1.ข้อเท็จจริง
1.1 การค้าของไทยกับสมาชิกเอเปค การค้าของไทยกับสมาชิกเอเปคอีก 20 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 70 ของการค้ารวมของไทย ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างคงที่ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปคออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ นาฟตา อาเซียน เอเซียอื่นๆ เซอร์ และกลุ่มอเมริกาใต้ กลุ่มประเทศที่ไทยทำการค้าสูงสุดคือ กลุ่ม เอเซียอื่นๆ ( ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี จีน ไต้หวัน และฮ่องกง ) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 33 ของการค้ารวม รองลงมาคือ นาฟตา และอาเซียน
การส่งออก เอเปคเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่สุดของไทยคิดเป็นร้อยละ 69 ของการส่งออกรวม ตลาดที่สำคัญ คือ เอเซียอื่นๆ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 29 ของการส่งออกรวม รองลงมาคือนาฟตา และ อาเซียน ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญสูงสุดคือ สหรัฐฯ รองลงมาคือญี่ปุ่น
การนำเข้า เอเปคเป็นตลาดนำเข้าที่สำคัญที่สุดของไทยเช่นเดียวกับทางด้านการส่งออกซึ่งรวมแล้วคิดเป็นร้อยละ 71 ของการนำเข้ารวม โดยนำเข้าจาก เอเซียอื่นๆสูงสุดร้อยละ 40 นำเข้าจากญี่ปุ่นร้อยละ 24 ในขณะที่นำเข้าจากสหรัฐฯเพียงร้อยละ 12.8
สินค้าส่งออกสำคัญ. สินค้าส่งออกสำคัญของไทย 10 รายการแรกในตลาดเอเปคเป็นสินค้าอุตสาหกรรม มากกว่าสินค้าเกษตร โดยสินค้า 6 รายการแรกมีมูลค่าการส่งออกรวมกันร้อยละ 34 ของมูลค่าการส่งออกรวมได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ส่วนสินค้าเกษตรที่ส่งออกสำคัญ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ยางพารา สินค้า 4 รายการคิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่าการส่งออกรวม
สินค้านำเข้าสำคัญ สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากตลาดเอเปค 10 อันดับแรกเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมด เช่น เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นต้น นอกนั้นเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ เช่น เหล็กและเหล็กกล้า สินแร่โลหะอื่นๆและเศษโลหะ เป็นต้น
1.2 อัตราภาษีของสมาชิกเอเปค อัตราภาษีของประเทศสมาชิกเอเปคอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มประเทศที่มีอัตราภาษีค่อนข้างต่ำ ไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งอัตราตามกฎหมายและอัตราที่เก็บจริง เช่น สหรัฐฯ แคนาดา สิงคโปร์ บรูไน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ส่วนเม็กซิโก อัตราภาษีเฉลี่ยตามกฎหมายร้อยละ 35 แต่เก็บจริง ร้อยละ 2.5
กลุ่มประเทศที่มีอัตราภาษีสูงประมาณร้อยละ 10 ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
กลุ่มประเทศที่มีอัตราภาษีสูงเกินกว่าร้อยละ 10 เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน รัสเซีย เปรู ชิลี และไทย
2. ข้อวิเคราะห์
2.1 การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม ข้อเสนอลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เภสัชภัณฑ์ เหล็ก กระดาษ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าอิเล็กโทรนิกส์ ซึ่งประเทศไทยไม่มีศักยภาพในการผลิตหรือไม่มีวัตถุดิบ ทำให้ไทยไม่ได้รับประโยชน์ ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วได้รับประโยชน์โดยตรงจากการลดภาษีดังกล่าว
