บทสรุปนักลงทุน
ท่อเหล็กเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมได้หลากหลาย ประเภท เช่น ธุรกิจการประปา ก๊าซ น้ำมัน สารเคมี รวมทั้งงานก่อสร้างประเภทต่างๆ เป็นต้น ใน ปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ขยายไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกล ท่อร้อยสายไฟฟ้า เป็นต้น
มูลค่าตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมท่อเหล็กมีการขยายตัวค่อนข้างดีในช่วงก่อนปี 2539 แต่หลังจากภาวะการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์เริ่มประสบปัญหาประกอบกับมีการแข่งขันที่ สูงขึ้นในตลาดส่งออกส่งผลให้มูลค่าตลาดโดยรวมในช่วงปี 2539-2541 ปรับตัวลดลงเฉลี่ยร้อยละ 10.7 ต่อปี เหลือ 14,217.5 ล้านบาท สำหรับในปี 2542 มูลค่าตลาดโดยรวมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2541 อีกร้อยละ 19 เป็นประมาณ 11,465 ล้านบาท ทั้งมูลค่าตลาดในประเทศ นำเข้า และส่ง ออก ส่วนในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดท่อเหล็กโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนแต่ในอัตราที่ไม่สูง
นักประมาณร้อยละ 6 เป็นประมาณ 12,250 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนใน ประเทศที่คาดว่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยตลาดนำเข้ายังคงมีสัดส่วนสูงที่สุดประมาณร้อยละ 43 รองลงมาเป็นตลาดในประเทศ และส่งออก ตามลำดับ
ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมท่อเหล็กปัจจุบันมีประมาณ 40-50 ราย ปริมาณการผลิตในปี 2542 มี ประมาณ 449,500 ตัน คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตเพียงร้อยละ 30.6 การผลิตท่อเหล็กของไทยมีทั้งที่เป็นท่อเหล็กกล้า ท่อเหล็กหล่อ และท่อเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel) ประเภทมีตะเข็บขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 - 120 นิ้ว โดยนิยมผลิตท่อตะเข็บตรงขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-8 นิ้ว ประเภทที่เชื่อมด้วยความต้านทานไฟฟ้า (Electric Resistance Weld Pipe, ERW) เช่น ท่อเหล็กชุบสังกะสี ท่อเหล็กดำ และท่อเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตได้แก่ เหล็กแผ่นทั้งประเภทรีดร้อน รีดเย็น และสแตนเลส ซึ่งในอดีตต้องนำเข้าแต่ปัจจุบันสามารถผลิตได้ภายในประเทศ ยกเว้นสแตนเลสที่ส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
ขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต โดยเงินลงทุนเริ่มต้นส่วนใหญ่จะใช้เป็นค่าเครื่องจักรซึ่งจะมีระดับราคาค่อนข้างสูง ส่วนค่าใช้จ่ายทั่วไปจะเป็นค่าวัตถุดิบ ส่วนค่าแรง ค่าโสหุ้ยในการผลิต จะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน นอกนั้นยังมีดอกเบี้ยจ่ายในกรณี
กู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ท่อเหล็กเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมได้หลากหลายประเภท เช่น ธุรกิจการประปา ก๊าซ น้ำมัน สารเคมี รวมทั้งงานก่อสร้างประเภทต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ขยายไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม อาหาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกล ท่อร้อยสายไฟฟ้า เป็นต้น
มูลค่าตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมท่อเหล็กมีการขยายตัวค่อนข้างดีในช่วงก่อนปี 2539 แต่ต่อมาเมื่อภาวะการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์เริ่มประสบปัญหาประกอบกับมีการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดส่งออกส่งผลให้มูลค่าตลาดโดยรวมในช่วงปี 2539-2541 ปรับตัวลดลงเฉลี่ยร้อยละ 10.7 ต่อปี เหลือ 14,217.5 ล้านบาท สำหรับในปี 2542 มูลค่าตลาดโดยรวมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2541 อีกร้อยละ 19 เป็นประมาณ 11,465 ล้านบาท โดยเป็นการปรับตัวลดลงทั้งมูลค่าตลาดในประเทศ นำเข้า และส่งออก และพบว่าสัดส่วนตลาดในประเทศได้ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 42 ในช่วงปี 2538-2540 เหลือประมาณร้อยละ 33 ในขณะที่ตลาดนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36 และ 22 เป็นร้อยละ 39 และ 28 ตามลำดับ ในปี 2542
ตลาดในประเทศในปี 2542 ปรับตัวลดลงจากปีก่อนทั้งปริมาณและมูลค่าอีกร้อยละ 16 และ 25 คิดเป็นประมาณ 300,000 ตัน และ 3,750 ล้านบาท ตามลำดับ ท่อเหล็กที่สามารถผลิตได้ในประเทศส่วนใหญ่เป็นท่อเหล็กชุบสังกะสีและท่อเหล็กดำ ซึ่งปัจจุบันถูกทดแทนด้วยท่อ PVC มากขึ้น ส่วนในด้านปริมาณการนำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 23 เป็น 170,340 ตัน ในขณะที่มูลค่าปรับตัวลดลงร้อยละ 17 คิดเป็น 4,590 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าท่อเหล็กที่มีคุณภาพสูงที่ยังไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ หรือผลิตได้ไม่เพียงพอจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ท่อขนาดใหญ่ ท่อสำหรับส่งน้ำมันหรือก๊าซทั้งประเภทไร้ตะเข็บและเชื่อมตะเข็บซึ่งมีระดับราคาสูง ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐฯ เยอรมนี เป็นต้น
ส่วนการส่งออกท่อเหล็กของไทยเริ่มปรับตัวลดลงในปี 2539 จากการแข่งขันที่สูงขึ้นโดยเฉพาะท่อชนิดเชื่อมตะเข็บขนาดน้อยกว่า 8 นิ้ว จากคู่แข่งที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทยและมีคุณภาพดีส่งออกมาจำหน่ายมากขึ้น เช่น เกาหลี ทำให้ไทยไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ นอกจากนี้ท่อเหล็กจากไทยยังประสบปัญหาถูกกีดกันทางการค้าและมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯและสหภาพยุโรป สำหรับในปี 2542 คาดว่าจะมีการส่งออกทั้งสิ้น 162,500 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2 ในขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 15.5 เป็น 3,125 ล้านบาท เนื่องจากคาดว่าระดับราคาส่งออกจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนราวร้อยละ 20 โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม เป็นต้น
สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดท่อเหล็กโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนแต่ในอัตราที่ไม่สูงนักประมาณร้อยละ 6 เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศ นำเข้า และส่งออก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 12,250 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากงบประมาณด้านการขนส่งทางท่อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ในปี 2543 และยังมีโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย คาดว่าจะเป็นผลให้การนำเข้าจะยังคงเป็นปริมาณที่สูง
ผู้ผลิตในปัจจุบัน
ท่อเหล็กสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะกระบวนการผลิต คือ ท่อเหล็กที่มีตะเข็บ (Welded Tubular Products) และท่อเหล็กไร้ตะเข็บ (Seamless Tubular Products) นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งตามขนาดและการใช้งานได้ 3 ชนิดคือ ท่อเหล็กขนาดเล็ก ท่อเหล็กขนาดใหญ่และท่อเหล็กหล่อ ในปัจจุบันมีผู้ผลิตท่อเหล็กในประเทศไทยประมาณ 40-50 ราย ปริมาณการผลิตในปี 2542 ประมาณ 449,500 ตัน ส่วนใหญ่เป็นท่อขนาดเล็กคิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตเพียงร้อยละ 30.6 ส่วนท่อเหล็กประเภทไร้ตะเข็บสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซและปิโตรเลียม ท่อสำหรับใช้กับหม้อไอน้ำ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเนื่องจากการผลิตต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและต้องใช้เทคนิคในการผลิตที่สูงอีกด้วย
การผลิตท่อเหล็กของไทยมีทั้งที่เป็นท่อเหล็กกล้า ท่อเหล็กหล่อ และท่อเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel) ประเภทมีตะเข็บขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 -- 120 นิ้ว แต่การผลิตส่วนใหญ่จะเป็นท่อตะเข็บตรงขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-8 นิ้ว ที่เชื่อมด้วยความต้านทานไฟฟ้า (Electric Resistance Weld Pipe: ERW) ท่อประเภทนี้ได้แก่ ท่อเหล็กดำ ท่ออาบสังกะสี ท่อ โครงสร้าง และท่อเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ส่วนท่อเหล็กขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6 --120 นิ้ว จะใช้กรรมวิธีการผลิตหลายแบบ ตามลักษณะงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่น แบบพันเป็นเกลียว (Spiral Welded Steel Pipe) สำหรับท่อน้ำประปาและท่อเสาเข็ม และ แบบ U-O Press Welded Steel Pipe สำหรับงานที่มีแรงดันสูง เช่น ท่อส่งน้ำมัน ท่อส่งก๊าซ เป็นต้น จะมีการผลิตน้อยกว่าส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้า
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท ไทย-เยอรมันโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) 770,000,000
บริษัท สตีลทอป จำกัด 730,000,000
บริษัท เฟิสท์สตีลอินดัสตรี จำกัด 500,000,000
บริษัท อุตสาหกรรมท่อเหล็ก จำกัด 365,800,000
บริษัท นาสโตะ (ประเทศไทย) จำกัด 167,000,000
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท คอทโก้-เอสวี อีสเทอร์นสตีลไพพ์ จำกัด 100,000,000
บริษัท สหไทยสตีลไพพ์ จำกัด 90,000,000
บริษัท อุตสาหกรรมท่อสตีมเหล็กกล้า จำกัด 36,000,000
บริษัท ไทยยูเนียนสตีล จำกัด 30,000,000
บริษัท ไทยทิวป์สตีลไพพ์ จำกัด 20,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ช่องทางการจำหน่าย และลักษณะตลาด
ลักษณะตลาดท่อเหล็กแบ่งตามประเภทของผลิตภัณฑ์ได้เป็น 3 ตลาดคือ
1. ท่อเหล็กขนาดเล็ก เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงทั้งตลาดในประเทศและส่งออกโดยเฉพาะทางด้านราคาและคุณภาพจากจำนวนผู้ผลิตที่มีมาก ทั้งนี้กว่าร้อยละ 70 เป็นตลาดของท่ออาบสังกะสี ที่เหลือเป็นท่อเหล็กดำ ท่อเฟอร์นิเจอร์ ท่อสแตนเลส และท่อโครงสร้างอื่นๆ เป็นต้น
2. ท่อเหล็กขนาดใหญ่ ตลาดที่สำคัญกว่าร้อยละ 90 คือหน่วยงานรัฐบาล เช่น การประปานครหลวง การประปาภูมิภาค กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น ท่อเหล็กประเภทนี้หากมีกรรมวิธีการผลิตที่ดีขึ้นก็จะสามารถนำไปเป็นท่อแก๊ส ท่อน้ำมัน เพื่อทดแทนการนำเข้าได้
3. ท่อเหล็กหล่อ ขนาดตลาดยังเล็ก ส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นท่อน้ำทิ้ง แต่สามารถใช้ท่อ PVC ทดแทนได้ ดังนั้นจึงนิยมนำมาใช้ภายนอกอาคารเนื่องจากมีความทนทานมากกว่าท่อ PVC
ช่องทางการจำหน่ายท่อเหล็กสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะได้แก่
1.!จำหน่ายโดยตรงแก่กลุ่มลูกค้าหลักหรือผู้ใช้รายใหญ่ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง หน่วยงานภาครัฐบาลโดยวิธีการประมูลหรือประกวดราคา เป็นต้น การจำหน่ายในลักษณะนี้ผู้ผลิตรายใหญ่จะได้เปรียบในด้านราคามากกว่าผู้ประกอบการรายกลาง-เล็ก
2.!จำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย ซึ่งนอกจากนี้ผู้แทนจำหน่ายบางรายก็มีการส่งออกท่อเหล็กไปจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย
3.!ผู้ผลิตท่อเหล็กจำหน่ายโดยการส่งออกไปยังต่างประเทศโดยตรง
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตท่อเหล็กขนาดเล็ก ได้แก่ แผ่นเหล็กและสังกะสี สำหรับการผลิตท่อเหล็กขนาดใหญ่วัตถุดิบที่สำคัญ ได้แก่ แผ่นเหล็ก ใยหิน (Asbestos) โคลทาร์อีนาเมล กระดาษใยแก้วและลวดเชื่อม นอกจากนี้ยังมีปูนซีเมนต์ ทราย และสี เป็นต้น ส่วนการผลิตท่อเหล็กหล่อใช้วัตถุ
ดิบที่สำคัญคือ เศษเหล็ก และยางมะตอย
สำหรับในที่นี้จะศึกษารายละเอียดเฉพาะวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตท่อเหล็กขนาดกลาง-เล็กที่มีการผลิตมากในประเทศและใช้เงินลงทุนและเทคโนโลยีไม่สูงนัก ได้แก่
1. เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ปัจจุบันมีการผลิตภายในประเทศ โดยผู้ผลิตรายสำคัญได้แก่บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) บริษัท แอลพีเอ็น เพลทมิล จำกัด บริษัท สยาม สตริปมิล จำกัด เป็นต้น และบางส่วนต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศโดยตลาดนำเข้าหลักได้แก่ ญี่ปุ่น
เกาหลี รัสเซีย จีน เป็นต้น
2. เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดม้วน ปัจจุบันมีการผลิตภายในประเทศ โดยผู้ผลิตรายสำคัญได้แก่บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด บริษัท บี เอช พี สตีล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท สยามยูไนเต็ด สตีล จำกัด เป็นต้น และยังคงมีการนำเข้าจากต่างประเทศโดยตลาดนำเข้าหลักได้แก่ ญี่ปุ่น รัสเซีย จีน เป็นต้น
3. เหล็กแผ่นไร้สนิม (Stainless Steel) ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยผู้นำเข้าที่สำคัญคือ บริษัท ไทยน็อคซ์ สตีล จำกัด
4. สังกะสี ในกรณีที่ผลิตท่อเหล็กอาบสังกะสี ส่วนใหญ่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยบริษัท ผาแดงอินดัสตรี จำกัด
5.วัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ Argon Gas หรือก๊าซเฉื่อย ใช้ในขณะการเชื่อมป้องกันไม่ให้เกิด Oxidation สามารถซื้อได้ภายในประเทศ เช่น จากบริษัท บางกอกอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด บริษัท ที.ไอ.จี เทรดดิ้ง จำกัด
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1.! วัตถุดิบ 70-75
-!วัตถุดิบในประเทศ 5-10
-!วัตถุดิบนำเข้า 90-95
2. ค่าแรงงาน 10
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 10
4. ค่าเสื่อมเครื่องจักร และอื่นๆ 5-10
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต (ท่อเหล็กขนาดกลาง-เล็ก)
ตัดแผ่นเหล็กให้ได้ขนาดตามต้องการ
แผ่นเหล็กจะค่อยๆขึ้นรูปทีละน้อย
นำเข้าเครื่องม้วนขึ้นรูป โดยผ่านลูกกลิ้งในเครื่องจนปลายทั้ง
2 ด้านชนกันเป็นท่อ ขนาดเส้นผ่า
เชื่อมท่อด้วยเครื่องเชื่อมท่อ ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมด้วยกระแส
ไฟฟ้า ให้ชิ้นงานหลอมละลายและมี
ลกกลิ้งบีบอัดตะเข็บที่เชื่อมให้แน่น
ตกแต่งรอยตะเข็บ ตัด และดัดท่อโดยเครื่องดัดท่อ
ให้ตรงหรือได้ขนาด-รูปทรงตามต้องการ และตก
แต่งปลายท่อให้เรียบและมน
มีทั้งทดสอบด้วยกำลังอัดของน้ำและ
ทดสอบการยืดตัวของแนวเชื่อมด้วย
เครื่อง Tension Test หรือเครื่องบาน
ท่อ แล้วแต่ประเภทของท่อ
ตรวจสอบคุณภาพ
ท่อเหล็กดำ ท่อเหล็กสแตนเลส
เคลือบสังกะสี ด้วยกรรมวิธีจุ่มร้อน (Hot Dipped)
ทำเป็นเกลียวที่ปลายทั้ง 2 ด้าน
ท่อเหล็กอาบสังกะสี จัดจำหน่าย
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตท่อเหล็กประกอบด้วย
1. เครื่องม้วนท่อ (Rolling Machine)
2. เครื่องดัดท่อ (Tube Bending Machine) ใช้สำหรับดัดท่อที่ผ่านการรีด ม้วนและเชื่อมเรียบร้อยแล้วให้ได้รูปทรงตามต้องการ โดยจะมีทั้งเครื่องที่ใช้แรงคนและแบบเครื่องอัตโนมัติ
3. เครื่องเชื่อมท่อ ในบางครั้งอาจจะรวมอยู่ในสายการผลิตเดียวกันต่อเนื่องกับเครื่องม้วนท่อ
4. เครื่องขัดผิวท่อ
5. เครื่องทดสอบท่อด้วยแรงน้ำ และการยึดตัวของแนวเชื่อม จะใช้เครื่องดึงท่อหรือเครื่องบานท่อ (Tension Test)
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมท่อเหล็กควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือตลาดจำหน่ายสินค้า ในกรณีการลงทุนการผลิตท่อเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel) ขนาดกลาง-เล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-12 นิ้ว กำลังการผลิตปีละประมาณ 250 ตัน โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ โดยประมาณดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.! เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นประมาณ 60-65 ล้านบาท
2.! ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง ขนาดพื้นที่ทำการผลิตและเป็นสต๊อกสินค้า ใช้ประมาณ 500-700 ตารางวา และมีค่าที่ดินและค่าปรับปรุงที่ รวมค่าสิ่งปลูกสร้างรวมกันประมาณ 10 ล้านบาท หรือในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมี
ค่าเช่าแล้วแต่ทำเล
3.! ค่าเครื่องจักร ได้แก่
3.1 เครื่องม้วนท่อและเชื่อมท่อที่อยู่ในสายการผลิตเดียวกันแบบต่อเนื่อง ในการลงทุนเริ่มแรกใช้เพียง 2 เครื่อง ธรรมดาระดับราคาประมาณ 15-20 ล้านบาท
3.2 เครื่องดัดท่อ ควรจะมีทั้งแบบที่คนและแบบอัตโนมัติอย่างละ 1 เครื่อง โดยแบบธรรมดาราคาประมาณเครื่องละ 50,000 บาท และแบบอัติโนมัติราคาประมาณ 600,000-700,000 บาท
3.3 เครื่องขัดผิว - ขัดเงาท่อ (สำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการความสวยงาม เช่น ท่อเฟอร์นิเจอร์) ควรมีอย่างน้อยจำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละประมาณ 10-14 ล้านบาท
3.4 เครื่องทดสอบท่อ จำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละประมาณ 20,000 บาท
4.! ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) อย่างน้อย 1 คัน ราคา 300,000- 500,000 บาท
5.! เงินทุนหมุนเวียน เป็นค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าแรง และใช้จ่ายในการผลิต ประมาณ 2,300,000 - 2,500,000 บาท
บุคลากร ธุรกิจการผลิตท่อเหล็กขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 25 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน มีทั้งสิ้น 23 คน ประกอบด้วย
1.1! พนักงานจัดเตรียมวัสดุ 2 คน
1.2! ช่างควบคุม-ดูแลเครื่องจักร 10 คน
1.3! พนักงานดัดท่อ 6 คน
1.4! พนักงานตกแต่งและตรวจสอบคุณภาพ 2 คน
1.5! หัวหน้าดูแลพนักงาน 3 คน
2.!พนักงานในสำนักงานและผู้บริหาร ในกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้จัดการ-บริหารส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของกิจการ และมีพนักงานดูแลงานทั่วไป รวมไปถึงดูแลด้านการตลาด บัญชีและเสมียน อีกประมาณ 1-2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 16,550,000 บาทต่อปี
