สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลผลิตสุกรยังคงเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ความต้องการบริโภคสุกรลดลง เพราะหันไปบริโภคสัตว์น้ำตามธรรมชาติสำหรับลูกสุกรราคาสูงขึ้น ตัวละ 950 บาท (บวกลบ 38 บาท) แสดงว่าความต้องการเลี้ยงสุกรยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ย ทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.41 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.00 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.60 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 950 บาท (บวกลบ 38) สูงขึ้นจากตัวละ 900 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.56
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.74 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.73
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบายในช่วงนี้ ทำให้ไก่เนื้อมีการเติบโตดี แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาผู้เลี้ยงนำไก่เข้าเลี้ยงปริมาณน้อย ปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดจึงมีไม่มากนัก ซึ่งมีความสมดุลกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าราคาไก่เนื้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก
สำหรับตลาดในต่างประเทศช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้โดยภาพรวมมีสถานการณ์ที่ดี โดยเฉพาะที่ตลาดญี่ปุ่น ซึ่งหันมาสั่งซื้อจากไทยเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสินค้า ของจีน โดยราคา BL มีราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 2,400 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนที่ตลาดยุโรป ขณะนี้ทางบราซิลได้นำสินค้าเข้าไปขายในราคาที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณตันละ 1,700 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่สินค้าจากไทยมีราคาที่สูงกว่า โดยราคา SBB อยู่ที่ประมาณตันละ 2,100-2,200 เหรียญสหรัฐฯ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.58 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.12 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 29.18 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.78 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 26.82 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 9.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.36 ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.71
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ปรับตัวขึ้นอีกเล็กน้อย แต่สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัวอยู่ ความต้องการบริโภคไข่ไก่เริ่มดีขึ้น เนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ เปิดภาคเรียนแล้ว ในช่วงนี้ปริมาณไข่ไก่ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นไข่ขนาดเล็ก แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะปรับตัวขึ้นอีกเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 176 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 175 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 175 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 193 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 171 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 177 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 175 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 181 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.31
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 200 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 201 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 177 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 195 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 219 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 192 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 39.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.62 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.82 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 44.15 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.76 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 31.32 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 29.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 27.76 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.20 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 44 ประจำวันที่ 12-18 พ.ย. 2544--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลผลิตสุกรยังคงเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ความต้องการบริโภคสุกรลดลง เพราะหันไปบริโภคสัตว์น้ำตามธรรมชาติสำหรับลูกสุกรราคาสูงขึ้น ตัวละ 950 บาท (บวกลบ 38 บาท) แสดงว่าความต้องการเลี้ยงสุกรยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ย ทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.37 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.41 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.00 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.60 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 950 บาท (บวกลบ 38) สูงขึ้นจากตัวละ 900 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.56
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.74 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.73
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบายในช่วงนี้ ทำให้ไก่เนื้อมีการเติบโตดี แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาผู้เลี้ยงนำไก่เข้าเลี้ยงปริมาณน้อย ปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดจึงมีไม่มากนัก ซึ่งมีความสมดุลกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าราคาไก่เนื้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก
สำหรับตลาดในต่างประเทศช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้โดยภาพรวมมีสถานการณ์ที่ดี โดยเฉพาะที่ตลาดญี่ปุ่น ซึ่งหันมาสั่งซื้อจากไทยเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสินค้า ของจีน โดยราคา BL มีราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 2,400 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนที่ตลาดยุโรป ขณะนี้ทางบราซิลได้นำสินค้าเข้าไปขายในราคาที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณตันละ 1,700 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่สินค้าจากไทยมีราคาที่สูงกว่า โดยราคา SBB อยู่ที่ประมาณตันละ 2,100-2,200 เหรียญสหรัฐฯ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.58 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.12 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 29.18 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.78 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 26.82 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 9.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.53
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.36 ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.71
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ปรับตัวขึ้นอีกเล็กน้อย แต่สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัวอยู่ ความต้องการบริโภคไข่ไก่เริ่มดีขึ้น เนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ เปิดภาคเรียนแล้ว ในช่วงนี้ปริมาณไข่ไก่ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นไข่ขนาดเล็ก แนวโน้มคาดว่าราคาไข่ไก่จะปรับตัวขึ้นอีกเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 176 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 175 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 175 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 193 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 171 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 177 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 175 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 181 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.31
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 200 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 201 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 177 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 195 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 219 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 192 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 39.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.62 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.82 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 44.15 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.76 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 31.32 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 29.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 27.76 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 23.20 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 44 ประจำวันที่ 12-18 พ.ย. 2544--
-สส-