สินค้าที่ไทยได้รับประโยชน์จากการลดภาษี เช่น สิ่งทอ ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ซึ่งมีอัตราภาษีค่อนข้างสูง และยังมีสินค้าอื่นๆอีก เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน ของเด็กเล่น แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
สำหรับสินค้า IT แม้ไทยจะมีการส่งออกไปยังเอเปคเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯแต่ไทยก็ไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีมากนัก เนื่องจากภาษีสินค้าดังกล่าวในประเทศพัฒนาแล้วมีอัตราค่อนข้างต่ำ ประมาณร้อยละ 2 หรือมีหลายรายการที่เดิมไม่มีการเก็บภาษีอยู่แล้ว ยกเว้นการส่งออกไปประเทศกำลังพัฒนา เช่นเกาหลีซึ่งจะได้รับประโยชน์บ้างเนื่องจากมีอัตราภาษีค่อนข้างสูง
2.2 การลดภาษีสินค้าเกษตร สมาชิกเอเปคเสนอลดภาษีสินค้าเกษตรน้อยมากและรายการที่เสนอลดภาษีก็ไม่เกิดประโยชน์กับไทย เช่น เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์นม ซึ่งไทยส่งออกน้อย และน้ำตาลซึ่งออสเตรเลียเสนอลดภาษีแต่เป็นประเทศส่งออกน้ำตาลรายใหญ่และเป็นคู่แข่งกับไทย
2.3 การลดภาษีที่ไทยไม่ได้รับประโยชน์ เช่น การลดภาษีของสมาชิกเอเปคที่เป็นสมาชิกอาเซียน เนื่องจากไทยได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศเหล่านี้ภายใต้อาฟตาอยู่แล้ว
2.4 การลดภาษีในภาพรวม หลายประเทศแจ้งว่าจะลดภาษีในภาพรวม เช่น จีน ซึ่งไทยก็คงได้รับประโยชน์ด้วย แต่การลดภาษีของจีนในภาพรวมเป็นการดำเนินการเพื่อให้จีนสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกมากกว่าการดำเนินการลดภาษีเพียงฝ่ายเดียวในเอเปคโดยตรง เช่นเดียวกับไต้หวันซึ่งแจ้งว่าจะมีการปรับโครงสร้างภาษีให้เหลือร้อยละ 6 ในปี 2010 ก็น่าจะเป็นการลดภาษีเพื่อเตรียมการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามไทยจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของไต้หวันโดยเฉพาะ อย่างยิ่งหากมีการลดในหมวด เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากไทยส่งออกไปไต้หวันมีมูลค่าสูง นอกจากนั้นยังมีประเทศอื่นๆที่ไม่ได้เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยที่มีแผนการลดภาษีในภาพรวมเช่น รัสเซีย และชิลี ซึ่งไทยคงได้รับประโยชน์บ้างแต่ไม่มากนัก
3. ความเห็น
3.1 การลดภาษีในเอเปคไทยได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ เนื่องจาก
เป็นการลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนไทยได้ประโยชน์อยู้แล้วภายใต้อาฟตา
สินค้าที่สมาชิกเอเปคลดภาษีส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ไทยไม่มีศักยภาพในการผลิตหรือไม่มีวัตถุดิบในการผลิตหรือเป็นสินค้าในกลุ่มที่มีอัตราภาษีต่ำอยู่แล้ว
การลดภาษีสินค้าเกษตรมีน้อยมาก และรายการสินค้าเกษตรที่มีการลดภาษีบ้างก็เป็นสินค้าที่ไทยไม่มีการส่งออกหรือเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกแต่เป็นการลดภาษีของประเทศคู่แข่งขันกับไทย
3.2 ข้อเสนอการลดภาษีของบางประเทศอยู่ในกรอบกว้างเกินไป ข้อเสนอของหลายประเทศเป็นการเสนอแผนการลดภาษีในระยะยาวและยังไม่เป็นรูปธรรม เช่นแจ้งว่าจะลดภาษีสินค้าวัตถุดิบ ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม บางประเทศเพียงแต่แจ้งว่าจะลดภาษีการนำเข้าอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งเป็นการยากในการประเมินผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ ดังนั้นเพื่อให้การลดภาษีมีผลในทางปฏิบัติ ควรผลักดันให้สมาชิกเอเปคแสดงความโปร่งใส โดยแจ้งรายการสินค้าที่ลดภาษีให้ประเทศสมาชิกทราบ เพื่อให้ภาคเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ไทยก็ต้องพร้อมที่จะเสนอแผนการลดภาษีอย่างเป็นขั้นตอนด้วย