- แผ่นเหล็กสแตนเลส 16,500,000 บาทต่อปี
(อัตราการสูญเสียประมาณร้อยละ 4-5)
- ค่าวัสดุสิ้นเปลือง 50,000 บาทต่อปี
(เช่น Argon Gas)
2. ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 2,800,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 2,000,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 698,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ (มีการใช้น้ำบาดาล) 20,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 420,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 48,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 210,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าใช้จ่ายทั่วไป-วัสดุสิ้นเปลือง 30,000 บาทต่อปี
5.2 ดอกเบี้ยจ่าย แล้วแต่จำนวนเงินที่กู้ยืม
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 5-10 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ยประมาณ 200 ตัน ราคาเฉลี่ยประมาณ 110 บาท/กก. คิดเป็นรายได้ 26-27.5 ล้านบาทต่อปี
โครงสร้างและสัดส่วนการลงทุนนี้สามารถดัดแปลงใช้ในการผลิตท่อเหล็กประเภทอื่นๆได้เนื่องจากมีกรรมวิธีการผลิตที่คล้ายคลึงกัน และเครื่องจักรสามารถนำมาดัดแปลงใช้ได้
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
ตารางที่ 7: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท แอล วี ดี จำกัด 45 ซ.พัฒนเวศม์ สุขุมวิท 71 คลองตัน คลองเตย
กรุงเทพฯ โทร. 381-1556 ,381-1616
บริษัท ว่องไววิทย์อุตสาหกรรมจักรกล (สำโรง) จำกัด 190 หมู่ที่ 4 (เชิงสะพานสำโรง) สุขุมวิท ต.เทพารักษ์
อ. เมือง จ. สมุทรปราการ โทร. 756-8891-4, 384-7345-6
บริษัท ไทย - ยูเอส แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด 43/317-318 ซ.อาจทรัพย์ใต้ ถ.จอมทอง เขตจอมทอง
กรุงเทพฯ โทร. 875-7629-30
โรงงานไทยโรลลิ่ง แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด 57/3 หมู่ที่ 7 ซ.กลับเจริญ ต.สุขสวัสดิ์ อ.พระประแดง
จ.สมุทรปราการ โทร.464-1381, 462-7091
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาต
1. ด้านภาษี ในอุตสาหกรรมท่อเหล็กสามารถแบ่งได้เป็น วัตถุดิบ - เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 10 เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดม้วน มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 12 เหล็กแผ่นสแตนเลส มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 10 ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 15
2. ด้านการส่งเสริมการส่งออก ภาครัฐได้ให้การส่งเสริมในการส่งออกท่อเหล็ก เช่น การคืนอากรวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก ตามมาตร 19 ทวิ (รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายสูตรและคืนอากรการผลิตเพื่อการส่งออก สำนักงานศุลกากรส่งออกท่าเรือกรุงเทพ โทร. 249-4216,249-5968)
3. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงาน และการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
4. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีเงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ ดังนี้
โรงงานท่อเหล็กที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะต้องตั้งอยู่ในเขต 3 ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ยกเว้นภาษีเครื่องจักร และยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบการผลิตเพื่อส่งออกเป็นเวลา 5 ปี ยกเว้นการผลิตท่อเหล็กประเภท Butt Weld (แบบแนวเชื่อมต่อชน) สามารถตั้งอยู่ในเขต 2 แต่จะต้องตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมและ/หรือเขตอุตสาหกรรม
การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
มาตรฐานสินค้าในอุตสาหกรรมท่อเหล็กตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
มอก. 310-2522 - ท่อเหล็กสำหรับทำรถจักรยาน
มอก. 427-2531 - ท่อเหล็กกล้าเชื่อมด้วยไฟฟ้าสำหรับส่งน้ำ
มอก. 770-2533 - ท่อเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีสำหรับใช้ร้อยสายไฟฟ้า
มอก. 276-2532 - ท่อเหล็กกล้า
มอก. 277-2532 - ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสี
มอก. 1006-2535 - ท่อเหล็กกล้าไร้สนิมออสเทไนต์
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1.!หน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม(SMEs) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนหลายหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ
1.1 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม-บอย.(โทร.642-5207) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(โทร.253-7111) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม-บสย. (โทร.308-2741) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (โทร.271-3700, 278-0047) เป็นต้น
1.2 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (โทร.248-3393) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (โทร.202-3300-3304) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (โทร.271-2939)
1.3 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการลงทุนข้อมูลการลงทุนและการตลาด เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (โทร. 537-8111) กรมส่งเสริมการส่งออก (โทร. 511-5066-77)
2. กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (โทร.246-0065) ให้คำปรึกษา ให้บริการในการวิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
3. ศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (โทร.644-8150) ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นที่ปรึกษาและช่วยวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการผลิตเพื่อการจัดการที่ดี
ขึ้น ให้บริการในการวิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น--จบ--
