจได้รับผลดีจากการที่เวียดนามนำเข้าวัตถุดิบเหล่านี้จากไทยมากขึ้นด้วย ส่วนทางด้านการลงทุนนั้นแม้ว่าไทยจะได้รับผลกระทบทางลบจากการที่นักลงทุนสหรัฐฯ สนใจเข้าไปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น แต่นักลงทุนไทยก็จะได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการลงทุนไปเวียดนามเพิ่มขึ้น เพื่ออาศัยความได้เปรียบในด้านค่าจ้างแรงงานของเวียดนาม เนื่องจากอัตราค่าจ้างแรงงานชาวเวียดนามต่ำกว่าแรงงานไทยถึง 3 เท่า และเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจำหน่ายสินค้าของไทยไปยังสหรัฐฯ ให้มากขึ้น
“จะรายย่อยหรือรายกลาง คุณคือลูกค้าคนสำคัญ”
ธสน. พร้อมสนับสนุนผู้ส่งออก SMEs ด้วยสินเชื่อประเภทต่างๆ ไม่จำกัดประเภทธุรกิจ
สนใจติดต่อ ศูนย์บริการสินเชื่อผู้ส่งออกรายย่อย สำนักงานใหญ่ หรือ ธสน. ทุกสาขา
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-
สหรัฐอเมริกา การลงนามในข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับเวียดนามคาดว่าจะส่งผลดีต่อสหรัฐฯ ดังนี้
- ด้านการค้า ในปี 2542 เวียดนามเป็นคู่ค้าอันดับที่ 72 ของสหรัฐฯ แต่คาดว่าเมื่อข้อตกลงการค้าทวิภาคี ระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามมีผลบังคับใช้ สหรัฐฯ จะสามารถขยายการส่งออกสินค้าหลายชนิดไปจำหน่ายในเวียดนามได้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และการคมนาคมสื่อสาร เนื่องจากเวียดนามต้องยกเลิกการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้า (Surcharge) ในอัตราร้อยละ 50 ให้แก่สินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ ธนาคารโลก (World Bank) ยังคาดว่าผู้บริโภคอเมริกันจะได้รับประโยชน์ (Welfare Gains) จากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากเวียดนามคิดเป็นมูลค่าประมาณ 56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีอีกด้วย
- ด้านการลงทุน ณ สิ้นปี 2542 สหรัฐฯ เป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 9 ในเวียดนาม มีโครงการลงทุนรวม 112 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าการลงทุนของสหรัฐฯ ในเวียดนามจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลเวียดนามจะให้การคุ้มครองนักลงทุนอเมริกันมากขึ้น ประกอบกับการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการลงทุนจะส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในเวียดนามดีขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนอเมริกันในเวียดนามจะได้ประโยชน์จากการที่เวียดนามเป็นสมาชิกอาเซียน ทำให้สามารถส่งสินค้าที่ผลิตได้ในเวียดนามเข้าไปขายในเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับที่นักธุรกิจเวียดนามได้รับ
เวียดนาม การลงนามในข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหรัฐฯ คาดว่าจะส่งผลดีต่อเวียดนามดังนี้
- ด้านการค้า ในปี 2542 สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 9 ของเวียดนาม โดยเวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ รวม 504 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าจากสหรัฐฯ 335 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเวียดนามเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2540 ทั้งนี้ ธนาคารโลกคาดว่าเวียดนามจะได้รับประโยชน์ (Welfare Gains) คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีจากการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตให้ดีขึ้นและการขยายการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีแรกที่ข้อตกลงการค้าทวิภาคีมีผลบังคับใช้ เนื่องจากสินค้าเวียดนามที่ส่งไปยังสหรัฐฯ จะได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าจากอัตราทั่วไป (General) เฉลี่ยร้อยละ 40 เหลืออัตรา MFN เฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น
สินค้าสำคัญที่รัฐบาลเวียดนามคาดว่าจะสามารถขยายการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้มากขึ้น คือ รองเท้า (คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2543 เป็น 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2544) และสิ่งทอ (คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2543 เป็น 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2544) ขณะที่ธนาคารโลกคาดว่าการส่งออกสิ่งทอของเวียดนามไปจำหน่ายในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเป็น 384 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีแรกที่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้
- ด้านการลงทุน ในช่วงวิกฤตค่าเงินเอเชีย นักลงทุนต่างชาติชะลอการเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ทำให้มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศลดลงจาก 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2539 เหลือ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2542 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของเวียดนามขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 9.3 ในปี 2539 เหลือเพียงร้อยละ 4.5 ในปี 2542 แต่การที่นักลงทุนอเมริกันสนใจเข้าไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้นจะส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในเวียดนามดีขึ้นและจะเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจของเวียดนามขยายตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.7-6.0 ในช่วงปี 2543-2544 นอกจากนี้ การบรรลุข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหรัฐฯ ยังเป็นการก้าวสำคัญที่จะช่วยให้เวียดนามได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) จากสหรัฐฯ และปูทางให้เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในอนาคตอีกด้วย
ส่วนผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทยนั้นคาดว่าข้อตกลงทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามจะส่งผลให้สินค้าไทยบางรายการ เช่น รองเท้า ฯลฯ สูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ให้แก่สินค้าจากเวียดนาม อย่างไรก็ตาม สินค้าจากเวียดนามส่วนใหญ่เป็นสินค้าราคาถูกที่ผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดระดับล่าง ในขณะที่สินค้าไทยมุ่งสนองความต้องการของตลาดระดับกลางและบน ทำให้คาดว่าผู้ผลิตสินค้าของไทยจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก สำหรับสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปก็คาดว่าไทยจะไดัรับผลกระทบไม่มากนักเช่นกัน เนื่องจากสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยได้รับการจัดสรรโควตาจากสหรัฐฯ เป็นปริมาณที่แน่นอนในแต่ละปี อีกทั้งผู้ผลิตเส้นใยและผ้าผืนของไทยอาจได้รับผลดีจากการที่เวียดนามนำเข้าวัตถุดิบเหล่านี้จากไทยมากขึ้นด้วย ส่วนทางด้านการลงทุนนั้นแม้ว่าไทยจะได้รับผลกระทบทางลบจากการที่นักลงทุนสหรัฐฯ สนใจเข้าไปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น แต่นักลงทุนไทยก็จะได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการลงทุนไปเวียดนามเพิ่มขึ้น เพื่ออาศัยความได้เปรียบในด้านค่าจ้างแรงงานของเวียดนาม เนื่องจากอัตราค่าจ้างแรงงานชาวเวียดนามต่ำกว่าแรงงานไทยถึง 3 เท่า และเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจำหน่ายสินค้าของไทยไปยังสหรัฐฯ ให้มากขึ้น
“จะรายย่อยหรือรายกลาง คุณคือลูกค้าคนสำคัญ”
ธสน. พร้อมสนับสนุนผู้ส่งออก SMEs ด้วยสินเชื่อประเภทต่างๆ ไม่จำกัดประเภทธุรกิจ
สนใจติดต่อ ศูนย์บริการสินเชื่อผู้ส่งออกรายย่อย สำนักงานใหญ่ หรือ ธสน. ทุกสาขา
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-