3.3 การลดภาษีในเอเปคควรให้ประเทศต่างๆคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนาด้วย สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังสมาชิกเอเปค เช่นแผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋อง ข้าว เม็ดพลาสติก ได้รับการลดภาษีในเอเปคน้อยมาก บางสินค้าไม่มีประเทศใดลดภาษี ประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิกเอเปคควรร่วมกันหารือเรื่องผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา มิเช่นนั้นแล้วการลดภาษีในเอเปค ก็จะเหมือนกับการลดภาษีใน WTO คือเป็นเวทีที่ให้ผลประโยชน์กับประเทศพัฒนาแล้วมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา
3.4 ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการรายสมาชิกของเอเปค จากข้อเสนอแผนปฎิบัติการของไทยในเอเปคไทยไม่ได้เสนอลดภาษีให้ประเทศสมาชิกเอเปคมากกว่าที่ให้ไว้ใน WTO ยกเว้นการลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรบางรายการที่มีความจำเป็นในการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบภายในประเทศ เช่นถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง และการลดภาษีสินค้า IT จำนวน 190 รายการตามความตกลง IT ซึ่งเดิมไทยเคยเก็บภาษีนำเข้า ระหว่างร้อยละ 5 — 30 อย่างไรก็ตามไทยส่งออกสินค้า IT มากกว่าการ นำเข้าโดยได้เปรียบดุลการค้าในสินค้าหมวดนี้อยู่ประมาณปีละกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในภาพรวมเมื่อประเทศต่างๆลดภาษีแล้ว ไทยน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1.1 การค้าของไทยกับสมาชิกเอเปค การค้าของไทยกับสมาชิกเอเปคอีก 20 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 70 ของการค้ารวมของไทย ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างคงที่ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปคออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ นาฟตา อาเซียน เอเซียอื่นๆ เซอร์ และกลุ่มอเมริกาใต้ กลุ่มประเทศที่ไทยทำการค้าสูงสุดคือ กลุ่ม เอเซียอื่นๆ ( ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี จีน ไต้หวัน และฮ่องกง ) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 33 ของการค้ารวม รองลงมาคือ นาฟตา และอาเซียน
การส่งออก เอเปคเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่สุดของไทยคิดเป็นร้อยละ 69 ของการส่งออกรวม ตลาดที่สำคัญ คือ เอเซียอื่นๆ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 29 ของการส่งออกรวม รองลงมาคือนาฟตา และ อาเซียน ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญสูงสุดคือ สหรัฐฯ รองลงมาคือญี่ปุ่น
การนำเข้า เอเปคเป็นตลาดนำเข้าที่สำคัญที่สุดของไทยเช่นเดียวกับทางด้านการส่งออกซึ่งรวมแล้วคิดเป็นร้อยละ 71 ของการนำเข้ารวม โดยนำเข้าจาก เอเซียอื่นๆสูงสุดร้อยละ 40 นำเข้าจากญี่ปุ่นร้อยละ 24 ในขณะที่นำเข้าจากสหรัฐฯเพียงร้อยละ 12.8
สินค้าส่งออกสำคัญ. สินค้าส่งออกสำคัญของไทย 10 รายการแรกในตลาดเอเปคเป็นสินค้าอุตสาหกรรม มากกว่าสินค้าเกษตร โดยสินค้า 6 รายการแรกมีมูลค่าการส่งออกรวมกันร้อยละ 34 ของมูลค่าการส่งออกรวมได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ส่วนสินค้าเกษตรที่ส่งออกสำคัญ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ยางพารา สินค้า 4 รายการคิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่าการส่งออกรวม