-ชต-
ท่อเหล็กเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมได้หลากหลาย ประเภท เช่น ธุรกิจการประปา ก๊าซ น้ำมัน สารเคมี รวมทั้งงานก่อสร้างประเภทต่างๆ เป็นต้น ใน ปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ขยายไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกล ท่อร้อยสายไฟฟ้า เป็นต้น
มูลค่าตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมท่อเหล็กมีการขยายตัวค่อนข้างดีในช่วงก่อนปี 2539 แต่หลังจากภาวะการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์เริ่มประสบปัญหาประกอบกับมีการแข่งขันที่ สูงขึ้นในตลาดส่งออกส่งผลให้มูลค่าตลาดโดยรวมในช่วงปี 2539-2541 ปรับตัวลดลงเฉลี่ยร้อยละ 10.7 ต่อปี เหลือ 14,217.5 ล้านบาท สำหรับในปี 2542 มูลค่าตลาดโดยรวมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2541 อีกร้อยละ 19 เป็นประมาณ 11,465 ล้านบาท ทั้งมูลค่าตลาดในประเทศ นำเข้า และส่ง ออก ส่วนในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดท่อเหล็กโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนแต่ในอัตราที่ไม่สูง
นักประมาณร้อยละ 6 เป็นประมาณ 12,250 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนใน ประเทศที่คาดว่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยตลาดนำเข้ายังคงมีสัดส่วนสูงที่สุดประมาณร้อยละ 43 รองลงมาเป็นตลาดในประเทศ และส่งออก ตามลำดับ
ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมท่อเหล็กปัจจุบันมีประมาณ 40-50 ราย ปริมาณการผลิตในปี 2542 มี ประมาณ 449,500 ตัน คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตเพียงร้อยละ 30.6 การผลิตท่อเหล็กของไทยมีทั้งที่เป็นท่อเหล็กกล้า ท่อเหล็กหล่อ และท่อเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel) ประเภทมีตะเข็บขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 - 120 นิ้ว โดยนิยมผลิตท่อตะเข็บตรงขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-8 นิ้ว ประเภทที่เชื่อมด้วยความต้านทานไฟฟ้า (Electric Resistance Weld Pipe, ERW) เช่น ท่อเหล็กชุบสังกะสี ท่อเหล็กดำ และท่อเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตได้แก่ เหล็กแผ่นทั้งประเภทรีดร้อน รีดเย็น และสแตนเลส ซึ่งในอดีตต้องนำเข้าแต่ปัจจุบันสามารถผลิตได้ภายในประเทศ ยกเว้นสแตนเลสที่ส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
ขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต โดยเงินลงทุนเริ่มต้นส่วนใหญ่จะใช้เป็นค่าเครื่องจักรซึ่งจะมีระดับราคาค่อนข้างสูง ส่วนค่าใช้จ่ายทั่วไปจะเป็นค่าวัตถุดิบ ส่วนค่าแรง ค่าโสหุ้ยในการผลิต จะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน นอกนั้นยังมีดอกเบี้ยจ่ายในกรณี
กู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ท่อเหล็กเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมได้หลากหลายประเภท เช่น ธุรกิจการประปา ก๊าซ น้ำมัน สารเคมี รวมทั้งงานก่อสร้างประเภทต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ขยายไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม อาหาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกล ท่อร้อยสายไฟฟ้า เป็นต้น
มูลค่าตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมท่อเหล็กมีการขยายตัวค่อนข้างดีในช่วงก่อนปี 2539 แต่ต่อมาเมื่อภาวะการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์เริ่มประสบปัญหาประกอบกับมีการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดส่งออกส่งผลให้มูลค่าตลาดโดยรวมในช่วงปี 2539-2541 ปรับตัวลดลงเฉลี่ยร้อยละ 10.7 ต่อปี เหลือ 14,217.5 ล้านบาท สำหรับในปี 2542 มูลค่าตลาดโดยรวมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2541 อีกร้อยละ 19 เป็นประมาณ 11,465 ล้านบาท โดยเป็นการปรับตัวลดลงทั้งมูลค่าตลาดในประเทศ นำเข้า และส่งออก และพบว่าสัดส่วนตลาดในประเทศได้ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 42 ในช่วงปี 2538-2540 เหลือประมาณร้อยละ 33 ในขณะที่ตลาดนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36 และ 22 เป็นร้อยละ 39 และ 28 ตามลำดับ ในปี 2542
ตลาดในประเทศในปี 2542 ปรับตัวลดลงจากปีก่อนทั้งปริมาณและมูลค่าอีกร้อยละ 16 และ 25 คิดเป็นประมาณ 300,000 ตัน และ 3,750 ล้านบาท ตามลำดับ ท่อเหล็กที่สามารถผลิตได้ในประเทศส่วนใหญ่เป็นท่อเหล็กชุบสังกะสีและท่อเหล็กดำ ซึ่งปัจจุบันถูกทดแทนด้วยท่อ PVC มากขึ้น ส่วนในด้านปริมาณการนำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 23 เป็น 170,340 ตัน ในขณะที่มูลค่าปรับตัวลดลงร้อยละ 17 คิดเป็น 4,590 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าท่อเหล็กที่มีคุณภาพสูงที่ยังไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ หรือผลิตได้ไม่เพียงพอจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ท่อขนาดใหญ่ ท่อสำหรับส่งน้ำมันหรือก๊าซทั้งประเภทไร้ตะเข็บและเชื่อมตะเข็บซึ่งมีระดับราคาสูง ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐฯ เยอรมนี เป็นต้น
ส่วนการส่งออกท่อเหล็กของไทยเริ่มปรับตัวลดลงในปี 2539 จากการแข่งขันที่สูงขึ้นโดยเฉพาะท่อชนิดเชื่อมตะเข็บขนาดน้อยกว่า 8 นิ้ว จากคู่แข่งที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทยและมีคุณภาพดีส่งออกมาจำหน่ายมากขึ้น เช่น เกาหลี ทำให้ไทยไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ นอกจากนี้ท่อเหล็กจากไทยยังประสบปัญหาถูกกีดกันทางการค้าและมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯและสหภาพยุโรป สำหรับในปี 2542 คาดว่าจะมีการส่งออกทั้งสิ้น 162,500 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2 ในขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 15.5 เป็น 3,125 ล้านบาท เนื่องจากคาดว่าระดับราคาส่งออกจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนราวร้อยละ 20 โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม เป็นต้น
สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดท่อเหล็กโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนแต่ในอัตราที่ไม่สูงนักประมาณร้อยละ 6 เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศ นำเข้า และส่งออก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 12,250 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากงบประมาณด้านการขนส่งทางท่อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ในปี 2543 และยังมีโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย คาดว่าจะเป็นผลให้การนำเข้าจะยังคงเป็นปริมาณที่สูง
ผู้ผลิตในปัจจุบัน
ท่อเหล็กสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะกระบวนการผลิต คือ ท่อเหล็กที่มีตะเข็บ (Welded Tubular Products) และท่อเหล็กไร้ตะเข็บ (Seamless Tubular Products) นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งตามขนาดและการใช้งานได้ 3 ชนิดคือ ท่อเหล็กขนาดเล็ก ท่อเหล็กขนาดใหญ่และท่อเหล็กหล่อ ในปัจจุบันมีผู้ผลิตท่อเหล็กในประเทศไทยประมาณ 40-50 ราย ปริมาณการผลิตในปี 2542 ประมาณ 449,500 ตัน ส่วนใหญ่เป็นท่อขนาดเล็กคิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตเพียงร้อยละ 30.6 ส่วนท่อเหล็กประเภทไร้ตะเข็บสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซและปิโตรเลียม ท่อสำหรับใช้กับหม้อไอน้ำ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเนื่องจากการผลิตต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและต้องใช้เทคนิคในการผลิตที่สูงอีกด้วย
การผลิตท่อเหล็กของไทยมีทั้งที่เป็นท่อเหล็กกล้า ท่อเหล็กหล่อ และท่อเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel) ประเภทมีตะเข็บขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 -- 120 นิ้ว แต่การผลิตส่วนใหญ่จะเป็นท่อตะเข็บตรงขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-8 นิ้ว ที่เชื่อมด้วยความต้านทานไฟฟ้า (Electric Resistance Weld Pipe: ERW) ท่อประเภทนี้ได้แก่ ท่อเหล็กดำ ท่ออาบสังกะสี ท่อ โครงสร้าง และท่อเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ส่วนท่อเหล็กขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6 --120 นิ้ว จะใช้กรรมวิธีการผลิตหลายแบบ ตามลักษณะงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่น แบบพันเป็นเกลียว (Spiral Welded Steel Pipe) สำหรับท่อน้ำประปาและท่อเสาเข็ม และ แบบ U-O Press Welded Steel Pipe สำหรับงานที่มีแรงดันสูง เช่น ท่อส่งน้ำมัน ท่อส่งก๊าซ เป็นต้น จะมีการผลิตน้อยกว่าส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้า
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท ไทย-เยอรมันโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) 770,000,000
บริษัท สตีลทอป จำกัด 730,000,000
บริษัท เฟิสท์สตีลอินดัสตรี จำกัด 500,000,000
บริษัท อุตสาหกรรมท่อเหล็ก จำกัด 365,800,000
บริษัท นาสโตะ (ประเทศไทย) จำกัด 167,000,000
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท คอทโก้-เอสวี อีสเทอร์นสตีลไพพ์ จำกัด 100,000,000
บริษัท สหไทยสตีลไพพ์ จำกัด 90,000,000
บริษัท อุตสาหกรรมท่อสตีมเหล็กกล้า จำกัด 36,000,000
บริษัท ไทยยูเนียนสตีล จำกัด 30,000,000
บริษัท ไทยทิวป์สตีลไพพ์ จำกัด 20,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ช่องทางการจำหน่าย และลักษณะตลาด
ลักษณะตลาดท่อเหล็กแบ่งตามประเภทของผลิตภัณฑ์ได้เป็น 3 ตลาดคือ
1. ท่อเหล็กขนาดเล็ก เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงทั้งตลาดในประเทศและส่งออกโดยเฉพาะทางด้านราคาและคุณภาพจากจำนวนผู้ผลิตที่มีมาก ทั้งนี้กว่าร้อยละ 70 เป็นตลาดของท่ออาบสังกะสี ที่เหลือเป็นท่อเหล็กดำ ท่อเฟอร์นิเจอร์ ท่อสแตนเลส และท่อโครงสร้างอื่นๆ เป็นต้น
2. ท่อเหล็กขนาดใหญ่ ตลาดที่สำคัญกว่าร้อยละ 90 คือหน่วยงานรัฐบาล เช่น การประปานครหลวง การประปาภูมิภาค กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น ท่อเหล็กประเภทนี้หากมีกรรมวิธีการผลิตที่ดีขึ้นก็จะสามารถนำไปเป็นท่อแก๊ส ท่อน้ำมัน เพื่อทดแทนการนำเข้าได้
3. ท่อเหล็กหล่อ ขนาดตลาดยังเล็ก ส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นท่อน้ำทิ้ง แต่สามารถใช้ท่อ PVC ทดแทนได้ ดังนั้นจึงนิยมนำมาใช้ภายนอกอาคารเนื่องจากมีความทนทานมากกว่าท่อ PVC
ช่องทางการจำหน่ายท่อเหล็กสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะได้แก่
1.!จำหน่ายโดยตรงแก่กลุ่มลูกค้าหลักหรือผู้ใช้รายใหญ่ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง หน่วยงานภาครัฐบาลโดยวิธีการประมูลหรือประกวดราคา เป็นต้น การจำหน่ายในลักษณะนี้ผู้ผลิตรายใหญ่จะได้เปรียบในด้านราคามากกว่าผู้ประกอบการรายกลาง-เล็ก
2.!จำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย ซึ่งนอกจากนี้ผู้แทนจำหน่ายบางรายก็มีการส่งออกท่อเหล็กไปจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย
3.!ผู้ผลิตท่อเหล็กจำหน่ายโดยการส่งออกไปยังต่างประเทศโดยตรง
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตท่อเหล็กขนาดเล็ก ได้แก่ แผ่นเหล็กและสังกะสี สำหรับการผลิตท่อเหล็กขนาดใหญ่วัตถุดิบที่สำคัญ ได้แก่ แผ่นเหล็ก ใยหิน (Asbestos) โคลทาร์อีนาเมล กระดาษใยแก้วและลวดเชื่อม นอกจากนี้ยังมีปูนซีเมนต์ ทราย และสี เป็นต้น ส่วนการผลิตท่อเหล็กหล่อใช้วัตถุ
ดิบที่สำคัญคือ เศษเหล็ก และยางมะตอย
สำหรับในที่นี้จะศึกษารายละเอียดเฉพาะวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตท่อเหล็กขนาดกลาง-เล็กที่มีการผลิตมากในประเทศและใช้เงินลงทุนและเทคโนโลยีไม่สูงนัก ได้แก่
1. เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ปัจจุบันมีการผลิตภายในประเทศ โดยผู้ผลิตรายสำคัญได้แก่บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) บริษัท แอลพีเอ็น เพลทมิล จำกัด บริษัท สยาม สตริปมิล จำกัด เป็นต้น และบางส่วนต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศโดยตลาดนำเข้าหลักได้แก่ ญี่ปุ่น
เกาหลี รัสเซีย จีน เป็นต้น
2. เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดม้วน ปัจจุบันมีการผลิตภายในประเทศ โดยผู้ผลิตรายสำคัญได้แก่บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด บริษัท บี เอช พี สตีล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท สยามยูไนเต็ด สตีล จำกัด เป็นต้น และยังคงมีการนำเข้าจากต่างประเทศโดยตลาดนำเข้าหลักได้แก่ ญี่ปุ่น รัสเซีย จีน เป็นต้น
3. เหล็กแผ่นไร้สนิม (Stainless Steel) ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยผู้นำเข้าที่สำคัญคือ บริษัท ไทยน็อคซ์ สตีล จำกัด
4. สังกะสี ในกรณีที่ผลิตท่อเหล็กอาบสังกะสี ส่วนใหญ่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยบริษัท ผาแดงอินดัสตรี จำกัด
5.วัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ Argon Gas หรือก๊าซเฉื่อย ใช้ในขณะการเชื่อมป้องกันไม่ให้เกิด Oxidation สามารถซื้อได้ภายในประเทศ เช่น จากบริษัท บางกอกอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด บริษัท ที.ไอ.จี เทรดดิ้ง จำกัด
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1.! วัตถุดิบ 70-75
-!วัตถุดิบในประเทศ 5-10
-!วัตถุดิบนำเข้า 90-95
2. ค่าแรงงาน 10
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 10
4. ค่าเสื่อมเครื่องจักร และอื่นๆ 5-10
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต (ท่อเหล็กขนาดกลาง-เล็ก)
ตัดแผ่นเหล็กให้ได้ขนาดตามต้องการ
แผ่นเหล็กจะค่อยๆขึ้นรูปทีละน้อย
นำเข้าเครื่องม้วนขึ้นรูป โดยผ่านลูกกลิ้งในเครื่องจนปลายทั้ง
2 ด้านชนกันเป็นท่อ ขนาดเส้นผ่า
เชื่อมท่อด้วยเครื่องเชื่อมท่อ ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมด้วยกระแส
ไฟฟ้า ให้ชิ้นงานหลอมละลายและมี
ลกกลิ้งบีบอัดตะเข็บที่เชื่อมให้แน่น
ตกแต่งรอยตะเข็บ ตัด และดัดท่อโดยเครื่องดัดท่อ
ให้ตรงหรือได้ขนาด-รูปทรงตามต้องการ และตก
แต่งปลายท่อให้เรียบและมน
มีทั้งทดสอบด้วยกำลังอัดของน้ำและ
ทดสอบการยืดตัวของแนวเชื่อมด้วย
เครื่อง Tension Test หรือเครื่องบาน
ท่อ แล้วแต่ประเภทของท่อ
ตรวจสอบคุณภาพ
ท่อเหล็กดำ ท่อเหล็กสแตนเลส
เคลือบสังกะสี ด้วยกรรมวิธีจุ่มร้อน (Hot Dipped)
ทำเป็นเกลียวที่ปลายทั้ง 2 ด้าน
ท่อเหล็กอาบสังกะสี จัดจำหน่าย
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตท่อเหล็กประกอบด้วย
1. เครื่องม้วนท่อ (Rolling Machine)
2. เครื่องดัดท่อ (Tube Bending Machine) ใช้สำหรับดัดท่อที่ผ่านการรีด ม้วนและเชื่อมเรียบร้อยแล้วให้ได้รูปทรงตามต้องการ โดยจะมีทั้งเครื่องที่ใช้แรงคนและแบบเครื่องอัตโนมัติ
3. เครื่องเชื่อมท่อ ในบางครั้งอาจจะรวมอยู่ในสายการผลิตเดียวกันต่อเนื่องกับเครื่องม้วนท่อ
4. เครื่องขัดผิวท่อ
5. เครื่องทดสอบท่อด้วยแรงน้ำ และการยึดตัวของแนวเชื่อม จะใช้เครื่องดึงท่อหรือเครื่องบานท่อ (Tension Test)
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมท่อเหล็กควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือตลาดจำหน่ายสินค้า ในกรณีการลงทุนการผลิตท่อเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel) ขนาดกลาง-เล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-12 นิ้ว กำลังการผลิตปีละประมาณ 250 ตัน โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ โดยประมาณดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.! เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นประมาณ 60-65 ล้านบาท
2.! ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง ขนาดพื้นที่ทำการผลิตและเป็นสต๊อกสินค้า ใช้ประมาณ 500-700 ตารางวา และมีค่าที่ดินและค่าปรับปรุงที่ รวมค่าสิ่งปลูกสร้างรวมกันประมาณ 10 ล้านบาท หรือในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมี
ค่าเช่าแล้วแต่ทำเล
3.! ค่าเครื่องจักร ได้แก่
3.1 เครื่องม้วนท่อและเชื่อมท่อที่อยู่ในสายการผลิตเดียวกันแบบต่อเนื่อง ในการลงทุนเริ่มแรกใช้เพียง 2 เครื่อง ธรรมดาระดับราคาประมาณ 15-20 ล้านบาท
3.2 เครื่องดัดท่อ ควรจะมีทั้งแบบที่คนและแบบอัตโนมัติอย่างละ 1 เครื่อง โดยแบบธรรมดาราคาประมาณเครื่องละ 50,000 บาท และแบบอัติโนมัติราคาประมาณ 600,000-700,000 บาท
3.3 เครื่องขัดผิว - ขัดเงาท่อ (สำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการความสวยงาม เช่น ท่อเฟอร์นิเจอร์) ควรมีอย่างน้อยจำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละประมาณ 10-14 ล้านบาท
3.4 เครื่องทดสอบท่อ จำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละประมาณ 20,000 บาท
4.! ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) อย่างน้อย 1 คัน ราคา 300,000- 500,000 บาท
5.! เงินทุนหมุนเวียน เป็นค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าแรง และใช้จ่ายในการผลิต ประมาณ 2,300,000 - 2,500,000 บาท
บุคลากร ธุรกิจการผลิตท่อเหล็กขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 25 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน มีทั้งสิ้น 23 คน ประกอบด้วย
1.1! พนักงานจัดเตรียมวัสดุ 2 คน
1.2! ช่างควบคุม-ดูแลเครื่องจักร 10 คน
1.3! พนักงานดัดท่อ 6 คน
1.4! พนักงานตกแต่งและตรวจสอบคุณภาพ 2 คน
1.5! หัวหน้าดูแลพนักงาน 3 คน
2.!พนักงานในสำนักงานและผู้บริหาร ในกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้จัดการ-บริหารส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของกิจการ และมีพนักงานดูแลงานทั่วไป รวมไปถึงดูแลด้านการตลาด บัญชีและเสมียน อีกประมาณ 1-2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 16,550,000 บาทต่อปี