สินค้านำเข้าสำคัญ สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากตลาดเอเปค 10 อันดับแรกเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมด เช่น เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นต้น นอกนั้นเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ เช่น เหล็กและเหล็กกล้า สินแร่โลหะอื่นๆและเศษโลหะ เป็นต้น
1.2 อัตราภาษีของสมาชิกเอเปค อัตราภาษีของประเทศสมาชิกเอเปคอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มประเทศที่มีอัตราภาษีค่อนข้างต่ำ ไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งอัตราตามกฎหมายและอัตราที่เก็บจริง เช่น สหรัฐฯ แคนาดา สิงคโปร์ บรูไน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ส่วนเม็กซิโก อัตราภาษีเฉลี่ยตามกฎหมายร้อยละ 35 แต่เก็บจริง ร้อยละ 2.5
กลุ่มประเทศที่มีอัตราภาษีสูงประมาณร้อยละ 10 ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
กลุ่มประเทศที่มีอัตราภาษีสูงเกินกว่าร้อยละ 10 เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน รัสเซีย เปรู ชิลี และไทย
2. ข้อวิเคราะห์
2.1 การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม ข้อเสนอลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เภสัชภัณฑ์ เหล็ก กระดาษ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าอิเล็กโทรนิกส์ ซึ่งประเทศไทยไม่มีศักยภาพในการผลิตหรือไม่มีวัตถุดิบ ทำให้ไทยไม่ได้รับประโยชน์ ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วได้รับประโยชน์โดยตรงจากการลดภาษีดังกล่าว
สินค้าที่ไทยได้รับประโยชน์จากการลดภาษี เช่น สิ่งทอ ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ซึ่งมีอัตราภาษีค่อนข้างสูง และยังมีสินค้าอื่นๆอีก เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน ของเด็กเล่น แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
สำหรับสินค้า IT แม้ไทยจะมีการส่งออกไปยังเอเปคเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯแต่ไทยก็ไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีมากนัก เนื่องจากภาษีสินค้าดังกล่าวในประเทศพัฒนาแล้วมีอัตราค่อนข้างต่ำ ประมาณร้อยละ 2 หรือมีหลายรายการที่เดิมไม่มีการเก็บภาษีอยู่แล้ว ยกเว้นการส่งออกไปประเทศกำลังพัฒนา เช่นเกาหลีซึ่งจะได้รับประโยชน์บ้างเนื่องจากมีอัตราภาษีค่อนข้างสูง
2.2 การลดภาษีสินค้าเกษตร สมาชิกเอเปคเสนอลดภาษีสินค้าเกษตรน้อยมากและรายการที่เสนอลดภาษีก็ไม่เกิดประโยชน์กับไทย เช่น เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์นม ซึ่งไทยส่งออกน้อย และน้ำตาลซึ่งออสเตรเลียเสนอลดภาษีแต่เป็นประเทศส่งออกน้ำตาลรายใหญ่และเป็นคู่แข่งกับไทย
2.3 การลดภาษีที่ไทยไม่ได้รับประโยชน์ เช่น การลดภาษีของสมาชิกเอเปคที่เป็นสมาชิกอาเซียน เนื่องจากไทยได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศเหล่านี้ภายใต้อาฟตาอยู่แล้ว
2.4 การลดภาษีในภาพรวม หลายประเทศแจ้งว่าจะลดภาษีในภาพรวม เช่น จีน ซึ่งไทยก็คงได้รับประโยชน์ด้วย แต่การลดภาษีของจีนในภาพรวมเป็นการดำเนินการเพื่อให้จีนสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกมากกว่าการดำเนินการลดภาษีเพียงฝ่ายเดียวในเอเปคโดยตรง เช่นเดียวกับไต้หวันซึ่งแจ้งว่าจะมีการปรับโครงสร้างภาษีให้เหลือร้อยละ 6 ในปี 2010 ก็น่าจะเป็นการลดภาษีเพื่อเตรียมการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามไทยจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของไต้หวันโดยเฉพาะ อย่างยิ่งหากมีการลดในหมวด เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากไทยส่งออกไปไต้หวันมีมูลค่าสูง นอกจากนั้นยังมีประเทศอื่นๆที่ไม่ได้เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยที่มีแผนการลดภาษีในภาพรวมเช่น รัสเซีย และชิลี ซึ่งไทยคงได้รับประโยชน์บ้างแต่ไม่มากนัก
3. ความเห็น
3.1 การลดภาษีในเอเปคไทยได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ เนื่องจาก
เป็นการลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนไทยได้ประโยชน์อยู้แล้วภายใต้อาฟตา
สินค้าที่สมาชิกเอเปคลดภาษีส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ไทยไม่มีศักยภาพในการผลิตหรือไม่มีวัตถุดิบในการผลิตหรือเป็นสินค้าในกลุ่มที่มีอัตราภาษีต่ำอยู่แล้ว
การลดภาษีสินค้าเกษตรมีน้อยมาก และรายการสินค้าเกษตรที่มีการลดภาษีบ้างก็เป็นสินค้าที่ไทยไม่มีการส่งออกหรือเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกแต่เป็นการลดภาษีของประเทศคู่แข่งขันกับไทย
3.2 ข้อเสนอการลดภาษีของบางประเทศอยู่ในกรอบกว้างเกินไป ข้อเสนอของหลายประเทศเป็นการเสนอแผนการลดภาษีในระยะยาวและยังไม่เป็นรูปธรรม เช่นแจ้งว่าจะลดภาษีสินค้าวัตถุดิบ ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม บางประเทศเพียงแต่แจ้งว่าจะลดภาษีการนำเข้าอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งเป็นการยากในการประเมินผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ ดังนั้นเพื่อให้การลดภาษีมีผลในทางปฏิบัติ ควรผลักดันให้สมาชิกเอเปคแสดงความโปร่งใส โดยแจ้งรายการสินค้าที่ลดภาษีให้ประเทศสมาชิกทราบ เพื่อให้ภาคเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ไทยก็ต้องพร้อมที่จะเสนอแผนการลดภาษีอย่างเป็นขั้นตอนด้วย
3.3 การลดภาษีในเอเปคควรให้ประเทศต่างๆคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนาด้วย สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังสมาชิกเอเปค เช่นแผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋อง ข้าว เม็ดพลาสติก ได้รับการลดภาษีในเอเปคน้อยมาก บางสินค้าไม่มีประเทศใดลดภาษี ประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิกเอเปคควรร่วมกันหารือเรื่องผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา มิเช่นนั้นแล้วการลดภาษีในเอเปค ก็จะเหมือนกับการลดภาษีใน WTO คือเป็นเวทีที่ให้ผลประโยชน์กับประเทศพัฒนาแล้วมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา
3.4 ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการรายสมาชิกของเอเปค จากข้อเสนอแผนปฎิบัติการของไทยในเอเปคไทยไม่ได้เสนอลดภาษีให้ประเทศสมาชิกเอเปคมากกว่าที่ให้ไว้ใน WTO ยกเว้นการลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรบางรายการที่มีความจำเป็นในการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบภายในประเทศ เช่นถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง และการลดภาษีสินค้า IT จำนวน 190 รายการตามความตกลง IT ซึ่งเดิมไทยเคยเก็บภาษีนำเข้า ระหว่างร้อยละ 5 — 30 อย่างไรก็ตามไทยส่งออกสินค้า IT มากกว่าการ นำเข้าโดยได้เปรียบดุลการค้าในสินค้าหมวดนี้อยู่ประมาณปีละกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในภาพรวมเมื่อประเทศต่างๆลดภาษีแล้ว ไทยน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-