- แผ่นเหล็กสแตนเลส 16,500,000 บาทต่อปี
(อัตราการสูญเสียประมาณร้อยละ 4-5)
- ค่าวัสดุสิ้นเปลือง 50,000 บาทต่อปี
(เช่น Argon Gas)
2. ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 2,800,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 2,000,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 698,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ (มีการใช้น้ำบาดาล) 20,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 420,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 48,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 210,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าใช้จ่ายทั่วไป-วัสดุสิ้นเปลือง 30,000 บาทต่อปี
5.2 ดอกเบี้ยจ่าย แล้วแต่จำนวนเงินที่กู้ยืม
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 5-10 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ยประมาณ 200 ตัน ราคาเฉลี่ยประมาณ 110 บาท/กก. คิดเป็นรายได้ 26-27.5 ล้านบาทต่อปี
โครงสร้างและสัดส่วนการลงทุนนี้สามารถดัดแปลงใช้ในการผลิตท่อเหล็กประเภทอื่นๆได้เนื่องจากมีกรรมวิธีการผลิตที่คล้ายคลึงกัน และเครื่องจักรสามารถนำมาดัดแปลงใช้ได้
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
ตารางที่ 7: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท แอล วี ดี จำกัด 45 ซ.พัฒนเวศม์ สุขุมวิท 71 คลองตัน คลองเตย
กรุงเทพฯ โทร. 381-1556 ,381-1616
บริษัท ว่องไววิทย์อุตสาหกรรมจักรกล (สำโรง) จำกัด 190 หมู่ที่ 4 (เชิงสะพานสำโรง) สุขุมวิท ต.เทพารักษ์
อ. เมือง จ. สมุทรปราการ โทร. 756-8891-4, 384-7345-6
บริษัท ไทย - ยูเอส แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด 43/317-318 ซ.อาจทรัพย์ใต้ ถ.จอมทอง เขตจอมทอง
กรุงเทพฯ โทร. 875-7629-30
โรงงานไทยโรลลิ่ง แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด 57/3 หมู่ที่ 7 ซ.กลับเจริญ ต.สุขสวัสดิ์ อ.พระประแดง
จ.สมุทรปราการ โทร.464-1381, 462-7091
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาต
1. ด้านภาษี ในอุตสาหกรรมท่อเหล็กสามารถแบ่งได้เป็น วัตถุดิบ - เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 10 เหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดม้วน มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 12 เหล็กแผ่นสแตนเลส มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 10 ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 15
2. ด้านการส่งเสริมการส่งออก ภาครัฐได้ให้การส่งเสริมในการส่งออกท่อเหล็ก เช่น การคืนอากรวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก ตามมาตร 19 ทวิ (รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายสูตรและคืนอากรการผลิตเพื่อการส่งออก สำนักงานศุลกากรส่งออกท่าเรือกรุงเทพ โทร. 249-4216,249-5968)
3. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงาน และการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
4. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีเงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ ดังนี้
โรงงานท่อเหล็กที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะต้องตั้งอยู่ในเขต 3 ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ยกเว้นภาษีเครื่องจักร และยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบการผลิตเพื่อส่งออกเป็นเวลา 5 ปี ยกเว้นการผลิตท่อเหล็กประเภท Butt Weld (แบบแนวเชื่อมต่อชน) สามารถตั้งอยู่ในเขต 2 แต่จะต้องตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมและ/หรือเขตอุตสาหกรรม
การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
มาตรฐานสินค้าในอุตสาหกรรมท่อเหล็กตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
มอก. 310-2522 - ท่อเหล็กสำหรับทำรถจักรยาน
มอก. 427-2531 - ท่อเหล็กกล้าเชื่อมด้วยไฟฟ้าสำหรับส่งน้ำ
มอก. 770-2533 - ท่อเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีสำหรับใช้ร้อยสายไฟฟ้า
มอก. 276-2532 - ท่อเหล็กกล้า
มอก. 277-2532 - ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสี
มอก. 1006-2535 - ท่อเหล็กกล้าไร้สนิมออสเทไนต์
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1.!หน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม(SMEs) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนหลายหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ
1.1 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม-บอย.(โทร.642-5207) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(โทร.253-7111) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม-บสย. (โทร.308-2741) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (โทร.271-3700, 278-0047) เป็นต้น
1.2 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (โทร.248-3393) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (โทร.202-3300-3304) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (โทร.271-2939)
1.3 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการลงทุนข้อมูลการลงทุนและการตลาด เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (โทร. 537-8111) กรมส่งเสริมการส่งออก (โทร. 511-5066-77)
2. กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (โทร.246-0065) ให้คำปรึกษา ให้บริการในการวิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
3. ศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (โทร.644-8150) ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นที่ปรึกษาและช่วยวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการผลิตเพื่อการจัดการที่ดี
ขึ้น ให้บริการในการวิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น--จบ--
-ชต-